วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564

4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสงครามเชื้อโรคโควิด 19





(ร่าง)

หลักสูตร 4 ยุทธศาสตร์
พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21
ท่ามกลางสงครามเชื้อโรคโควิด 19


ชื่อ : นางสาวจริยา ทองหอม
ตำแหน่ง : ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สายงาน : กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา
หน่วยงาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


แนวคิดหลักการของหลักสูตร 4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21
ท่ามกลางสงครามเชื้อโรคโควิด 19

จากการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร คน บุคลากร
งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ในสถานการณ์ที่ยากลำบากต่อการจัดการเรียนรู้ ทำให้เราต้องเปิดโอกาส เปิดพื้นที่  ให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ความสามารถในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับนักเรียนในแต่ละพื้นที่ เป็น My set อย่างหนึ่งซึ่งเราได้รับคำสั่งจากส่วนกลางมากจนทำให้ครูไม่ได้ใช้ศักยภาพของตนเองตามบริบทของพื้นที่ในการแก้ปัญหาของตนเอง เพราะความคิดไปติดอยู่กับคำสั่งที่มาจากส่วนกลาง ด้านบุคคล ต้องมองมาที่ครูเราแต่ละคนว่ามีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้อย่างไร ในลักษณะใด ครูเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี การบูรณาการไปกับวิถีชีวิตชุมชน ต้องเปิดพื้นที่ให้ครูได้ใช้ศักยภาพของตนเองในการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหาร ในเขตพื้นที่ ท่านศึกษานิเทศก์จะเป็นขวัญและกำลังใจที่ดีให้กับครู บทบาท การให้กำลังใจแก่คุณครู การบูรณาการ การใช้งบประมาณในการจัดทำเอกสาร ใบงาน แบบฝึกในสถานการณ์นี้ให้กับนักเรียน ซึ่งจัดการเรียนการสอน แบบ On hand 70% ต้องใช้งบประมาณเยอะมากกับส่วนนี้ ถ้าต่างคนต่างทำโดยไม่มีการบูรณาการจะใช้เยอะมาก ควรใช้หลักการบูรณาการใบงานระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เข้าด้วยกันโดยไม่แยกส่วน จะทำให้งบประมาณที่จะไปถึงนักเรียนไม่เป็นเบี้ยหัวแตก เนื้อหาต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อความประหยัด ไม่สิ้นเปลือง จะทำให้ลดภาระงานของครู ให้ครูได้มีเวลาไปตรวจการบ้านของนักเรียน ด้านวัสดุอุปกรณ์ โทรศัพท์ เราจะบริหารจัดการการเรียนการสอนอย่างไร เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ จะเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ การเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบตัว ถ้าครูออกแบบการเรียนรู้ดีๆ เวลาเรียน 1 ชั่วโมงของการเรียนแบบออนไลน์อาจใช้เวลาจริงๆ ประมาณ 15 นาที เท่านั้นเอง การเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการเรียนแบบออนไลน์เท่านั้น เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากทุกอย่างที่อยู่รอบตัว และในชีวิตจริงของเด็ก ครูใช้ศักยภาพของตนเองให้มากขึ้น ครูต้องใช้วิธีการบูรณาการ การบริหารเงินมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ การบูรณาการเรียนรู้กับวิถีชีวิตจะช่วยเด็กได้มาก

