วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การนิเทศแบบร่วมพัฒนา

การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง
ให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช
จริยา ทองหอม
25 สิงหาคม 2562

การสัมภาษณ์  (25 ส.ค.2562)
1.       การแสดงวิสัยทัศน์ด้านการนิเทศการศึกษา 
การนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision)
(ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   แสดงถึงภาพในอนาคตและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริง)
2.       การนำเสนอแนวคิดในการพัฒนางานวิชาการ
(ความสามารถในการนำเสนอความคิดในการพัฒนางานวิชาการตามความถนัด)
3.       การนำเสนอผลงานที่ภาคภูมิใจ (Best Practice)
(ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ มีประโยชน์ และเป็นแบบอย่างในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา)
4.       บุคลิกภาพ

5.       ทักษะการสื่อสาร

การนิเทศแบบร่วมพัฒนา
(Cooperaive Development Supervision)
จริยา ทองหอม
24 สิงหาคม 2562
             การนิเทศแบบร่วมพัฒนา  คือ ปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และครู ในกระบวนการนิเทศการศึกษาที่มุ่งแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคนิคการนิเทศการสอนเป็นปัจจัยหลัก บนพื้นฐานของสัมพันธ์ภาพแห่งการร่วมคิด ร่วมทำ พึงพา ช่วยเหลือ ยอมรับซึ่งกันและกัน ให้เกียรติและจริงใจต่อกันระหว่างผู้นิเทศ ผู้สอนและคู่สัญญา เพื่อร่วมกันพัฒนาทักษะวิชาชีพ อันจะส่งผลโยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
          จุดมุ่งหมายทั่วไป    การนิเทศแบบร่วมพัฒนาเป็นการนิเทศที่มุ่งแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนของนักเรียน โดยการปรับปรุงการปฏิบัติงานของครูให้เกิดประสิทธิภาพบนพื้นฐานของกระบวนการที่เกิดจากความต้องการของครูในการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
          จุดมุ่งหมายเฉพาะ
             1. เพื่อพัฒนาทักษะการสอนและทักษะการนิเทศแก่ครูอย่างเป็นระบบ โดยมช้วิธีการนิเทศตนเอง นิเทศโยเพื่อนคู่สัญญา นิเทศโดยนิเทศภายในโรงเรียนและนิเทศโดยศึกษานิเทศก์
             2. เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพทางวิชาชีพระหว่างครูและศึกษานิเทศก์ให้กระชับมั่นยิ่งขึ้น
             3. เพื่อสร้างเสริมเจตคติที่ดีต่อการนิเทศการสอนให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ให้เกิดความมั่นใจว่าการนิเทศการสอนสามารถช่วยครูแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้
            4. เพื่อกระตุ้นให้ครูเป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการนิเทศ พัฒนาตนเองเป็นผู้นำการนิเทศภายในโรงเรียน สามารถนิเทศตนเองและนิเทศเพื่อนครูด้วยกันอย่างมีหลักวิชาและมีรูปแบบที่ชัดเจน
            5. เพื่อให้ครูเกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพ และมุ่งมั่นพัฒนาตนเองเป็นครูมืออาชีพอย่างมาตรฐาน และรักษาระดับคุณภาพไว้อย่างต่อเนื่อง
            6. เพื่อให้ศึกษานิเทศก์ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง พัฒนาสื่อการนิเทศ พัฒนาเทคนิควิธีการนิเทศ และนำไปสู่การพัฒนาครูอย่างมีประสิทธิภาพ
           7. เพื่อพัฒนาศาสตร์ทางการนิเทศการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น ตลอดจนกระแสสังคมและสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน โดยเน้นให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มากที่สุด

  
 ลักษณะสำคัญของการนิเทศแบบร่วมพัฒนา
