(ร่าง)
หลักสูตร 4 ยุทธศาสตร์พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21
ท่ามกลางสงครามเชื้อโรคโควิด 19
ตำแหน่ง : ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สายงาน : กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา
หน่วยงาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ท่ามกลางสงครามเชื้อโรคโควิด 19
จากการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร คน บุคลากร
งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ในสถานการณ์ที่ยากลำบากต่อการจัดการเรียนรู้ ทำให้เราต้องเปิดโอกาส เปิดพื้นที่ ให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ความสามารถในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับนักเรียนในแต่ละพื้นที่ เป็น My set อย่างหนึ่งซึ่งเราได้รับคำสั่งจากส่วนกลางมากจนทำให้ครูไม่ได้ใช้ศักยภาพของตนเองตามบริบทของพื้นที่ในการแก้ปัญหาของตนเอง เพราะความคิดไปติดอยู่กับคำสั่งที่มาจากส่วนกลาง ด้านบุคคล ต้องมองมาที่ครูเราแต่ละคนว่ามีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้อย่างไร ในลักษณะใด ครูเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี การบูรณาการไปกับวิถีชีวิตชุมชน ต้องเปิดพื้นที่ให้ครูได้ใช้ศักยภาพของตนเองในการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหาร ในเขตพื้นที่ ท่านศึกษานิเทศก์จะเป็นขวัญและกำลังใจที่ดีให้กับครู บทบาท การให้กำลังใจแก่คุณครู การบูรณาการ การใช้งบประมาณในการจัดทำเอกสาร ใบงาน แบบฝึกในสถานการณ์นี้ให้กับนักเรียน ซึ่งจัดการเรียนการสอน แบบ On hand 70% ต้องใช้งบประมาณเยอะมากกับส่วนนี้ ถ้าต่างคนต่างทำโดยไม่มีการบูรณาการจะใช้เยอะมาก ควรใช้หลักการบูรณาการใบงานระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เข้าด้วยกันโดยไม่แยกส่วน จะทำให้งบประมาณที่จะไปถึงนักเรียนไม่เป็นเบี้ยหัวแตก เนื้อหาต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อความประหยัด ไม่สิ้นเปลือง จะทำให้ลดภาระงานของครู ให้ครูได้มีเวลาไปตรวจการบ้านของนักเรียน ด้านวัสดุอุปกรณ์ โทรศัพท์ เราจะบริหารจัดการการเรียนการสอนอย่างไร เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ จะเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ การเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบตัว ถ้าครูออกแบบการเรียนรู้ดีๆ เวลาเรียน 1 ชั่วโมงของการเรียนแบบออนไลน์อาจใช้เวลาจริงๆ ประมาณ 15 นาที เท่านั้นเอง การเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการเรียนแบบออนไลน์เท่านั้น เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากทุกอย่างที่อยู่รอบตัว และในชีวิตจริงของเด็ก ครูใช้ศักยภาพของตนเองให้มากขึ้น ครูต้องใช้วิธีการบูรณาการ การบริหารเงินมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ การบูรณาการเรียนรู้กับวิถีชีวิตจะช่วยเด็กได้มาก
การทุกตัวชี้วัด โดยนำครูในทุกโรงเรียนมาคุยกัน มามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร โดยมีการบูรณาการทุก
ตัวชี้วัดเข้าด้วยกัน จะสอนแบบแยกตัวชี้วัดไม่ได้ ต้องทำหลักสูตรแบบบูรณาการ สอนทีเดียวครบทุกตัวชี้วัด
และวัดผลได้ เด็กทำชิ้นงานชิ้นเดียวก็สามารถวัดผลได้ใน 8 สาระการเรียนรู้ ในระดับชั้น ป.1-6 จะช่วยส่งผล
ต่อเรื่องงบประมาณ ต้องมีการประชุมเพื่อจัดทำหลักสูตรบูรณาการ เขตพื้นที่มีข้อจำกัดทุกเรื่อง แต่ข้อจำกัด
ไม่ได้มีปัญหาต่อการสร้างนวัตกรรม แต่จะทำให้เราค้นพบตัวตนที่แท้จริงว่าในสถานการณ์นี้เราสามารถทำ