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องเป็นผู้นำในการจัดทำหลักสูตรบูรณาการ ในระดับชั้น ป.1-6 บูรณา
การทุกตัวชี้วัด โดยนำครูในทุกโรงเรียนมาคุยกัน มามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร โดยมีการบูรณาการทุก
ตัวชี้วัดเข้าด้วยกัน จะสอนแบบแยกตัวชี้วัดไม่ได้ ต้องทำหลักสูตรแบบบูรณาการ สอนทีเดียวครบทุกตัวชี้วัด
และวัดผลได้ เด็กทำชิ้นงานชิ้นเดียวก็สามารถวัดผลได้ใน 8 สาระการเรียนรู้ ในระดับชั้น ป.1-6 จะช่วยส่งผล
ต่อเรื่องงบประมาณ ต้องมีการประชุมเพื่อจัดทำหลักสูตรบูรณาการ เขตพื้นที่มีข้อจำกัดทุกเรื่อง แต่ข้อจำกัด
ไม่ได้มีปัญหาต่อการสร้างนวัตกรรม แต่จะทำให้เราค้นพบตัวตนที่แท้จริงว่าในสถานการณ์นี้เราสามารถทำ
อะไรได้บ้าง สถานการณ์โควิด บอกเราแล้วว่า เราเรียนแบบเดิมไม่ได้แล้ว เด็กเลยหลุดออกจากระบบ เด็กไม่ทำใบงาน ไม่ส่งใบงาน ถ้าใบงานเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนของใครของมัน ใบงานเพียงใบเดียวที่สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียน ตอนนี้ เรายกการเรียนรู้ไปให้กับพ่อแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเป็น ให้นึกถึงพ่อแม่ในชนบทที่เรียนจบไปนานแล้ว แต่ต้องมาสอนลูกตามมาตรฐานชั้นปี และเนื้อหาแตกต่างไป พอพ่อแม่สอนไม่ได้ พ่อแม่เครียด ลูกเครียด ครูเครียด ซึ่งความจริงคือพ่อแม่สอนไม่ได้ แต่เราจะออกแบบวิธีเรียนอย่างไรให้พ่อแม่สอนได้ มานึกถึงความจริงว่าพ่อแม่สามารถสอนอะไรให้แก่ลูกได้บ้าง นี่คือโจทย์ที่น่าคิดมากกว่า เช่น พ่อแม่ทำงานก่อสร้าง ลูกตามไปก่อสร้างด้วย เอาเนื้อหาเกี่ยวกับการก่อสร้างมาตั้งเป็นโจทย์ แล้วบูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่เข้ากับเรื่องนี้ได้มารวมกัน ให้เด็กได้ช่วยพ่อแม่ทำงานก่อสร้าง ได้ช่วยพ่อแม่ขายของไปด้วยวิธีเรียนแบบนี้จะไม่สร้างความทุกข์ให้แก่พ่อแม่ และเด็ก เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เป็น Active learning ในวิถีชีวิตจริงของเด็ก มันจะเป็นความคงทน ส่วนวิธีวัดผล ในขณะที่พ่อแม่ทำงานก่อสร้าง ขาย
ข้าวแกง ตัดยางไปด้วย พ่อแม่ก็สามารถสอนเด็กได้ เพราะเป็นวิถีชีวิตของพ่อแม่อยู่แล้ว เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีความสุข เรียนแล้วสามารถนำไปใช้ได้เลย รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ก็จะสอนได้ประมาณ 30% และจะมีปัญหาในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การเรียนแบบออนไลน์จะต้องเสริมนวัตกรรมอะไรเข้าไป เช่น คลิปการสอน รูปแบบวิธีเรียน ปัญหาเราเอาวิธีเรียนของคนหนึ่งไปให้กับคนหนึ่งที่ไม่มีความพร้อมในทุกมิติ เช่น เด็กไม่มีเวลาเรียน ต้องเดินทางไปกับพ่อแม่ ต้องไปช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน สอนวิธีเรียน รูปแบบการเรียนการสอน บูรณาการวิธีเรียน เอาเนื้อหาจากวิถีชีวิตจริงๆ ของเด็ก เอาชีวิตจริงของแต่ละคนมาเป็นแกนหลัก ตามบริบทของใครของมัน ตามวิถีชีวิตของแต่ละคน ออกแบบวิธีเรียนอย่างไรให้พ่อแม่สามารถเป็นครูผู้สอนเด็กได้จริง เด็กได้เรียน พ่อแม่ได้ทำงานตามวิถีชีวิตจริง เพื่อแก้ปัญหาเด็กไม่เรียน เด็กไม่ทำงาน เด็กไม่ส่งใบงาน การบูรณาการ การรวมทีม เราต้องวางแผนสร้างสื่อการเรียนการสอนนำไปแขวนไว้เพื่อให้ครูนำไปใช้ เราต้องทำความเข้าใจระหว่างทุกฝ่ายร่วมกัน วางแผนร่วมกัน เรามีข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนทุกโรงอยู่แล้ว ขณะนี้เรากำลังสนใจโรงเรียนที่เรียนไม่ได้ เราจะแก้ปัญหาอย่างไร เชิงบริหารการนิเทศ ในกรณีของ สพป.นศ.1 ซึ่งมีศึกษานิเทศก์ที่เป็นชุดใหม่ทั้งหมด ศึกษานิเทศก์ต้องสร้างเครือข่าย ท่านจะทำงานบริหารจัดการทั้งเขตพื้นที่ด้วยกำลังคนเพียง 9-10 คน ไม่ได้ ในสถานการณ์ไม่ปกติเช่นนี้ ศึกษานิเทศก์ต้องสร้างทีมงาน การนิเทศออนไลน์ ศน.ต้องไม่ลืมว่า คนเราจะไม่พูดปัญหาตนเองต่อสาธารณะ แต่เขาจะพูดแบบ Face to face เราต้องสร้างทีมศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน เอามาร้อยละ 10 ของ แต่ละโรง มาเป็นเครือข่ายในการนิเทศติดตามกับเขตพื้นที่ อย่าให้ทุกเรื่องตรงมาที่เขต เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน แต่เป้าหมายจะต้องเกิดการเรียนรู้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เขตพื้นที่จะขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาอย่างไร โดยมีเป้าหมายว่า เด็กจะต้องได้รับการเรียนรู้

จากความสำคัญและปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น 
ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร 4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสงครามเชื้อโรคโควิด 19 เพื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการเพื่อเป็นแนวทางให้กับสถานศึกษา 
โดยพัฒนา 
1. สร้างหลักสูตรบูรณาการ STEAM Education 
2. ออกแบบวิธีการเรียนรู้ทุกมิติ (อยู่ที่ไหนก็เรียนได้อย่างปลอดภัย) 
3. สร้างคลิปอัจฉริยะ My Course Design (ส่งไปช่วยผู้ปกครองสอนลูก) 
4. สร้างทีมมืออาชีพขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “เราต้องรอดไปด้วยกัน” เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติจริง โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว เพื่อสร้างโอกาสและถ่ายทอดแนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยส่วนรวม

วิสัยทัศน์และหลักการของหลักสูตร 4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลาง
สงครามเชื้อโรคโควิด 19

วิสัยทัศน์
หลักสูตร 4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสงครามเชื้อโรค
โควิด 19 มุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันโดยการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วน

หลักการ
1. เป็นหลักสูตรระยะสั้นผ่านระบบออนไลน์มีจุดหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษา
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2. เป็นหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ยึดสภาพจริง ปัญหา และความต้องการของผู้เรียน
จากชีวิตจริง
3. การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

จุดหมายของหลักสูตร
หลักสูตร 4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสงครามเชื้อโรคโควิด 19

1. สร้างหลักสูตรบูรณาการ STEAM Education #หลักสูตรหลุดโลก(โรค)
1.1 รวมพลังจิตอาสาพัฒนาการศึกษาไทย (ผอ.โรงเรียน+ครูผู้สอนทุกคน) ร่วมคิด+ร่วมทำ+ร่วม
นำ+ร่วมรับผิดชอบไปด้วยกัน ระยะเวลา 1 ตุลาคม 2564- 31 ตุลาคม 2564
1.2 ออกแบบหลักสูตรบูรณาการ Steam Education ทุกชั้นปี ทุกรายวิชา แบ่งกันรับผิดชอบ
(คนละหน่วย/ทีมละหน่วย)
1.3 จัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ
- เน้นเนื้อหาสำคัญใช้จริงในชีวิต สอดคล้องบริบทของผู้เรียน
- บูรณาการสมรรถนะ 3R8C
- กิจกรรมสร้างคุณภาพใหม่ 3 ขั้นตอน (ขั้นรับรู้เปิดใจ + ขั้นเชื่อมโยงสมรรถนะ + ขั้น
สร้างสรรค์นวัตกรรม)
- เน้นพัฒนานิสัยดี ปัญญาดี ปฏิบัติดี เป็นขั้นตอน และสร้างสรรค์นวัตกรรม
1.4 เน้นสร้างความคงทน Active Learning+แบบระเบิดจากข้างใน
- สร้างนวัตกรน้อย ตามธรรมชาติบุคคล