                 ปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศจากใจถึงใจ บนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจและความจริงใจต่อกันในการพัฒนาทักษะวิชาชีพ  ซึ่งมีลักษณะสำคัญ ดังนี้   
                  1. เป็นการนิเทศที่พัฒนามาจากการผสมผสานกันระหว่างการนิเทศจากบุคลากรภายนอกและการนิเทศภายในโรงเรียน โยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่เป็นระบบและมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน
                  2. ในกระบวนการปฏิสัมพันธืทางการนิเทศแบบร่วมพัฒนา จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้และโรงเรียน ซึงมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน เช่น หัวหน้ากุล่มสาระการเรียนรู้มีหน้าที่เป็นผู้นิเทศหรือคู่สัญญา (ถ้าผู้รับนิเทศต้องการ) เพื่อนครูที่สนิทสนมไว้วางใจกันและพร้อมที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาทักษะวิชาชีพ มีบทบาทหน้าที่เป็นคู้สัญญา และครูที่มีความสนใจต้องการมีส่วนร่วมแต่ยังขาดความพร้อม สามารถมีส่วนร่วมได้ในบทบาทของเพื่อนร่วมอุดมการณ์ และมีเครือข่ายที่เป็นบุคลากรจากภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์ หรือครูผู้ร้วมนิเทศ ซึ่งก็จะมีบทบาทเป็นผู้นิเทศหรือที่ปรึกษา 
                 3. เป็นรูปแบบการนิเทศที่ให้ความสำคัญทั้งกระบวนการนิเทศทั่วไป และกระบวนการนิเทศการสอน โดยทั้งสองกระบวนการจะเอื้อประฌยชน์ซึ่งกันและกัน และส่งผลให้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น และสำหรับการนิเทศการสอนในรูปแบบของการนิเทศแบบร่วมพัฒนานี้ได้พัฒนามาจากแนวคิดในการนิเทศการสอนแบบคลีนิกและการนิเทศเชิงเน้นวัตถุประสงค์ 
                 4. เป็นการวมกลุ่มกัน เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูที่มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพสูงและมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาความเจริญงอกงามทางวิชาชีพ โดยกำหนดเป็นโครงการนิเทศ มีระยะเวลาในการดำเนินงาน สามารถติดตามผลการปฏิบัติงานได้ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้นิเทศจะต้องรับรูเมีส่วนร่วมในการติดตามผล ให้ความสนับสนุนและอำนวยความสะดวก 
                 5. เน้นหลักประชาธิปไตยในการนิเทศ โดยครูจะมีเสรีภาพในการนิเทศ เลือกผู้นิเทศ เลือกคู่สัญญา เลือกเวลาในการปฏิบัติการนิเทศ เลือกบทเรียนที่จะสอน เลือกเครื่องมือสังเกตการสอน ในการนิเทศการสอน ครูสามารถเลือกวิธีการนิเทศตนเอง คือ สังเกตพฤติกรรมการสอนของตนเองแทนที่จะให้ผู้นิเทศหรือคู่สัญญาหรือศึกษานิเทศก์เข้าไปสังเกตการสอนหรือถ้าหากครูมีความพร้อมใจ ต้องการให้ผู้นิเทศหรือคู่สัญญาเข้าไปสังเกตการสอน ครูก็สามารถเลือกหรือรับรู้ทำความเข้าใจกับเครื่องมือสังเกตการสอน จนเป็นที่พอใจและไม่มีความวิตกกังวลต่อผลของการใช้เครื่องมือสังเกตการสอนนั้นๆ

                  6. การสังเกตการสอนในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ผู้นิเทศต้องไม่สร้างภาพพจน์ในการวัดผลหรือประเมินผลการสอน แต่จะเป็นการบันทึกและอธิบายภาพที่เกิดขึ้นในห้องเรียนว่าผู้สอนมีพฤติกรรมอย่างไร มากน้อยเท่าใด ไม่ใช่ดีหรือไม่ดีอย่างไรเพราะไม่ต้องการให้ครูเกิดความรู้หวั่นกลัวการประเมินและวิตกกังวลต่อปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศ 
                  7. การสังเกตการสอนในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาจะเน้นที่การสังเกตตนเองเชิงเน้นวัตถุประสงค์เป็นหลัก โดยมีเครื่องมือสังเกตการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการนิเทศซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ส่วนการสังเกตการสอนโดยคู่สัญญาหรือผู้นิเทศอื่น ๆ เช่น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือศึกษานิเทศก์ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเป็นความต้องการของครูผู้นั้น   
                  8. การวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนของครู จะต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการสอนไม่ใช่จากความคิดเห็นส่วนตัว ค่านิยม หรือประสบการณ์ของผู้นิเทศเอง 
                  9. การใช้ข้อมูลป้อนกลับหลังจากการสังเกตการสอน และการวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนผู้นิเทศจะใช้เทคนิคนิเทศทางอ้อม เพื่อพัฒนาให้ครูสามารถวางแผนการสอนได้เอง วิเคราะห์การสอนของตนเองได้ ประเมินผลการสอนของตนเองได้ และสามารถนิเทศตนเอวได้ในที่สุด 
                10. การปฏิบัติการนิเทศ ยึดหลักการนิเทศแบบมีส่วนร่วม คือ ทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะทำงานร่วมกันทั่งกระบวนการ ตั้งแต่การหาความต้องการจำเป็นในการนิเทศ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการนิเทศ การวางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศและการประเมินผลการนิเทศด้วยความเสมอภาคกัน ยอมรับ ยกย่อง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ในฐานะผู้ร่วมวิชาชีพ   
                 11.ในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติการในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้ครูเกิดความภาคภูมิใจและเกิดความสุขในวิชาชีพ มีพลังที่จะแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงาน แลละมีความพึงพอใจที่จะนำข้อนิเทศไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง   
                  12. การนิเทศแบบร่วมพัฒนา เป็นการนิเทศที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน เป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม 
                  13. เป็นการนิเทศที่ยึดหลักการเชิงมนุษยนิยม เป็นการทำงานร่วมกันด้วยความจริงใจ เชื่อมั่น เข้าใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือร่วมมือและสนับสนุนต่อกันในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ 
                  14. ผู้นิเทศและครูมีโอกาสวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศและปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศร่วมกัน เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่อง และช่วยกันวางแผนในการพัฒนาปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศให้เกิดประสิทธิภาพและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

                  15. มีรูปแบบในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายแนวร่วมในการขยายผลตามลำดับขั้นของการมีส่วนร่วม เป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ดำเนินงาน และผู้ที่มีความสนใจจะอาสาเข้าร่วมดำเนินงาน ใช้เทคนิควิธีการขยายผลโดยการ "ขายตรง" และ "การมีส่วนร่วม" โดยค่อยๆขายบความคิดและเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมที่ละน้อย ในฐานะ "เพื่อนร่วมอุดมการณ์"จนกว่าจะเกิดความพร้อมที่จะอาสาเข้าร่วมดำเนินการด้วยอย่างเต็มตัว และเมื่อเข้าร่วมดำเนินการแล้ว มีผลการดำเนินงานดีเด่น มีประสิทธิภาพ มีเครือข่ายแนวร่วมเป็นจำนวนมาก ก็จะได้รับการเสริมแรงในลักษณะต่างๆ ซึ่งเทคนิคนี้เรียกว่าเทคนิค "การสร้างรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์" เพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องและไม่หยุดยั้ง  
 กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา 
     ขั้นที่ 1 การวางแผนการดำเนินงาน (Planning-P) เป็นขั้นตอนที่ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกฝ่ายจะประชุมหารือกันถึงปัญหาในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนควรแก้ไขก่อน และหรือนโยบายในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยจะระดมสมองหาความต้องการจำเป็น (Need Assessment) ในเรื่องที่จะต้องมีการนิเทศ รวมทั้งร่วมกันวางแผนและกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานนเทศ ซึ่งอาจจะดำเนินการในลักษณะของงานหรือโครงการนิเทศเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอน 
    ขั้นที่ 2 การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน (Informing-I) เป็นขั้นตอนของการทำความเข้าใจกระบวนการนิเทศทั้งระบบ และวิธีการดำเนินงานในแต่ละขั้นของการนิเทศ เพื่อให้ผู้ดำเนินงานมีความรู้ ความเข้าใจ มใทกษะ และมีเทคนิคในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพขั้นตอนนี้นอกจากจะเป็นการช่วยให้ผู้ดำเนินงานสามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจในการทำงานให้แก่ผู้ดำเนินงานอีกด้วย 
    ขั้นที่ 3การปฏิบัติงานตามแผน (Doing - D) เมื่อผู้ดำเนินงานได้ผ่านขี่นตอนการวางแผนและขั้นตอนการเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานไปแล้ว การปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนของผู้ให้การนิเทศ ผู้รับการนิเทศ และผู้สนับสนุนการนิเทศก็จะดำเนินไปตามปฏิทินปฏิบัติงานที่ได้รตกลงร่วมกันและกำหนเดไว้ในแผน โดยจะได้รับความช่วยเหลือและร่วมมือจากผู้นิเทศภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์ ครูผู้ร่วมนิเทศ ศุนย์พัฒนาการเรียนการสอน และเครือข่ายจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผูนิเทศภายในโรงเรียนเช่น หัวหน้ากลุ่มสาระ คู่สัญญา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและผู้บริหารสถานศึกษา 
   ขั้นที่ 4 การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation - E) การประเมินผลการปฏิบัติงานหรือโครงการนิเทศ ควรดำเนินการประเมินทั้งระบบ เพื่อให้ทราบประสิทธิภาพของโครงการจึงควรจะประเมินสิ่งต่างๆ ตามลำดับของความสไคญ ดังนี้ 
                 4.1 ผลผลิตที่ได้จากการนิเทศ (Output)  คือ สัมฤทธิผลิตการเรียนของผู้เรียน และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับการนิเทศตามเป้าหมายของการนิเทศนั้น ได้แก่ ผลที่เกิดขึ้นจากการนิเทศ (ระดับความสามารถในการทำงานของผู้รับการนิเทศ การเพิ่มจำนวนของบุคลากรที่มีคุณภาพภายในหน่วยงาน ความตั้งใจในการทำงานของบุคลากร และความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยงาน) และผลที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการนิเทศ(เจตคติของผู้รับการนิเทศที่มีต่องานและต่อผู้ร่วมงาน ระดับความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันของผู้รับการนิเทศที่มีต่อเป้าหมายในการทำงาน ระดับของจุดมุ่งหมายที่จัดตั้งขึ้น ระดับความร่วมมือร่วมใจที่มีต่อกลุ่มทำงาน ความเชื่อมั่นและความไว้ว่างใจในตนเอง เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา และความรู้สึกของผู้รับการนิเทศที่มีต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน)   
                 4.2 กระบวนการดำเนินงาน (Process) คือ ความเหมาะสมของขั้นตอนในการทำงาน ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ริเทศกับผู้รับการนิเทศและบรรยากาศในการทำงาน 
                 4.3 ปัจจัยป้อนเข้า (Input) คือ การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการนิเทศ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ งบประมาณการเงิน รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ 
      ขั้นที่ 5 การเผยแพร่ขยายผล (Diffusing - D)  ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน  ส่วนการขยายเครืออข่ายการดำเนินงานนิเทศ โดยใช้เทคนิคการขายความคิด ให้เกิดความเชื่อถือ ศรัทธา แล้วจึงใช้เทคนิคการเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมที่ละน้อย ในฐานะเพื่อร่วมอาชีพหรืออุดมการณ์ จนเกิดความพร้อมที่จะเข้าร่วมดำเนินการด้วยอย่างเต็มตัว ในฐานะ "ครูปฏิบัติการ" หรือ ฐานะ "คู่สัญญา" และเมื่อดำเนินการงานได้ผลดี  มีเครือข่ายแนวร่วมเพิ่มมากขึ้น ครูปฏิบัติการก็จะได้ปรับเปลี่ยนบทบาทขึ้นเป็นผู้นิเทศเครือข่ายผู้ปฏิบัติการรุ่นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการให้แรงเสริมแก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือเรียกว่าใช้เทคนิค "การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์" นับว่า เป็นกลวิธีการเผยแพร่และขยายผลที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นความพร้อมหรือความสมัครใจของครูเป็นหลัก  ขั้นเสริม การร่วมใจและการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ (Cooperating - C Reinforcing - R)  นับว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ผลการดำเนินงานได้ทั้งคน งานและจิตใจที่ผูกพันอยู่กับงาน 

        กระบวนการนิเทศการสอนแบบร่วมพัฒนา 
                   กระบวนการนเทศการสอนแบบร่วมพัฒนา เป็นกระบวนการนิเทศการสอนในชั้นเรียนอย่างมีระบบครบวงจร โดยเน้นการสังเกตการสอนอย่างมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำข้อมูลมาแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 
                    ขั้นตอนที่ 1 คู่สัญญาตกลงร่วมกัน   เป็นขั้นตอนที่ครู 2 คนที่สนิทสนมไว้วางใจซึ่งกันและกัน ได้ตกลงร่วมกันในการที่จะพัฒนาทักษะวิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์จะร่วมกันแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน หรือปรับปรุงพฤติกรรมการสอน โดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้สอน และอีกฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เป็นคู่สัญญา คอยให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษาและให้กำลังใจ ซึ่งสวัมพันธภาพของคู่สัญญา จะดำเนินไปในลักษณะของเพื่อนร่วมอาชีพที่มเจตนารมณ์และอุมการณ์เดียวกัน   ความสัมพันธ์ของคู่สัญญาทั้งสองจะอยู่บนพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตย ความเสมอภาค การยอมรับซึ่งกันและกัน มีความจริงใจ ให้เกียรติกัน มีความพร้อมที่จะร่วมมือช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดสัมฤทธิผลจนเป็นที่พอใจร่วมกัน 

                    ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนร่วมกัน  เป็นขั้นที่ครูผู้สอนจะนำปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนมาปรึกษาหารือกับคู่สัญญา เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ซึ่งอาจใช้แผนภูมิก้างปลาในการศึกษาสาเหตุของปัญหา และช่วยกันรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวฃทางในการวางแผนแก้ปัญหา โดยอาจนำปัญหาและสาเหตุที่วิเคราะห์ได้ไปปรึกษาหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้นิเทศโดยตรงอยู่แล้ว หรือปรึกษาหารือเพื่อนร่วมงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งอาจเป็นผู้เชรายวชาญหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาในลักษณะเดียวกันมาแล้ว 
                   ขั้นตอนที่ 3 กำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา  เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนจะตกลงใจเลือกปัญหาที่สำคัญ และต้องการแก้ไขก่อนมาระบุวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ส่วนคู่สัญญาจะมีหน้าที่คอยเป็นคู่คิดให้คำปรึกษาและให้กำลังใจ
                   ขั้นตอนที่ 4 วางแผนการสอนและผลิตสื่อ  เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนจะนำจุดประสงคืการเรียนรู้ และเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนทั้งจากในบทเรียน และสื่ออื่น ๆ มาวิเคราะห์ร่วมกับคู่สัญญา เพื่อวางแผนการสอนและเตรียมการผลิตสื่อประกอบการสอน โดยคู่สัญญาจะทำงานร่วมกันกับผู้สอนพร้อมทั้งช่วยปรับปรุง แก้ไขแผนการสอน และสื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยทั้งคู่จะรับผิดชอบร่วมกันในผลของการสอน ในการณีที่ผู้สอนต้องการให้คู่สัญญาเข้าไปสังเกตการสอน คู่สัญญาจะได้เข้าใจบทเรียนเพิ่มขึ้น จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนการสอน เมื่อผู้สอนเตรียมการสอนเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาก็จะให้กำลังใจ เพื่อช่วยให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจ และเกิดพลังที่จะดำเนินการสอนให้เกิดสัมฤทธิตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ 
                    ขั้นตอนที่ 5 วางแผนการนิเทศการสอน   เป็นขั้นที่ทั้งผู้สอนและคู่สัญญาจะวางแผนร่วมกัน โดยกำหนดวิธีการและแนวปฏิบัติในการสังเกตการสอนในชั้นเรียน รวมทั้งช่วยกันสร้างเครื่องมือสังเกตการสอน ที่เฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ในการนิเทศแต่ละครั้งหรือเลือกเครื่องมือสังเกตการสอนที่มีอยู่แล้ว และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือสังเกตการสอนที่จะใช้รวมทั้งอุปกรณืที่จำเป็นต้องใช้ในขณะสังเกตการสอน ตลอดจนสร้างข้อตกลงร่วมกันว่าในขณะสอนและสังเกตการสอน ผู้สอนจะอนุญาตให้คู่สัญญาเข้าไปสังเกตการสอนอยู่หลังชั้นเรียน หรือจะให้คู่สัญญามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนหรือร่วมกิจกรรมด้วย ตลอดจนตกลงร่วมกันว่าจะแจ้งให้ผู้เรียนทราบหรือไม่ว่าคาบเรียนรี้จะมีผู้มาสังเกตการสอน จะสังเกตตลอดทั้งคาบลเรียนหรือช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ ข้อตกลงทั้งหมดต้องอยู่ในความยินยอมพร้อมใจ หรือความต้องการของผู้สอนทั้งสิ้น เพื่อผู้สอนจะได้สบายใจไม่วิตกกังวลต่อพฤติกรรมการสังเกตการสอนของคู่สัญญา ในกรณีที่ผู้สอนต้องการจะสังเกตการสอนด้วยตนเอง ค่สัญญาก็จะมีหน้าที่เพียงให้ความร่วมมือช่วยเหลือและให้ข้อเสนอแนะในการสร้างหรือเลือกใช้เครื่องมือสังเกตการสอนที่เหมาะสมเท่านั้น

                   ขั้นตอนที่ 6 สอนและสังเกตการสอน  เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนและครู ตลอดจนสภาพการณฺทุกอย่างที่เกิดขึ้นในห้องเรียน การสังเกตการสอนเปรียบเสมือนการนำกระจกบานใหญ่ไปตั้งไว้หลังวชั้นเรียน เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าในห้องเรียนนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และผู้สังเกตก็จะบันทึกข้อมู,ที่รวบรวมได้ไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือพิจารณา วินิจฉัย เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขพฤติกรรมการเรียนการสอนต่อไป 
