NEW PARADIGM IN CURRICULUM DEVELOPMENT




ลส 701 กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร
CL 701  NEW PARADIGM IN CURRICULUM DEVELOPMENT


เกริ่นนำ...
        เนื้อหาสาระที่นำเสนอนี้ เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อการศึกษาและการแลกเปลี่่ยนเรียนรู้ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และไม่ผ่านการสรุปหรือกลั่นกรองเป็นองค์ความรู้  ควรสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้...


จริยา  ทองหอม
23 มิถุนายน 2556

หน่วยที่  1 ทฤษฎีหลักสูตรและแนวทางการพัฒนาหลักสูตร
       ทฤษฎีหลักสูตรเป็นความรู้ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร
การสร้างทฤษฎีหลักสูตรตามแนวคิดของ 
วอล์กเกอร์ 
- เมเซีย
- แมคนีล
- อุนรุห์
- บีชัมพ์

ความหมายของหลักสูตร
ความหมายที่แคบ
  -   หลักสูตร ได้แก่ วิชาที่สอน
  -   โปรแกรมการศึกษา แผนที่กำหนดให้เรียนรู้
ความหมายที่กว้าง
  -   หลักสูตร ได้แก่ มวลประสบการณ์ที่จัดขึ้นให้ผู้เรียน
      ได้เรียนรู้
รูปแบบและขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร
ตามแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรต่างประเทศ
 -   เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
  -  กูดแลดและริชเทอร์
  -  ไทเลอร์
  -   ทาบา
  -   ฮันกิน
  -   ฟอกซ์ 
  -   บีชัมพ์

ที่มา  :  Power Point  วิชา 210651  หน่วยที่ 1 ทฤษฎีหลักสูตรและแนวทางการพัฒนาหลักสูตร  มสธ. 2554.


รายวิชา  ลส.701 กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร (RS 701  Advanced Research Methodology)  อาจารย์ผู้สอน  รศ.ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่  และ อ.ดร.มารุต พัฒผล  วันที่  17 เดือน มิถุนายน  พ.ศ. 2556   เวลา 09.00 น. – 12.00 น.  สถานที่  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   ส่งงานที่  อ.ดร.มารุต  พัฒผล  e-mail .  :  rutmarut@gmail.com
                สัปดาห์ที่ 1   ปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตร  สัปดาห์ที่ การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร   เค้าโครงการบรรยาย  :  ความท้าทาย 4 ประการใน ศตวรรษที่ 21   คุณลักษณะของ Generation  X, Y การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของ คุณหมอวิจารณ์  และปฏิบัติการถอดบทเรียน

ใบงาน  เรื่อง  การถอดบทเรียน
คำชี้แจง  ให้ผู้เรียนทบทวนถึงสาระและกิจกรรมการเรียนรู้และถอดบทเรียนลงในตารางแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน 
หัวข้อการเรียนรู้
สรุปประเด็นการถอดบทเรียน
1. อะไรคือสิ่งที่คาดหวังจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
พบอาจารย์ผู้สอน / รับทราบรายละเอียดของรายวิชา / กำหนดการสอน / ภาระงานที่ต้องปฏิบัติ
2. การคิดใคร่ครวญการเรียนรู้เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการเรียนครั้งนี้
สัปดาห์ที่ 1   ปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตร  สัปดาห์ที่ การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร
เค้าโครงการบรรยาย
ความท้าทาย 4 ประการใน ศตวรรษที่ 21
คุณลักษณะของ Generation 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของ หมอวิจารณ์
ปฏิบัติการถอดบทเรียน
3. เชื่อสิ่งที่ได้เรียนรู้จากผู้สอนหรือไม่
ยังไม่ปักใจเชื่อ
4. ถ้าเชื่อ  เชื่ออย่างไร  เหตุใดจึงเชื่อ
-
5. ทำไมจึงคิดว่าองค์ความรู้ที่ได้รับจากผู้สอนเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
-
6. ถ้าไม่เชื่อ  มีสาเหตุมาจากอะไร
เพราะเป็นขั้นตอนของการรับฟังหรือการรับสารเท่านั้นผู้ฟังต้องนำสาระความรู้ที่ได้รับฟัง  มาประมวลผล ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม วิเคราะห์  สังเคราะห์  และสรุปเป็นองค์ความรู้ให้ชัดเจน แล้วค่อยตัดสินใจว่าควรเชื่อหรือไม่
7. ทำไมจึงคิดว่าสิ่งที่ผู้สอนพูดไม่ถูกต้อง
-

ภาคผนวก

ทบทวนสาระและกิจกรรมการเรียนรู้
1. อนาคตการทำงานในศตวรรษที่ 21
2. การจัดการศึกษาต้องมุ่งเน้นให้คนไทยรักแผ่นดินเกิด
3. การเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม
4. Live and learn
5. Flexibility learning  วิธีการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม
6. การเรียนแบบ  Learning Innovative Center

การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม...

วิชัย  วงษ์ใหญ่  และมารุต  พัฒผล (2552)  จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา : กระบวนทัศน์
ใหม่การพัฒนา  กรุงเทพมหานคร : บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.  
ประมวลความรู้จากเว็บไซต์  ดังนี้
1.  การถอดบทเรียนคืออะไร * วิธีการจัดการความรู้แบบหนึ่ง *
- เสริมสร้างการเรียนรู้ของกลุ่ม องค์กร
- สกัดความรู้ที่ฝังในตัวตน องค์ความรู้ในท้องถิ่น
- เป็นบทเรียนนำมาสรุปและสังเคราะห์เป็นชุดความรู้ คู่มือ สื่อ ต่าง ๆ
- ผู้ร่วมถอดบทเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
- นำไปสู่วิธีการปรับวิธีคิด และวิธีการทำงานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
บทเรียน  เรียนรู้จากสิ่งที่ทำมาก่อน ทั้งที่เรากระทำหรือผู้อื่นกระทำ
* บทเรียนตนเอง ............ เกิดกระบวนการเรียนรู้ภายใน    * บทเรียนที่เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น ......
กระบวนการถอดบทเรียน ........... สกัดเอาแต่สาระที่สำคัญ ๆ ....... ผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน
กระบวนการถอดบทเรียน เครื่องมือ ( mean) – เรียนรู้ เป้าหมาย ( end ) การเรียนรู้
เป็นการ เรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติไปแล้ว   เพื่อรักษาจุดแข็งของการปฏิบัติการไว้ศึกษาแนวทางที่เป็นนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้มีแนวทางในการกำหนดเป็นแบบปฏิบัติที่ดีไปประยุกต์ใช้หรือนำไปเรียนรู้ต่อยอด
เครื่องมือถอดบทเรียน หรือองค์ความรู้มี พลวัตรเสมอ เครื่องที่นิยมใช้คือ เครื่องมือการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ

การถอดบทเรียน ( Lesson - Learned )
หลักการถอดบทเรียน
เครื่องมือการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ คือ  เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งไม่ได้หมายถึงการหาทางแก้ไขปัญหาหรือการตำหนิในสิ่งที่เกิดขึ้นบทเรียนซึ่งจะเกิดขึ้นจากการถอดบทเรียนนี้ไม่ได้มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่หมายรวมถึงการจัดทำองค์ความรู้ที่เกิดจากการสังเคราะห์ในรูปแบบเอกสาร ซึ่งแตกต่างจากการรวบรวม ( compile ) ข้อมูลหรือรายงานคำให้การ หรือรายงานการประชุมซึ่งจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใดๆ  ( A lesson is not Learned unless something changed )
ที่มา  จากเว็บไซต์  :  http://www.slideshare.net/ssuser056902/ss-7821158  
คืนข้อมูลวันที่  21 มิถุนายน 2556

2.  ความท้าทาย 4 ประการใน ศตวรรษที่ 21
                1. การพึ่งพากันในระดับโลกมากขึ้น
                2. จำนวนประเทศประชาธิปไตยมากขึ้น
                3. ความต้องการผู้ประกอบการที่มีความคิดสร้างสรรค์
                4. ความสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่มีต่อการพัฒนาอัตลักษณ์ส่วนบุคคล

3.  การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของ คุณหมอวิจารณ์
ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ อย่างไร ?
ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง
             ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21
             หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21   ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
                3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic)  และ
                4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์  รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ  และทักษะด้านสารสนเทศ  สื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 
                แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คืออย่างไร 
              นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการปฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือ เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป  ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  (Changing Education Paradigms)โดย เซอร์เคน โรบินสัน 
             กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ในประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช โดยท่านได้เขียนลงบล็อก  http://www.gotoknow.org อยู่เป็นประจำ รวมถึงได้เขียนหนังสือออกมา

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม    http://www.kmi.or.th/
ให้เด็กเป็นผู้เลือกทั้งหมดก็ไม่ได้  เพราะเด็กยังไม่โต ยังคิดกว้างขวางไม่ได้  การศึกษาต้องเข้าไปช่วยเข้าไปจัดการอะไรต่าง ๆ
2. นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์
เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์   http://www.thaissf.org/
จำนวนความรู้เพิ่มขึ้นมหาศาล  เราไม่ต้องการเด็กที่รู้เยอะ ท่องเก่ง เรียนเก่งแต่เพียงอย่างเดียว
อยากได้เด็กที่ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ของใหม่เรื่อย ๆ รู้วิธีที่จะเรียนรู้  มีทักษะการเรียนรู้ที่เรียกว่า learning skill
แล้วก็มีทักษะการใช้ชีวิต life skill
- See more at: http://blog.nation.ac.th/?p=2435#sthash.Zv23hrMr.dpuf
ศตวรรษที่ 21    http://www.p21.org/
1. สาระวิชาหลัก ได้แก่   ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก  ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์  รัฐ และความเป็นพลเมืองที่ดี
2. แนวคิดสำคัญที่ควรรู้
- ความรู้เกี่ยวกับโลก         - ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
- ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี       - ความรู้ด้านสุขภาพ     - ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
3. ทักษะสำคัญ 3 เรื่อง
3.1 ทักษะชีวิต และการทำงาน
- ความยืดหยุ่นและการปรับตัว         - การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
- ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม     - การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้
- ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
3.2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม    - การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
- การสื่อสารและความร่วมมือ
3.3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
- ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่าทัน     - วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
- ใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. โครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
- มาตรฐานและการประเมินในศตวรรษที่ 21    - หลักสูตรและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
- การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21    - สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้
5. เปลี่ยนเป้าหมายจาก ความรู้สู่ ทักษะ”  เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก   เป็นนักเรียนเป็นหลัก  เรียนโดยการปฏิบัติที่เรียกว่า PBL : Problem Based Learning  โดยครูเป็นเพียงโค้ช (Coach) หรือครูฝึก ที่คอยช่วยเหลือ
6. เด็กจะได้ฝึกทักษะต่าง ๆ
- การตีโจทย์        - ค้นคว้าหาข้อมูล    - ตรวจสอบและประเมินข้อมูล
- เลือกสิ่งที่เหมาะสมมาใช้    - ได้ฝึกปฏิบัติจริง    - เพิ่มทักษะในการศึกษา
- การนำเสนออย่างสร้างสรรค์   - ฝึกการทำงานเป็นทีม    - แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน
- ต่อยอดไปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองต่อไป
7. ครูต้องมีทักษะที่สำคัญ คือ สร้างแรงบันดาลใจ  ทำให้เด็กมีพลัง มีไฟ ก็จะมีชีวิตชีวาในการเรียน
8. การเรียนรู้แบบ PBL  ไม่มีกรอบ มีเสรีภาพทางปัญญา เพราะเราไม่สนใจคำตอบ  สนใจกระบวนการหาคำตอบ  โจทย์ข้อหนึ่งมีวิธีตอบเยอะแยะ เราสนใจการทำงานของกลุ่มและการเรียนรู้จากการทำกระบวนการเรียนรู้  การวัดมิใช่เพื่อประเมินได้ผล  แต่เป็นการวัดเพื่อประเมินความก้าวหน้า  เด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ
9. การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้  การบ้านสมัยใหม่ เช่น ปลายปีแสดงละครเช็คสเปียร์  แก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้น เพราะมุ่งมั่นกับสิ่งที่เป็นระยะยาว และทำงานร่วมกันเป็นทีม  เป็นการเรียนรู้ที่ครูไม่ได้สอนด้วยวิธีการบอกให้ท่องจำแบบเดิม 
10. สมัยใหม่ความรู้มหาศาลจนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก  จึงไม่แปลกที่ครูสักคนหนึ่งจะไม่รู้ จึงต้องมีเครื่องมือช่วยครู คือ PLC = Professional Learning Committee  การรวมตัวของครูที่จะเรียนรู้ เรียนรู้การทำหน้าที่ครูยุคใหม่”  สิ่งที่สำคัญ คือ ร่วมกันทำ ดีกว่าทำคนเดียว เป็น ชุมชนการเรียนรู้ครู
- ช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ของเด็ก
- ช่วยพัฒนาเพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21
11. แนวคิดการศึกษาต้องเปลี่ยนจากที่เราคุ้นเคย   เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เยอะมาก  ถ้าเรียนแบบปัจจุบันส่งผลต่อสังคมอย่างไร 
- วัยรุ่นจะเสียคน ไม่สนุก น่าเบื่อ      - ทั้งชาติยุ่ง เพราะเรียนเพื่อได้ความรู้อย่างเดียว ไม่ได้ทักษะ
ไม่มีวิจารณญาณ ไม่ได้ critical thinking   ถ้าทำได้สังคมเราก็จะยกระดับขึ้น

4. รู้จัก Baby Boomer + Generation X + Generation Y
ในปัจจุบันนี้ใครที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะถือว่าอยู่ในยุค Baby Boomer ถึงแม้ว่าจะปลาย ๆ ไปแล้วแต่ก็ยังถือว่าเป็นบุคลากรในยุคนั้น ถัดลงมาก็เป็น Generation X และเด็กวัยทำงานที่กำลังร้อนแรงในปัจจุบันนี้ก็เป็น Generation Y หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า Gen X, Gen Y กัน
ทีนี้มาดูแต่ละรุ่นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เอาสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็แล้วกัน
Baby Boomer
เป็นกลุ่มประชากรที่อยู่ในยุครุ่นแรก ๆ หลังจากปฏิวัติทางเศรษฐกิจและสังคม ถ้าเทียบเคียงให้ง่ายคือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึงยุคทศวรรษที่ 60 คนกลุ่มนี้ปัจจุบันหลาย ๆ คนก็อยู่ในยุคผู้บริหารระดับสูง หรือพนักงานอาวุโสใกล้เกษียณ ซึ่งก็มีแนวคิดการทำงานที่เด่นชัดในด้านความจงรักภักดีต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เน้นความประหยัด การทำงานเน้นประสบการณ์เก่า ๆ ปัจจุบันยังเห็นอยู่มาก และข้อเสียในกลุ่มนี้คือ ยึดติดกับความสำเร็จเร็จเก่า ๆ (กับดักแห่งความสำเร็จ)
Generation X
เป็นกลุ่มคนหลังยุค 60 ถึง ยุคปี 2000 เฟื่องฟูมากในยุค 80-90 รุ่นนี้จะได้รับอิทธิพลในด้านการดำเนินชีวิตและการทำงานจากรุ่น Baby Boomer คือมีการวางแผนรัดกุม ภักดีต่อองค์กร แต่ก็ได้รับอิทธิพลสมัยใหม่ที่สนใจในเรื่องความก้าวหน้า ชื่อเสียงมากกว่าเงินทอง การทำงานจะเป็นคนที่หนักเอาเบาสู้แต่ไม่มากเท่า Baby Boomer เริ่มสนใจเทคโนโลยีตามยุคสมัย เน้นที่ตัวตนมากขึ้น

Generation Y
เป็นเด็กที่เกิดยุคหลังทศวรรษที่คาบเกี่ยวมาตั้งแต่ 90 ถึงปี 2000 พวกนี้คือคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันที่หลายคนในยุคก่อนหน้าเรียกว่า พวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ หนักไม่เอา เบาไม่สู้ แต่อยากได้ผลตอบแทนที่สูง อยากได้ความก้าวหน้าทางอาชีพ อยากได้รับการยอมรับเหนือคนอื่น เด็กรุ่นนี้มีข้อดีคือ เก่งทางด้านเทคโนโลยี ติดสังคมและความโก้หรู
คนในแต่ละยุคสมัยไม่สามารถบอกได้ว่ายุคสมัยไหนจะดีกว่า เพราะกาลเวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน ย่อมส่งผลให้วิถีคิด วิธีการกระทำเปลี่ยนไปด้วย การพัฒนาบุคลากรจำต้องปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
หากเราสามารถนำเอาจุดเด่นของคนแต่ละยุคมาใช้ให้เกิดประโยชน์แล้วจะมีคุณค่าต่อองค์กรเป็นอย่างมาก แต่ลองคิดกลับกันหากองค์กรไหนมีคนครบทั้ง 3 ยุคแต่แต่ละคนมีแต่ข้อเสียในยุคนั้นมากกว่าข้อดีละก็ถือว่าเป็นคราวซวยขององค์กรนั้นไป...
คืนข้อมูลวันที่  21-22  มิถุนายน 2556
                                                                         ……………………………………..
       รายวิชา  ลส.701 กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร  อาจารย์ผู้สอน  รศ.ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่  และ อ.ดร.มารุต พัฒผล
วันที่ 17  เดือน มิถุนายน  พ.ศ. 2556    เวลา 09.00 น. – 12.00 น.  สถานที่  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ส่ง   อ.ดร.มารุต  พัฒผล  e-mail .  :  rutmarut@gmail.com
……………………………………..

ใบงาน  เรื่อง  Keywords
คำชี้แจง  ให้ค้นหา  คำสำคัญ (Keywords) สำหรับการเรียนรู้รายวิชา ลส. 701  กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร

คำที่
คำสำคัญ (Keywords) /   สาระสำคัญ  (Concept) /   แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  
19
การประเมินหลักสูตร หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลของหลักสูตรทั้งหมดเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำ การดำเนินการใช้และผลของการใช้หลักสูตร ตลอดจนการตัดสินคุณค่าและคุณภาพของหลักสูตร แล้วนำมาวิเคราะห์เทียบกับเกณฑ์  เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ  ให้คุณค่าแก่หลักสูตรว่าหลักสูตรมีข้อดี จุดอ่อนในเรื่องใด รวมทั้งผลการใช้หลักสูตรและตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณค่าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่   
การประเมินหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ระยะ  คือ
1. การประเมินก่อนการนำหลักสูตรไปใช้ 
 2.การประเมินระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร 
3. การประเมินหลังจากการใช้หลักสูตร

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  รศ.ดร. วารีรัตน์ แก้วอุไร  ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  http://www.gotoknow.org/posts/65984 ,
20
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่มีลักษณะต่อเนื่องไปตลอดชีวิตของคนในองค์กร ซึ่งเกิดทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และคำนึงถึงความสามารถในการนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงานที่ได้รับงานมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้งานโดยรวมของหน่วยงานประสบความสำเร็จ ซึ่งจะหมายถึง การฝึกอบรม รวมไปถึง การพัฒนาสายอาชีพ และการประเมินประสิทธิภาพงาน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) หมายถึง การพัฒนาความรู้  ความเข้าใจ  ทัศนคติและทักษะการทำงานของบุคลากรในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในองค์กรให้สามารถทำงานบรรลุผลงานตรงตามมาตรฐานผลงานหรือความคาดหวังที่องค์กรมีต่อตำแหน่งงานนั้นๆ  หรือ ความหมาย  ในวงกว้างหมายถึงการพัฒนาสมรรถนะ(COMPETENCY)ของบุคลากร  ให้ทำงานได้ตามมาตรฐานผลงานของตำแหน่งงานนั้นๆ 

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  นายวุทธิศักดิ์ โภชนุกูล (ครูฌอง)  http://www.pochanukul.com/?p=36
21
การพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Development) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมและสถาบันต่างๆ ทางสังคมเช่น สถาบันทางเศรษฐกิจการศึกษาและการเมือง ในหลายมิติรวมไปถึงกระบวรการเปลี่ยนแปลงทางค่านิยม ทัศนคติ หรือระบบคุณค่าอันเป็นการเปลี่ยนแปลงจากเชิงปริมาณไปสู่คุณภาพให้ดียิ่งขึ้น  สำหรับประเทศไทยแล้วการพัฒนาที่ยั่งยืนหมายถึง การพัฒนาที่มีลักษณะบูรณาการหรือผสมผสาน เป็นองค์รวมและมีดุลยภาพหรือการพัฒนาที่มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับธรรมชาติ

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://nicha-cd.blogspot.com/2012/01/sustainable-development.html   22/06/2556
22
การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร (Integrated Curriculum Development)  หมายถึง ระบบการร่างหลักสูตร ระบบการนำหลักสูตรไปใช้ และระบบการประเมินหลักสูตร ทั้งสามระบบนี้จะสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เพื่อให้เกิดภาพรวมที่เป็นเอกภาพของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.bing.com/search?q  จาก รายงานการวิจัย เรื่อง การสังเคราะห์งานวิจัยทางด้านหลักสูตรโดย อาจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.. 2543 
23
การเพิ่มอำนาจ (Empowerment)  หมายถึงการเพิ่มอำนาจ หรือการทำให้ประชาชนซึ่งครั้งหนึ่งเป็นผู้ไร้โอกาส หรือไร้การต่อรองให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น จนถึงขั้นที่จะปกครองตนเองได้ 

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.geocities.ws/puotai/chad1.html
24
การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย  หมายถึง การมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคล องค์กรที่มีเป้าหมายร่วมกัน มารวมตัวกันด้วยความสมัครใจ เพื่อทำกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมาย (ร่วมคิด / วางแผน ร่วมทำ ร่วมประเมินผล)  โดยมีความสัมพันธ์แนวราบ มีความเสมอภาค และเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.gotoknow.org/posts/344755  
25
การวัดและประเมินผล
    การวัดผล (Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์  เช่น นายแดงสูง 180 ซม. (เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง)
วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก.ก (เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง)
    การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
ความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
      การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม. ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก  ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา- ไม่เอา  
    บลูม (Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ 
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง)
วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ)
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย     (วัดด้านการปฏิบัติ)

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  :   http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html 
26
การวางแผนงานวิชาการ  หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการรวบรวม และจัดระเบียบ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการ การทำแผนงานวิชาการ การวางแผนงานวิชาการในสถานศึกษา จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปฏิบัติ    เพื่อให้ได้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลให้ได้มากที่สุด   มิลเลอร์ (Miller, 1965, p, 175) กล่าวถึง   งานวิชาการว่าประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 4 ประการคือ การจัดโปรแกรมการเรียน การปฏิบัติตามโปรแกรม การติดตามการเรียนการสอนและการจัดบริการการสอน    

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.bing.com/search?q 
27
การวิจัยในชั้นเรียน คือ กระบวนการแสวงหาความรู้อันเป็นความจริงที่เชื่อถือได้ในเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนา        การจัดการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในบริบทของชั้นเรียน  มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนางานการจัดการเรียนการสอนของครู ลักษณะของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  Research) คือ เป็นการวิจัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริง โดยมีครูเป็นทั้งผู้ผลิตงานวิจัย และผู้บริโภคผลการวิจัย ครูนักวิจัยจะตั้งคำถามที่มีความหมายในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน แล้วจะวางแผนการปฏิบัติงาน  และการวิจัย หลักจากนั้นครูจะดำเนินการการจัดการเรียนการสอนไปพร้อมๆ กับทำการจัดเก็บข้อมูลตามระบบข้อมูลที่ได้วางแผนการวิจัยไว้  นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สรุปผลการวิจัย  นำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแล้วจะพัฒนาข้อความรู้ที่ได้นั้นต่อไปให้มีความถูกต้องเป็นสากลและเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นต่อการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนานักเรียนของครูให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป      

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.moobankru.com/article_18_09_2002.html 
28
การวิจัยสถาบัน  (Institutional Research , Administrative Research , Operational Research)  หมายถึง การศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการดำเนินงาน สภาพแวดล้อม และกระบวนการของสถาบันอุดมศึกษา  เพื่อประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลสำหรับสนับสนุนการวางแผน การกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาสามารถใช้หลักการวิจัย (กระบวนการวิจัย) ได้แก่ ระบบการจัดการสารสนเทศ (Management Information System:MIS ) และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ(Comparative Analysis)         
  ซัวเป (Saupe, Joe L. 1981 :1)  กล่าวว่า  การวิจัยสถาบันคือ  การวิจัยที่จัดทำในถาบันอุดมศึกษา  เพื่อประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลสนับสนุนการวางแผน  การกำหนดนโยบายและการตัดสินใจในสถาบัน
  วิจิตร  ศรีสะอ้าน  กล่าวถึง การวิจัยสถาบัน  หมายถึง  การศึกษาเกี่ยวกับสถาบันของตนเอง  โดยอาศัยกระบวนการวิจัยและการสร้างองค์ความรู้ใหม่  จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://ireo.bu.ac.th/1html_81.html ,   http://www.gotoknow.org/posts/341707 
29
การวิจัยหลักสูตร

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี 
30
การศึกษาทั่วไป (General education) หมายถึง  วิชาการศึกษาที่นิสิต/นักศึกษาทุกคนต้องเรียนเพื่อให้มีความรู้อย่างกว้างขวาง และรู้รอบในสิ่งที่จำเป็นเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นมนุษย์และเป็นพลเมืองดีให้แก่บัณฑิต ให้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข  ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงต้องมีในยุคนี้และอนาคตในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันอย่างรุนแรงในสังคมและให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข หมวดวิชาการศึกษาทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวิชา คือ
                1.1    กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร                      1.2    กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
                1.3    กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                 1.4    กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://sci.bsru.ac.th/course3.php
31
การศึกษาทางเลือก  (Alternative Education)  หมายถึง การจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่ไม่ประสงค์จะเรียนในระบบการศึกษาตามปกติ ซึ่งมีเหตุผลมาจากพื้นฐานของบุคคลตามปรัชญาความเชื่อทางการศึกษาและการเรียนรู้ หรือตามปรัชญาความเชื่อทางการเมือง ปรัชญาความเชื่อทางศาสนาและความศรัทธา หรือ เป็นการสนองความต้องการส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะมิใช่การศึกษาที่จัดให้กับบุคคลทั่วไป หรือแม้กระทั่งการสนองตอบของบุคคลที่จะปฏิเสธระบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในการศึกษาระบบปกติ จาก
ความหมายดังกล่าวข้างต้น ตัวอย่างการจัดการศึกษาทางเลือกในปัจจุบันสามารถเห็นได้จากรูปแบบของโรงเรียนวิถีธรรม โรงเรียนวิถีธรรมชาติ  การสอนแบบ Home-based learning หรือ Home-school  เป็นต้น ซึ่งมีจุดเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหาหลักสูตร การจัดบรรยากาศให้เข้ากับวิถีของชุมชน และความเชื่อเป็นหลัก

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/20/14_31_40.pdf
32
การสังเกต  หมายถึงการเฝ้าดูและจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การสังเกตท่วงท่าการบินของนกโดยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด  ( http://th.wikipedia.org/wiki/: 22/06/2556)
การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ รวมทั้งการใช้เครื่องมือเข้าช่วยประสาทสัมผัสเพื่อให้ได้ข้อมูลจากสิ่งที่สังเกตได้มากที่สุด โดยไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในการสังเกต
ประโยชน์ของการสังเกต     1) ช่วยให้เก็บรวมรวมข้อมูลต่าง ๆ    2) ช่วยให้เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ 
3) ช่วยฝึกให้เป็นคนรู้จักรวบ รวมข่าวสารใหม่ ๆ   4) ช่วยให้เป็นคนมีความอยากรู้อยากเห็น  

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://tc.mengrai.ac.th/mr_somboon/taksa1/skill1 
33
การออกแบบระบบการสอน  (ISD : Instructional System Design หรือ ID : Instructional Design) หมายถึง การจัดระบบการสอนอย่างมีระบบ โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ซึ่งรวบรวมองค์ประกอบและปัจจัยต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจออกแบบระบบ แล้วจึงทำการทดลองและปรับปรุงแก้ไขจนใช้ได้ผล เป็นการนำไปสู่ความสำเร็จของการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กระบวนการออกแบบระบบการสอน จะประกอบไปด้วยหลักพื้นฐาน 4 ส่วน ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เป็นส่วนที่กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของผู้เรียน
2. ผู้เรียน โดยพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียน เพื่อการออกแบบระบบการสอนให้เหมาะสม
3. วิธีการและกิจกรรม กำหนดวิธีการและกำหนดกิจกรรมในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การวัดและประเมินผล เป็นการกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  วีณา จันทร์จับเมฆ   http://com544144009unit5.blogspot.com/
34
กิจกรรม (activity) หมายถึง การกระทำหรือสิ่งที่ทำ  การปฏิบัติงานอันเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา  การที่ผู้เรียนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมเสริมหลักสูตร, กิจกรรมในชีวิตประจำวัน, กิจกรรมสันทนาการ,    กิจกรรมเพื่อส่วนรวม  

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐  http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?
พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ.นคร  http://www.online-english-thai-dictionary.com/?word  23/06/2556
35
กิจกรรมแนะแนว  การแนะแนว  หมายถึง  กระบวนการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อม  สามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง  เหมาะสม และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ (  กรุณา ไวยบท   http://www.gotoknow.org/posts/252150การแนะแนวช่วยให้บุคคลรู้จักตัวเอง  รู้จักโลกรอบตัว  ด้วยกลวิธีและเครื่องมือต่าง ๆ  เพื่อให้สามารถตัดสินใจด้วยตนเองอย่างเหมาะสมและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว หมายถึง  แนวทางการดำเนินกิจกรรมแนะแนวที่มีขอบข่ายครอบคลุม  การแนะแนวด้านอาชีพ  ด้านการศึกษา  ด้านส่วนตัวและสังคม  หรือนอกเหนือจากนี้ตามความต้องการของผู้จัดทำเพื่อให้การจัดกิจกรรมมีทิศทางตามที่กำหนดไว้  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามขั้นตอนกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ
การแนะแนวดีจึงควรให้ครอบคลุม 5 บริการ  เพื่อประโยชน์ต่อตัวบุคคลคือ ผู้เรียน   เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรทางการศึกษา คือ มีฐานข้อมูลในการพัฒนาการศึกษาและช่วยเหลือผู้เรียนอย่างเป็นระบบ  มีประสิทธิภาพ  การมีข้อมูลของผู้เรียนมากยิ่งเป็นประโยชน์ สามารถนำข้อมูลต่างๆ มาช่วยเหลือและพัฒนาการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน  (http://faiicbs.blogspot.com/

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  กรุณา ไวยบท   http://www.gotoknow.org/posts/252150
36
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  หมายถึงกิจกรรมที่จัดอย่างมีรูปแบบด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม      และสามารถดํ ารงชีวิตได้อย่างมีความสุข
 เป้าหมายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1  ผู้เรียนได้รับประสบการณ์หลากหลาย เกิดความรู้ ( knowledge ) ความรู้ชํ านาญทั้งวิชาการ ( Academic ) และวิชาชีพ ( Professional )
2  ผู้เรียนค้นพบความสนใจ ( Interest )และความถนัดของตนเอง ( aptitude )เห็นช่องการในการสร้างงานอาชีพในอนาคต
3  ผู้เรียนเห็นคุณค่าของความรู้ สามารถนํ าเอาประสบการณ์ ( Experience ) เพื่อการพัฒนาตนเองและการประกอบอาชีพ
4  ผู้เรียนพัฒนาบุคลิก เจตคติ ค่านิยมในการดํ าเนินชีวิต เสริมสร้างศีลธรรมและจริยธรรม
5  ผู้เรียนมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ทํ าประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ   

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  ขจิต ฝอยทอง * กาญดา ทองอินทร์ **  http://www.gotoknow.org/posts/16430 

คำสำคัญ (Keywords)
คำที่
คำสำคัญ (Keywords)
175
Non-directive learning    รูปแบบการสอน (Model of Teaching) โดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่เรียกว่า Nondirective Teaching เป็นรูปแบบรายบุคคล (Personal Model) ซึ่งมีความสำคัญอยู่ที่
- ครูและผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการเรียนการสอน การเรียนการสอนไม่สามารถจะกำหนดให้เป็นรูปแบบตายตัวได้ มีเพียงส่วนน้อยที่ควบคุมได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว เหตุการณ์และกิจกรรมจะแปรผันไปตามสภาพการณ์ในแต่ละครั้งแล้ว แต่ว่าผู้เรียนหรือกลุ่มจะนำไป
- กิจกรรมการเรียนการสอนไม่สามารถกำหนดไว้ก่อนล่วงหน้าให้แน่ชัดลงไปได้ แตกต่างจากวิธีสอนส่วนใหญ่ที่กิจกรรมได้ถูกกำหนดไว้แน่ชัด และมีลำดับ ขั้นตอน ที่เป็นเช่นนี้เป็นผลมาจากการนำเสนอ และการวิเคราะห์เรื่องราวที่เรียกนั้นให้ความสำคัญกับผู้เรียนในรูปแบบการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง บทบาทของครูจะต้องลดน้อยลง ลำดับขั้นของกิจกรรมที่กำหนดไว้ก็ลดลง บทบาทของมีข้อจำกัดบางประการในการเป็นผู้อำนวยความสะดวก ควรเน้นหนักที่เป็นผู้แนะนำเท่าที่ผู้เรียนมีความต้องการ และไม่อาจที่จะกำหนดให้หรือคาดไว้ล่วงหน้าได้
ดังนั้น เพื่อให้รูปแบบการเรียนการสอนบรรลุผล ผู้สอนจะต้องเรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ที่มีความไวในการรับรู้จากบุคคลอื่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นทักษะที่จะต้องฝึกฝนเพิ่มเติม รวมทั้งประสบการณ์ในรูปแบบการสอนอย่างเดียวกันนี้ ที่ผ่านมาในอดีต
Nondirective Teaching Model สามารถนำไปใช้ได้กับปัญหาระดับต่าง ๆ ทั้งระดับบุคคล สังคม และวิชาการ ในระดับส่วนบุคคลนั้น ผู้เรียนจะสำรวจความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง ในปัญหาสังคมผู้เรียนจะสำรวจความรู้สึกที่มีความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกที่มีต่อตนเองกับความรู้สึกที่มีต่อคนอื่น ในปัญหาด้านวิชาการ ผู้เรียนจะสำรวจความรู้สึกของตนเอง เกี่ยวกับความสามารถและความสนใจ ทั้งสามกรณีดังกล่าวนี้ เนื้อหามักจะเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่า เรื่องอื่น ๆ ปกติจุดเน้นจะอยู่ที่ความรู้สึกของแต่ละบุคคล ประสบการณ์ การหยั่งเห็น และวิธีการแก้ปัญหา

การใช้วิธีสอนนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูจะต้องยอมรับว่านักเรียนสามารถที่จะเข้าใจและสามารถแก้ปัญหาของตนเองได้ ครูจะต้องเชื่อว่าผู้เรียนมีศักยภาพในตัวเอง และครูจะต้องเชื่อว่าผู้เรียนมีศักยภาพในตัวเอง และครูจะต้องแสดงออกทางคำพูดด้วย ครูจะต้องไม่ตัดสินให้ผู้เรียนว่าอะไรดีอะไรเลว ครูจะต้องไม่วิเคราะห์ปัญหาเฉพาะในสายตาของครูเท่านั้น ครูจะต้องพยายามมองโลกของผู้เรียนในสายตาของผู้เรียนที่ผู้เรียนจะมองด้วย วิธีการต่าง ๆ นี้ อาจกล่าวได้ว่าครูจะต้องปรับตัวเองให้รับคนอื่น (ผู้เรียน) ได้ในบทบาทของครูที่จะเป็นตัวแทน (alter-ege) ของผู้เรียนครูจะต้องพัฒนา frame of reference ซึ่งยากที่จะทำ แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ หากครูมีความต้องการที่จะเข้าใจผู้เรียนเช่นเดี่ยวกับที่ผู้เรียนเข้าใจ ในการยอมรับจำเป็นต้องสร้าง frame of reference คือความสามารถที่มองอย่างที่ผู้เรียนมอง

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://deezan.forumotion.net/t1173-topic
176
On task  พจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย NECTEC's Lexitron Dictionary
Task  ความหมายที่ 1  [n.] งานหนัก งานที่ยาก, ภารกิจ, งานที่สำคัญ    [syn.] job,duty
ความหมายที่ 2   [vt.] ใช้ความพยายามในการทำงานอย่างหนัก ทำให้ทำงานหนักเกินไป, ใช้สมองหนัก, ทำให้เหน็ดเหนื่อย 
คำศัพท์คอมพิวเตอร์  Task  ภารกิจ ความหมาย หมายถึง งานอย่างใดอย่างหนึ่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำ อาจหมายถึงการทำโปรแกรมหนึ่ง ๆ ก็ได้  

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://guru.sanook.com/search/task/   22/06/2556
177
On the job training  เป็นการพัฒนาพนักงานที่มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดตัวต่อตัว หัวหน้างานหรือผู้ฝึกจะสามารถชี้แนะ สั่งสอน ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่างๆ ให้แก่พนักงานได้อย่างละเอียดโดยตรง หัวหน้างานหรือผู้ฝึกและพนักงานจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด มีความสนิทสนมและไว้วางใจกัน ทั้งช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
( มยุรี พัฒนเศรษฐพงษ์ http://www.gotoknow.org/posts/115812 )
การฝึกปฏิบัติงานปกติในที่ทำการ (On the Job Training หรือ Desk Training)  เป็นการฝึกอบรมระหว่างการปฏิบัติงานจริง ๆ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงวิธีการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสม โดยจำกัด เฉพาะงานที่จะต้องทำจริงเท่านั้น โดยให้ผู้เข้าอบรมทำงานนั้น ๆ ตามปกติแล้วมีผู้คอยกำกับดูแลให้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง ผู้คอยกำกับ อาจเป็นหัวหน้างานหรือครูฝึกก็ได้ ซึ่งจะทำหน้าที่อธิบาย หรือสาธิตเพิ่มเติมจากการเรียนรู้ ซึ่งผู้เข้าอบรมได้รับจากการ ฝึกปฏิบัติ ของตนเองเป็นหลัก ในช่วงหลังการฝึกอบรมแบบนี้ มักจะเป็นการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงาน ซึ่งได้มีผู้เขียนระบุถึงขั้นตอน และรายละเอียดในการปฏิบัติงานนั้นๆ ไว้แล้ว 

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/train/handbook/process.html
178
Outreach program

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี 
179
Participant observation
1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) คือการสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษา มีการทำกิจกรรมร่วมกัน จนผู้ถูกศึกษายอมรับว่าผู้สังเกตมีสถานภาพบทบาท เช่นเดียวกับตน ผู้สังเกตจะต้องปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนที่ศึกษา โดยอาจเข้าไปฝังตัวอยู่ในเหตุการณ์ เข้าไปอาศัยอยู่ในชุมชนเป็นเวลานาน จนคนในชุมชนรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่มีนักวิจัยมาอาศัยอยู่ 
2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) คือการสังเกตที่ผู้วิจัยเฝ้าสังเกตอยู่วงนอก ไม่เข้าไปร่วมในกิจกรรมที่ทำอยู่ ข้อดีของวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม
           กล่าวโดยสรุปทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมนั้น ต่างมีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเกตพฤติกรรมและเหตุการณ์ เพื่อนำมาหาความสัมพันธ์และความหมายของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  : http://home.kku.ac.th/korcha/obs1.html   
180
Participant research

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี 
181
Participation action research

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี 
182
Pedagogy หมายถึง ศิลป์และศาสตร์ของการเป็นครู  เป็นการใช้เทคนิควิธีทางการสอนและอื่น ๆ อีกมากที่เกี่ยวกับการสอน   คำว่า Pedagogy   มาจากคำว่า Paidagogos ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง ทาส ที่ทำหน้าที่สั่งสอนแนะนำการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของทาสตามที่เจ้านายต้องการ  Paulo Freire ซึ่งเป็นนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงในคริสศตวรรษที่ 20 ได้กล่าวถึง วิกฤติการณ์ของการสอนผู้ใหญ่ และใช้ความหมายของ Pedagogy  หมายถึงการใช้ยุทธวิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมในการสอนผู้ใหญ่ โดยมีผู้สอนและผู้เรียนเป็นกลไกสำคัญ โดยเฉพาะการสอนให้กับคนที่ไม่รู้อะไรมาก่อนเลยเช่นเด็ก ๆ หรือการสอนผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้หลายอย่างมาแล้วแต่ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็ตามหลักการและกระบวนการจะไม่แตกต่างกันมาก และมักจะอยู่บนสิ่งแวดล้อมการเรียนแบบเดิม ๆ ที่มีมนุษย์เป็นผู้สอน มนุษย์ที่เป็นผู้เรียน

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์  แหล่งที่มา : ไทยรัฐออนไลน์http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=19026&Key=news_research  
183
Personalize instruction

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี 
184
Progressive school  หมายถึง  โรงเรียนพิพัฒนา (Progressive School) เป็นโรงเรียนที่เน้นการสอนให้นักเรียนดำรงชีวิตในชุมชน จัดประสบการณ์ในชุมชนให้นักเรียนสัมผัส ครูตามปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ จะไม่จัดการเรียนรู้แต่เพียงการอ่านให้ฟังหรือใช้วิธีฝึกหัด  แต่จะเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของนักเรียนให้มากที่สุด  โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนเกิดประสบการณ์ตรง  แนวคิดในการจัดการศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการ  ทำให้เกิดอัตลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า  “การเรียนรู้จากการปฏิบัติ”  (learning  by  doing)   ตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์ จอห์น  ดุย  (Jonn  Dewey)  แห่งภาควิชาปรัชญา  มหาวิทยาลัยชิคาโก    (The University of Chicago) เป็นนักปรัชญาคนกลุ่มพิพัฒนาการนิยม  (progressivism) 

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id
185
Project  หมายถึง  โครงการคือ   กิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่สามารถทำการวิเคราะห์วางแผนและนำไปปฏิบัติพร้อมทั้งมีลักษณะแจ้งชัดถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด โดยแผนสำหรับกิจการต่างๆต้องระบุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนด  โครงการวิชาชีพ ( PROJECT )  หมายถึง แผนงานที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ หระกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม ที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานโดยคาดหวังผลงานที่คุ้มค่า มีประโยชน์ แสดงถึงความสามารถทางความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ในศาสตร์ของตน มีขั้นตอนในการดำเนินงาน หรือจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานอย่างชัดเจน และสามารถนำเสนอผลงานต่อชุมชนได้อย่างมีระบบ ( วีรวุธ มาฆะศิรานนท์ , 2542 : 26 – 27 ) 
ประเภทของโครงการวิชาชีพ   ได้แก่   โครงการการสำรวจ ( Survey Research Project )  โครงการการทดลอง ( Experimental Research Project )  โครงการจัดทำธุระกิจหรือบริการ ( Entrepreneurship Project )  และโครงการสิ่งประดิษฐ์ ( Invention Project ) 

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.9bkk.com/article/education/project.html  
186
Purpose  (เพอ'เพิส)   n. วัตถุประสงค์, ความมุ่งประสงค์, เป้าหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ผลประ-โยชน์, เจตนา,
vt. มุ่งประสงค์, ประสงค์, ตั้งเป้าหมาย, มีเจตนา, ตั้งใจเด็ดเดี่ยว. vi. มุ่งประสงค์.   

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://th.w3dictionary.org/index.php?q=purpose 
187
Root Cause Analysis  เรียกย่อๆว่า RCA เป็นการการค้นหาสาเหตุหรือต้นเหตุของปัญหา เพื่อนำมาแก้ไข ปรับปรุงและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น 

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.radiossc.net/,    http://www.gotoknow.org/posts/450581 
188
School – base curriculum  หรือ หลักสูตรสถานศึกษา (School-Based Curriculum)  หมายถึง  แผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการศึกษาที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ  ซึ่งจัดทำโดยคณะบุคคลของสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาผู้เรียน และชุมชน สังคมให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในชุมชน สังคมอย่างมีความสุข ซึ่งต้องไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติและสิทธิมนุษยชน

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  http://www.gotoknow.org/posts/357902 
189
School – base management หรือ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานหมายถึง กลยุทธ์ในการปรับปรุงการศึกษาโดยเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจไปจากระดับรัฐหรือเขตการศึกษาไปยังแต่ละโรงเรียน โดยให้ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีอำนาจควบคุมกระบวนการจัดการศึกษามากขึ้น โดยให้มีหน้าที่และรับผิดชอบตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณ บุคลากร และหลักสูตร

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี     American  Association of School Administrators (1988 cited in Consumer Guide 1993)  http://portal.in.th/inno-poo/pages/732/
190
School visit

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี 
191
Site – based training  หรือ เว็บฝึกอบรม (Web-Based Training) อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม (Inter-Based Training) หรือ เวิล์ดไวด์เว็บช่วยสอน (WWW-Based Instruction)  การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web-Based Instruction)  การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web-Based Learning)  
เว็บฝึกอบรม (Web-based Training--WBT)  เป็นการสอนรายบุคคลที่ส่งข้อมูลเป็นสาธารณะ หรือเป็นการส่วนตัวที่อาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผ่านทางโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ลักษณะการฝึกอบรมไม่ได้ถ่ายทอดข้อมูลแบบคอมพิวเตอร์ฝึกอบรม(Computerbased Training--CBT) แต่เป็นการเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาหาความรู้ที่ผู้จัดการฝึกอบรมได้บรรจุไว้ในเซิร์ฟเวอร์ โดยที่เว็บฝึกอบรมสามารถปรับปรุง และพัฒนาข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา และการเข้าถึงข้อมูลการฝึกอบรมควบคุมได้โดยผู้ออกแบบการฝึกอบรม (Clark :1996)         

แหล่งค้นคืนข้อมูล / วันเดือนปี  :          http://freeszer.blogspot.com/  22-06-2556







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น