2. ออกแบบวิธีการเรียนรู้ทุกมิติ (อยู่ที่ไหนก็เรียนได้อย่างปลอดภัย)
2.1 แบบออนไลน์ + คลิปอัจฉริยะ (สอนเสริมช่วยผู้ปกครอง)
2.2 แบบเรียนทางไกล (ส่งหน่วยการเรียนรู้ไปให้ เรียนตามสภาพจริง บริบทของตนเอง)

3. สร้างคลิปอัจฉริยะ My Course Design (ส่งไปช่วยผู้ปกครองสอนลูก)
3.1 คลิปการเรียนรู้ Active Learning
3.2 มี 3 ยุทธวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้างคุณภาพใหม่
- กิจกรรมสร้างคุณภาพใหม่ 3 ขั้นตอน (ขั้นรับรู้เปิดใจ + ขั้นเชื่อมโยงสมรรถนะ + ขั้น
สร้างสรรค์นวัตกรรม)
3.3 สร้างคลังความรู้ระดับเขตพื้นที่ ทุกคนสามารถแชร์+เรียนรู้ ได้ตลอดเวลา

4. สร้างทีมมืออาชีพขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “เราต้องรอดไปด้วยกัน”
4.1 ทีมนิเทศประจำโรงเรียน (ร้อยละ 10 ของจำนวนครูทั้งหมด)
4.2 ทีมบริหารจัดการสื่อและนวัตกรรมระดับเขตพื้นที่
- สร้างแรงบันดาลใจ จัดเวทีการเรียนรู้ เสริมแรง ตลอดเวลา
4.3 ทีมติดตาม ประเมินผล ช่วยเหลือ Real-time ทันทีทันใด
โครงสร้างของหลักสูตร
1. สร้างหลักสูตรบูรณาการ Steam Education #หลักสูตรหลุดโลก(โรค)
2. ออกแบบวิธีการเรียนรู้ทุกมิติ (อยู่ที่ไหนก็เรียนได้อย่างปลอดภัย)
3. สร้างคลิปอัจฉริยะ My Course Design (ส่งไปช่วยผู้ปกครองสอนลูก)
4. สร้างทีมมืออาชีพขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “เราต้องรอดไปด้วยกัน”


ระยะเวลาของหลักสูตร
การกำหนดระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 –
มีนาคม 2565 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การประชุมชี้แจงเพื่อเตรียมความพร้อม วันที่ 1 ตุลาคม 2564
การอบรมหลักสูตร บูรณาการ STEAM Education วันที่ 14 -15 ตุลาคม 2564
การอบรมการออกแบบวิธีการเรียนรู้ทุกมิติ 
การอบรมการสร้างคลิปอัจฉริยะ My Course Design 
การอบรมการสร้างทีมมืออาชีพขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “เราต้องรอดไปด้วยกัน” ได้ทุกคน

ระยะที่ 2 ปฏิบัติการ 4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลาง
สงครามเชื้อโรคโควิด 19 (ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 – มีนาคม 2565)
ระยะที่ 3 การรายงานผลการปฏิบัติงาน เมษายน 2565


การวัดและประเมินผล
วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
1. ประเมินผลงาน
2. สอบถามความคิดเห็น
1. แบบประเมินผลงาน
2. แบบสอบถามความคิดเห็น
ผู้เข้ารับการอบรมสร้าง
1. หลักสูตร บูรณาการ STEAM
Education
2. ออกแบบวิธีการเรียนรู้ทุกมิติ
3. สร้างคลิปอัจฉริยะ
My Course Design
4. สร้างทีมมืออาชีพขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ “เราต้องรอดไป
ด้วยกัน” ได้ทุกคน
2. คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็น
ของผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับมาก
หรือมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไ