บันทึก Learning
Management System (LMS) และ Moodle นี้เกิดขึ้นจากการค้นหาคำตอบของคำว่า Learning
Management System (LMS) และ Moodle ในปฐมบทว่าคืออะไร
มีลักษณะและองค์ประกอบอย่างไร เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ และง่ายต่อการค้นคืน
จึงใช้วิธี C&P
ง่าย ๆ สำหรับการอ่าน และทำความเข้าใจในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยผู้บันทึกไม่ได้สังเคราะห์เพิ่มเติม
ซึ่งเนื้อหาสาระที่สืบค้นจำแนกเป็น 3
ตอน คือ
ตอนที่ 1 Learning Management System (LMS)
ตอนที่ 2 Learning Management System (LMS)
ตอนที่ 3 Moodle
คืออะไร?
กราบขอบพระคุณเจ้าของบทความ
เจ้าของภาพประกอบ และทุก ๆ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
จริยา ทองหอม
11 เมษายน 2559.
ตอนที่ 1
Learning Management System (LMS)
ระบบการจัดการเรียนรู้: Learning
Management System (LMS)
LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning
Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ
โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ
จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ
ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้
เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล
กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์
ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบ ของ Learning Management System
(LMS)
LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course
Management ) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3
ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน
เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware /software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ
2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content
Management ) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content
ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
3. ระบบการทดสอบและประเมินผล
( Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ
โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ
พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
4. ระบบส่งเสริมการเรียน ( Course
Tools ) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน -
ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom
โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
5. ระบบจัดการข้อมูล ( Data
Management System ) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin
กำหนดให้
องค์ประกอบ ของ Learning
Management System (LMS)
สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2559.
จาก http://www.academic.hcu.ac.th/research/Found/e-learning2.htm
Learning Management System (LMS)
ความหมาย
LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก
Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ
โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ
จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ
ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้
ลักษณะของ LMS
เป็นคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อบันทึกและจัดข้อมูลการเรียนการสอนโดยโปรแกรมจะทำหน้าที่ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียนและออกจากบทเรียนของผู้เรียนตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนในแต่ละบทรวมทั้งการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์คะแนนสอบของผู้เรียนแต่ละคนด้วยตัวเอง LMS
ก็เปรียบเสมือนกับโรงเรียนเมื่อคุณล็อกอินเข้าสู่ระบบ LMS เพื่อเข้าเรียนก็เหมือนกับคุณก้าวเท้าเข้าสู่ประตูโรงเรียนคุณสามารถทำอะไรก็ได้ใน
LMS เหมือนกับที่คุณทำได้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิชาที่จะลงเรียน
การเข้าไปอ่านเนื้อหาของบทเรียน ทำแบบฝึกหัด
ทำแบบทดสอบและมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอนหรือนักเรียนคนอื่นๆ อาจารย์ผู้สอน,
ผู้ดูแลระบบ, ผู้จัดการ
สามารถสังเกตดูพฤติกรรมการเข้าเรียนของคุณผ่านข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของ
LMS
ประเภทของ LMS
LMS สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันตามการใช้งาน
ประเภทแรกคือ กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์ในการใช้งานแบบ
GPL ส่วนประเภทที่สองคือ กลุ่มซอฟต์แวร์เอกชนเพื่อธุรกิจ
ซึ่งต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทแม่ซึ่งเป็นเจ้าของซอฟท์แวร์ LMS พวกนี้
1.กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (Open
Source LMS) ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่
• Moodle
(www.moodle.org) (แพร่หลายมากที่สุด)
• ATutor
(www.atutor.ca)
2.กลุ่มซอฟร์แวร์เอกชนเพื่อธุรกิจ
ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่
• Dell Learning System (DLS)
(www.dell.com)
• De-Learn (www.de-learn.com)
รูปแบบการทำงานของ LMS
สำหรับผู้ใช้งานในระบบ
LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3
กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ
1. กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator)
ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ
การปรับแต่งระบบ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบฉากหลังเว็บ การเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ
เป็นต้น
2. กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน
(Teacher) : ทำหน้าที่ในการจัดการเนื้อหา บทเรียนต่างๆ
เข้าระบบ
3. กลุ่มผู้เรียน (Student)
: หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ
รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด
การประยุกต์ใช้กับการศึกษา
ปัจจุบันการเรียนการสอนได้มีการพัฒนา E-Learning
มาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการสร้าง Software การบริหารจัดการการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning ขึ้นมากมายทั้งที่เป็น
Open Source หรือเป็น software ที่มีลิขสิทธิ์
ต่างๆ ซึ่งในการพัฒนาระบบ E-Learning ในปัจจุบัน ได้นำ“ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่าระบบแอลเอ็มเอส (LMS)” หรือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านทางเว็บไซต์ ดังนั้น
การนำระบบแอลเอ็มเอส (LMS) มาประยุกต์ใช้จะทำให้เกิดคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ
ในด้านการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น
ข้อดีของ LMS
1.ระบบจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน
ครอบคลุมเครื่องมือที่หลากหลายขึ้นมาก
2. รายการของเครื่องมือบนระบบการจัดการการเรียนการสอนที่ใช้ในการประเมินมีการจัดระบบที่ไม่สลับซับซ้อน
3. การพัฒนาระบบการจัดการการเรียนการสอนในปัจจุบันยังครอบคลุมในด้านของคุณภาพของเครื่องมือบางประเภทด้วย
4. การเรียนการสอนส่วนใหญ่ในขณะนี้สามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ
5. ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดระบบฯ
มาพัฒนา หรือปรับใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ข้อเสียของ LMS
1. เครื่องมือต่างๆ
ที่มีการพัฒนายังไม่สามารถสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามหลักทางครุศาสตร์
2. ทางด้านการจัดการเรียนการสอน
รวมทั้งยังไม่ยืดหยุ่นเพียงพอสำหรับความต้องการของผู้สอน
3. จึงทำให้การจัดการเรียนรู้ด้วยระบบฯ
ที่ได้พัฒนาขึ้นมักอยู่ในลักษณะซ้ำๆ
สืบค้นเมื่อ
11 เมษายน 2559.
