ปฏิรูปการศึกษา: พลิกโฉมการศึกษาไทยใน
1 ปี
(Thailand School
Change Maker Festival in 2015)
โดย
จริยา ทองหอม
15
สิงหาคม 2558
ปฏิรูปการศึกษา: พลิกโฉมการศึกษาไทยใน
1 ปี (Thailand School Change Maker Festival in
2015) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินกิจกรรม
School
Change Maker Festival หรือ พลิกโฉมการศึกษาไทยใน 1 ปี
ของโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม
2558 – 13 สิงหาคม 2558 สู่ระดับสากล
ดังนี้
สาเหตุของปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยประการหนึ่ง
คือ ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบัน เป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบ (Accountability)
หลักสูตรและตำราเรียนของไทย ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่
21 (21st Century Skills) การเรียนการสอน ตลอดจน การทดสอบยังคงเน้นการจำจำเนื้อหามากกว่าการเรียนเพื่อให้มีความรู้อย่างแท้จริง
(TDRI อ้างถึงใน www.dlthailand.com. : online) อีกสาเหตุหนึ่งคือ
การจัดการศึกษาในหลายพื้นที่ของประเทศไทย
ประสบปัญหาการขาดแคลนครู ครูไม่ครบชั้น ครูไม่ครบทุกสาระการเรียนรู้ ครูมีประสบการณ์หรือทักษะการจัดการเรียนรู้น้อย
ขาดสื่อและอุปกรณ์ที่ทันสมัย โรงเรียนมีกิจกรรมมาก ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนน้อย
ทรัพยากรอยู่กระจัดกระจายไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า เป็นต้น (www.dlthailand.com. : online)
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล
(Distance
Learning) จึงเป็นการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา
แก้ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ช่วยครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้ทุกห้องเรียน
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นักเรียนและครูมีโอกาสเข้าถึงและเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย
มีการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครูด้านการออกแบบกิจกรรมที่เน้นการสร้างความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
เนื้อหา ตลอดจนสื่อ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดเรียนการสอน ซึ่ง
เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ลดช่องว่าง และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับคนไทยทุกคน
ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชน
School Change Maker Festival เป็นแนวทางหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาไทย
ในปีการศึกษา 2558 ที่ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม
จากการติดตามการดำเนินงานของอาจารย์ครรชิต มนูญผล ซึ่งเป็นคณะทำงาน ของโครงการ ระหว่างวันที่
24 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม 2558 ปรากฏผล ดังนี้
การอบรมครูผู้สอนและครูผู้ช่วย มีจุดเน้นในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่
1. เพื่อสร้างความตระหนักในบทบาทครูพัฒนาการศึกษาของชาติ
2. เพื่อปรับหลักสูตรโดยใช้ช่องทาง DLIT
พัฒนาคุณภาพ สู่ห้องเรียนอย่างมีคุณภาพ (กลยุทธ์ 4 ปรับ)
3.
เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง
(Instructional Design)
4. เพื่อออกแบบการวัดผลประเมินเพื่อฟื้นคืนความมั่นใจผู้เรียน
(Formative Assessment + Authentic Assessment)
5. การจัดทำแผนการเรียนรู้หน้าเดียว
6. จากบันทึกผลหลังสอนสู่วิจัยหน้าเดียว
7.
เทคนิคการพัฒนาศักยภาพสมอง
การนิเทศถึงห้องเรียน
DLIT
(Distance Learning Information Technology)
วิธีการนิเทศที่สำคัญ
ได้แก่
1. นิเทศถึงห้องเรียนเพื่อสังเกตบรรยากาศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกชั้นปี
2. สนทนาเชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย
3. มอบหมายภาระงานและสร้างกลุ่ม PLC
School
Change Maker Festival หรือ
พลิกโฉมการศึกษาไทย ใน 1 ปี เป็นกิจกรรมการปฏิรูปการศึกษาที่แก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา แก้ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
ลดช่องว่าง และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับคนไทยทุกคน
ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรม
ชัดเจน และน่าชื่นชม
ชาติยืนยง คงอยู่
เพราะครูดี ภาระหลัก รักหน้าที่
เรามีอยู่
ให้ความรู้ คู่คุณธรรม
ล้ำค่าครู ไทยคงอยู่
เพราะครูดี คอยชี้นำฯ
โดย
จริยา ทองหอม
สาเหตุของปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยประการหนึ่ง
คือ ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบัน เป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบ (Accountability)
หลักสูตรและตำราเรียนของไทย ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่
21 (21st Century Skills) การเรียนการสอน ตลอดจน การทดสอบยังคงเน้นการจำจำเนื้อหามากกว่าการเรียนเพื่อให้มีความรู้อย่างแท้จริง
(TDRI อ้างถึงใน www.dlthailand.com. : online) อีกสาเหตุหนึ่งคือ
การจัดการศึกษาในหลายพื้นที่ของประเทศไทย
ประสบปัญหาการขาดแคลนครู ครูไม่ครบชั้น ครูไม่ครบทุกสาระการเรียนรู้ ครูมีประสบการณ์หรือทักษะการจัดการเรียนรู้น้อย
ขาดสื่อและอุปกรณ์ที่ทันสมัย โรงเรียนมีกิจกรรมมาก ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนน้อย
ทรัพยากรอยู่กระจัดกระจายไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า เป็นต้น (www.dlthailand.com. : online)
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล
(Distance
Learning) จึงเป็นการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา
แก้ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ช่วยครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้ทุกห้องเรียน
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นักเรียนและครูมีโอกาสเข้าถึงและเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย
มีการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครูด้านการออกแบบกิจกรรมที่เน้นการสร้างความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
เนื้อหา ตลอดจนสื่อ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดเรียนการสอน ซึ่ง
เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ลดช่องว่าง และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับคนไทยทุกคน
ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชน
การอบรมครูผู้สอนและครูผู้ช่วย มีจุดเน้นในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่
1. นิเทศถึงห้องเรียนเพื่อสังเกตบรรยากาศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกชั้นปี
School
Change Maker Festival หรือ
พลิกโฉมการศึกษาไทย ใน 1 ปี เป็นกิจกรรมการปฏิรูปการศึกษาที่แก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา แก้ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
ลดช่องว่าง และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับคนไทยทุกคน
ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรม
ชัดเจน และน่าชื่นชม
ชาติยืนยง คงอยู่
เพราะครูดี ภาระหลัก รักหน้าที่
เรามีอยู่
ให้ความรู้ คู่คุณธรรม
ล้ำค่าครู ไทยคงอยู่
เพราะครูดี คอยชี้นำฯ
อ้างอิง:
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(DLIT).
(2558). ค้นเมื่อ 14
สิงหาคม 2558
จาก http://www.dlthailand.com/thima-khxng-khorngkar
Kanchit
Manoonphol. (2558). การพัฒนาคุณภาพฯผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT).
ค้นเมื่อ 14
สิงหาคม 2558 จาก https://www.facebook.com/kanchit.manoonphol?fref=ts
จริยา
ทองหอม.
(2558). ทิศทางการปฏิรูปการศึกษาไทยในปีการศึกษา 2558. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2558
จาก https://www.academia.edu/11155180/ และ
https://www.facebook.com/profile.php?id=100001093292112
จริยา
ทองหอม.
(2558). ปฏิรูปการศึกษา: พลิกโฉมการศึกษาไทยใน
1 ปี (Thailand School Change
Maker Festival in 2015). ลิงค์ http://tonghom2009.blogspot.com/
และ https://www.academia.edu/14942201/