วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Season's Greeting.



Season's Greeting.
Merry Christmas And Happy New Year.
โดย... จริยา  ทองหอม  วันที่ 21 ธันวาคม 2556



 

 ประวัติวันคริสต์มาส
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคมเป็นงานสมโภชการประสูติของพระเยซูตามพิธีกรรมแบบคริสต์นั้นปรากฏใน "ปฏิทินแห่ง ค.ศ. 354" (Chronography of 354 AD) ซึ่งเป็นหลักฐานในกรุงโรม ขณะที่ศาสนาคริสต์ตะวันออก การประสูติของพระเยซูนั้นมีการเฉลิมฉลองโดยเชื่อมโยงกับการเสด็จมาของพระเยซูในวันที่ 6 มกราคมแล้ว[66][67] การเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคม ทางตะวันออกได้รับไปภายหลัง ในแอนติออก โดยจอห์น คริสซอสตอม ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4[67] อาจเป็น ค.ศ. 388 และในอเล็กซานเดรียเฉพาะในอีกศตวรรษต่อมา[68] แม้ในทางตะวันตก การเฉลิมฉลองการสมภพของพระเยซูดูเหมือนจะมีต่อไปกระทั่งหลัง ค.ศ. 380[69] ประเพณีที่ได้รับความนิยมจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับคริสต์มาสพัฒนาขึ้นโดยแยกจากพิธีฉลองการประสูติของพระเยซู โดยบางส่วนมีกำเนิดในเทศกาลก่อนคริสเตียนรอบเทศกาลฤดูหนาวโดยประชากรเพเกินผู้ที่ภายหลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ ส่วนเหล่านี้ รวมทั้งเค้กขอนไม้จากตรุษฝรั่ง และการให้ของขวัญจากแซเทิร์นาเลีย[54] ได้ผสมเข้ากับคริสต์มาสในห้วงหลายศตวรรษ บรรยากาศซึ่งมีอยู่ทั่วไปของคริสต์มาสยังได้วิวัฒนาอย่างต่อเนื่องนับแต่การเริ่มต้น โดยมีหลากหลายตั้งแต่สภาพเสียงดัง มึนเมาและคล้ายงานรื่นเริงในยุคกลาง[70] มาเป็นธีมที่สงบลง โดยเน้นครอบครัวและยึดเด็กเป็นศูนย์กลางเริ่มตั้งแต่การปฏิรูปในคริสต์ศตวรรษที่ 19[71][72] ยิ่งไปกว่านั้น การเฉลิมฉลองคริสต์มาสยังเคยถูกห้ามมากกว่าหนึ่งครั้งในนิกายโปรแตสแตนท์เพราะความกังวลว่าประเพณีนั้นเป็นเพเกินหรือแย้งต่อคัมภีร์ไบเบิลมากเกินไป[73][74]


 


 
 

ประวัติวันปีใหม่
วันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุก 4 ปี ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน  เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน วันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต  แต่ในปี พ.ศ. 2125 วสันตวิษุวัติ กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา



ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/ 


วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
โดย..จริยา  ทองหอม   วันที่ 8 ธันวาคม 2556


 ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฏหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)  ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับกฏหมายรัฐธรรมนูญเพราะ "กฏหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่า และจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้
รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย
ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ


รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก
ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนางและพระราชาคณะจำนวน 25 คน ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารที่เรียกว่า "มหากฎบัตร" (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระสงฆ์ โดยในมหากฎบัตรได้กำหนด ถึงการจัดองค์กรและการบริหารอำนาจของสภาสูง (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่างตามที่กำหนดไว้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงมิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ มีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย มหากฎบัตรนี้ นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก
รัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ในภาษาของประเทศทั้งสอง คำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่า การสถาปนา หรือการจัดตั้ง ซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเอง โดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ




รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้ [4]
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 [5] รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แรงบันดาลใจ: นิทรรศการ "ถวายพระพรออนไลน์"

แรงบันดาลใจ: นิทรรศการ "ถวายพระพร...ออนไลน์"
โดย...จริยา ทองหอม  วันที่ 1 ธันวาคม 2556

        นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ์ เนื่องในวันที่ 5 ธันวา มหาราช  วันพ่อแห่งชาติ... มีแรงบันดาลใจมาจาก...ทุกๆปีกับทุกๆโรงเรียนที่เคยทำการสอนจะต้องจัดกิจกรรมเนื่องในวันที่ 5 ธันวา มหาราช วันพ่อแห่งชาติ ตามสภาพบริบทของพื้นที่นั้นๆ เช่น ทำบุญตักบาตร ทำวัตรสวดมนตร์ พัฒนาชุมชน ปลูกต้นไม้เนื่องในวันพ่อ ภาคกลางคืนร่วมกิจกรรมจุดเทียนชัยถวายพระพร และทุกๆปี ก่อนถึงวันที่ 5 ธันวาคม ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ครูจะต้องวางแผนการสอนแบบบูรณาการให้นักเรียนเขียนภาพระบายสีตามหัวข้อที่กำหนด เช่น พ่อของแผ่นดิน แผ่นดินธรรม-แผ่นดินทอง พระอัจฉรียภาพของในหลวง รักพ่อ..ทำดีให้พ่อดู รักพ่อ..พอเพียง จากนั้นให้นักเรียนฝึกเขียนคำขวัญวันพ่อ ทำการ์ดวันพ่อ เขียนเรียงความ เรื่อง พ่อ ร้องเพลงวันพ่อ ให้เด็กๆแสดงละครเทิดพระเกียรติ์ จัดประกวดผลงานนักเรียน จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ์ นักเรียนและครูร่วมลงนามถวายพระพร เป็นต้น นักเรียนและชุมชนชอบมากให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สำหรับปีนี้ขอจัดนิทรรศการออนไลน์ ถวายพระพร...ดังนี้













เพลง ธงชาติ ของ หลง ลงลาย


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แรงบันดาลใจ(Inspiration)






แรงบันดาลใจ(Inspiration)
โดย...จริยา ทองหอม  (วันที่ 21 พ.ย. 2556)


วัตถุประสงค์
            1. การสร้างแรงบันดาลใจ
                1.1 สามารถบอกและอธิบาย “ความหมายของแรงบันดาลใจ”
                1.2 สามารถบอกและอธิบาย “การสร้างแรงบันดาลใจ”
                1.3 สามารถบอกและอธิบาย “บันได 3 ขั้นของการสร้างแรงบันดาลใจของผู้นำ”


เนื้อหาสาระ
            1. การสร้างแรงบันดาลใจ
                1.1 ความหมายของแรงบันดาลใจ
                1.2 การสร้างแรงบันดาลใจ
                1.3 บันได 3 ขั้นของการสร้างแรงบันดาลใจของผู้นำ

แนวคิด
            1. การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Motivation) หมายถึง การที่ผู้นำประพฤติในทางจูงใจให้เกิดแรงบันดาลใจแก่ผู้ตาม โดยการสร้างแรงจูงใจภายใน การให้ความหมายและท้าทายในเรื่องงานของผู้ตาม ผู้นำจะกระตุ้น จิตวิญญาณของทีมให้มีชีวิตชีวา มีการแสดงออกซึ่งความกระตือรือร้น โดยการสร้าง เจตคติที่ดีในการเกิดในแง่บวก ผู้นำจะทำให้ผู้ตามสัมผัสกับภาพของอนาคต และผูกพันกับค่านิยม ที่ดีงาม
            2. แรงบันดาลใจ เป็นพลังอำนาจในตนเองชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิดและการกระทำใด ๆ ที่พึง ประสงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามต้องการ เกิดจากการใช้คำสั่งหรือการขอร้องที่กระตุ้นความ กระตือรือร้นของ ผู้ตาม โดยชี้ให้เห็นคุณค่าแห่งความสำเร็จ ความใฝ่ฝันและแรงบันดาลใจ หรือทำให้ เกิดความเชื่อมั่น


การสร้างแรงบันดาลใจ
1.1 ความหมายของแรงบันดาลใจ
            แรงบันดาลใจ (Inspiration) หมายถึง พลังอำนาจในตนเองชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิดและ การกระทำใด ๆ ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งจูงใจภายนอกก่อให้เกิด แรงจูงใจขึ้นภายในจิตใจเสียก่อน เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการคิดและการกระทำในสิ่งที่พึงประสงค์เหมือนเช่นปกติวิสัยของมนุษย์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าสิ่งที่ตนกระทำนั้นจะยากสักเพียงใด ตนก็พร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลายสู่ความสำเร็จที่ต้องการให้จงได้ แม้จะต้องเสียสละบางสิ่งของตนเองไปบ้าง ก็พร้อมที่จะเสียสละได้เสมอ ถ้าจะช่วยนำมาซึ่งผลสำเร็จที่ต้องการนั้นได้จริง ๆ 
            มนุษย์ส่วนใหญ่ที่ใช้พฤติกรรมทางอารมณ์นำหน้าสติปัญญาหรือยังไม่อาจเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณได้ จะมีโอกาสรู้จักกับอำนาจแห่งแรงบันดาลใจของตนเองน้อยมาก ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเองโดยมิได้จงใจเจตนาเสียมากกว่ามนุษย์จึงไม่รู้ว่าแรงบันดาลใจคืออำนาจภายในตนเองที่ยอดเยี่ยมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเสริมอำนาจการเป็นผู้นำของตนได้เป็นอย่างดี เพราะได้แต่ตกเป็นทาสของสิ่งแวดล้อม ตกเป็นทาสของสิ่งเร้า และตกเป็นทาสของเงื่อนไขที่ผู้อื่นจัดวางเอาไว้ตลอดเวลา จนต้องอยู่ในสภาพของผู้ที่ไม่มีอำนาจในตนเอง เพราะไม่อาจควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการที่แท้จริงของตนเองได้ อำนาจทางการคิดและการกระทำใด ๆ ในชีวิต ล้วนถูกจูงใจด้วยสิ่งเร้าแทบทั้งสิ้น
            การแสดงบทบาทใดในชีวิต จึงเป็นไปตามอำนาจของสิ่งเร้าภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจภายใน ไม่ใช่เกิดจากอำนาจการปลุกเร้าตนเองด้วยแรงบันดาลใจภายในเลย
            ด้วยเหตุนี้จึงพอจะบ่งชี้ให้เห็นความแตกต่างของที่มาของคำสองคำได้อย่างชัดเจน ระหว่างคำว่า แรงจูงใจกับคำว่า แรงบันดาลใจโดยด้านของแรงจูงใจก็คืออำนาจ รับรู้สิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไข อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นตัวบงการให้เกิดพฤติกรรมภายนอกต่อไป ส่วนด้านของแรงบันดาลใจ ก็คืออำนาจอันเกิดจากจิตวิญญาณซึ่งเป็นแก่นแท้ของตนเอง โดยใช้เงื่อนไขภายในจิตใจของตนด้วยตัวเอง ซึ่งเรียกว่า การสำนึกรู้
            1.2 การสร้างแรงบันดาลใจ
            ผู้นำกับการสร้างแรงบันดาลใจ มีดังนี้
            1. รับฟังความคิดและให้คุณค่าของบุคคล (Appeal to the person’s ideals and values) คนส่วนมากต้องการเป็นคนสำคัญ อยากมีคุณค่า ประสบความสำเร็จ ช่วยเหลือผู้อื่น มีส่วนร่วมในความสำเร็จ แรงบันดาลใจเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการดึงดูดทางอารมณ์ที่ดี ตัวอย่างเช่น การพัฒนางานด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังมีลักษณะทางอารมณ์อื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น เสรีภาพ อิสรภาพ ความยุติธรรม ความโปร่งใสความเสมอภาค ความรัก ความก้าวหน้า เป็นต้น
            2. เชื่อมโยงสิ่งร้องขอให้เข้ากับภาพลักษณ์ของบุคคล (Link the request to the person’s self-image)ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากค้นพบวิทยาการใหม่ ๆ ซึ่งมีคุณค่าต่อมนุษยชาติ แพทย์และพยาบาลมีคุณค่าต่อการรักษาสุขภาพของผู้คน วัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไปหรือการกระทำนั้นอาจอธิบายได้ว่าเป็นการพัฒนาความรู้ให้ก้าวหน้า ช่วยพัฒนาการดูแลสุขภาพทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
            3. เชื่อมโยงคำร้องขอเข้ากับวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน (Link the request to the clear and appealing vision)พยายามนำเสนอการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่จะประสบความสำเร็จ เมื่อวิสัยทัศน์ถูกทำให้เป็นจริง คุณค่าทางความคิดนั้นสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องละทิ้งประโยชน์ส่วนตัวเลย
            4. ใช้การตื่นเต้นเร้าใจ ใช้แสดงออกทางการพูด (Use a dramatic, expressive of speaking) การแสดงออกทางคำพูดจะช่วยเพิ่มความรู้สึกด้านอารมณ์ ความรู้สึกอัดอั้นและเก็บกดมักแสดงทางน้ำเสียง ควรใช้คำพูดที่หนักแน่น มีระดับเสียงสูงต่ำ เว้นระยะอย่างเหมาะสม เว้นช่วงสำคัญเพื่อสร้างความรู้สึกสนใจ
            5. ใช้คำพูดที่เป็นบวก มองโลกในแง่ดี (Use positive, optimistic language) ความเชื่อมั่นและมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนั้น สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนงานที่ทำยาก และถ้าหากผู้ปฏิบัติขาดความเชื่อมั่น ก็ควรใช้ภาษาสื่อสารที่เป็นบวก สร้างความมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำมาซึ่งความสำเร็จ ตัวอย่างเช่น ใช้คำว่า สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นแทนคำว่า สิ่งดี ๆ อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
            1.3 บันได 3 ขั้นของการสร้างแรงบันดาลใจของผู้นำ
            บันได 3 ขั้นของการสร้างแรงบันดาลใจของผู้นำมีดังต่อไปนี้
            1. มีความเชื่อมั่นในตนเอง
            มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงพอ ผู้นำต้องเชื่อมั่นในตนเองว่า ผลสำเร็จที่ต้องการจะได้รับจากการคิดหรือจาก การกระทำนั้น สามารถพิชิตมันได้อย่างแน่นอน โดยต้องไม่มีความวิตกกังวล ความลังเลใจ ความสับสนสงสัย และความไม่มั่นใจในตนเองเข้ามาสอดแทรกในระหว่างการคิดคำนึงหรือในขณะที่กำลังลงมือกระทำสิ่งนั้นอยู่โดยเด็ดขาดเพราะมันจะเป็นตัวการลดทอนหรือบ่อนทำลายความเชื่อมั่นในตนเองจนหมดสิ้น เมื่อพลังแห่งความเชื่อมั่นสูญสิ้นพลังความคิด พลังจิต และพลังกายก็จะพลอยถดถอยตามไปด้วย
            ผู้นำที่มีพลังอำนาจในการกระทำสิ่งใด ๆ ได้สำเร็จ แม้เป็นสิ่งยากก็เหมือนง่าย ล้วนมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงด้วยกันทั้งสิ้น (ปริญญา ตันสกุล, 2550 : 145–147)
            2. ความมุ่งมั่นในการลงมือทำ
เมื่อมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงจนเป็นที่น่าพอใจได้แล้ว ก่อนที่จะก้าวสู่ขั้นที่สอง บันไดขั้นที่สอง คือ ความมุ่งมั่น
         ความมุ่งมั่น หมายถึง ความตั้งใจล้นเปี่ยม ในอันที่จะทำสิ่งใด ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จให้จงได้ ไม่ว่าจะต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และกำลังสติปัญญามากน้อยแค่ไหน ไม่ว่ามันจะต้องเปลืองเวลาเนิ่นนานสักเท่าใด และ ไม่ว่าจะยากสักปานใด ก็จะไม่ย่อท้อโดยเด็ดขาด
            พลังอำนาจแห่งความมุ่งมั่น จะแสดงตัวออกมาภายนอกผ่านพฤติกรรมของการมีมานะพยายาม ความบากบั่นหมั่นเพียร ความอดทนต่อความเหนื่อยล้า และความกล้าหาญต่อการฟันฝ่าอุปสรรค ปัญหา ซึ่งมันจะช่วยให้คุณสามารถทำงานใด ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะประสบผลสำเร็จได้
            3. ความมีศรัทธาในผลสำเร็จที่มุ่งหวัง
            ความมีศรัทธาในผลสำเร็จที่มุ่งหวัง หมายถึง การมองเห็นผลสำเร็จที่จะได้จากการกระทำที่มีคุณค่าสูงสุดและมีความรู้สึกว่า ถ้าเข้าถึงมันได้จะเป็นสิ่งที่น่าท้าทายที่สุดในชีวิต



ที่มา: การสร้างแรงบันดาลใจ. ชุดบทเรียนเพื่อพัฒนาตนเอง  โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมถ์  ค้นคืนวันที่ 21 พ.ย. 2556. จาก  http://www.br.ac.th/E-learning/lesson4_1.html

ภูเบศร์ สมุทรจักร. (2552). Inspiration…พลังแห่งลมหายใจ ไฟในการทำงาน.  Productivity World 21
March - April 2009. ฝ่ายวิจัยและวางแผน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ค้นคืนวันที่ 20 พ.ย.2556.