จาก http://benicenat55.blogspot.com/2013/08/learning-management-system-lms.html
Moodle คืออะไร?
Learning
Management System หรือ
ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง LMS ก็มีให้เลือกใช้หลากหลายระบบ หลายยี่ห้อ
ทั้งของต่างประเทศและของไทยพัฒนากันเอง แต่ปัจจุบัน LMS ประเภทฟรีแวร์ที่ไม่ต้องเสียค่าไลเซ่นส์
(เพราะเป็นโอเพ่นซอส) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะมีขีดความสามารถหลายอย่างใกล้เคียงหรือเทียบเท่า LMS ที่ต้องเสียเงินแพงๆ
และหนึ่ง LMS ฟรีที่โดดเด่นก็คือ Moodle
ซึ่งใช้กันแพร่หลายมากในสถาบันการศึกษาของเมืองไทย ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ Moodle กันเถอะว่ามันมีดีอะไรบ้าง
Moodle คืออะไร?
Moodle
ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning
Environment เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปแบบโอเพ่นซอร์ส ที่ทำหน้าที่
บริหารจัดการการเรียนรู้ หรือ Learning Management System ใช้คำย่อว่า
LMS หรือ Virtual Learning Environment ใช้คำย่อว่า VLE อ่านเป็นคำไทยว่า “มูเดิล” โดยสถิติล่าสุดมีผู้นำไปติดตั้งใช้งาน 68,000
กว่าไซต์(ที่ได้รับการรับรองถูกต้อง) มีฐานผู้ใช้งานกว่า 72 ล้านคน มีบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์กว่า 7.6 ล้านวิชา
และผู้สอนกว่า 1.2 ล้านคน ใน 235 ประเทศ
ซึ่งมี 1,431 ไซต์อยู่ในประเทศไทยที่ลงทะเบียนอย่างถูกต้อง
ความสามารถทั่วไปของ
Moodle
Moodle
เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเภทฟรีแวร์
ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลกรองรับทั้ง ซีเอ็มเอส (CMS
= Course Management System) และ แอลเอ็มเอส
(LMS = Learning Management System) ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่
เผยแพร่เนื้อหาของครู พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา บันทึกกิจกรรมของนักเรียน
และตัดเกรด
Moodle
เป็นแหล่งเผยแพร่เอกสารออนไลน์ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น ถ้าใครไม่หวงวิชา
มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย มีระบบติดต่อสื่อสารระหว่างนักเรียน
เพื่อนร่วมชั้น และครู เช่น chat หรือ
webboard เป็นต้น
นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งการบ้านไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์
ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อนเข้าเรียน ก็ได้มีระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน
และกิจกรรม ที่รองรับระบบให้คะแนนที่หลากหลาย
ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไปยัง Excel ได้
สำรองข้อมูลเป็น .zip แฟ้มเดียวได้ ทำให้ครูหรือนักเรียนนำไปกู้คืนในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้
แผนภาพระบบงานของ moodle
สืบค้นเมื่อ
11 เมษายน 2559.
จาก ภาสกร ใหลสกุล.
https://sipaedumarket.wordpress.com/2014/06/18/moodle
สิ่งที่ต้องเตรียมการก่อนใช้
Moodle
1. เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เพื่อติดต่อกับโปรแกรม Moodle
ทั้งครู และนักเรียน
2. เว็บเซอร์ฟเวอร์ (Web Server) เพื่อบริการรับการเชื่อมต่อเข้าไป
โดยรองรับภาษาพีเอชพี (PHP) และฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL)
3. ผู้ติดตั้ง (Installer) และ ผู้ดูแลระบบ (Admin)
เพื่อทำให้ระบบเกิดขึ้น และให้บริการแก่ผู้ใช้
4. ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่ยอมรับเทคโนโลยี ดังนั้น Moodle เหมาะสำหรับนักเรียนที่รับผิดชอบ ครูที่มุ่งมั่น
และผู้บริหารที่ให้งบประมาณ
5. การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย (Network) เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
บทบาทของผู้ใช้ Moodle
1. ผู้ดูแล (Admin) มีหน้าที่ ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา
กำหนดค่าเริ่มต้น กำหนดสิทธ์การเป็นครู แก้ไขปัญหาให้แก่ครู และนักเรียน
2. ครู (Teacher) มีหน้าที่ เพิ่มแหล่งข้อมูล
เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรม ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสารกับนักเรียน
3. นักเรียน (Student) มีหน้าที่ เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล
และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
4. ผู้เยี่ยมชม (Guest) สามารถเข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต
และถูกจำกัดสิทธ์ในการทำกิจกรรม
แหล่งข้อมูล
หรือกิจกรรม (Resource and Activities)
Moodle
มีระบบที่ให้ใช้งานและดำเนินกิจกรรมในการเรียนการสอนได้มากมาย
ประกอบด้วย
1. ป้ายประกาศ (Label) คือ ระบบแสดงข้อความ
เพื่อประกาศให้นักเรียนทราบข่าวสาร
2. กระดานเสวนา (Forum) คือ กระดานที่ครู
และนักเรียนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การบ้าน (Assignment) คือ
ระบบที่ครูกำหนดโจทย์ให้นักเรียนไปค้นคว้า แล้วนำแฟ้มงานมาอัพโหลด (upload)
ส่งครู
4. ห้องสนทนา (Chat) คือ
ระบบที่สามารถนัดเวลาสนทนาระหว่างครู และนักเรียน แบบออนไลน์
5. แบบทดสอบ (Quiz) คือ
ระบบวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยข้อสอบแบบปรนัย หรืออัตนัย
6. แหล่งข้อมูล (Resources) คือ แหล่งข้อมูลอื่น เช่น text,
html, upload, weblink, webpage, program
7. โพลล์ (Poll) คือ
ระบบที่เปิดให้สามารถถามความคิดเห็นจากนักเรียน
8. สารานุกรม (Wiki) คือ
ระบบสร้างแหล่งอ้างอิงเชิงบูรณาการระหว่างครู และนักเรียน
9. อภิธานศัพท์ (Glossary) คือ รวมคำศัพท์ จัดหมวดหมู่
สามารถสืบค้นได้
10. ห้องปฏิบัติการ (Workshop) คือ
ระบบที่ให้นักเรียนทำงาน แล้วส่งงาน ซึ่งประเมินผลได้หลายแบบ
11. สกอร์ม (SCORM) คือ แหล่งข้อมูลที่รวมเนื้อหา
หรือแฟ้มข้อมูลจากภายนอก ถูกยอมรับเป็นมาตรฐานหนึ่งของ Learning Object
กิจกรรมของผู้ใช้งาน
ผู้ใช้งานหลักของระบบก็คือ ครูผู้สอน กับนักเรียน
เรามาดูกันว่ากิจกรรมของทั้งสองฝ่ายสามารถทำอะไรได้บ้าง
กิจกรรมของครู (Teacher Activities)
1. สมัครสมาชิกด้วยตนเอง และรอผู้ดูแล อนุมัติ ให้เป็นครู หรือผู้สร้างคอร์ส
2. ครูสร้างคอร์ส และกำหนดลักษณะของคอร์สด้วยตนเอง
3. เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสม
4. ประกาศข่าวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
5. สามารถสำรองข้อมูลในวิชา เก็บเป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวได้
6. สามารถกู้คืนข้อมูลที่เคยสำรองไว้ หรือนำไปใช้ในเครื่องอื่น
7. สามารถดาวน์โหลดคะแนนนักเรียนที่ถูกบันทึกจากการทำกิจกรรม ไปประมวลผลใน Excel
8. กำหนดกลุ่มนักเรียน เพื่อสะดวกในการจัดการนักเรียนจำนวนมาก
9. ยกเลิกนักเรียนในรายวิชา ถ้าพบว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม
หรือเข้าเรียนผิดรายวิชา
10. ตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน เช่น ความถี่ในการอ่านบทเรียน
หรือคะแนนในการสอบ
11. เพิ่มรายการนัดหมาย หรือกิจกรรม แสดงด้วยปฏิทิน
12. สร้างเนื้อหาใน SCORM หรือสร้างข้อสอบแบบ GIFT
แล้วนำเข้าได้สู่ระบบ
กิจกรรมของนักเรียน
(Student Activities)
1. สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเองได้
2. รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง (บางระบบ
สามารถสมัคร และเข้าเรียนได้ทันที)
3. เรียนรู้จากเอกสาร หรือบทเรียน
ที่ครูกำหนดให้เข้าไปศึกษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
4. ฝากคำถาม หรือข้อคิดเห็น หรือสนทนาระหว่างครูและนักเรียน
5. ทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น ทำแบบฝึกหัด หรือส่งการบ้าน
6. แก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้
7. เรียนรู้ข้อมูลของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุ่ม
เพื่อสร้างความคุ้นเคยได้
สืบค้นเมื่อ
11 เมษายน 2559.
จาก ภาสกร ใหลสกุล.
https://sipaedumarket.wordpress.com/2014/06/18/moodle