                  ขั้นตอนที่7วิเคราะห์ผลการสอนและผลการสังเกตการสอน   เป็นขั้นที่คู่สัญญาจะร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสังเกตการสอน ซึ่งจะค้นพบพฤติกรรมทั้งที่ประสบความสำเร็จอย่างเด่นชัดของผู้สอน และพฤติกรรมที่ควรปรับปรุง แก้ไข ในด้านต่าง ๆ ซึ่งผู้สังเกตได้รวบรวมไว้ทั้งหมด ตลอดจนข้อมูลหรือเหตุการณืต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะการเรียนการสอนกำลังดำเนินอยู่ ผู้สังเกตการสอนและผู้สอนจะร่วมกันวิเคราะห์ แปลความ ตีความพฤติกรรมที่สังเกตได้ และนำผลการวิเคราะห์ มาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของความเสมอภาคจริงใจ และมีความมุ่งหวังอย่างเดียวกัน คือ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน 
                  ขั้นตอนที่ 8 ให้ข้อมูลป้อนกลับซึ่งกันและกัน   เป็นขั้นตอนเสรีมสร้างขวัญ ที่ผู้ทำหน้าที่นิเทศจะต้องใช้เทคนิคหรือกลวิธีหรือทักษะที่ละเอียดอ่อน ที่มีประสิทธิภาพ (เทคนิควิธีการนิเทศทางอ้อม ของ นิพนธ์ ไทยพานิช ดังนี้ คือ ผู้นิเทศจะต้องพูดน้อย ฟังมาก ยอมรับและใช้ความคิดของครูให้เป็นประฌยชน์ต่อการนิเทศ ใช้คำถามช่วยคลี่คลายทำให้กระจ่างชัดเจนขึ้น ให้คำยกย่อง ชมเชยในผลงานของครู หลีกเลี่ยงการให้คำแนะนำโดยตรง หากจำเป็นควรเสนอทางเลือกให้หลาย ๆ วิธีเพื่อให้ครูเลือกวิธีการที่เหมาะสมเอง การสนับสนุนครูคำพ๔ด แบะการยอมรับและใช้ความรู้สึกของครูให้เป็นประโยชน์ หรือ ใช้แซนวิช เทคนิค ของ Bittlle ดังนี้ ชมเชย ยกย่อง ยอมรับในผลงานที่ประสบความสำเร็จของครู อภิปราย-พูดคุยถึงพฤติกรรมที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพียงเล็กน้อย สรุปผลงาน แนะวิธีแก้ไข ให้กำลังใจครูซ้ำอีกเพื่อจะได้เกิดพลังในการนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติให้เกิดผล) ประกอบกับต้องมีศิลปะในการพูดผนวกกับการใช้จิตวิทยาในการให้คำปรึกษาซึ่งไม่ควรให้มากเกินไปและไม่ควรให้ในสิ่งที่เป็นข้อจำกัด ผู้นิเทศจะต้องเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่คาดคะเนว่าครูจะสามารถปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้เท่านั้น การให้ข้อมูลป้อนกลับ ต้องคำนึงสัมพันธภาพทางวิชาชีพที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของพฤติกรรม ดังต่อไปนี้ คือ ต้องเกิดจากความต้องการของครู  มุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพ ร่วมมือกันในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพ มุ่งเฉพาะพฤติกรรมการเรียนการสอนไม่ใช่บุคลิกภาพของครู ครูมีความพร้อมที่จะรับ สถานที่และจังหวะเวลาที่เหมาะสม ครูมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน อย่าให้มากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้คำนิยมส่วนตัว ให้ในลักษณะเชิญชวน ไม่ใช่การวัดผลการสอนของครู อยู่บนพื้นฐานของการนิเทศทางอ้อม ประชาธิปไตย เสมอภาค จริงใจ ให้เกียรติกัน ยอมรับซึ่งกันและกัน 
                   ขั้นตอนที่ 9 วางแผนการสอนและการนิเทศการสอนต่อเนื่อง เป็นการเริ่มต้นวัฏจักรของกระบวนการนิเทศอีกรอบหนึ่ง เพื่อให้ครู และผู้นิเทศมีโอกาสทบทวนกระบวนการเรียนการสอนร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง และมีโอกาสเลือกพฤติกรรมการเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จไปในการสอนครั้งต่อไป รวมทั้งเลือกพฤติกรรมการเรียนการสอนที่ควรปรับปรุงในวัฏจักรเก่าไปร่วมกันศึกษาหาแนวทางและวางแผนในการปรับปรุง โดยการนำพไปทดลองสอนและสังเกตการสอนอีกครั้งหนึ่งในวัฏจักรใหม่ เทคนิคในการนิเทศของผู้นิเทศและความมุ่งมั่นของผู้รับการนิเทศจะนำไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ (Professional Teacher) 


ที่มา:
https://tonghom2009.blogspot.com/
https://www.gotoknow.org/posts/200729
https://sites.google.com/site/nithesxxnlinphechrburn/rayngan-kar-suksa-kar-nithes-baeb-rwmphathna