อะไรได้บ้าง สถานการณ์โควิด บอกเราแล้วว่า เราเรียนแบบเดิมไม่ได้แล้ว เด็กเลยหลุดออกจากระบบ เด็กไม่ทำใบงาน ไม่ส่งใบงาน ถ้าใบงานเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนของใครของมัน ใบงานเพียงใบเดียวที่สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียน ตอนนี้ เรายกการเรียนรู้ไปให้กับพ่อแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเป็น ให้นึกถึงพ่อแม่ในชนบทที่เรียนจบไปนานแล้ว แต่ต้องมาสอนลูกตามมาตรฐานชั้นปี และเนื้อหาแตกต่างไป พอพ่อแม่สอนไม่ได้ พ่อแม่เครียด ลูกเครียด ครูเครียด ซึ่งความจริงคือพ่อแม่สอนไม่ได้ แต่เราจะออกแบบวิธีเรียนอย่างไรให้พ่อแม่สอนได้ มานึกถึงความจริงว่าพ่อแม่สามารถสอนอะไรให้แก่ลูกได้บ้าง นี่คือโจทย์ที่น่าคิดมากกว่า เช่น พ่อแม่ทำงานก่อสร้าง ลูกตามไปก่อสร้างด้วย เอาเนื้อหาเกี่ยวกับการก่อสร้างมาตั้งเป็นโจทย์ แล้วบูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่เข้ากับเรื่องนี้ได้มารวมกัน ให้เด็กได้ช่วยพ่อแม่ทำงานก่อสร้าง ได้ช่วยพ่อแม่ขายของไปด้วยวิธีเรียนแบบนี้จะไม่สร้างความทุกข์ให้แก่พ่อแม่ และเด็ก เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เป็น Active learning ในวิถีชีวิตจริงของเด็ก มันจะเป็นความคงทน ส่วนวิธีวัดผล ในขณะที่พ่อแม่ทำงานก่อสร้าง ขายข้าวแกง ตัดยางไปด้วย พ่อแม่ก็สามารถสอนเด็กได้ เพราะเป็นวิถีชีวิตของพ่อแม่อยู่แล้ว เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีความสุข เรียนแล้วสามารถนำไปใช้ได้เลย รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ก็จะสอนได้ประมาณ 30% และจะมีปัญหาในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การเรียนแบบออนไลน์จะต้องเสริมนวัตกรรมอะไรเข้าไป เช่น คลิปการสอน รูปแบบวิธีเรียน ปัญหาเราเอาวิธีเรียนของคนหนึ่งไปให้กับคนหนึ่งที่ไม่มีความพร้อมในทุกมิติ เช่น เด็กไม่มีเวลาเรียน ต้องเดินทางไปกับพ่อแม่ ต้องไปช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน สอนวิธีเรียน รูปแบบการเรียนการสอน บูรณาการวิธีเรียน เอาเนื้อหาจากวิถีชีวิตจริงๆ ของเด็ก เอาชีวิตจริงของแต่ละคนมาเป็นแกนหลัก ตามบริบทของใครของมัน ตามวิถีชีวิตของแต่ละคน ออกแบบวิธีเรียนอย่างไรให้พ่อแม่สามารถเป็นครูผู้สอนเด็กได้จริง เด็กได้เรียน พ่อแม่ได้ทำงานตามวิถีชีวิตจริง เพื่อแก้ปัญหาเด็กไม่เรียน เด็กไม่ทำงาน เด็กไม่ส่งใบงาน การบูรณาการ การรวมทีม เราต้องวางแผนสร้างสื่อการเรียนการสอนนำไปแขวนไว้เพื่อให้ครูนำไปใช้ เราต้องทำความเข้าใจระหว่างทุกฝ่ายร่วมกัน วางแผนร่วมกัน เรามีข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนทุกโรงอยู่แล้ว ขณะนี้เรากำลังสนใจโรงเรียนที่เรียนไม่ได้ เราจะแก้ปัญหาอย่างไร เชิงบริหารการนิเทศ ในกรณีของ สพป.นศ.1 ซึ่งมีศึกษานิเทศก์ที่เป็นชุดใหม่ทั้งหมด ศึกษานิเทศก์ต้องสร้างเครือข่าย ท่านจะทำงานบริหารจัดการทั้งเขตพื้นที่ด้วยกำลังคนเพียง 9-10 คน ไม่ได้ ในสถานการณ์ไม่ปกติเช่นนี้ ศึกษานิเทศก์ต้องสร้างทีมงาน การนิเทศออนไลน์ ศน.ต้องไม่ลืมว่า คนเราจะไม่พูดปัญหาตนเองต่อสาธารณะ แต่เขาจะพูดแบบ Face to face เราต้องสร้างทีมศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน เอามาร้อยละ 10 ของ แต่ละโรง มาเป็นเครือข่ายในการนิเทศติดตามกับเขตพื้นที่ อย่าให้ทุกเรื่องตรงมาที่เขต เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน แต่เป้าหมายจะต้องเกิดการเรียนรู้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เขตพื้นที่จะขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาอย่างไร โดยมีเป้าหมายว่า เด็กจะต้องได้รับการเรียนรู้
สงครามเชื้อโรคโควิด 19
วิสัยทัศน์
หลักสูตร 4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสงครามเชื้อโรค
โควิด 19 มุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันโดยการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วน
หลักการ
1. เป็นหลักสูตรระยะสั้นผ่านระบบออนไลน์มีจุดหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษา
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2. เป็นหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ยึดสภาพจริง ปัญหา และความต้องการของผู้เรียน
จากชีวิตจริง
3. การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
จุดหมายของหลักสูตร
หลักสูตร 4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสงครามเชื้อโรคโควิด 19
1. สร้างหลักสูตรบูรณาการ STEAM Education #หลักสูตรหลุดโลก(โรค)
1.1 รวมพลังจิตอาสาพัฒนาการศึกษาไทย (ผอ.โรงเรียน+ครูผู้สอนทุกคน) ร่วมคิด+ร่วมทำ+ร่วม
นำ+ร่วมรับผิดชอบไปด้วยกัน ระยะเวลา 1 ตุลาคม 2564- 31 ตุลาคม 2564
1.2 ออกแบบหลักสูตรบูรณาการ Steam Education ทุกชั้นปี ทุกรายวิชา แบ่งกันรับผิดชอบ
(คนละหน่วย/ทีมละหน่วย)
1.3 จัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ
- เน้นเนื้อหาสำคัญใช้จริงในชีวิต สอดคล้องบริบทของผู้เรียน
- บูรณาการสมรรถนะ 3R8C
- กิจกรรมสร้างคุณภาพใหม่ 3 ขั้นตอน (ขั้นรับรู้เปิดใจ + ขั้นเชื่อมโยงสมรรถนะ + ขั้น
สร้างสรรค์นวัตกรรม)
- เน้นพัฒนานิสัยดี ปัญญาดี ปฏิบัติดี เป็นขั้นตอน และสร้างสรรค์นวัตกรรม
1.4 เน้นสร้างความคงทน Active Learning+แบบระเบิดจากข้างใน
- สร้างนวัตกรน้อย ตามธรรมชาติบุคคล
2. ออกแบบวิธีการเรียนรู้ทุกมิติ (อยู่ที่ไหนก็เรียนได้อย่างปลอดภัย)
2.1 แบบออนไลน์ + คลิปอัจฉริยะ (สอนเสริมช่วยผู้ปกครอง)
2.2 แบบเรียนทางไกล (ส่งหน่วยการเรียนรู้ไปให้ เรียนตามสภาพจริง บริบทของตนเอง)
3. สร้างคลิปอัจฉริยะ My Course Design (ส่งไปช่วยผู้ปกครองสอนลูก)
3.1 คลิปการเรียนรู้ Active Learning
3.2 มี 3 ยุทธวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้างคุณภาพใหม่
สร้างสรรค์นวัตกรรม)
3.3 สร้างคลังความรู้ระดับเขตพื้นที่ ทุกคนสามารถแชร์+เรียนรู้ ได้ตลอดเวลา
4. สร้างทีมมืออาชีพขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “เราต้องรอดไปด้วยกัน”
4.1 ทีมนิเทศประจำโรงเรียน (ร้อยละ 10 ของจำนวนครูทั้งหมด)
4.2 ทีมบริหารจัดการสื่อและนวัตกรรมระดับเขตพื้นที่
- สร้างแรงบันดาลใจ จัดเวทีการเรียนรู้ เสริมแรง ตลอดเวลา
4.3 ทีมติดตาม ประเมินผล ช่วยเหลือ Real-time ทันทีทันใด
โครงสร้างของหลักสูตร
1. สร้างหลักสูตรบูรณาการ Steam Education #หลักสูตรหลุดโลก(โรค)
2. ออกแบบวิธีการเรียนรู้ทุกมิติ (อยู่ที่ไหนก็เรียนได้อย่างปลอดภัย)
3. สร้างคลิปอัจฉริยะ My Course Design (ส่งไปช่วยผู้ปกครองสอนลูก)
4. สร้างทีมมืออาชีพขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “เราต้องรอดไปด้วยกัน”
ระยะเวลาของหลักสูตร
การกำหนดระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 –
มีนาคม 2565 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การประชุมชี้แจงเพื่อเตรียมความพร้อม วันที่ 1 ตุลาคม 2564
การอบรมหลักสูตร บูรณาการ STEAM Education วันที่ 14 -15 ตุลาคม 2564
การอบรมการออกแบบวิธีการเรียนรู้ทุกมิติ
การอบรมการสร้างคลิปอัจฉริยะ My Course Design
การอบรมการสร้างทีมมืออาชีพขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “เราต้องรอดไปด้วยกัน” ได้ทุกคน
ระยะที่ 2 ปฏิบัติการ 4 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลาง
สงครามเชื้อโรคโควิด 19 (ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 – มีนาคม 2565)
ระยะที่ 3 การรายงานผลการปฏิบัติงาน เมษายน 2565
วิธีการวัดและประเมินผล | เครื่องมือ | เกณฑ์การประเมิน |
1. ประเมินผลงาน 2. สอบถามความคิดเห็น | 1. แบบประเมินผลงาน 2. แบบสอบถามความคิดเห็น | ผู้เข้ารับการอบรมสร้าง 1. หลักสูตร บูรณาการ STEAM Education 2. ออกแบบวิธีการเรียนรู้ทุกมิติ 3. สร้างคลิปอัจฉริยะ My Course Design 4. สร้างทีมมืออาชีพขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ “เราต้องรอดไป ด้วยกัน” ได้ทุกคน 2. คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็น ของผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับมาก หรือมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไ |