หัวข้อธรรมในคำกลอน
หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ
หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
1 หมวดการงาน @หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
4 หมวดเรียนศาสนา
@หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
7 หมวดศีลธรรม
@หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
10 หมวดโลก @หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
2 หมวดเตือนตน @หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
5 หมวดความตาย @หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
8 หมวดมงคล @หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
11 หมวดปกิณกะ @หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
3 หมวดอธิบายธรรมะ @หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
6 หมวดเป็นให้เป็น @หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
หมวดที่
9 มอง-มอง
@หัวข้อธรรมในคำกลอน
|
|
หัวข้อธรรมในคำกลอน
หมวดที่
1 หมวดการงาน @หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1. อะไรที่ไหน
2.
นั่งเหนือเมฆ
3.
ยาระงับสรรพทุกข์
4.
นั่งริมธาร
5.
เปิด-เปิด-เปิด
6.
ปิด-ปิด-ปิด
7.
อย่าช่างหัวมัน
8.
ช่างหัวมัน
9.
บ้าดี
10.
จริงซี่ !
11.
กิเลสคุย
12.
การงาน
13.
การงานทำให้ชีวิตสดใส
14.
การงานเป็นสิ่งที่น่ารัก
15.
การงานคือการปฏิบัติธรรม
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540).
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560)
สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Sports: MomentCam Application.
อะไรที่ไหน
.....อันความงาม มีอยู่ตาม หมู่ซากผี อันความดี อยู่ที่ละ สละยิ่ง ความเป็นพระ อยู่ที่เพียร บวชเรียนจริงนิพพานดิ่ง อยู่ที่ตาย ก่อนตายเอยฯ .....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540). หัวข้อธรรมในคำกลอน.
สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Sports:
MomentCam Application.
.....
|
นั่งเหนือเมฆ
รู้สึกว่า น่าดู อยู่เหนือเมฆ
แสนวิเวก สุขใจ ดั่งในฝัน
เมื่อเมฆนอก เมฆใน ไม่พัวพัน
เป็นสุขครัน สิ่งใด ไม่มีปาน
นั่งเหนือเมฆ แล้วบางคน ยังก่นเศร้า
อะไรเล่า ติดมา ลองว่าขาน
หรือเงินทอง ติดตัง ทั้งการงาน
ก็ตามมา รังควาญ เป็นถ่านไฟ
เห็นไหมเล่า เมฆนอก ยังหลอกหลวง
ดึงใครล่วง เลยได้ ก็ไม่ไหว
ยังไม่พ้น ทุกข์ทน หม่นหมองใจ
พ้นเมฆใน จึงจะเอก วิเวกจริง
ดูป่วยการ ที่จะผ่าน เพียงเมฆกาย
ไม่ทุกข์ทน มากมาย ดอกชายหญิง
ส่วนเมฆจิต ปิดบัง ควรชังชิง
ยิ่งกว่าลิง หลอกเจ้า ทำเราเพลีย
อันเมฆกาย ที่จะกลาย เป็นเมฆจิต
ก็เพราะความ ขุ่นคิด จนจิตเสีย
ถ้ารู้เท่า ทันทั่ว ไม่งัวเงีย
หยุดนัวเนีย ก็เย็นเหลือ เหนือเมฆเอย
|
ยาระงับสรรพทุกข์
ต้น 'ไม่รู้-ไม่ชี้' นี่เอาเปลือก
ต้น 'ช่างหัวมัน' นั้นเลือก
เอาแก่นแข็ง
'อย่างนั้นเอง' เอาแต่ราก ฤทธิ์มันแรง
'ไม่มีกู-ของกู' แสวง เอาแต่ใบ
'ไม่น่าเอา-น่าเป็น' เฟ้นเอาดอก
'ตายก่อนตาย' เลือกออก ลูกใหญ่ๆ
หกอย่างนี้ อย่างละชั่ง ตั้งเกณฑ์ไว้
'ดับไม่เหลือ' สิ่งสุดท้าย ใช้เมล็ดมัน
หนักหกชั่ง เท่ากับ ยาทั้งหลาย
เคล้ากันไป เสกคาถา ที่อาถรรพ์
'สุพเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย' อัน
เป็นธรรมชั้น หฤทัย ในพุทธนาม
จัดลงหม้อ ใส่น้ำ พอท่วมยา
เคี่ยวไฟกล้า เหลือได้ หนึ่งในสาม
หนึ่งช้อนชา สามเวลา พยายาม
กินเพื่อความ หมดสรรพโรค เป็นโลกอุดรฯ
|
นั่งริมธาร
นั่งริมธาร ครุ่นวิจาร การเกิดดับ
เปลี่ยนปุบปับ สายธาร ทะยานไหล
เกิดไอเย็น ฟ่องฟุ้ง จรุงใจ
ดับร้อนได้ โดยไม่ต้อง ลองอาบกิน
อีกทางหนึ่ง ตรึงแล แน่ใจนัก
ถ้าใครผลัก ตกลง คงแดดิ้น
กระทบก้อน หินผา ใต้วาริน
แล้วจะสิ้น ชีพไป ในวังวน
มานึกดู เปรียบดั่ง สังสารวัฏฏ์
ดูผาดๆ น่ากระหวัด ในลาภผล
ที่ซ่อนอยู่ ในทุกข์ ปลุกใจคน
ให้ยอมทน ทุกข์ยาก บากบั่นไป
จนได้เกิด แก่ตาย ในวัฏฏะ
ไม่มีสะ ใจสร่าง อย่างไหนๆ
ใครมองเห็น จงระวัง ยั้งจิตใจ
อย่าให้ไพล่ พลัดตก นรกวน
|
เปิด-เปิด-เปิด
เปิด-เปิดตา: ให้รับแสง แห่งพระธรรม
ยิ่งมืดค่ำ ยิ่งเห็นชัด ถนัดถนี่
สมาธิมาก ยิ่งเห็นชัด ถนัดดี
นี่วิธี เปิดตาใจ ใช้กันมาฯ
เปิด-เปิดหู: ให้ยินเสียง
สำเนียงธรรม
ทั้งเช้าค่ำ มีก้องไป ในโลกหล้า
ล้านล้านปี ฟังให้ชัด เต็มอัตรา
คือเสียงแห่ง สุญญตา ค่าสุดใจฯ
เปิด-เปิดปาก: สนทนา พูดจาธรรม
วันยังค่ำ อย่าพูด เรื่องเหลวไหล
พูดแต่เรื่อง ดับทุกข์ได้ โดยสัจจนัย
ไม่เท่าไร เราทั้งโลก พ้นโศกแลฯ
|
ปิด-ปิด-ปิด
ปิด-ปิดตา: อย่าสอดส่าย ให้เกินเหตุ
บางประเภท แกล้งทำบอด ยอดกุศล
มัวสอดรู้ สอดเห็น จะเป็นคน
เอาไฟลน ตนไป จนไหม้พอง;
ปิด-ปิดหู: อย่าให้แส่ ไปฟังเรื่อง
ที่เป็นเครื่อง กวนใจ ให้หม่นหมอง
หรือเร้าใจ ให้ฟุ้งซ่าน พาลลำพอง
ผิดทำนอง คนฉลาด อนาจใจ;
ปิด-ปิดปาก: อย่าพูดมาก เกินจำเป็น
จะเป็นคน ปากเหม็น เขาคลื่นไส้
ต้องเกิดเรื่อง เยิ่นเย้อ เสมอไป
ถ้าหุบปาก มากไว้ ได้แท่งทองฯ
|
อย่าช่างหัวมัน
อย่าบิ่นบ้า มัวแต่อ้าง ช่างหัวมัน
ถ้าเรื่องนั้น เกี่ยวกับเพื่อน มนุษย์หนา
ต้องเอื้อเฟื้อ ปฏิบัติ เต็มอัตรา
โดยถือว่า เป็นเพื่อนเกิด แก่เจ็บตาย
การช่วยเพื่อน เหมือนช่วย ตัวเราเอง
เมื่อจิตเพ่ง เล็งช่วย ทวยสหาย
ย่อมลดความ เห็นแก่ตัว ลงมากมาย
ทุกทุกราย อย่าเขวี้ยงขว้าง ช่างหัวมัน
เห็นแก่ตัว บางเบา ลงเท่าไร
ยิ่งเข้าใกล้ พระนิพพาน เห็นปานนั้น
รอดตัวได้ เพราะไม่มัว ช่างหัวมัน
จงพากัน ใคร่ครวญ ถ้วนทุกคนฯ
|
ช่างหัวมัน
จงยืนกราน สลัดทั่ว ช่างหัวมัน
ถ้าเรื่องนั้น นั้นเป็นเหตุ แห่งทุกข์หนา
อย่าสำออย ตะบอยจัด ไว้อัตรา
ตัวกูกล้า ขึ้นเรื่อยไป อัดใจตาย
เรื่องนั้นนิด เรื่องนี้หน่อย ลอยมาเอง
ไปบวกเบ่ง ให้เห็นว่า จะฉิบหาย
เรื่องเล็กน้อย ตะบอยเห็น เป็นมากมาย
แต่ละราย รีบเขวี้ยงขว้าง ช่างหัวมัน
เมื่อตัวกู ลู่หลุบ ลงเท่าไร
จะเย็นเยือก ลงไป ได้เท่านั้น
รอดตัวได้ เพราะรู้ใช้ 'ช่างหัวมัน'
จงพากัน หัดใช้ ไว้ทุกคนฯ
|
บ้าดี
ยิ่งทำดี จะยิ่งมี นรกมาก
ถ้าใจอยาก ดีเด่น เป็นเจ้าขรัว
ให้ผู้คน ทั้งผอง ต้องยอมกลัว
คือยอมตัว อยู่ใต้ ปัญญายง ;
ไม่ต้องการ มรรคผล ดลนิพพาน
คงต้องการ แต่ให้ เขาช่วยส่ง
ให้ลอยลม ล่วงไป จมไม่ลง
ต้องประสงค์ แต่เท่านี้: 'บ้าดี' เอยฯ
|
จริงซี่ !
จริงซี! เราบ้าบอก ธรรมกัน
เพราะเหตุ ที่ธรรมนำ โลกแล้
ห่างทุกข์ สบศุขทัน ใจอยาก
เป็นศุข ที่เที่ยงแท้ จุ่งเห็นฯ
ธรรม,ธรรม ธรรม,เท่านั้น ที่สมาน
โลกนี้ โลกหน้า เย็นยิ่งน้ำ
ใครคบ เสพธรรมฐาน คู่ชีพ
ตนสุข, เมีย,ลูก,ซ้ำ สุขตามฯ
|
กิเลสคุย
คุยเสียดี ที่แท้ แพ้กิเลส
น่าสมเพช เตือนเท่าไร ก็ไม่เห็น
ว่าเป็นทาส กิเลส อยู่เช้าเย็น
จะอวดเป็น ปราชญ์ไป ทำไมนา
ค้นธรรมะ หาทางออก อุ้มกิเลส
น่าสมเพช จริงๆ เที่ยววิ่งหา
ตำรานี่ ตำรานั่น สรรหามา
ได้เป็นข้า กิเลสไป สมใจเอยฯ
|
การงาน อันการงาน คือค่า ของมนุษย์
ของมีเกียรติ สูงสุด อย่าสงสัย
ถ้าสนุก ด้วยการงาน เบิกบานใจ
ไม่เท่าไร รู้ธรรม ฉ่ำซึ้งจริง
ตัวการงาน คือตัวการ ประพฤติธรรม
พร้อมกันไป หลายส่ำ มีค่ายิ่ง
ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนคน ฉลาดยิง
นัดเดียววิ่ง เก็บนก หลายพกเอยฯ
|
การงานทำให้ชีวิตสดใส
อันการงาน นั้นประเสริฐ ตรงที่สนุก
ยิ่งทำงาน ยิ่งเป็นสุข ทุกสถาน
ทำชีวิต ให้สดใส ใจเบิกบาน
ในการงาน ประจำวัน นั่นเองนา
เมื่ออย่างนี้ มีแต่คน วิมลจิต
เย็นสนิท ดวงใจ ไร้โทสา
เกิดสังคม ที่อุดม ด้วยเมตตา
อยากเรียกว่า ธัมมิกะ สังคมนิยม
ผลของงาน ล้นเหลือ เผื่อแผ่ทั่ว
สัตว์ทุกตัว ใหญ่น้อย พลอยสุขสม
ทั้งเมืองเล็ก เมืองใหญ่ ได้ชื่นชม
โลกระดม สุขวาง ทางนิพพาน
|
การงานเป็นสิ่งที่น่ารัก
อันที่จริง การงาน นั้นน่ารัก
เมื่อยังไม่ รู้จัก ก็อางขนาง (คือไม่ชอบ)
ไม่รู้จัก ก็ปล่อยปละ แล้วละวาง
บ้างร้องคราง เมื่อรอหน้า ว่าเบื่อจริง
แต่ที่แท้ การงาน นั้นน่ารัก
สอนให้คน รู้จัก ไปทุกสิ่ง
ถ้ายิ่งทำ ยิ่งฉลาด ไม่พลาดยิง
ได้ตรงดิ่ง สิ่งอุกฤษฏ์ คือจิตเจริญ
การงานนี้ ดูให้ดี มันน่ารัก
เป็นการชัก ธรรมะมา น่าสรรเสริญ
คือมีสติ ฉันทะ ทมะเกิน
ครั้นหยุดเพลิน จิตก็วาง ทางนิพพาน.
|
การงานคือการปฏิบัติธรรม
อันการงาน คือคุณค่า ของมนุษย์
ของมีเกียรติ สูงสุด อย่าสงสัย
ถ้าสนุก ด้วยการงาน เบิกบานใจ
ไม่เท่าไร ได้รู้ธรรม ฉ่ำซึ้งจริง
เพราะการงาน เป็นตัวการ ประพฤติธรรม
กุศลกรรม กล้ำปนมา มีค่ายิ่ง
ถ้าจะเปรียบ ก็เปรียบคน ฉลาดยิง
นัดเดียววิ่ง เก็บนก หลายพกมา
คือการงาน นั้นต้องทำ ด้วยสติ
มีสมาธิ ขันติ มีอุตสาห์
มีสัจจะ มีทมะ มีปัญญา
มีศรัทธา และกล้าหาญ รักงานจริง.
|
|
หมวดที่
2 หมวดเตือนตน @หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1.
ศัตรูคือผู้จู่มาสอบไล่
2.
มีโดยไม่ต้องเป็นของกู
3.
จงรู้จักตัวเอง
4.
สิ่งที่รู้จักยากที่สุด
5.
รักสงบ
6.
มีอยู่แล้ว
7.
สหายเอ๋ย!
8.
สุจิต-ทุจิต
9.
ระวัง ผี "กู" ผี
"สู"
10.
มีโดยไม่ต้องมีผู้มี
11.
ตัวกูกับตัวกู
12.
เมื่อกูเก่ง
13.
ของกู-ของสู
14.
ตัวกู-ตัวสู (๑)
15.
ตัวกู-ตัวสู (๒)
16.
บาปใหญ่-บาปลึก?
17.
ยึดมั่นมันกัดแน่
18.
หลักของคนทุกวันนี้
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ. (2540) หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560)
สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Sports: MomentCam Application.
ศัตรูคือผู้จู่มาสอบไล่
อันศัตรู คือผู้จู่ มาสอบไล่
ให้รู้ได้ ว่าเรามี ดีเท่าไหน
หรือดีแต่ จะโกรธยืน เป็นฟืนไฟ
บังคับใจ ไว้ไม่อยู่ สักครู่เดียว
อันศัตรู คือผู้สรร สวรรค์ให้
ตรงที่ได้ มีจิต คิดเฉลียว
ว่าอดกลั้น นั่นแหละนะ เป็นพระเทียว
ไม่อด,เลี้ยว ไปเป็นมาร พล่านนรก
อันศัตรู คือผู้สอน สัจจธรรม
ว่าอาฆาต นั้นคือน้ำ สกปรก
อย่าเก็บไว้ ในใจ ให้ใจฟก
จะเวียนวก ว่ายสงสาร นานนักเอย
เหตุฉะนั้น ศัตรู คือผู้ให้
แต่กลายเป็น ผู้ร้าย เหตุไรเหวย
เพราะผู้รับ รับไม่เป็น อย่างเช่นเคย
ถ้ารับเป็น พวกเราเอ๋ย หมดศัตรูฯ
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ. (2540) หัวข้อธรรมในคำกลอน.
สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Sports:
MomentCam Application.
.....
|
มีโดยไม่ต้องเป็นของกู
ถ้าจะอยู่ ในโลกนี้ อย่างมีสุข
อย่าประยุกต์ สิ่งทั้งผอง เป็นของฉัน
มันจะสุม เผากระบาล ท่านทั้งวัน
ต้องปล่อยมัน เป็นของมัน อย่าผันมา
เป็นของกู ในอำนาจ แห่งตัวกู
มันจะดู วุ่นวาย คล้ายคนบ้า
อย่างน้อยก็ เป็นนกเขา เข้าตำรา
มันครึกว่า "กู-ของ-กู" อยู่ร่ำไป
จะหามา มีไว้ ใช้หรือกิน
ตามระบิล อย่างอิ่มหนำ ก็ทำได้
โดยไม่ต้อง มั่นหมาย ให้อะไรๆ
ผูกยึดไว้ ว่า "ตัวกู" หรือ "ของกู"ฯ
|
จงรู้จักตัวเอง
"จงรู้จัก
ตัวเอง" คำนี้หมาย
มีดีร้าย อยู่เท่าไร เร่งไขขาน
ข้างฝ่ายดี มีไว้ ในดวงมาน
ข้างฝ่ายชั่ว รีบประหาร ให้หมดไป
จงรู้จัก ตัวเอง คำนี้หมาย
ว่าในกาย มีกิเลส เป็นเหตุใหญ่
จึงสาระแน แต่จะทำ บาปกรรมไกล
ต้องควบคุม มันไว้ ให้รักบุญ
จงรู้จัก ตัวเอง คำนี้หมาย
สังขารไร้ ตนตัว มัวแต่หมุน
ไปตามเหตุ ปัจจัย ที่ไส-รุน
พ้นบาปบุญ ชั่วดี มีนิพพานฯ
|
สิ่งที่รู้จักยากที่สุด
สิ่งที่รู้จัก ยากที่สุด กว่าสิ่งใด
ไม่มีสิ่ง ไหนไหน ได้ยากเท่า
สิ่งนั้นคือ ตัวเอง หรือตัวเรา
ที่คนเขลา หลงว่ากู รู้จักดี
ที่พระดื้อ เณรดื้อ และเด็กดื้อ
ไม่มีรื้อ มีสร่าง อย่างหมุนจี๋
เพราะความรู้ เรื่องตัวกู มันไม่มี
หรือมีอย่าง ไม่มี ที่ถูกตรง
อันตัวกู ของกู ที่รู้สึก
เป็นตัวลวง เหลือลึก ให้คนหลง
ส่วนตัวธรรม เป็นตัวจริง ที่ยิ่งยง
หมดความหลง รู้ตัวธรรม ล้ำเลิศตนฯ
|
รักสงบ
รักสงบ จงลืม ซึ่ง
"ตัวกู"
และลืมทั้ง "ตัวสู" อย่างเต็มที่;
มีสติ ปัญญา และปราณี
หน้าที่ใคร ทำให้ดี; เท่านี้เอยฯ
|
มีอยู่แล้ว
ขณะใด จิตไม่ มี "ตัวกู"
นิพพานก็ ปรากฏอยู่ ณ จิตนั่น
พอ "ตัวกู" เกิดได้ ในจิตนั้น
สังสารวัฏฏ์ ก็พลัน ปรากฏแทนฯ
|
สหายเอ๋ย!
สหายเอ๋ย! "ตัวเรา"
มิได้มี
แต่พอเผลอ "ตัวเรา" มี ขึ้นมาได้
;พอหายเผลอ "ตัวเรา" ก็หายไป
หมด "ตัวเรา" เสียได้ เป็นเรื่องดี
สหายเอ๋ย! จงถอน ซึ่ง
"ตัวเรา"
และถอนทั้ง "ตัวเขา" อย่างเต็มที่
ให้มีแต่ ปัญญา และปราณี
อย่าให้มี "เรา~เขา" เบาเหลือเอยฯ
|
สุจิต-ทุจิต
ทุจิต คือจิต เกิด "ตัวกู"
เฝ้ายกหู ชูหาง อย่างบ้าหลัง
เขาตักเตือน อย่างไร ไม่ยอมฟัง
เฝ้าคลุ้มคลั่ง เดือดพล่าน เผาผลาญใจ
สุจิต คือจิต ว่าง "ตัวกู"
สะอาดอยู่ ด้วยสภาพ อันผ่องใส
สว่างอยู่ เพราะเห็นตาม ความจริงไป
สงบอยู่ เพราะเย็นได้ ไม่ร้อนรน
เหตุดังนั้น หมั่นระวัง ตั้งสติ
คุมความตริ ทันควัน หมั่นฝึกฝน
มิให้เกิด "ตัวกู" อยู่ในตน
เป็นสุชน เพราะสุจิต วิศิฏฐ์เอยฯ
|
ระวัง ผี "กู" ผี
"สู"
อันความจริง "กู"~"สู" มิได้มี
แต่พอโง่ ก็เป็นผี โผล่มาได้
พอหายโง่ "กู"~"สู"
ก็หายไป
หมด "กู"~"สู" เสียได้
เป็นเรื่องดีฯ
รักสงบ ชวนกันถอน ซึ่ง "สู"~"กู"
อย่าให้มี เหลืออยู่ เหมือนอย่างผี
เหลือกันไว้ แต่ปัญญา และปราณี
อย่าให้มี "กู"~"สู"
เหลืออยู่เวยฯ
อันธรรมชาติ ผี "กู" และผี
"สู"
มันเป็นคู่ กัดกัน ชั้นเปิดเผย
เข้าสิงจิต เมื่อไร เป็นไม่เสบย
อย่าเลี้ยงเลย ผีทั้งสอง ต้องขับไปฯ
|
มีโดยไม่ต้องมีผู้มี
ถ้ามีอะไร แล้วใจ รู้สึกเหนื่อย
สำนึกเรื่อย ว่ากูมี อย่างนี้หนา
มีทั้ง "กู" ทั้ง "ของกู" อยู่อัตรา
นั่นอัตตา มาผุดขึ้น ในการมี
ถ้ามีอะไร มีไป ตามสมมุติ
ไม่จับยุด ว่า "ของกู" รู้วิถี
แห่งจิตใจ ไม่วิปริต ผิดวิธี
มีอย่างนี้ ย่อมไม่เกิด ตัวอัตตา
ฉะนั้นมีอะไร อย่ามีให้ อัตตาเกิด
เพราะสติ อันประเสริฐ คอยกันท่า
สมบูรณ์ด้วย สัมปชัญญ์ และปัญญา
นี้เรียกว่า รู้จักมี ที่เก่งเกิน
เป็นศิลปะ แห่งการมี ที่ชั้นยอด
ไม่ต้องกอด ไฟนรก ระหกระเหิน
มีอย่างว่าง ว่างอย่างมี มีได้เพลิน
ขอชวนเชิญ ให้รู้มี อย่างนี้แลฯ
|
ตัวกูกับตัวกู
อัน "ตัวกู"
"ตัวสู" มิได้มี
แต่พอโง่ มันเป็นผี โผล่มาได้
พอหายโง่ "กู"~"สู"
ก็หายไป
พอโง่ใหม่ โผล่ใหม่ ดูให้ดี
แต่ละข้าง ต่างยึด ว่า "ตัวกู"
จึงเกิดการ ต่อสู้ กันอย่างผี
ต่างหมายมั่น แก่กัน ฉันไพรี
ทั้งเปิดเผย ลับลี้ มีทั่วไป
ที่ด้วยกว่า สู้ว่ากู ก็มีดี
ที่เด่นกว่า ข่มขี่ เขาเข้าไว้
ที่พอกัน กันท่า ไม่ว่าใคร
ล้วนแต่ใคร่ โด่งเด่น เป็นธรรมดา
เอาพระธรรม กวาดล้าง อย่างไม้กวาด
สำหรับฟาด หัวสัตว์ ที่ข้างฝา
ตกกระเด็น เป็นเหยื่อ แก่ไก่กา
ที่เก่งกว่า คืออย่าโง่ ให้โผล่เอยฯ
|
เมื่อกูเก่ง
ฉันมีปัญ~ ญาล้น จนหัวโต
พวกแกโง่ ดูหมิ่นฉัน กันจนได้
ฉันอยากฆ่า ตัวตาย ให้ใครใคร
ได้เข้าใจ ว่าใครโง่ โขกว่ากัน
ฉันมีดี อะไรๆ ไม่แกล้งว่า
ฉันเก่งกว่า คนตั้งแสน เป็นแม่นมั่น
หัวฉันโต กว่าหัวช้าง ไม้แกะกัน
ทำไมแก ไม่กลัวฉัน น่าขันเอยฯ
|
ของกู-ของสู
อันความจริง "ของกู"
มิได้มี
แต่พอเผลอ "ของกู" มี ขึ้นจนได้,
พอหายเผลอ "ของกู" ก็หายไป
หมด "ของกู" เสียได้ เป็นเรื่องดี;
สหายเอ๋ย จงถอนซึ่ง
"ของกู"
และถอนทั้ง "ของสู" อย่างเต็มที่
ของเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา ทุกนาที
เพราะไม่มี ของใคร ที่ไหนเอยฯ
|
ตัวกู-ตัวสู (๑)
อันความจริง "ตัวกู"
มิได้มี
แต่พอโง่ มันก็มี ขึ้นจนได้
พอหายโง่ "ตัวกู"
ก็หายไป
หมด "ตัวกู" เสียได้ เป็นเรื่องดี
เหตุดังนั้น จงถอน ซึ่ง
"ตัวกู"
และถอนทั้ง "ตัวสู" อย่างเต็มที่
คงมีแต่ ปัญญา และปราณี
หน้าที่ใคร ทำได้ดี เท่านี้เอยฯ
|
ตัวกู-ตัวสู (๒)
อันความจริง: "ตัวกู"
มิได้มี
แต่พอเผลอ มันเป็นผี โผล่มาได้
พอหายเผลอ "ตัวกู" ก็หายไป
หมด "ตัวกู" เสียได้ เป็นเรื่องดี;
สหายเอ๋ย จงถอน ซึ่ง
"ตัวกู"
และถอนทั้ง "ตัวสู" อย่างเต็มที่
มีกันแต่ ปัญญา และปราณี
หน้าที่ใคร ทำให้ดี เท่านี้เอยฯ
|
บาปใหญ่-บาปลึก?
คิดว่าดี กว่าเขา ซิเราแย่
มันเพียงแต่ ดีกว่าคน ที่บาปใหญ่
ส่วนตัวเอง บาปลึก นึกให้ไกล
มันบาปเบา อยู่เมื่อไร ให้นึกดู
เขาติดซ้าย, เราติดขวา, ถ้ามานึก
มันยังติด เหลือลึก กันทั้งคู่
แม้ติดซ้าย เลวกว่า ไม่น่าดู
แต่ติดขวา มันก็หรู อยู่เมื่อไร
มันเพียงแต่ ดีกว่าคน ที่ยังเลว
ส่วนตัวเอง ก็ยังเหลว ไม่ไปไหน
เฝ้าเกลียดซ้าย รักขวา เป็นบ้าใจ
มันก็ไพล่ พลัดห่าง ทางนิพพานฯ
|
ยึดมั่นมันกัดแน่
ชอบยึดมั่น ระวังมัน จะกัดเอา
เพราะความเขลา ยึดมั่น มีตัณหา
อุปาทาน กอดรัด มัดวิญญาณ์
อยู่ดีีดี ก็เป็นบ้า มาทันที
ยึดสิ่งใด สิ่งนั้น แหละมันกัด
กิน,กาม,เกียรติ
สารพัด กลีหรือศรี
หรือแม้บุตร ภรรยา และสามี
ความชั่วดี บุญหรือบาป จงทราบกัน
แม้รสสุข ที่อร่อย อยู่กับใจ
ชั้นที่อร่อย แน่นิ่งไป, ถ้ายึดมั่น
จะกลายเป็น ยักษา ขึ้นมาพลัน
แล้วห้ำหั่น กัดเอา อย่าเขลาเอย
|
หลักของคนทุกวันนี้
ถ้าเอาเปรียบ เขาไม่ได้ ก็ว่า
"ไม่ถูก"
ถ้าจูงจมูก ได้ทุกที ก็ว่า "ดีเหลือ"
ถึงวันดี เกิดมี เกลือจิ้มเกลือ
ร้องว่า "เบื่อ" โลกอะไร? ไม่เป็นธรรม
คนพวกนี้ มีโลก ของตัวเอง
ไปตามเพลง ของกิเลส ที่อุปถัมภ์
ไม่ยอมรับ อะไรหมด แม้กฏกรรม
ความเป็นธรรม นั้นคือ "ได้ ตามใจตัว"
ไกลจากสัตว์ ไปทุกที ที่ว่าเจริญ
หาส่วนเกิน มาเทิดไว้ ใส่เกล้าหัว
ใช้สงคราม ตัดสินความ ไม่คร้ามกลัว
ว่าความชั่ว จะไหม้โลก เป็นโคกไฟ
|
หมวดที่
3 หมวดอธิบายธรรมะ @หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1.
ผู้ดับไม่เหลือ
2.
จิตว่างได้ยินหญ้าพูด
3.
จากอนันตะสู่อนันตะ
4.
ทะเลไฟ
5.
ไส้เดือนเขียนจดหมายถึงมนุษย์
6.
อริยมรรคมีองค์แปด
7.
จงรู้จักตัวเอง
8.
ตัวกูกับตัวกู
9.
สันติภาพของคนสมัยนี้
10.
โทสะ ศัตรูแห่งศานติ
11.
โลภะ ศัตรูแห่งศานติ
12.
ราคะ ศัตรูแห่งศานติ
13.
ภยะ ศัตรูแห่งศานติ
14.
พุทธรูปไม้
15.
ยอดนักรบ
16.
แม่น้ำคด น้ำไม่คด
17.
ฝนอิฐเป็นกระจกเงา
18.
ปฏิบัติเพื่อความสะอาด
19.
ยิ่งคัดลอกยิ่งเลอะเทอะ
20.
เต่าหินตาบอด
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560)
สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Woman: MomentCam Application.
ผู้ดับไม่เหลือ
…..
อย่าเข้าใจ
ไปว่า ต้องเรียนมาก
ต้องปฏิบัติ
ลำบาก จึ่งพ้นได้
ถ้ารู้จริง
สิ่งเดียว ก็ง่ายดาย
รู้ดับให้
ไม่มีเหลือ เชื่อก็ลอง
เมื่อเจ็บไข้
ความตาย จะมาถึง
อย่าพรั่นพรึง
หวาดไหว ให้หม่นหมอง
ระวังให้
ดีดี 'นาทีทอง'
คอยจดจ้อง
ให้ตรงจุด หลุดได้ทัน
ถึงนาที
สุดท้าย อย่าให้พลาด
ตั้งสติ
ไม่ประมาท เพื่อดับขันธ์
ด้วยจิตว่าง
ปล่อยวาง ทุกสิ่งอัน
สารพัน
ไม่ยึดครอง เป็นของเรา
ตกกระได
พลอยกระโจน ให้ดีดี
จะถึงที่
มุ่งหมาย ได้ง่ายเข้า
สมัครใจ
ดับไม่เหลือ;
เมื่อไม่เอา
ก็ดับ
"เรา" ดับตน ดลนิพพาน
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Woman: MomentCam Application.
.....
|
จิตว่างได้ยินหญ้าพูด
.....
พระพุทธะ
ตรัสรู้ จิตอยู่ว่าง
ได้ยินสิ่ง
ทุกอย่าง แถลงไข
เหมือนมันฟ้อง
ตัวเอง เซ็งแซ่ไป
ว่าไม่มี
สิ่งไหน น่ายึดเอา
มาเพื่อเป็น
ตัวกู หรือของกู
อย่าหลงตู่
มันเข้า เพราะความเขลา
เอาของเป็น
อนัตตา มาเป็นเรา
จะต้องเศร้า
โศกระบม ตรมใจแรง
แม้กรวดดิน
หินไม้ และใบหญ้า
ล้วนแต่ส่ง
เสียงจ้า ทุกหัวระแหง
คนจิตวุ่น
ไม่เข้าใจ ไม่ระแวง
ว่าทุกสิ่ง
ร้องแสดง บทพระธรรม
ครั้นจิตว่าง
จะได้ยิน แม้ใบหญ้า
มันปรึกษา
ข้อความ ที่งามขำ
ว่า
'ทำไฉน สัตว์ทั้งหลาย จะร่ายรำ
ด้วยจิตว่าง
เพราะวางธรรม ทั้งปวงเอย'
ฯ
.....
|
จากอนันตะสู่อนันตะ
…..
จาก
"อนันต์" สู่ "อนันต์" นั้นเห็นยาก
คนส่วนมาก
งันงง ตรงความหมาย
"ไม่สิ้นสุด ทั้งฝ่ายเกิด และฝ่ายตาย"
ภาษาคน
ไม่ขวนขวาย มาฟังยิน
ข้อนี้ต้อง
เปรียบเทียบ กับเสียงระฆัง
คือมันดัง
ออกมาได้ ไม่รู้สิ้น
ดังออกมา
เรื่อยเรื่อยไป ได้อาจิณ
ก็ไม่เคย
เต็มถิ่น อากาศกาล
เหมือนสังขตะ
ธรรมธาตุ ปรุงแต่งกัน
เนืองอนันต์
มิรู้สิ้น สายสังขาร
ปรุงออกมา
นานนับ กี่กัปป์วาร
อวสานต์
นั้นไม่มี ที่เหตุมูล
แม้ธรรมธาตุ
อสังขตะสุญญตา
เป็นอนันต์
เสมอมา ไม่ขาดสูญ
เป็นที่ดับ
แห่งสังขาร แต่กาลบูรพ์
ไม่เต็มนูน, เพราะอนันต์ นั่นเลนาฯ
.....
|
ทะเลไฟ
…..
เรือของธรรม
แล่นฝ่า ทะเลไฟ
เรือของคน
อย่างไร ยังไม่แน่
เห็นทีจะ
ขี้ขลาด และอ่อนแอ
จึงต้องแพ้
แก่เนื้อหนัง นั่งเฝ้าดู
จะออกไป
นอกโลก ต้องฝ่าไฟ
จะหมดทุกข์
ต้องไป เหนือสิ่งคู่
จะพ้นตาย
ต้องพราก จากตัวกู
เผากิเลส
ต้องอยู่ ใจกลางไฟ
คนเขลาเขลา
เหมาเหมา ไปตามเขลา
ไม่อยากเข้า
ใกล้ไฟ เพราะกลัวไหม้
ไฟของธรรม
มีไว้ เพื่อดับไฟ
ที่ไหม้ใจ
ของสัตว์ ในบัดดล
ตบะธรรม
กรรมฐาน เปรียบปานไฟ
เผากิเลส
สิ้นไป เหลือมรรคผล
อันไฟธรรม
มีไว้ ดับไฟคน
ดับแล้วพ้น
ทะเลไฟ ฝ่าไปเอยฯ
.....
|
ไส้เดือนเขียนจดหมายถึงมนุษย์
…..
รอยไส้เดือน
เกลื่อนไป ในผิวดิน
เป็นลวดลาย
หลายระบิล หลายท่วงท่า
มีความหมาย
ว่ากระไร ใครสงกา
หรือเห็นว่า
ไร้สิ่ง น่าสนใจ
คือจดหมาย
ไส้เดือน เตือนมนุษย์
ไม่รู้สิ้น
รู้สุด มาแต่ไหน
ทั้งคืนวัน
ขยันเขียน เวียนทำไป
มนุษย์อ่าน
หรือไม่ ไม่อาวรณ์
มันพร่ำบอก
พร่ำสอน พร่ำวอนว่า
พร่ำพรรณนา
ให้ระวัง ให้สังหรณ์
ว่าสรรพสิ่ง
เปลี่ยนไป ไม่ถาวร
ทุกทุกตอน
อนิจจัง อนัตตา
มันให้อัต-
ถาธิบาย หลายแสนอย่าง
อุทาหรณ์
ต่างต่าง ครบทุกท่า
รอยไส้เดือน
เกลื่อนทั่ว พสุธา
ก็เพราะว่า
ไส้เดือนรัก คนนักเอยฯ
.....
|
อริยมรรคมีองค์แปด
…..
พญานาค
หกเศียร เฉวียนฉวัด
เที่ยวขบกัด
อารมณ์หก อยู่ผกผัน
ตาหูจมูก
ลิ้นกายใจ ไล่พัลวัน
รูป
เสียง กลิ่น รส ฉิวกระสัน ธรรมารมณ์
พญาครุฑ
ยุดขยำ กำนาคไว้
มนุษย์ผ่าน
ไปได้ โดยเหมาะสม
ด้วยเรือฝูง
แปดลำ ทวนน้ำลม
ในธารธรรม
งามอุดม สะดวกดี
มีมนุษย์
ถึงก่อน วอนเรียกขาน
ให้ทุกท่าน
ตามมา อย่าผันหนี
ขอจงช่วย
กันและกัน ให้ทันที
ถึงบุรี
นิรวาณ ก่อนการตายฯ
.....
|
จงรู้จักตัวเอง
.....
"จงรู้จัก ตัวเอง" คำนี้หมาย
ว่าค้นพบ
แก้วได้ ในตัวท่าน
หานอกตัว
ทำไม ให้ป่วยการ
ดอกบัวบาน
อยู่ในเรา อย่าเขลาไป
ในดอกบัว
มีมณี ที่เอกอุตม์
เพื่อมนุษย์
ค้นหา มาให้ได้
'การตรัสรู้ หรือรู้ สิ่งใดใด
ล้วนมาจาก
ความรู้ ตัวสูเอง'ฯ
.....
|
ตัวกูกับตัวกู
…..
อัน
"ตัวกู" "ตัวสู" มิได้มี
แต่พอโง่
มันเป็นผี โผล่มาได้
พอหายโง่
"กู"~"สู" ก็หายไป
พอโง่ใหม่
โผล่ใหม่ ดูให้ดี
แต่ละข้าง
ต่างยึด ว่า "ตัวกู"
จึงเกิดการ
ต่อสู้ กันอย่างผี
ต่างหมายมั่น
แก่กัน ฉันไพรี
ทั้งเปิดเผย
ลับลี้ มีทั่วไป
ที่ด้อยกว่า
สู้ว่ากู ก็มีดี
ที่เด่นกว่า
ข่มขี่ เขาเข้าไว้
ที่พอกัน
กันท่า ไม่ว่าใคร
ล้วนแต่ใคร่
โด่งเด่น เป็นธรรมดา
เอาพระธรรม
กวาดล้าง อย่างไม้กวาด
สำหรับฟาด
หัวสัตว์ ที่ข้างฝา
ตกกระเด็น
เป็นเหยื่อ แก่ไก่กา
ที่เก่งกว่า
คืออย่าโง่ ให้โผล่เอยฯ
.....
|
สันติภาพของคนสมัยนี้
…..
อยู่พร้อมหน้า
ยืนยัน สันติภาพ
สร้างอาวุธ
ไว้ปราบ กันลับหลัง
ปากถือศีล
มือถือสาก มีฉากบัง
ต้องวุ่นวาย
ตึงตัง ทั้งตาปีฯ
|
โทสะ
ศัตรูแห่งศานติ
…..
ดนตรีชีพ
รื่นสำราญ ชื่นบานนัก
แล้วก็มัก
ถูกทำลาย ให้หายสูญ
เพราะโทสะ
สุมเผา เป็นเค้ามูล
ต้องอาดูร
ชีพรส หมดดนตรีฯ
|
โลภะ
ศัตรูแห่งศานติ
…..
สมัยนี้
ละโมบกล้า อย่างป่าเถื่อน
จะรวบเดือน
ดาวใส่ ในกระเป๋า
ศิวิไลซ์
ล้วนแต่หมาย ว่าจะเอา
โลกของเรา
ย้อนกลับหลัง ยังป่าเอยฯ
.....
|
ราคะ
ศัตรูแห่งศานติ
.....
พอราคะ
กลัดกลุ้ม ห่อหุ้มจิต
ตาก็พิศ
เพ่งแต่หน้า รากษศี
ไม่เห็นส่วน
อื่นใด เหมือนไม่มี
เห็นนาคี
เป็นมัจฉา น่ากอดรัดฯ
.....
|
ภยะ
ศัตรูแห่งศานติ
.....
โลกทุกวัน
นี้ยิ่งมี สิ่งที่กลัว
จนขวัญแยก
จากตัว น่าขบขัน
ยิ่งก้าวหน้า
ยิ่งระแวง แคลงใจกัน
ทุกคืนวัน
เป็นโรคกลัว ทั่วกันเอยฯ
.....
|
พุทธรูปไม้
.....
“เอาพุทธรูปไม้ สุมไฟ ทำไมเจ้า”
“อ๋อ,เพราะเรา ควรจะได้ พระธาตุนั้น”
“พุทธรูปไม้ มีพระธาตุ อย่างไรกัน”
“ถ้าอย่างนั้น ควรเผา เพื่อผิงไฟ”
ท่านสมภาร
สว่างโล่ง โพลงในจิต
ได้พินิจ
เห็นตรง หมดสงสัย
หยุดผยอง
อย่างก่อนมา หยุดว่าใคร
เพราะต๋านเสี่ย
หยอดตาให้ หายบอดเอยฯ
......
|
ยอดนักรบ
…..
นักรบแบก
เครื่องรบ อย่างครบครัน
พวกชาวบ้าน
แบกบ้าน ทรัพย์สินหลาย
เอาจิตแบก
งงงัน กันจนตาย
เพราะมั่นหมาย
จึงมีแบก,
แปลกไหมคุณ?
ถ้าไม่มุ่ง
หมายมั่น สิ่งอันใด
ก็เท่ากับ
ไม่แบกอะไร ให้หันหุน
แบกอะไร
ก็ไม่แปลก เท่าแบกบุญ
ถึงเซซุน
ไม่รู้ว่า หนักอะไร
ได้อะไร
พาอะไร ไม่ต้องแบก
รู้จักแยก
เสียจากกัน อย่าหวั่นไหว
กายของกาย
จิตของจิต: ใช่ของใคร
อะไรอะไร
เกี่ยวข้องกัน ฉันของกลาง
แม้แบกอยู่
ใช้อยู่ หรือหินอยู่
จิตก็รู้
วางไว้ ไร้ยุ้งฉาง
สำหรับใส่
ของ "กู" รู้ปล่อยวาง
มีชีวิต
ก็มีอย่าง ไม่แบก "กู" ฯ
......
|
แม่น้ำคด
น้ำไม่คด
…..
แม่น้ำคด
ส่วนน้ำ นั้นไม่คด
ไม่แกล้งปด
ดูให้ดี มีเหตุผล
กายกับใจ
ไม่ลามก ไม่วกวน
แต่กิเลส
แสนกล นั้นเหลือคด
จิตล้วนล้วน
นั้นเป็น ประภัสสร
กิเลสจร
ครอบงำ ทำยุ่งหมด
กิเลสเปรียบ
ลำน้ำ ที่เลี้ยวลด
จิตเปรียบน้ำ
ตามกฏ ไม่คดงอ
อันจิตว่าง
มีได้ ในกายวุ่น
ในน้ำขุ่น
มีน้ำใส ไม่หลอกหนอ
ในสงสาร
มีนิพพาน อยู่มากพอ
แต่ละข้อ
งวยงง ชวนสงกา
พระตรัสให้
ตัดป่า อย่าตัดไม้
ไม่เข้าใจ
ตัดได้ อย่างไรหนา
รู้แยกน้ำ
จากแม่น้ำ ตามว่ามา
จึงนับว่า
ผู้ฉลาด สามารถเอยฯ
.....
|
ฝนอิฐเป็นกระจกเงา
…..
ศิษย์วอนถาม
อาจารย์ ฐานร้อนใจ
'ทำอย่างไร ไปนิพพาน อาจารย์ขา'
'อ๋อมันง่าย นี่กระไร บอกให้นา
คือคำว่า
ฝนอิฐเป็น กระจกเงา'
'อาจารย์ครับ เขาคงว่า เราบ้าใหญ่
แม้ฝนไป
ฝนไป ก็ตายเปล่า'
'นั่นแหละเน้อ มันสอนให้ แล้วไม่เบา
ว่าให้เรา
หยุดหา หยุดบ้าไป
ไม่มีใคร
ฝนอิฐ เป็นกระจก
ไม่ต้องยก
มากล่าว เข้าใจไหม
นิพพานนั้น
ถึงได้ เพราะไม่ไป
หมดตนไซร้
ว่างเห็น เป็นนิพพาน
ถ้าฝนอิฐ
ก็ฝนให้ ไม่มีเหลือ
ไม่มีเชื้อ
เวียนไป ในสงสาร
ฝนความวุ่น
เป็นความว่าง อย่างเปรียบปาน
ฝนอิฐด้าน
ให้เป็นเงา เราบ้าเอง'
ฯ
.....
|
ปฏิบัติเพื่อความสะอาด
…..
อาบอะไร
ล้างกันใหญ่ ดูให้ดี
ดูล้างกัน
เต็มที่ ไม่มีเฉย
ไม่น่าดู
นั่นแหละดู ให้ดีเวย
ขอเฉลย
อรรถอ้าง ล้าง "ตัวกู"
อาบที่หนึ่ง
นั่นล้าง ส่วนร่างกาย
ย่อมทำได้
โดยขยัน หมั่นเช็ดถู
ภาพพวกเซ็น
อาบเป็น ตัวอย่างดู
ล้างตัวกู
กันอย่างหนัก ด้วยรักทำ
อาบที่สอง
จองล้าง ไล่กิเลส
ที่เป็นเหตุ
เผลอไพล่ ไถลถลำ
เที่ยวยึดนั่น
ยึดนี่ ที่กอบกำ
เอามาทำ
เป็น "ตัวกู" และ "ของกู"
เอาน้ำคือ
"ธรรมะ" เข้าชะล้าง
ให้สว่าง
สะอาดสิ้น สงบอยู่
อะไรมา
ไม่ยึดมั่น ไม่ขันคู
"สิ้นตัวกู"
เป็นวิมุตติ ดีสุดดี
ยามอาบล้าง
ท่าทาง ไม่น่าดู
อาบเสร็จแล้ว
สวยหรู ชูศักดิ์ศรี
ยามชะล้าง
แสนยาก ลำบากมี
ลุถึงที่
สุขล้วน ชวนชมเอยฯ
.....
|
ยิ่งคัดลอกยิ่งเลอะเทอะ
…..
พระคัมภีร์
ยังมิใช่ องค์พระธรรม
มีไว้เพียง
อ่านจำ เมื่อศึกษา
ครั้นนานเข้า
คัดลอก กันสืบมา
เพียงแต่เขียน
อักขรา ให้คล้ายกัน
คัดพลาง
ฉงนพลาง ช่างอึดอัด
ตัวไม่ชัด
เดาไป คล้ายในฝัน
ยิ่งเป็นปราชญ์
ยิ่งแก้ไป ได้ไกลครัน
ยิ่งแก้มัน
ก็ยิ่งเลอะ ไม่เจอะจริง
ส่วนพระธรรม
ล้ำเลิศ ประเสริฐแท้
ไม่มีใคร
อาจแก้ ให้ยุ่งขิง
ธรรมของใคร
ใครเห็น ตามเป็นจริง
มิใช่สิ่ง
คัดลอก หรือบอกกัน
ทั้งมิอาจ
ถ่ายทอด วิธีใด
มีแต่การ
จัดใจ ให้สบสันติ์
ไม่มีทาง
ซื้อขาย หรือให้ปัน
หรือลอกกัน
ให้เลอะไป ไม่หยุดเอยฯ
.....
|
เต่าหินตาบอด
…..
"โอ้! เต่าเอ๋ย ขอถาม ความสักอย่าง
ดูท่าทาง
ของเต่า เรานึกขำ
ตัวเป็นหิน
ตาก็บอด ยอดเวรกรรม
มีพระธรรม
อยู่บนหลัง ยังไม่รู้"
"มนุษย์เอ๋ย เราจะบอก กรอกหูเจ้า
ตัวเราเอง
แหละคือธรรม ตำตาอยู่
ธรรมของเจ้า
คือตำรา บ้าพอดู
ธรรมของตู
คือตัวตู อยู่ที่ธรรม
ที่เป็นหิน
หมายถึงเย็น อย่างนิพพาน
และประหาร
อวิชชา ไยว่าขำ
ความหนวกบอด
ยอดสงบ ลบล้างกรรม
เป็นความว่าง
มีประจำ อยู่ร่ำไป
อันตำรา
นั้นมิใช่ พระธรรมเลย
คิดดูเถิด
คนเอ๋ย อย่าไถล
จะมีธรรม
กันบ้าง ช่างกระไร
คว้าเอาไว้
แต่คัมภีร์ ดีเหลือเอย" ฯ
.....
|
หมวดที่
4 หมวดเรียนศาสนา
@หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1.
มีธรรมเป็นอาภรณ์
2.
ประชดธรรม
3.
มังคุดธรรม
4.
ไม่น่าจะบ้า
5.
เรียนชีวิต
6.
เรียนศาสนาที่ตาหู
7.
เรียนศาสนา
8.
เรียนธรรมะกับเรียนปรัชญา
9.
เรียนวิปัสสนา
10.
เรียนแบบคันถธุระ
11.
เรียนปรัชญา
12.
เรียนธรรมะ
13.
เราถือศาสนาอะไรกันแน่?
14.
ติดตำราจะติดตัง
15.
พระเจ้าองค์เดียว
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ. (2540) หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560)
สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Weather: MomentCam Application.
มีธรรมเป็นอาภรณ์
.....
คนไร้ธรรม ฟั่นเฟือน
เหมือนเปลือยกาย
มันน่าอาย อวดได้ ไม่คลื่นเหียน
คนมีธรรม รู้อาย ไม่ว่ายเวียน
จุ่งดูให้ แนบเนียน มีอาภรณ์
อาจสุขเย็น เห็นประจักษ์ เพราะรักตัว
ไม่เมามัว รักกิเลส เป็นเหตุถอน
ตนออกจาก ความจริง สิ่งถาวร
จนเห็นกง- จักรร้อน เป็นดอกบัว
ความเห่อเหิม เพิ่มตัณหา ให้กล้าจัด
เหมือนหลงสร้าง สมบัติ ไว้ทูนหัว
ยิ่งมีมาก หนักมาก ยิ่งยากตัว
ทั้งยิ่งกลัว ความวิบัติ ขึ้นบัดดล
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ. (2540) หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Weather: MomentCam Application.
.....
|
ประชดธรรม
ประชดธรรม คำนี้ มีความหมาย
ที่เปรียบได้ เป็นอุปมา ห้าสถาน
ประชดน้ำ พร่ำแต่ดื่ม น้ำล้างจาน
เปรี้ยวหรือหวาน เขาก็รู้ อยู่แก่ใจ
ประชดลม ก็อมอุจ- จาระพ่น
ตลบมา หน้าของตน ก็พ่นใหญ่
ประชดบาป นำมาอาบ นาบหทัย
ประชดไฟ ให้สาสม แก่ยมบาล
ประชดกรรม นำกิเลส มาไล้หัว
ทั้งเนื้อตัว แมมมอม จอมกล้าหาญ
อย่ามาเตือน ทั้งบิดา หรืออาจารย์
ยอมวายปราณ รวมหมด ประชดตนฯ
|
มังคุดธรรม
ไอ้จ๋อหนึ่ง กัดมังคุด
ทั้งเปลือกฝาด
ก็อาละวาด ขว้างทิ้ง กลิ้งหลุนหลุน
ไอ้จ๋อหนึ่ง มีปัญญา รู้ค่าคุณ
หยิบบิดุน กินเนื้อใน ชื่นใจลิง
คนโง่งับ ศาสนา ร้องว่าฝาด
ก็อาละวาด โกรธใจ คล้ายผีสิง
สัตบุรุษ ขุดพระธรรม ได้ความจริง
ดื่มธรรมยิ่ง ดื่มสุข ทุกวันคืน
ลิงหรือคน ก็วิกล ได้ด้วยกัน
กลืนถูกมัน ก็กลืนคล่อง ไม่ต้องฝืน
กลืนทั้งเปลือก ตาเหลือก ตายทั้งยืน
กลืนเนื้อใน ชื่นมื่น รื่นเริงธรรมฯ
|
ไม่น่าจะบ้า
พุทธศาสนา คือวิชา ที่เปลื้องปลุก
มิให้คน ทนทุกข์ เท่้าเส้นขน
แต่คนรับ รับมา ท่าสัปดน
มาทำตน ให้ทุกข์ รุกขึ้นไป
ให้ยึดมั่น ขลาดเขลา เมาศาสนา
สอนเป็นบ้า เรียนเป็นบ้า คว้ากันใหญ่
สร้างเป็นบ้า จนเป็นฝ้า บังจิตใจ
เกิดฝักฝ่าย พวกพรรค รักสู้กัน
ส่วนพระธรรม คำสอน สิ่งดับทุกข์
ไม่สนใจ ทำให้ถูก ตามหลักนั่น
หลงส่งเสริม เพิ่มทุกข์ ลุกเป็นควัน
นี่แหละพันธุ์ พวกบ้า เจ้าข้าเอยฯ
|
เรียนชีวิต
เรียนชีวิต อย่าแสวง จากแหล่งนอก
อย่าเข้าไป ในคอก แห่งศาสตร์ไหน
อย่ามัวคิด ยุ่งยาก ให้ผากใจ
อย่าพิจารณา จาระไน ให้นุงนัง
อย่ายึดมั่น นั่นนี่ ที่เรียกกฏ
มันตรงตรง คดคด อย่างหมดหวัง
จงมองตรง ลงไปที่ ชีวิตัง
ดูแล้วหยั่ง ลงไป ในชีวิต
ให้รู้รส หมดทุกด้าน ที่ผ่านมา
ให้ซึมซาบ วิญญาณ์ อย่างวิศิษฐ์
ประจักษ์ทุกข์ ทุกระดับ กระชับชิด
ปัญหาชีวิต จะเผยออก บอกตัวเองฯ
|
เรียนศาสนาที่ตาหู
เรียนศาสนา นั้นต้องมี ที่ตาหูฯ
เมื่อให้เกิด ทุกข์อยู่ ทุกสถาน
เรียนให้รู้ ตรงที่จะ ชักสะพาน
อย่าให้เกิด อาการ มารรบกวน
เรียนตรงตรง ลงไป ที่ตัวทุกข์
ดูให้ถูก กรรมวิธี กี่กระสวน
สะกัดกั้น การปรุงแต่ง แห่งกระบวน
จิตปั่นป่วน สงบได้ ทุกข์หายไป
|
เรียนศาสนา
คำนี้ฟัง วนเวียน
"เรียนศาสนา"
ไม่แน่ว่า เรียนอะไร ทำไมหนอ
เรียนนักธรรม เรียนบาลี ยังมิพอ
ก็เรียนต่อ กัมมัฏฐาน การวิปัสสนา
เรียนเรียนไป ก็ได้ สักว่าเรียน
บ้างก็เปลี่ยน เป็นอาพาธ บ้าศาสนา
มีหลายอย่าง บ้าระห่ำ เกินธรรมดา
กระทั่งบ้า ลาภยศ อดนิพพาน
เรียนศาสนา นั้นต้องมี ที่ตาหูฯลฯ
ไม่ให้เกิด ทุกข์อยู่ ทุกสถาน
เรียนให้รู้ ตรงที่จะ ชักสะพาน
อย่าให้เกิด อาการ มารรบกวน
เรียนตรงตรง ลงไป ที่ตัวทุกข์
ดูให้ถูก กรรมวิธี กี่กระสวน
สะกัดกั้น การปรุงแต่ง แห่งกระบวน
จิตปั่นป่วน สงบได้ ทุกข์หายไปฯ
|
เรียนธรรมะกับเรียนปรัชญา
เรียนอะไร ถ้าเรียน อย่างปรัชญา
ที่เทียบกับ คำว่า ฟิโลโซฟี่ส์
ยิ่งพลาดจาก ธรรมะ ที่ควรมี
เพราะเหตุที่ ยิ่งเรียนไป ยิ่งไม่ซึม
เพราะเรียนอย่าง คำนวณสิ่ง ไม่มีตัว
สมมติฐาน เอาในหัว อย่างครื้มครึ่ม
อุปมาน อนุมาน สร้างทึมทึม
ผลออกมา งึมงึม งับเอาไป
เรียนธรรมะ มีวิถี วิทยาศาสตร์
มีตัวธรรม ที่สามารถ เห็นชัดใส
ไม่คำนวณ หากแต่มอง ลองด้วยใจ
ส่องลงไป ตามที่อาจ ฉลาดมอง
จะส่วนเหตุ หรือส่วนผล ยลประจักษ์
เห็นตระหนัก ว่าอะไร อย่างไรสนอง
แก่คำถาม แจ้งถนัด ชัดทำนอง
ตามที่ต้อง ปฏิบัติ ชัดลงไปฯ
|
เรียนวิปัสสนา
เรียนวิปัสสนา เพิ่งมีมา ต่อภายหลัง
ไม่เคยฟัง ในบาลี ที่ตถา
ไม่แยกเป็น คันถะ วิปัสสนา
มีแต่ว่า ตั้งหน้า บำเพ็ญธรรม
เพราะทนอยู่ ไม่ได้ ในกองทุกข์
จึงได้ลุก จากเรือนอยู่ สู่เนกขัม
จัดชีวิต เหมาะแท้ แก่กิจกรรม
เพื่อกระทำ ให้แจ้ง แห่งนิพพาน
ในบัดนี้ มีสำนัก วิปัสสนา
เกิดขึ้นมา เป็นพิเศษ เขตสถาน
ดูเอาจริง ยิ่งกว่าครั้ง พุทธกาล
ขอให้ท่าน จริง,ดี มี วิปัสสนาฯ
|
เรียนแบบคันถธุระ
คันถธุระ คือเรียนร่ำ พระคัมภีร์
ที่ร้อยกรอง กันเต็มที่ ยุคทีหลัง
เป็นมัดมัด ตู้-ตู้ ดูมากจัง
เรียนจนคลั่ง เคลิ้มไคล้ ไปก็มี
ภาวนาว่า นางฟ้า ปิฏกไตร
จงผูกใจ ข้าฯไว้ ให้ถนัดถนี่
จะตายไป กี่ชาติ กี่ภพมี
ขอสมรส ด้วยวาณี ตลอดไป
เป็นการสืบ ศาสนา ปริยัติ
จะได้มี ปฏิบัติ ที่แจ่มใส
แต่ดูดู คล้ายจะมุด คุดอยู่ใน
ไม่อยากได้ พระนิพพาน สักท่านเดียวฯ
|
เรียนปรัชญา
เรียนอะไร ถ้าเรียน อย่างปรัชญา
ที่เทียบกับ คำว่า ฟีโลโซฟี่ (Philosophy)
เรียนจนตาย ก็ไม่ได้ พบวิธี
ที่อาจขยี้ ทุกข์ดับ ไปกับกร
เพราะมันเรียน เพื่อมิให้ รู้อะไร
ชัดลงไป ตามที่ธรรม- ชาติสอน
มัวแต่โยก โย้ไป ให้สั่นคลอน
สร้างคำถาม ป้อนต้อน รอบรอบวง
ไม่อาจจะ มีวิมุตติ เป็นจุดจบ
ยิ่งเรียนยิ่ง ไม่ครบ ตามประสงค์
เป็นเฮโรอีน สำหรับปราชญ์ ที่อาจอง
อยู่ในกรง ปรัชญา น่าเอ็นดูฯ
|
เรียนธรรมะ
เรียนธรรมะ อย่าตะกละ ให้เกินเหตุ
จะเป็นเปรต หิวปราชญ์ เกินคาดหวัง
อย่าเรียนอย่าง ปรัชญา มัวบ้าดัง
เรียนกระทั่ง ตายเปล่า ไม่เข้ารอย
เรียนธรรมะ ต้องเรียน อย่างธรรมะ
เรียนเพื่อละ ทุกข์ใหญ่ ไม่ท้อถอย
เรียนที่ทุกข์ ที่มีจริง ยิ่งเข้ารอย
ไม่เลื่อนลอย มองให้เห็น ตามเป็นจริง
ต้องตั้งต้น การเรียน ที่หูตา ฯลฯ
สัมผัสแล้ว เกิดเวทนา ตัณหาวิ่ง
ขึ้นมาอยาก เกิดผู้อยาก เป็นปากปลิง
"เรียนรู้ยิง ตัณหาดับ นับว่าพอ" ฯ
|
เราถือศาสนาอะไรกันแน่?
ศาสนา โบสถ์วิหาร การวัดวา
ศาสนา คือพระธรรม คำสั่งสอน
ศาสนา ประพฤติธรรม ตามขั้นตอน
ศาสนา พาสัตว์จร จวบนิพพาน
ศาสนา เนื้องอก พอกพระธรรม
ศาสนา น้ำครำ ของเป็ดห่าน
ศาสนา ภูตผี พานิชการ
ศาสนา วิตถาร กวนบ้านเมือง
ศาสนา ใหม่ใหม่ ร้ายกว่าเก่า
ศาสนา ของพวกเจ้า โจรผ้าเหลือง
ศาสนา ปัจจุบัน พ้นการเมือง
ศาสนา มลังเมลือง เมืองคนเย็นฯ
|
ติดตำราจะติดตัง
จงรักษา ดวงใจ ให้ผ่องแผ้ว
อย่าทิ้งแนว การถือ คือเหตุผล
อย่าถือแต่ ตามตำรา จะพาตน
ให้เวียนวน ติดตัง นั่งเปิดดู
อย่าถือแต่ ครูเก่า เฝ้าส่องบาตร
ต้องฉลาด ความหมาย สมัยสู
อย่ามัวแต่ อ้างย้ำ ว่าคำครู
แต่ไม่รู้ ความจริง นั้นสิ่งใด
อย่ามัวแต่ ถือตาม ความนึกเดา
ที่เคยเขลา เก่าแก่ แต่ไหนๆ
ต้องฉลาด ขูดเขลา ปัดเป่าไป
ให้ดวงใจ แจ่มตรู เห็นลู่ทางฯ
|
พระเจ้าองค์เดียว
พระศาสนา สัมพันธ์ คือมรรคา
ที่ชักพา นำมนุษย์ สู่จุดหมาย
เพื่อมนุษย์ ได้เป็นสุข ทุกนิกาย
เราทั้งหลาย ชวนกันมา ปรึกษากัน
พระเจ้าแท้ มีแต่ พระองค์เดียว
ทางจึงมี แต่ทางเดียว เป็นแม่นมั่น
เป็นทางตรง มุ่งไป สู่ไกวัลย์
เป็นนิรัน- ดรสุข แก่ทุกคน
ไม่มีข้อ ขัดแย้ง แบ่งพวกพรรค
มนุษย์รัก ร่วมสุข ทุกแห่งหน
นี่แหละหนา พวกเรามา รวมกมล
แห่งปวงชน เพื่อบูชา พระเจ้าเดียว
การเรียกชื่อ ต่างกัน นั้นไม่แปลก
แต่เนื้อใน ไม่อาจแยก เป็นส่วนเสี้ยว
คือธรรมธาตุ หนึ่งแน่ เป็นแท้เทียว
ทุกคนเหนี่ยว เป็นที่พึ่ง จึงรอดเอยฯ
|
|
หมวดที่
5 หมวดความตาย @หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1.
ปริญญาจากสวนโมกข์
2.
ชีวิตนี้คืออะไรกัน
3.
บางนาทีท่านมีมัน
4.
ต้นสนเฒ่า
5.
รสแห่งความเปลี่ยนแปลง
6.
คาถาดับสังขาร
7.
ดับสังขาร
8.
หนทางชนะตาย
9.
ตายก่อนตาย
10.
ความแก่
11.
ยามไหนก็ได้
12.
ยามจะใช้
13.
ยามจะมี
14.
มันมีเท่านี้เอง
15.
ภัทเทกรัตต์
16.
อยู่กันนิรันดร
17.
วิธีทำไม่ให้ฉันตาย
18.
พุทธทาสจักไม่ตาย
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540) หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560) สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก
http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Cosplay: MomentCam Application.
......
ปริญญาจากสวนโมกข์
…..
“ปริญญา ตายก่อนตาย” ใครได้รับ
เป็นอันนับ ว่าจบสิ้น
การศึกษา
เป็นโลกุตตร์ หลุดพ้น
เหนือโลกา
หยุดเวียนว่าย สิ้นสังสา-
รวัฏฏ์วน
ปริญญา แสนสงวน
จากสวนโมกข์
คนเขาว่า เยกโยก
ไม่เห็นหน
ไม่เห็นดี ที่ตรงไหน
ใครสัปดน
รับเอามา ด่าป่น
กันทั้งเมือง
นี่แหละหนา ปริญญา
“ตายก่อนตาย”
คนทั้งหลาย มองดู
ไม่รู้เรื่อง
เขาอยากอยู่ ให้เด่นดัง
มลังเมลือง
เขาเลยเคือง ว่าเราชวน
ให้ด่วนตายฯ
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540) หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Cosplay: MomentCam
Application.
......
|
ชีวิตนี้คืออะไรกัน
…..
ชีวิตนี้ คืออะไรกัน? ฉันคิดว่า
เป็นความบ้า ของธรรมชาติ
ประหลาดขัน
ปรุงแต่งธาตุ แห่งกายใจ
ไหลเป็นควัน
เป็นธาตุความ อร่อยชั้น
สัญชาตญาณ
ชีวิตนี้ มีทำไมกัน? ฉันเห็นว่า
เพื่อความบ้า ถึงที่สุด
สิ้นสงสาร
สงบกาย ใจเย็น
เป็นนิพพาน
อวสานแห่ง ความไหล
ไม่มีควัน
ชีวิตนี้ ทำอย่างไรกัน? ฉันถือว่า
ต้องหยุดบ้า ในอร่อย
คอยผ่อนผัน
ตามองค์มรรค แปดประการ
ประสานกัน
ทุกคืนวัน ให้ถูกต้อง
คลองสัมมาฯ
.....
|
บางนาทีท่านมีมัน
.....
รสอะไร ไม่ประเสริฐ
หรือสุทธิศานติ์
ยิ่งไปกว่า รสของการ
ไม่ต้องได้
ไม่ต้องเป็น ไม่ต้องอยู่
ไม่ต้องตาย
ไม่กระหาย ไม่สงสัย
ไม่กังวล
ไม่หวั่นไหว ไม่ถือ
ร้ายหรือดี
ไม่ถวิล หวังที่
มันสับสน
เช่นจวนได้ หรือจะได้
แต่กลายวน
เป็นไม่แน่ ว่าตน
จะได้มัน
รสความว่าง อิ่มโอชะ
ตลอดกาล
เป็นสัมปราย โวหาร
พระอรหันต์
ดูให้ดี บางนาที
ท่านมีมัน
แต่ว่าท่าน ดูไม่ดี
ไม่มีเอยฯ
.....
|
ต้นสนเฒ่า
.....
เมื่อมันยัง
ไม่ได้ เป็นพุทธะ
ต้นสนเฒ่า ก็ยังจะ
อืดอาดฝัน
เอื่อยๆไป ได้สนุก
ทุกคืนวัน
พอเหมาะครัน เป็นพุทธได้
ในพริบตา.
มนุษย์เรา เบาความ
ยามสบาย
ก็ไม่ใฝ่ ฝึกธรรม
ตามวาสนา
จนแก่เฒ่า เข้าเขตของ
มรณา
ก็พะว้า พะวังวาย
ตายเปล่าเอยฯ
.....
|
รสแห่งความเปลี่ยนแปลง
…..
สันดานจิต
ชอบเวียน เปลี่ยนเสมอ
มันเฝ้าเพ้อ
หาใหม่ ใฝ่กระสัน
จะเปลี่ยนรส, เปลี่ยนที่, เปลี่ยนสิ่งอัน
แวดล้อมมัน, เปลี่ยนเวลา เปลี่ยนอารมณ์
รสของความ
เปลี่ยนแปลง แฝงเจืออยู่
จึงได้ดู
เป็นรส ที่เหมาะสม
เป็นรสแห่ง
อนิจจัง ช่างลับลม
ไม่รู้ถึง
จึ่งงม ว่าเลิศดีฯ
.....
|
คาถาดับสังขาร
…..
สิ่งปรุงแต่ง
ทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
มันเกิดก่อ
ตามหน้าที่ มีสังขาร
แล้วก็ดับ
เป็นธรรมดา ตามอาการ
ไม่อยู่นาน
มันเป็น เช่นนี้แล
สังขารกลุ่ม
นี้หนอ ก็เหมือนกัน
จะสิ้นสุด
ลงในวัน นี้เป็นแน่
ไม่มีใคร
เกิดหรือตาย มีได้แต่
สังขารแท้ๆ
มันจะดับ โดยธรรมดา
ความสงบ
มีเพราะดับ แห่งสังขาร
มันดับเย็น
เป็นนิพพาน สิ้นสังสาร์
นามรูปนี้
ดับวันนี้ เป็นกิริยา
ไม่มีเชื้อ
กลับมา เกิดอีกแลฯ
.....
|
ดับสังขาร
…..
อนิจฺจา
วตสงฺขารา
"สิ่งที่เหตุ ปรุงขึ้นมา ไม่เที่ยงหนอ!"
อุปาท
วยธมฺมิโน;
พอ
เกิดแล้วก็
แปรไป เป็นธรรมดา
อุปฺปชฺชิตฺวา
นิรุชฺฌนฺติ
มันเกิด,ผลิ แล้วก็ดับ ลับต่อหน้า
เป็นเช่นนี้
เวียนวัฏฏ์ อยู่อัตรา
ใครจะว่า
วอนอย่างไร ไม่ฟังกัน
เดสํวูปสโม
สุโข;
แปล
ว่าสุขแท้
คือสงบการ ปรุงแต่งนั่น
ไม่ปรุงแต่ง
ตัวตนอะไร สักสิ่งอัน
ชีวิตดับ
หรือไม่นั้น ไม่เป็นประมาณฯ
.....
|
หนทางชนะตาย
…..
ลองอยากตาย
ใจสบาย บอกไม่ถูก
ไม่ต้องหนาว
ถึงกระดูก นะสหาย
มีแต่ครื้น-
เครงใจ อยู่ไม่วาย
ไม่เห็นเป็น
ภัยร้าย ในมรณา
สมัครตาย
ยิ่งสบาย ไปกว่านั้น
ไม่มีปัญ-
หาเหลือ เป็นเชื้อผวา
การจะอยู่
หรือจะตาย คล้ายกันนี่หว่า
ความชรา
หรือเจ็บไข้ ไม่อาจรอ
ตายก่อนตาย
ยิ่งสบาย ไปกว่าอีก
เป็นการฉีก
"กู" สลาย ไม่เหลือหลอ
ทั้ง
"ของกู" ไม่อาจเกิด ประเสริฐพอ
ต่อนั้นหนอ
ไม่มีใคร ที่ตายเอยฯ
.....
|
ตายก่อนตาย
…..
ตายเมื่อตาย
ย่อมกลาย ไปเป็นผี
ตายไม่ดี
ได้เป็นที่ ผีตายโหง
ตายทำไม
เพียงให้ เขาใส่โลง
ตายโอ่โถง
นั้นคือตาย เสียก่อนตาย
ตายก่อนตาย
มิใช่กลาย ไปเป็นผี
แต่กลายเป็น
สิ่งที่ ไม่สูญหาย
ที่แท้คือ
ความตาย ที่ไม่ตาย
มีความหมาย
ไม่มีใคร ได้เกิดแล
คำพูดนี้
ผันผวน ชวนฉงน
เหมือนเล่นลิ้น
ลาวน คนตอแหล
แต่เป็นความ
จริงอัน ไม่ผันแปร
ใครคิดแก้
อรรถได้ ไม่ตายเอยฯ
.....
|
ความแก่
.....
ความแก่หง่อม
ย่อมทุลัก ทุเลมาก
ดั่งคนบอด
ข้ามฟาก ฝั่งคลอง,หา
วิธีไต่
ไผ่ลำ คลานคลำมา
กิริยา
แสนทุลัก ทุเลแล;
ถ้าไม่อยาก
ให้ทุลัก ทุเลมาก
ต้องข้ามฟาก
ให้พ้น ก่อนตนแก่
ก่อนตามืด
หูหนวก สะดวกแท้
ตรองให้แน่
แต่เนิ่นๆ รีบเดินเอยฯ
.....
|
ยามไหนก็ได้
.....
ยามจะได้
ได้ให้เป็น ไม่เป็นทุกข์
ยามจะเป็น
เป็นให้ถูก ตามวิถี
ยามจะตาย
ตายให้เป็น เห็นสุดดี
ถ้าอย่างนี้
ไม่มีทุกข์ ทุกวันเอยฯ
.....
|
ยามจะใช้
…..
ยามจะใช้ ใช้ให้เป็น
ไม่เป็นทุกข์
ยามจะกิน กินให้ถูก
ตามวิถี
ยามจะถ่าย ถ่ายให้เป็น
เห็นสุดดี
ถ้าอย่างนี้ ไม่เป็นทุกข์ ทุกวันคืนฯ
.....
|
ยามจะมี
.....
มีอะไร มีไม่เป็น
ก็เป็นทุกข์
ถึงมีสุข ก็ยิ่งทุกข์
เพราะสุขนั่น
ดูให้ดี อย่าเสียที
ให้กับมัน
จะพากัน มาเพิ่มทุกข์ ให้ทุกทีฯ
.....
|
มันมีเท่านี้เอง
.....
ต้องเวียนเกิด เวียนตาย
ตามบุญบาป
เมื่อไรทราบ ธรรมแท้
ไม่แปรผัน
ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องตาย
สบายครัน
มีเท่านั้น! ใครหาพบ
จบกันเอยฯ
.....
|
ภัทเทกรัตต์
…..
สิ่งล่วงแล้ว แล้วไป
อย่าใฝ่หา
ที่ไม่มา ก็อย่าพึ่ง
คนึงหวัง
อันวันวาน ผ่านพ้น
ไม่วนวัง
วันข้างหน้า หรือก็ยัง
ไม่มาเลย
ผู้ใดเฟ้น เห็นชัด
ปัจจุบัน
เรื่องนั่นนั้น แจ่มกระจ่าง
อย่างเปิดเผย
ไม่แง่นง่อน คลอนคลั่ง ดั่งเช่นเคย
รู้แล้วเลย ยิ่งเร้า
ให้ก้าวไป
วันนี้เอง เร่งกระทำ
ซึ่งหน้าที่
อันวันตาย แม้พรุ่งนี้
ใครรู้ได้
เพราะไม่อาจ บอกปัด
หรือผลัดไว้
ต่อความตาย และมหา
เสนามัน
ผู้มีเพียร เวียนเป็น
อยู่เช่นนี้
ทั้งทิพา ราตรี
แข็งขยัน
นั่นแหละผู้ “ภัทเท- กรัตต์” อัน
สัตบุรุษ ผู้รู้-ท่าน
กล่าวกันเอยฯ
.....
|
อยู่กันนิรันดร
…..
“ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นยังอยู่
อยู่เป็นคู่ กันชั่วฟ้า
ดินสลาย
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน
นั้นไม่ตาย
ท่านทั้งหลาย ก็อยู่กัน
นิรันดร”
ทำฉันใด จึงจะเป็น
เช่นนั้นเล่า
คือทำให้ เข้าเค้า
พระองค์สอน
สิ่งไม่ตาย ถึงให้ได้
ทุกขั้นตอน
สิ่งม้วยมรณ์ ก็ทิ้งมัน
นั่นแลนา
สิ่งปรุงแต่ง ใดใด
ในโลกนี้
ไม่ยินดี ยึดมั่น
แหละท่านขา
จิตว่างไป ไร้ “ตัวกู” ไม่จู่มา
ไม่เห็นว่า อะไรกัน
ที่มันตายฯ
.....
|
วิธีทำไม่ให้ฉันตาย
…..
แม้ฉันตาย กายลับ
ไปหมดแล้ว
แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว
แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอด กันอย่างไร
ไม่เสื่อมคลาย
ก็เหมือนฉัน ไม่ตาย
กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน
นั้นไม่ตาย
ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลาย อย่างหนหลัง
มีอะไร มาเขี่ยไค้
ให้กันฟัง
เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย
ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน
ไม่ตายเถิด
ย่อมจะเกิด ผลสนอง
หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา
อย่าเลิกแล้ง
ทำให้แจ้ง ที่สุดได้
เลิกตายกันฯ
.....
|
พุทธทาสจักไม่ตาย
…..
พุทธทาส จักอยู่ไป
ไม่มีตาย
แม้ร่างกาย จะดับไป
ไม่ฟังเสียง
ร่ายกายเป็น ร่างกายไป
ไม่ลำเอียง
นั่นเป็นเพียง สิ่งเปลี่ยนไป ในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป
ไม่มีตาย
ถึงดีร้าย ก็จะอยู่
คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ
รับใช้มา
ตามบัญชา องค์พระพุทธ
ไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป
ไม่มีตาย
อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ ตามที่วาง
ไว้อย่างเคย
โอ้เพื่อนเอ๋ย มองเห็นไหม
อะไรตายฯ
.....
|
หมวดที่
6 หมวดเป็นให้เป็น @หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1.
เป็นมนุษย์หรือเป็นคน?
2.
ไม่รู้จักหน้าที่
3.
ความรักของอวิชชา
4.
พระรัตนตรัย
5.
โพธิสัตว์
6.
อรหันต์
7.
ปุถุชน
8.
เป็นเจ้าคุณ
9.
เป็นพระเมือง
10.
เป็นพระป่า
11.
เป็นพระเถื่อน
12.
เป็นพระบ้าน
13.
เป็นหลวงตา
14.
อริยชน
15.
กัลยาณชน
16.
ชาวบ้าน-ชาววัด
17.
ภัยร้ายของนักเรียน
18.
ความเป็นพระ
19.
อะไรเผือก?
20.
บุญเป็นอะไร
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560) สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Travel: MomentCam Application.
.....
เป็นมนุษย์หรือเป็นคน?
เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง
เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน
ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ
ถ้ามีครบ ควรเรียก มนุสสา
เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา
เปรมปรีดา คืนวัน สุขสันต์จริง
ใจสกปรก มืดมัว และร้อนเร่า
ใครมีเข้า ควรเรียก ว่าผีสิง
เพราะพูดผิด ทำผิด จิตประวิง
แต่ในสิ่ง นำตัว กลั้วอบาย
คิดดูเถิด ถ้าใคร ไม่อยากตก
จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย
ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย
ก็สมหมาย ที่เกิดมา; อย่าเชือนเอยฯ
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Travel:
MomentCam Application.
.....
|
ไม่รู้จักหน้าที่
เกิดเป็นแมว ทำไมนี่ ขี้เกียจหา
เกิดเป็นหมา ทำไมนี่ ขี้เกียจหอน
เกิดเป็นหมู ทำไมนี่ ขี้เกียจนอน
เกิดเป็นหนอน ทำไมนี่ ขี้เกียจคลาน
เกิดเป็นงู ทำไมนี่ ขี้เกียจเลื้อย
เกิดเป็นเลื่อย ทำไมนี่ ไม่หนีขวาน
เกิดเป็นขุน ทำไมนี่ ไม่มีคาน
เกิดเป็นห่าน ทำไมนี่ ขึ้เกียจฮ้อง
เกิดเป็นพระ ทำไมนี่ ดีแต่ขอ
เกิดเป็นหมอ ทำไมนี่ ดีแต่ถอง
เกิดเป็นครู ทำไมนี่ ดีแต่ท่อง
เกิดเป็นอ๋อง ทำไมนี่ ดีแต่เออฯ
|
ความรักของอวิชชา
มีชายหนึ่ง ลิงหนึ่ง อยู่ด้วยกัน
คนก็รัก ลิงนั้น เป็นหนักหนา
ลิงก็รัก คนจัด เต็มอัตรา
ทั้งสองเรา รักกัน นั้นเกินดู
มาวันหนึ่ง คนนั้น นอนหลับไป
แมลงวัน มาไต่ ที่กกหู
ลิงคิดว่า ไอ้นี่ยวน กวนเพื่อนกู
จะต้องบู๊ ให้มันตาย อ้ายอัปรีย์
ฉวยดุ้นไม้ มาเงื้อ ขึ้นสองมือ
ฟาดลงไป เต็มตื้อ แมลงวันหนี
ฝ่ายเพื่อนรัก ดิ้นชัก ไปหลายที
ดูเถิดนี่ ความรัก ของอวิชชาฯ
|
พระรัตนตรัย
พระพุทธะ พระธรรมะ และพระสงฆ์
ล้วนต่างองค์ เป็นสามพระ
หรือไฉน
หรือเป็นองค์ เดียวกัน ที่ชั้นใน
ดูเท่าไร ก็ไม่เห็น เป็นสามองค์
นั่นถูกแล้ว ถ้าดูกัน แต่ชั้นนอก
คือดูออก มีพุทธะ จอมพระสงฆ์
ได้ตรัสรู้ ซึ่งพระธรรม ทรงจำนง
สอนพระสงฆ์ ทั้งหลาย ให้รู้ตาม
แต่เมื่อดู ชั้นใน กลับได้พบ
ว่าธรรมหนึ่ง ซึ่งอยู่ครบ
ในพระสาม
ทั้งพุทธ สงฆ์ หรือว่าองค์ พระธรรมงาม
ล้วนมีความ สะอาด สว่าง สงบ บรรจบกันฯ
|
โพธิสัตว์
โพธิสัตว์ คือสัตว์มุ่ง พัฒนา
ให้โพธิ แผ่แก่กล้า เต็มความหมาด
ดูให้ดี มีอยู่จริง ทั้งหญิงชาย
ดูงมงาย จะไม่มี ที่ไหน
ถ้าทุกคน ดิ้นรน เพื่อโพธิ
มันค่อยผลิ ออกไป ไม่หยุดเฉย
ถ้ามัวแต่ ร้องว่าแย่ ยอมแพ้เว้ย
ในโลกเลย ไม่มี โพธิชน
อย่ายอมแพ้ มุ่งแต่ ปลูกโพธิ
ให้เต็มสติ กำลัง หวังเอาผล
ไม่เสียที ที่ได้เกิด มาเป็นคน
ได้ผ่านพ้น อวิชชา เพราะกล้าทำฯ
|
อรหันต์
อรหันต์ นั้นคือถูก ถึงที่สุด
ทางวิมุตติ จากทุกข์
ทุกสาขา
ถึงความเต็ม แห่งมนุษย์ สุดพรรณนา
ควรแก่การ วันทา ยิ่งกว่าใคร,
ท่านหักแล้ว ซึ่งวง แห่งวัฏฏ์วน
ไม่มีตน เวียนว่าย ในภพไหน
เหนือบุญ-บาป ชั่ว-ดี มีแต่ใจ
ที่ว่างไป จากตัวกู และของกู
จิตหลุดจาก ทุกอย่าง ที่เคยติด
ไม่มีพิษ มีภัย อะไรอยู่
เหนือความเกิด ความตาย ใคร่ครวญดู
จะได้รู้ พระนิพพพาน เหมือนท่านแลฯ
|
ปุถุชน
หนาด้วยความ เห็นแก่ตัว มัวยึดมั่น
ว่าตัวฉัน ของฉัน มัวมั่นหมาย
เป็นตัวตน นอกใน ใจหรือกาย
ตั้งแต่เกิด จนตาย ไว้เป็นตัว
ด้วยอำนาจ อวิชชา ดังตาบอด
เกิดขึ้นสอด ไปทุกกาล สถานทั่ว
ต้องหลงรัก หลงโศก เกิดโรคกลัว
เป็นไฟคั่ว ใจกาย ให้ร้อนรน
อย่างนี้แล เวียนว่าย ในวัฏฏทุกข์
ไม่เยือกเย็น เป็นสุข สักเส้นขน
เห็นตัวทุกข์ ว่าเป็น ตนของตน
นี่แหละหนา ปุถุชน คนหนาจริงฯ
|
เป็นเจ้าคุณ
เป็นเจ้าคุณ เขาว่าบุญ ใหญ่หลวงนัก
พากันปัก ใจใคร่ ใฝ่ฝันหา
ฉันฉุกใจ ในยุค พระศาสดา
เป็นเจ้าคุณ กันหรือหนา ท่าไหนกัน
พัดใบตาล ยังไม่มี นี่พัดยศ
นิตยภัตต์ มีหมด กระโถนขัน
สัญญาบัตร ไตรประทาน งานสำคัญ
ฉลองกัน หรูหรา จนบ้าใจฯ
|
เป็นพระเมือง
เป็นพระเมือง เรื่องมาก ด้วยอยากเด่น
ต้องเขม่น กันไป จนใหลหลง
ต้องแบกทรัพย์ แบกศักดิ์ แบกพรรคพงศ์
เพื่อการเมือง เรื่องณรงค์
ด้วยจงใจ
งานใต้ดิน ใต้น้ำ ก็ทำเป็น
ถึงฆ่าเข่น กันพินาศ ไม่หวาดไหว
คอยแข่งกัน มิให้ใคร ดีกว่าใคร
ไม่เย็นใจ เย็นตัว มัวขึ้นลงฯ
|
เป็นพระป่า
เป็นพระป่า สงบกว่า เป็นพระเมือง
ไม่มีเรื่อง แบกพรรค แบกศักดิ์ศรี
ไม่ต้องสวม หน้ากาก ผู้มากดี
มันเกิดฟรี ขึ้นมาเอง เก่งในตัว
จะนั่งนอน ยืนเดิน ไม่เขินขัด
ไม่มีใคร คอยวัด ว่าดีชั่ว
ไม่มีเรื่อง ยั่วเย้า ให้เมามัว
จึงเย็นตัว เย็นใจ ไม่ขึ้นลงฯ
|
เป็นพระเถื่อน
เป็นพระเถื่อน เหมือนนก วิหคหงษ์
ย่อมบินตรง ไปได้ ทิศไหนไหน
เป็นอิสระ อยากจะผละ สังคมใด
ก็ผละได้ ทันใจ ไม่อัดแอฯ
เอ็นดูฉัน ขอให้ฉัน เป็นพระเถื่อน
มีหมู่ไม้ เป็นเพื่อน ทุกกระแส
มดแมลง แสดงธรรม อยู่จำเจ
ไพเราะแท้ ไม่มีเบื่อ เหลือกล่าวเอยฯ
|
เป็นพระบ้าน
เป็นพระบ้าน นั้นเห็นว่า ภาระมาก
ต้องเป็นครก เป็นสาก กันเต็มที่
หนอนสังคม มีมา ทั้งตาปี
ช่างเหลือที่ จะเป่าปัด ขจัดมัน
ฉันทนเป็น พระบ้าน มานานแล้ว
ถ้าคิดไป ใจแป้ว ไม่สุขสันติ์
มีแต่งาน เตี้ยต่ำ, ทำตะบัน
ก็ไม่เห็น มีวัน จะหมดไปฯ
|
เป็นหลวงตา
เป็นหลวงตา สนุกกว่า เป็นเจ้าคุณ
เหมือนความว่าง ดีกว่าบุญ
เป็นไหนๆ
ไม่ปรุงแต่ง สังขาร ประการใด
ล้วนเป็นไป สงบเย็น เป็นนิพพาน
บุญเป็นเรื่อง สวยงาม กิน-กาม-เกียรติ
แต่ไม่มี ใครเกลียด ทุกสถาน
ส่วนความว่าง ว่างเสียจน
คนกลัวลาน
เขาเกลียดกัน ขันจ้าน เป็นหลวงตาฯ
|
อริยชน
อริยะ แปลว่าละ จากข้าศึก
ไม่จมลึก อยู่ในโลก โศกสลาย
จนไม่มี ข้าศึกใหญ่ ทางใจกาย
เพราะจางคลาย คือวิโยค เป็นโลกเย็น
เป็นปุถุชน กันทำไม ให้นานเล่า
จะตายเปล่า ไปทั้งชาติ ฉลาดเห็น
มันมีทาง ชนะทุกข์ ทุกประเด็น
อย่ามัวเป็น ปู่โสม เรื่องโคมลอย
ทิฏฐิว่า "ตัวกู" และ
"ของกู"
มุ่งมล้าง มันอยู่ อย่าท้อถอย
กิเลสหลาย เริ่มมลาย ไม่รัดร้อย
นี้คือรอย อริยา รีบหาเทอญฯ
|
กัลยาณชน
กัลยาณชน นั้นละได้ ในส่วนผิด
มายึดติด มากมาย ฝ่ายกุศล
หมายมั่นเห็น ว่าเป็น ตนของตน
เท่ากันกับ ปุถุชน “ยึดตัวกู”
แม้ความยึด จะเท่ากัน แต่มันแปลก
มันเกิดแยก ทางกัน ดูขันอยู่
ข้างหนึ่งยึด ความทราม กามเชิดชู
ข้างหนึ่งยึด ความหรู กุศลงาม
ปุถุชน เคยหนาทึบ ด้วยฝ้าตา
ครั้งนานมา เริ่มเห็น รัตนะสาม
คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ตาม
ความเป็นจริง ใจเกิดงาม นามกัลยาณ์ฯ
|
ชาวบ้าน-ชาววัด
อันชาวบ้าน ทำงาน เพื่อกามเกียรติ
จึงเกิดความ ตึงเครียต จนสั่นเสียว
ส่วนชาววัด มุ่งขจัด ไปท่าเดียว
มิให้เกี่ยว เกียรติกาม มุ่งงามธรรม
จีงเกิดมี เครื่องวัด วัดชาวบ้าน
ด้วย “เงิน” “งาน”
“อดอยาก” หรือ “อิ่มหนำ”?
ส่วนเครื่องวัด ชาววัด, วัดกิจกรรม
ว่าเขาทำ ให้ว่างได้ เท่าไรแล;
ถ้าชาววัด ฮึดฮัด มุ่งกามเกียรติ
มันน่าเกลียด แสนกล คนตอแหล
ถ้าชาวบ้าน เกียจคร้าน งานเชือนแช
ก็มีแต่ ทุกข์ทน หม่นหมองไป;
จึงขอให้ ชาวบ้าน เป็นชาวบ้าน
ผสมผสาน เกียรติกาม ตามวิสัย
ให้ชาววัด เป็นชาววัด ขจัดไกล
เพื่อพ้นภัย เกียรติ กาม
งามนักเอยฯ
|
ภัยร้ายของนักเรียน
เป็นนักเรียน เพียรศึกษา อย่าริรัก
ถูกศรปัก เรียน ไม่ได้ ดั่งใจหมาย
สมาธิจะ หักเหี้ยม เตียนมลาย
ถึงเรียนได้ ก็ไม่ดี เพราะผีกวน
แต่เตือนกัน สักเท่าไร ก็ไม่เชื่อ
มันแรงเหลือ รักร้าย หลายกระสวน
หลอดพ่อแม่ มากมาย หลายกระบวน
หน้าขาวนวล ใจหยาบดำ ซ้ำละลาย
การเล่าเรียน เบื่อหน่าย
คล้ายจะบ้า
ใช้เงินอย่าง เทน้ำเทท่า
น่าใจหาย
ไม่เท่าไร ใจกระด้าง สิ้นยางอาย
หญิงหรือชาย เรียนไม่ดี สิ่งนี้เอง
มีสัจจะ ทมะ และขันตี
กตัญญู ทมะ และขันตี
กตัญญู กตเวที อย่าโฉงเฉง
รักพ่อแม่ พวกพ้อง ต้องยำเกรง
เรียนให้เก่ง ให้ยิ้มแปล้
แก่ทุกคนฯ
|
ความเป็นพระ
ความเป็นพระ คือจิตพราก จากกิเลส
รู้สังเกต ไม่ประมาท ฉลาดเฉลียว
สำรวมระวัง รักษาใจ ไปท่าเดียว
เพื่อหลีกเลี้ยว ภัยทั้งสาม
ไม่ตามตอม
จากเรื่องกิน เรื่องกาม และเรื่องเกียรติ
เห็นเสนียด ในร้อนเย็น ทั้งเหม็นหอม
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ออมชอม
กิเลสล้อม ลวงเท่าไร ไม่หลงลม
จิตสะอาด ใจสว่าง มโนสงบ
ทั้งครันครบ กายวจี ที่เหมาะสม
ความเป็นพระ จึงชนะ เหนืออารมณ์
โลกนิยม กระหยิ่มใจ จึงไหว้แลฯ
|
อะไรเผือก?
ลิงจะเผือก เพราะขน มันสีขาว
ส่วนคนเรา เผือกได้ ใครก้มเศียร
เนื่องจากมี ธรรมา ไม่อาเกียรณ์
ใครพากเพียร เผือกได้ ไม่เว้นตน
ฝรั่งเผือก ผิวขาว เปล่าแก่นสาร
เที่ยวเพ่นพ่าน มีได้ ทุกแห่งหน
คนเราเผือก ไม่ได้ เพียงกายยล
เป็นสีขาว: เผือกคน ใช่เผือกลิง
ถ้าฝรั่ง เป็นครูเรา, ใช่เขาเผือก
ที่ตรงเปลือก, อย่าคิด ให้ผิดยิ่ง
มัวเลียนแบบ ที่ตรงเปลือก
จะเผือกลิง
แล้วจะยิ่ง กว่าไม่เผือก
เลือกให้ดีฯ
|
บุญเป็นอะไร
สิ่งนั้นๆ เป็นเหมือน ของเกลื่อนกลาด
ที่เป็นบาป เก็บกวาด ทิ้งใต้ถุน
ที่เป็นบุญ มีไว้ เพียงเจือจุน
ใช้เป็นคุณ สะดวกคาย คล้ายรถเรือ,
หรือบ่าวไพร่ มีไว้ใช้ ใช่ไว้แบก
กลัวตกแตก ใจสั่น ประหวั่นเหลือ
เรากินเหลือ ใช่จะต้อง บูชาเกลือ
บุญเหมือนเรือ มีไว้ขี่ ไปนิพพาน
มิใช่เพื่อ ไว้ประดับ ให้สวยหรู
เที่ยวอวดชู แบกไป ทุกสถาน
หรือลอยล่อง ไปในโลก โอฆกันดาร
ไม่อยากข้าม ขึ้นนิพพาน เสียดายเรือฯ
|
หมวดที่
7 หมวดศีลธรรม
@หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1.
ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา
2.
ปัญหาเฉพาะหน้า
3.
อยู่กับธรรม
4.
ศีลธรรมกลับมาเถิด!
5.
หลงความบ้าว่าศีลธรรม
6.
ศีลธรรมโลกย่อ-ถ่อย-ยับ
7.
ศีลธรรมกับคน
8.
ความหมายของศีลธรรม
9.
ศึกษากันเท่าไร?
10.
ปรมัตถธรรมกลับมา
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560)
สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Travel: MomentCam Application.
.....
ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา
ถ้าศีลธรรม ไม่กลับมา โลกาวินาศ
มนุษยชาติ จะเลวร้าย กว่าเดรัจฉาน
มัวหลงเรื่อง กิน กาม เกียรติ เกลียดนิพพาน
ล้วนดื้อด้าน ไม่เหนี่ยวรั้ง
บังคับใจ
อาชญากรรม เกิดกระหน่ำ ลงในโลก
มีเลือดโชก แดงฉาน แล้วซ่านไหล
เพราะบ้ากิน บ้ากาม ทรามเกินไป
บ้าเกียรติก็ พอไม่ได้ ให้เมาตน
อยากครองเมือง ครองโลก โยกกันใหญ่
ไม่มีใคร เมตตาใคร ให้สับสน
ขอศีลธรรม ได้กลับมา พาหมู่คน
ให้ผ่านพ้น วิกฤตการณ์ ทันเวลาฯ
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Travel:
MomentCam Application.
.....
|
ปัญหาเฉพาะหน้า
โลกกำลัง มีปัญหา ว่าพระธรรม
สำคัญกว่า ข้าวน้ำ นั้นใช่ไหม
เราได้ดี เพราะศีลธรรม บำรุงใจ
โลกวิไล เลิศล้ำ เพราะธรรมพา
พวกหนึ่งว่า หิวนัก ต้องอิ่มก่อน
แล้วค่อยสอน ศีลธรรม กันเถิดหนา
พวกหนึ่งว่า จะอิ่มท้อง ธรรมต้องมา
หิวเจียนบ้า เพราะศีลธรรม
ไม่ค้ำใจ
คนส่วนน้อย สนใจ ใคร่ธรรมะ
ส่วนมากผละ หันเห เถลไถล
หาเนื้อหนัง ทั้งแก่หนุ่ม
ฟุ่มเฟือยไป
โลกเลยไม่ มีพระธรรม ทำยาตาฯ
|
อยู่กับธรรม
เมื่ีอรบสู้ กับศัตรู สู้ด้วยธรรม
จะปลุกปล้ำ กันเท่าใด ไม่เสียหาย
ถ้าสู้กัน อย่างนี้ ไม่มีตาย
ในสุดท้าย จะปรองดอง ต้องใจกัน
เมื่อป้องกัน ศัตรู รู้ใช้ธรรม
เป็นกำแพง เพชรล้ำ เลิศมหันต์
ป้องกันได้ สารพัด น่าอัศจรรย์
ป้อมค่ายมั่น กว่าสิ่งใด
ในโลกคน
เมื่อหลบซ่อน จากศัตรู อยู่กับธรรม
ไม่ระกำ ทุกข์เห็น สักเส้นขน
ช่วยปลุกปลอบ ชื่นชอบ ฉ่ำกมล
ขอทุกคน จงมีธรรม ประจำกายฯ
|
ศีลธรรมกลับมาเถิด!
กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด!
กำลังเกิด ภัยร้าย อันใหญ่หลวง
แก่สัตว์โลก ทั่วถิ่น จักรวาลปวง
น่าเป็นห่วง ความพินาศ ฉกาจเกิน
กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด!
ในโลกเกิด กลียุค อย่างฉุกเฉิน
หลงวัตถุ บ้าคลั่ง เกินบังเอิญ
มัวเพลิดเพลิน สิ่งกาลี มีกำลัง
กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด!
ความเลวร้าย ลามเตลิด จวนหมดหวัง
รีบกลับมา ทันเวลา พาพลัง
มายับยั้ง โลกไว้ ให้ทันกาลฯ
|
หลงความบ้าว่าศีลธรรม
โลกทุกวัน อยู่ในขั้น กลียุค
ที่เบิกบุก เร็วรุด สู่จุดสลาย
จนสิ้นสุด มนุษยธรรม ด่ำอบาย
เพราะเห็นกง –จักรร้าย เป็นดอกบัว
กิเลสไส –หัวส่ง ลงปลักกิเลส
มีความแกว่น แสนพิเศษ มาสุมหัว
สามารถดูด ดึงกันไป ใจมืดมัว
เห็นตนตัว ที่จมกาม ว่าความเจริญ
มองไม่เห็น ศีลธรรม ว่าจำเป็น
สำหรับอยู่ สุขเย็น ควรสรรเสริญ
เกียรติ กาม กิน บิ่นบ้า
ยิ่งกว่าเกิน
แล้วหลงเพลิน ความบ้า ว่าศีลธรรมฯ
|
ศีลธรรมโลกย่อ-ถ่อย-ยับ
ศีลธรรม! ศีลธรรม! ศีลธรรม!
ต้องตกต่ำ ลงทุกวัน ถ้าสรรหา
คงไม่พอ ขอมาทำ น้ำยอดตา
เพราะบูชา กันแต่เงิน เกินพอแรง
ศีลธรรม! ศีลธรรม! ศีลธรรม!
ต้องตกต่ำ ไปเสียทั่ว ทุกหัวระแหง
เขารังเกียจ เกลียดชัง ดังผีกระแซง
อยากให้มัน แห้งแล้ง จากโลกนี้
ศีลธรรม! ศีลธรรม! ศีลธรรม!
ถูกเยียบย่ำ โดยฝูงคน จนป่นปี้
โลกของคน ย่อ ถ่อย ยับ เกินอัปปรีย์
ที่คงที่ คือโลกสัตว์ ดูอัศจรรย์ฯ
|
ศีลธรรมกับคน
ศีลธรรมเลว คนก็ได้ กลายเป็นผี
หาความดี ไม่ประจักษ์ สักเส้นขน
ศีลธรรมดี ผีก็ได้ กลายเป็นคน
ที่เลิศล้น ภูมิใจ ไหว้ตัวเอง
ศีลธรรมต่ำ เปลี่ยนคน จนคล้ายสัตว์
จะกินกัด โกงกัน ขมันเขม็ง
ศีลธรรมสูง คนสดใส ไม่อลเวง
ล้วนยำเกรง กันและกัน ฉันเพื่อนตาย
ศีลธรรมนี้ ทุกวัน มันตายซาก
คนมีปาก ก็ไม่พล่าม ศีลธรรมหาย
ศีลธรรมกลับ มาเมื่อไร ทั้งใจกาย
คนจะหาย จากทุกข์ เป็นสุขเองฯ
|
ความหมายของศีลธรรม
ศีลธรรม ความปกติ ตามธรรมชาติ
ศีลธรรม ตามอำนาจ คนจัดสรร
ศีลธรรม คือสุข-สะดวก บวกเข้ากัน
ศีลธรรม คนทุกวัน หันหัวลง
ศีลธรรม นำปุถุชน ดลอริยะ
ศีลธรรม รวมฐานะ ที่พึงประสงค์
ศีลธรรม ทุกทุกส่วน ล้วนเส้นตรง
ศีลธรรม นำสูงส่ง ตรงต่อญาณ
ศีลธรรม ปริยัติ จัดฐานราก
ศีลธรรม มีวิบาก ล้วนสุขศานติ์
ศีลธรรม สะอาด สว่าง สงบ บรรจบงาน
ศีลธรรม ส่วนอวสาน นิพพานแลฯ
|
ศึกษากันเท่าไร?
โลกยุคนี้ มีศึกษา กันท่าไหน
ยุวชน รุ่นใหม่ ได้คลุ้มคลั่ง
บ้างติดยา เสพติด เป็นติดตัง
บ้างก็ฝัง หัวสุม ลุ่มหลงกาม
บ้างดูหมิ่น พ่อแม่ ไม่มีคุณ
บ้างก็เห็น เรื่องบุญ เป็นเรื่องพล่าม
บ้างลุ่มหลง love free เป็นดีงาม
บ้างประณาม ศาสนา ว่าบ้าบอ
บ้างไปเป็น ฮิ้ปปี้ มีหลายชนิด
บ้างทวงอิส -ระพ้น จนเหลือขอ
บ้างที่มี ดีกรีีมาก โฮกฮากพอ
โลกเราหนอ ให้ศึกษา กันเท่าไรฯ
|
ปรมัตถธรรมกลับมา
ปรมัตถธรรมกลับมา โลกาสว่างไสว
ปรมัตถธรรมหมดไป จิตใจมืดมนท์
มัวเป็นกันแต่คน มนุษย์ก็ไม่มี
ศีลธรรมดีคนก็กลาย เป็นมนุษย์กันหมด
ศีลธรรมถอยถด ต้องเพิ่มปรมัตถธรรม
คนทำบาปกรรม เพราะโลกขาดสัมมาทิฏฐิ
คนมีสติ ย่อมดำริโดยแนวแห่งปรมัตถ์
|
หมวดที่
8 หมวดมงคล @หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1. การพึ่งผู้อื่น
2. อตฺตา หิ
อตฺตโน นาโถ
3.
รสสวรรค์นั้นเสพติด
4.
การปิดทอง
5.
สนทนากับพระเจ้า
6. สู้กับหมอน
7. เราสร้างดวง
อย่าให้ดวงสร้างเรา
8.
กรรมดี
ดีกว่ามงคล
9.
ทำดี
ดีแล้วเป็นพร
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560)
สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Avatars: MomentCam Application.
การพึ่งผู้อื่น
อันพึ่งท่าน พึ่งได้ แต่บางสิ่ง
เช่นพึ่งพิง ผ่านเกล้า เจ้าอยู่หัว
หรือพึ่งแรง คนใช้ จนควายวัว
ใช่จะพ้น พึ่งตัว ไปเมื่อไร
ต้องทำดี จึงเกิดมี ที่ให้พึ่ง
ไม่มีดี นิดหนึ่ง พึ่งเขาไฉน?
ทำดีไป พึ่งตัว ของตัวไป
แล้วจะได้ ที่พึ่ง ซึ่งถาวร
พึ่งผู้อื่น พึ่งได้ แต่ภายนอก
ท่านเพียงแต่ กล่าวบอก หรือพร่ำสอน
ต้องทำจริง เพียรจริง ทุกสิ่งตอน
นี้,จึงถอน ตัวได้
ไม่ตกจม
จะตกจน หรือว่าจะ ตกนรก
ตนต้องยก ตนเอง ให้เหมาะสม
ตนไม่ยก, ให้เขายก นั้นพกลม:
จะตกหล่ม ตายเปล่า ไม่เข้าการฯ
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 25). โฟโต้กราฟิค. Avatars: MomentCam Application.
.....
|
อตฺตา
หิ อตฺตโน นาโถ
มิใยใคร จะพึ่ง ซึ่งพระเจ้า
แต่พวกเรา ชาวพุทธ- ศาสนา
ผู้เชื่อฟัง โอวาท พระศาสดา
พึ่งธรรมา คือพึ่ง ซึ่งตัวเอง
ประกอบกรรม นำมา ซึ่งโภคผล
ตั้งแต่ต้น จนปลาย ได้เหมาะเหม็ง
ทั้งทางโลก ทางธรรม ก็ยำเกรง
ถือเลบง สร้างตัว อยู่ทั่วกัน
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ แปล
ว่า "ตัวพึ่ง ตัว" แน่, ถ้าบิดผัน
เป็นอื่นไป วนเวียน พาเหียรครัน
พึ่งเขานั้น ไม่ "หนึ่ง"
เหมือนพึ่งตัวฯ
|
รสสวรรค์นั้นเสพติด
อันลัทธิ นานา น่าเวียนหัว
จงถอนตัว ออกมา เสียให้ห่าง
เรื่องพระเจ้า เรื่องสวรรค์
นั้นเหมือนยาง
เป็นตังเหนียว กั้นกาง ดวงวิญญาณ
เป็นกรงทอง จองจำ จำกัดเขต
น่าทุเรศ กลับรัก เป็นหลักฐาน
ความหลุดพ้น ใช่อร่อย เช่นอ้อยตาล
ทั้งไม่ลาน ตาพราว ราวเพชรพลอย
รสสวรรค์ นั่นเสพติด พิษฉมัง
ถูกกักขัง ก็ไม่รู้ เหมือนปูหอย
อยู่แต่รู มิได้รู้ เรื่องนกน้อย
ที่บินลอย เวหา ว่าปานใดฯ
|
การปิดทอง
การปิดทอง ต้องหมายถึง ความสมัคร
ประพฤติธรรม พร้อมพรัก ตามที่สอน
เพื่อบูชา เต็มความรัก ประจักษ์ตอน
ยามม้วยมรณ์ หรือยังอยู่
ดูเหมือนกัน
สุขจะเกิด ทั่วกัน นั้นยืนนาน
ทุกเหตุการณ์ ทุกทุกภพ ประสบสันติ์
เพราะเหตุที่ มีธรรม ประจำวัน
ประพฤติกัน อย่างกะของ ที่ต้องกิน
ผิดจากนี้ มีแต่ จะงายงม
ดูไม่สม ตามส่วน ที่ควรถวิล
ปิดทองนอก ได้ความงาม ตามระบิล
ปิดทองใน ใจสิ้น ความว่ายเวียนฯ
|
สนทนากับพระเจ้า
บางเวลา สนทนา กับพระเจ้า
ท่านคอยเฝ้า ดูโลก อันโยกไหว
ด้วยขันติ เมตตา ปรานีไป
เท่าไรเท่าไร สัตว์โลก ยังโยกโคลง
เพราะเมาจัด ด้วยวัต- ถุนิยม
เกิดระทม ทุกข์ร้าย กว่าตายโหง
ตายทั้งเป็น เหมือนว่าเล่น
ทุกชั่วโมง
ยิ่งกว่าตาย ใส่โลง ซึ่งครั้งเดียว
ทำอย่างไร ก็ยังไม่ มองเห็นทาง
จะเลิกร้าง หมดสิ่ง น่าหวาดเสียว
เมื่อศีลธรรม กลับผัน มาทันเทียว
โลกจะเกี่ยว ก่อสุข ยุคศรีอาริย์ฯ
|
สู้กับหมอน
หนุนหมอนต่ำ นอนหงาย สบายหนอ
ถ้าหมอนสูง นอนหงาย กลัวตายโหง
คือคอหัก เผาะออกไป ได้ใส่โลง
แต่มันโล่ง สบายเหลือ เมื่อนอนตะแคง
พ่อคุณเอ๋ย จะต้องมี สองสามหมอน
ช่างหลอกหลอน ไปได้ หลายแขนง
แก้ลำมัน อย่ามีมัน ให้เหนื่อยแรง
นอนตะแคง หรือนอนหงาย ใช้แขนรอง
นอนแต่น้อย ไม่ตะบอย หาความสุข
จากการนอน ไม่อยากจะลุก: เป็นโรคสมอง
ที่กิเลส ชักนำใจ ให้ลำพอง
จนเราต้อง มีอะไร ให้เกินควรฯ
|
เราสร้างดวง
อย่าให้ดวงสร้างเรา
เราดี ดีกว่าดวง
เพราะดีนั้นมีที่เรา, ดีกว่าที่ดวง
ทำดีนั่นแหละเราหน่วง เอาดีทั้งปวง
มาทำให้ดวง มันดี
ดวงชั่วไม่ได้เลยนี่ ถ้าเราขยันมี
ความดีทำไว้ เป็นคุณ
อยู่ดี ตายดี เพราะบุญ ทำไว้เจือจุน
ตลอดชีวิตติดมา
ดวงดีมีอยู่อัตรา ก็เพราะเหตุว่า
เราทำดีเป็น เห็นมั้ย?
เหตุนั้น เราท่านใดใคร ทำดีเสมอไป
ดวงดีจักมีสมบูรณ์ฯ
|
กรรมดี
ดีกว่ามงคล
กรรมดี
ดีกว่ามงคล สืบสร้าง กุศล
ดีกว่า นั่งเคล้า ของขลัง
พระเครื่อง ตะกรุด อุทกัง ปลุกเสก แสนฉมัง
คาดมั่ง แขวนมั่ง รังรุง
ขี้ขลาด หวาดกลัว หัวยุ่ง กิเลส เต็มพุง
มงคล อะไร ได้คุ้ม
อันธพาล ซื้อหา มาคุม เป็นเรื่อง อุทลุม
นอนตาย ก่ายเครื่อง รางกอง
ธรรมะ ต่างหาก เป็นของ เป็นเครื่อง คุ้มครอง
เพราะว่า เป็นพระ องค์จริง
มีธรรม
ฤามี ใครยิง ไร้ธรรม ผีสิง
ไม่ยิง ก็ตาย เกินตาย
เหตุนั้น เราท่าน หญิงชาย เร่งขวน เร่งขวาย
หาธรรม มาเป็น มงคล
กระทั่ง บรรลุ มรรคผล หมดตัว หมดตน
พ้นจาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย
บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ใจกาย อุปัทวะ ทั้งหลาย
ไม่พ้อง ไม่พาน สถานใด
เหนือโลก เหนือกรรม อำไพ กิเลส อาสวะไหน
ไม่อาจ ย่ำยี บีฑาฯ
|
ทำดี
ดีแล้วเป็นพร
ทำดี
ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้องอ้อนวอน
ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือนลมหวน
อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืนยืนยง
ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ-เพ็ญบุญ กุศลนำ
ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดีมีจน
เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเกรง บาปชั่ว กลัวเกรง
ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ
|
|
หมวดที่
9 มอง-มอง
@หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1.
มองฟ้าปะดิน
2.
เมื่อมองดินเห็นฟ้า
3.
ตาบอด-ตาดี
4.
จะดูโลกแง่ไหนดี?
5.
โลกเปรียบมหาสมุทรและกรงไก่
6.
โลกคือเครื่องลองและโรงละคร
7.
โลกนี้คือทางผ่านและบทเรียน
8.
โลกนี้น่าขำ
9.
โลกนี้คืออะไรแน่?
10.
โลกเปรียบศาลาให้อาศัย
11. มองถูก ทุกข์คลาย
12.
มอง-มอง-มอง
13.
มองแต่แง่ดีเถิด
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560)
สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 26). โฟโต้กราฟิค. Funny: MomentCam Application.
มองฟ้าปะดิน
แรกมองฟ้า ก็เห็นว่าง อย่างเขาว่า
ไม่เห็นพวก เทวดา คลาสวรรค์
ยิ่งมองไป ยิ่งว่างมา สารพัน
จิตใจมั่น ยิ่งเห็นว่าง อย่างสุดใจ
กลับได้เห็น สาระหนึ่ง ซึ่งความว่าง
มอบให้อย่าง แก่นสาร ปานดินใหม่
เป็นแผ่นดิน เย็นและหยุด
กว่าจุดใด
ทรงคุณใหญ่ เรียก "อมตะ มหานคร"
เป็นที่ตั้ง เย็นสนิท แห่งจิตว่าง
กิเลสสร้าง ทุกข์หาย ไร้โศกศร
เป็นแดนดิน ที่คงมั่น นิรันดร
นี่แลตอน ที่มองฟ้า แล้วปะดินฯ
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 26). โฟโต้กราฟิค. Funny:
MomentCam Application.
.....
|
เมื่อมองดินเห็นฟ้า
เมื่อมองดิน เห็นฟ้า นิจจาเอย
มองเห็นฟ้า ดินใหญ่ กระไรเลย
ฉันจะเอ่ย ฟังดูหนา บ้าหรือดี?
คือมองโลก เห็นว่าง จากอัตตา
ว่างจากอัต- ตนียา อย่างเต็มที่
มันว่างจริง ยิ่งกว่าฟ้า
เพราะว่ามี
สิ่งหนึ่งที่ เรียกมหา- สุญญตา
ครั้นมองดู โลกว่าง อย่างแท้จริง
ก็เห็นสิ่ง ที่เรียก ว่ามหา-
อมฤต นคร ซ้อนอยู่นา
นี้เรียกว่า มองฟ้า แล้วปะดิน
คิดดูเถิด บ้าหรือดี มีให้ดู
ถ้าไม่เห็น อย่าเพ่อจู่ มาติฉิน
ถ้าจะมั่ว อยู่ที่เห็น ดินเป็นดิน
ก็ดูดกิน มันไป เป็นไส้เดือนฯ
|
ตาบอด-ตาดี
หมู่นกจ้อง มองเท่าไร ไม่เห็นฟ้า
ถึงฝูงปลา ก็ไม่เห็น น้ำเย็นใส
ไส้เดือนมอง ไม่เห็นดิน ที่กินไป
หนอนก็ไม่ มองเห็นคูถ ที่ดูดกิน;
คนทั่วไป ก็ไม่ มองเห็นโลก
ต้องทุกข์โศก หงุดหงิด อยู่นิจสิน
ส่วนชาวพุทธ ประยุกต์ธรรม ตามระบิล
เห็นหมดสิ้น ทุกสิ่ง ตามจริงเอยฯ
|
จะดูโลกแง่ไหนดี?
จงดูเถิด โลกนี้ มีหลายแง่
ดูให้แน่ น่าสรวล เป็นชวนหัว
หรือชวนเศร้า โศกสลด ถึงหดตัว
ดูให้ทั่ว ถ้วนความ ตามแสดง
จะดูมัน แง่ไหน ตามใจเถิด
แต่ให้เกิด ปัญญา มาเป็นแสง
ส่องทางเดิน ชีวา ราคาแพง
อย่าให้แพลง พลาดพลั้ง ระวังเอยฯ
|
โลกเปรียบมหาสมุทรและกรงไก่
โลกนี้เปรียบ ปานว่า มหาสมุทร
ปลามนุษย์ ผุดว่าย อยู่ไหวไหว
เพราะตัณหา หมื่นวิถี เข้าจี้ใจ
วิ่งขวักไขว่ เหยื่อดี มีไม่พอ!
โลกนี้คือ กรงไก่ เขาใส่ไว้
จะนำไป แล่เนื้อ ไม่เหลือหลอ
จิกกันเอง ในกรง ได้ลงคอ
เฝ้าตั้งข้อ รบกัน ฉันนึกกลัว
|
โลกคือเครื่องลองและโรงละคร
โลกนี้คือ เครื่องลอง ของมารร้าย
ไว้สอบไล่ ว่าใคร ยังหลงใหล
ว่าใครบ้า ใครเขลา เฝ้าจมใน
หล่มโลกใหญ่ ติดตัง ทั้งดีชั่ว
โลกนี้ ที่แท้คือ โรงละคร
ไม่ต้องสอน แสดงถูก ทุกวิถี
ออกโรงกัน จริงจัง ทั้งตาปี
ตามท่วงที อวิชชา ลากพาไป!
|
โลกนี้คือทางผ่านและบทเรียน
โลกนี้เหมือน ทางผ่าน ที่รกเลี้ยว
เพื่อทนสู้ อดเปรี้ยว ไปกินหวาน
พ้นโลกนี้ มียิ่ง กว่าอ้อยตาล
เมื่อพบพาน "อมฤ-
ตโลกา!"
โลกนี้เพียง บทเรียน ให้เพียรอ่าน
หมั่นวิจารณ์ ตื้นลึก รีบศึกษา
ให้รอบรู้ แจ่มจน พ้นมายา
แล้วโลกมา เป็นบ่าว เราร่ำไป
|
โลกนี้น่าขำ
โลกนี้มี แต่คนบ้า ไม่น่าอยู่
จนมองดู ให้ดีดี มีข้อขำ
คือตัวกู ที่เกิดอยู่ เป็นประจำ
จงกระทำ อย่าให้เกิด ประเสริฐแล
อย่าปล่อยให้ อารมณ์ใด เข้ามาปรุง
เป็นจิตยุ่ง วุ่นวาย หลายกระแส
ว่างตัวกู จิตก็อยู่ เหนือโลกแท้
ว่างกูแน่ ก็หยุดบ้า น่าขำเอยฯ
|
โลกนี้คืออะไรแน่?
โลกนี้คือ ถ้ำมืด ไม่เห็นแสง
ไม่มีความ แจ่มแจ้ง ไม่เฉลียว
คิด-พูด-ทำ โมหา ไปท่าเดียว
ลองคิดเที่ยว โลกสว่าง ข้างหน้ากัน!
โลกนี้คือ ร่มไม้ ได้อาศัย
บัดเดี๋ยวใจ พักร้อน แล้วผ่อนผัน
ออกไปสู่ โลกอื่น อีกหมื่นพัน
ไยยึดมั่น หมายมี โลกนี้นาน!
|
โลกเปรียบศาลาให้อาศัย
โลกนี้เปรียบ ศาลา ให้อาศัย
ประเดี๋ยวใจ ผ่อนพัก แล้วจักผัน
ทางที่ดี เมื่อพราก ไปจากมัน
ควรสร้างสรร ส่งเสริม เพิ่มคะแนน
เมื่อเราได้ เกิดมา ในอาโลก
ได้พ้นโศก พ้นภัย สบายแสน
จึงควรสร้าง สิ่งชอบ ไว้ตอบแทน
ให้เป็นแดน ดื่มสุข
ขึ้นทุกกาล
คุณความดี ของท่าน กาลก่อนก่อน
ที่ท่านสอน ไว้ประจักษ์ เป็นหลักฐาน
เราเกิดมา อาศัย ได้สำราญ
ควรหรือผ่าน พ้นไป ไม่คำนึงฯ
|
มองถูก ทุกข์คลาย
มองอะไร ให้เห็น เป็นครูสอน
มองไม้ขอน หรือมองคน ถ้าค้นหา
มีสิ่งสอน เสมอกัน มีปัญญา
จะพบว่า ล้วนมีพิษ อนิจจัง
จะมองทุกข์ หรือมองสุข มองให้ดี
ว่าจะเป็น อย่างที่ เรานึกหวัง
หรือเป็นไป ตามปัจจัย ให้ระวัง
อย่าคลุ้มคลั่ง จะมองเห็น
เป็นธรรมดา
มองโดยนัย ให้มันสอน จะถอนโศก
มองเยกโยก มันไม่สอน นอนเป็นบ้า
มองไม่เป็น จะโทษใคร ที่ไหนมา
มองถูกท่า ทุกข์ก็คลาย
สลายเองฯ
|
มอง-มอง-มอง
มองอะไร มองให้เห็น เป็นครูสอน
มองไม้ขอน หรือมองคน มองค้นหา
มองเห็นความ เสมอกัน มีปัญญา
มองเห็นว่า ล้วนมีพิษ: อนิจจัง
มองทุกข์สุข ก็จงจ้อง มองให้ดี
มองว่าเป็น อย่างที่ คนเราหวัง
มองว่าเป็น ตามปัจจัย ให้ระวัง
มองจริงจัง ก็จักเห็น เป็นธรรมดา
มองโดยนัย ที่มันสอน จะถอนโศก
มองเยกโยก มันไม่สอน ร้อนเป็นบ้า
มองไม่เป็น โทษผีสาง นางไม้มา
มองถูกท่า ไม่คว้าทุกข์:
มองถูกจริง!
|
มองแต่แง่ดีเถิด
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย;
จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า
ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริงฯ
|
|
หมวดที่
10 หมวดโลก @หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1. ยิ่งเจริญยิ่งบ้า?
2. โลกอนิจจัง
3.
นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ
4.
โลกพัฒนา
5.
เมื่อกิเลสยึดครองโลก
6.
ทรงเปิดโลก
7.
โลกรอดเพราะกตัญญู
8.
โลกนี้พัฒนา
9.
โลกกลียุค
10.
โลกนี้คืออะไรแน่?
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560)
สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 26). โฟโต้กราฟิค. Group Photo: MomentCam Application.
.....
ยิ่งเจริญยิ่งบ้า?
ถ้าพูดว่า "ยิ่งเจริญ คือยิ่งบ้า"
ดูจะหา คนเชื่อ ได้ยากยิ่ง
เพราะต่างชอบ ความเจริญ ที่เกินจริง
เจริญอย่าง ผีสิง ยิ่งชอบกัน
โลกเจริญ เกินขนาด ธรรมชาติแหลก
เกิดของแปลก แปลงโลก ให้โศกศัลย์
ทำมนุษย์ ให้เป็นสัตว์ พิเศษพลัน
คือฆ่ากัน ทั้งบนดิน และใต้ดิน
ยิ่งเจริญ ยิ่งดุเดือด ด้วยเลือดอาบ
ยิ่งฉลาด ยิ่งมีบาป กว่ายุคหิน
สร้างปัญหา ยุ่งยาก มากระบิล
โลกทั้งสิ้น สุมความบ้า ว่าความเจริญฯ
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 26). โฟโต้กราฟิค. Group
Photo: MomentCam Application.
.....
|
โลกอนิจจัง
ตามธรรมดา ถ้าไม่มี ความเปลี่ยนแปลง
มาบังแฝง คนจะเบื่อ จนเหลือที่
จะเป็นคน ทนอยู่ ในโลกนี้
หนักเข้ามี แต่อยาก จะดับไป
ดับจากโลก เพราะโลก มันน่าชัง
แต่ใครบ้าง รู้สึก เช่นนี้ได้
เพราะโลกมี อนิจจัง บังเอาไว้
คนเราใช้ อนิจจัง ขังตัวเองฯ
|
นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ
หมู่นกจ้อง มองเท่าไร ไม่เห็นฟ้า
ถึงฝูงปลา ก็ไม่เห็น น้ำเย็นใส
ไส้เดือนมอง ไม่เห็นดิน ที่กินไป
หนอนก็ไม่ มองเห็นคูถ ที่ดูดกิน
คนทั่วไป ก็ไม่ มองเห็นโลก
ต้องทุกข์โศก หงุดหงิด อยู่นิจสิน
ส่วนชาวพุทธ ประยุกต์ธรรม ตามระบิล
เห็นหมดสิ้น ทุกสิ่ง ตามจริงเอยฯ
|
โลกพัฒนา
โลกพัฒนา ที่เรียกว่า Developed
ดูจะเพื่อ จุดจบ เสียมากกว่า
หรืออย่างน้อย ให้จบเร็ว
กว่าธรรมดา
นึกแล้วพา อนาถใจ ใคร่ท้วงติง
เร่งพัฒนา เหมือนเร่งฆ่า
ให้ตัวตาย
ทรัพย์ธรรมชาติ วอดวาย คล้ายกับวิ่ง
ผลได้มา เฟ้อกว่า ความเป็นจริง
จนยุ่งขิง กันไปหมด อดเยือกเย็น
โลกพัฒนา วัตถุเหลือ เหนือคุณธรรม
ไม่อิ่มหนำ ไม่คิดเปลื้อง
พวกเรื่องเหม็น
เรื่องอวกาศ เรื่องอาละวาด
เกินจำเป็น
ยิ่งโลดเต้น ยิ่งสุมโศก โลกพัฒนาฯ
|
เมื่อกิเลสยึดครองโลก
เมื่อกิเลส ไหลนอง ยึดครองโลก
มันสุดแสน โสโครก ที่โกรกไหล
เมื่อกระแส ไฟตัณหา ไหม้พาไป
ทิ้งซากไว้ ระเกะระกะ อนิจจัง
กลับยกย่อง ว่านั่นสิ่ง ศิวิไลซ์
ยั่วความใคร่ เพิ่มเหยื่อ
แก่เนื้อหนัง
เป็นเครื่องล่อ กามา บ้าติดตัง
ทั่วโลกคลั่ง ก็ยิ่งคล้าย อบายภพ
ทั้งแก่เฒ่า สาวหนุ่ม ล้วนจมกาม
เกลียดศีลธรรม เห็นเป็นหนาม
ระคายขบ
อาชญากรรม ลุกลาม สงครามครบ
ร้อนตลบ โลกกิเลส สังเวชจริงฯ
|
ทรงเปิดโลก
ครั้นตรัสรู้ ลุถึง ความสำเร็จ
ทุกทุกลัทธิ ขามเข็ด กษัตริย์สนอง
โปรดทวยเทพ ในเทวโลก เสร็จดั่งปอง
เสด็จล่อง ลงมา ประชาชน
จึ่งเทวดา มานุษย์ และอบาย
เห็นธรรมถึง กันได้ ทุกแห่งหน
ทั้งเหนือ-ใต้ ตก-ออก หรือล่าง-บน
กำแพงคน คือวรรณะ พังทลาย
จนโลกุตตร์ โลกิยา จ่อหน้าก้น
เหลือแต่ชั้น พวกเรา ที่เขลาหลาย
จงเปิดโง่ ออกรับ ระงับอาย
โลกิยะ จะได้กลาย เป็นโลกุตตราฯ
|
โลกรอดเพราะกตัญญู
อันบุคคล กตัญญู รู้คุณโลก
อุปโภค บริโภค มีให้หลาย
ข้าวหรือเกลือ ผักหรือหญ้า
ปลาหรือไม้ฯลฯ
รู้จักใช้ อย่าทำลาย ให้หายไป;
อนึ่งคน ต่อคน ทุกวันนี้
ล้วนแต่มี คุณต่อกัน นั้นเป็นไฉน
มองให้ดี ดูให้เห็น เช่นนั้นไซร้
โลกรอดได้ เพราะกตัญญู รู้คุณกัน;
ประเทศชาติ- ศาสนา- มหากษัตริย์
รวมเป็นอัต- ตภาพไทย ใหญ่มหันต์
รอดมาได้ เพราะรักใคร่ อย่างผูกพันธ์
เพราะกตัญ- ญูมี ที่ใจเอย
|
โลกนี้พัฒนา
โลกฮึดฮัด พัฒนา บูชาโป๊
เพราะเผลอโง่ ทีละนิด คิดไม่เห็น
ไม่มีใคร ตำหนิใคร เพราะใจเป็น
ในเชิงเช่น เดียวกัน ไม่ทันรู้
รัฐบาลไหน ในโลก สับโขกมัน
ดูจะชอบ เหมือนกัน ทำไก๋อยู่
พวกนักบวช แอบหา ภาพมาดู
คุณคงรู้ พรางศิลปโป๊
โย้ได้ไกล
ความก้าวหน้า ทางเนื้อหนัง
อย่างนี้เอง
ครั้นพัฒนา จบเพลง ไม่ไปไหน
บูชาโป๊ ถึงทูนหัว มั่วกันไป
โลกยุคใหม่ ต้องไม่โง่ หยุดโป๊ทีฯ
|
โลกกลียุค
โลกทุกวัน อยู่ในขั้น กลียุค
ที่เบิกบุก เร็วรุด ถึงจุดสลาย
จนสิ้นสุด มนุษยธรรม ด่ำอุบาย
เพราะเห็นกง -จักรร้าย เป็นดอกบัว
กิเลสไส- หัวส่ง ลงปลักกิเลส
มีความแกว่น แสนวิเศษ มาสุมหัว
สามารถดูด ดึงกันไป ใจมืดมัว
เห็นตัวตน ที่จมกาม ว่าความเจริญ
มองไม่เห็น ศีลธรรม ว่าจำเป็น
สำหรับอยู่ สุขเย็น ควรสรรเสริญ
เกียรติ กาม กิน บิ่นบ้า
ยิ่งกว่าเกิน
แล้วหลงเพลิน ความบ้า ว่าศีลธรรมฯ
|
โลกนี้คืออะไรแน่?
โลกเรานี้ ที่แท้คือ โรงละคร
ไม่ต้องสอน แสดงถูก ทุกวิถี
ออกโรงกัน จริงจัง ทั้งตาปี
ตามท่วงที อวิชชา จะลากคอ;
โลกนี้คือ กรงไก่ เขาใส่ไว้
จะนำไป แล่เนื้อ ไม่เหลือหลอ
จิกกันเอง ในกรง ได้ลงคอ
เฝ้าตั้งข้อ รบกัน ฉันนึกกลัว-เอยฯ
|
หมวดที่
11 หมวดปกิณกะ @หัวข้อธรรมในคำกลอน
.....
1. ใครอยู่ระดับไหน?
2. มีมาร-ไม่มีมาร
3.
มัวแต่สร้างมาร
4.
นายเหนือหัว
5.
ความโง่ของปัญญา
6.
บุญหรือพระนิพพาน, เชิญเลือก
7.
ถ้าสตรีดื่มเหล้า
8.
สูบบุหรี่?
9.
ยิ่งตรงยิ่งคดลึก
10.
อาจารย์ไก่
11.
ได้ดีเพราะถูกด่า
12.
ให้เขาเถิด
13.
ชั่วในดี
14. ดีในชั่ว
15.
เผาตัวเอง
16.
ความอยาก
17. ความสุข
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
หัวข้อธรรมในคำกลอน.
(2560)
สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
จาก http://dhammapoem.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 26). โฟโต้กราฟิค. Artistic: MomentCam Application.
.....
ใครอยู่ระดับไหน?
ตอนแรกๆ เด็กๆ มันก็อยากดี
ล่วงมาไม่กี่ปีก็กลาย เป็นอยากดัง
ใครตักเตือนก็ไม่ฟัง มันอยากเด่น
ไม่แคร์ใครจะเขม่น มันอยากโด่ง
เริ่มรู้จักคดโกง มันอยากดื้อ
ต่อมาไม่กี่มื้อ มันอยากโดด
พระเจ้าไม่โปรด มันต้องอยากดับ
.....
ที่มา:
พุทธทาสภิกขุ.
(2540)
หัวข้อธรรมในคำกลอน. สวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฏร์ธานี.
จริยา ทองหอม. (2560 กุมภาพันธ์ 26). โฟโต้กราฟิค. Artistic: MomentCam Application.
.....
|
มีมาร-ไม่มีมาร
มารไม่มี บารมี ยิ่งไม่แก่
จะมีแต่ ถอยถด หมดความหมาย
ไม่มีพลัง สร้างวิบาก ไว้มากมาย
หรือสอบไล่ ให้เรา เข้าใจตัวฯ
มารยิ่งมี บารมี ยิ่งแก่กล้า
ยิ่งรุดหน้า สามารถ ในธรรมทั่ว
สร้างวิบาก ได้มากมาย ในเนียนัว
ให้ดอกบัว เบ่งบาน สะท้านสะเทือนฯ
แล้วประหัต ประหารมารร้าย ให้ตายเตียน
ได้แนบเนียน ไม่มี อะไรเหมือน
เมื่อมารมี ก็เหมือนมาร มาตักเตือน
ให้พบเงื่อน งำกล้า ฆ่ามารเองฯ
|
มัวแต่สร้างมาร
มารจะมี เมื่ออยากดี หรืออยากได้
แม้ความตาย ก็ยังมี พิลึกเหลือ
เพราะความยึด แห่งตัวฉัน
มันเหลือเฟือ
ไม่มีเรื้อ เรื่องความอยาก
มากประการ
ถ้าไม่อยาก ได้อะไร เป็นอะไร
มารจะมี ได้ไฉน ลองกล่าวขาน
อย่าอยากอะไร ที่เป็นไป ด้วยอัญญาณ
จะไม่เกิด มีมาร ขึ้นมาเลย
คิดพูดทำ ทุกอย่าง ด้วยปัญญา
ไม่ต้องมี ตัณหา หนาท่านเอ๋ย
อย่ามีอยาก จะเย็นดี กว่าที่เคย
มารไหนเว้ย จะเกิดได้
ไม่เห็นทางฯ
|
นายเหนือหัว
นายของตน คนที่หนึ่ง คือท้องปาก
ยามท่านอยาก ท่านเรียกร้อง
ต้องรีบหา
มาป้อนท่าน ให้ทัน แก่เวลา
ท่านชื่อว่า “นายกิน”
เก่งสิ้นดี
นายของตน คนที่สอง คือเนื้อหนัง
ท่านไม่ฟัง เสียงใคร ใฝ่เสียดสี
แต่ในเรื่อง นุ่มเนื้อ
เหยื่อโลกีย์
ชื่อท่านมี ว่า “นายกาม” ตะกลามจริง
นายของตน คนที่สาม คือหูหัว
เฝ้ายกตัว เรื่อยไป คล้ายผีสิง
ทั้งยกหาง แกว่งไกว ไวกว่าลิง
มีชื่อพริ้ง ว่า “นายเกียรติ”
ใครเกลียดเอยฯ
|
ความโง่ของปัญญา
ลูกอ่อน กลืนสตางค์ ค้างติดคอ
นางแม่หล่อ น้ำกรดตรง ลงแก้ไข
ว่าละลาย โลหะหมด แล้วปลอดภัย
ผลอย่างไร เชื่อว่าทาย ได้ด้วยกัน
นี้แหละหนา ปัญญา มาพรวดพราด
เพราะสติ มันขาด ก็ผวนผัน
กลายเป็นโง่ ในปัญญา ขึ้นมาพลัน
ถ้าสติ มาทันควัน นั้นปลอดภัย
ความโง่มี ในปัญญา ถ้าขาดสติ
มันอุตริ ออกมา อย่าสงสัย
ฆ่าเจ้าของ ของมัน ได้บรรลัย
มีสติไว้ หนอ, พวกที่
มีปัญญาฯ
|
บุญหรือพระนิพพาน, เชิญเลือก
ชรารุก ชีพทุกวัน จึ่งสั้นไป
หาไม่ได้ เครื่องต้านต่อ
ข้อนั้นหนา;
เมื่อเพ่งเห็น ภัยร้าย ในมรณา
รีบสถา- ปนาบุญ
หนุนสุขไว้ฯ
(ของเทวดา)
ชรารุก ชีพทุกวัน จึ่งสั้นเป็น
หาให้เห็น เครื่องต้านต่อ ข้อนั้น;
ให้
ผู้เพ่งเห็น ภัยทราม ในความตาย
จุ่งคืนคาย เหยื่อล่อ พอใจนิพพานฯ
(ของพระพุทธองค์)
|
ถ้าสตรีดื่มเหล้า
ถ้าสตรี กินเหล่า เข้าเรื่อง
“บ้า”
ไม่รูว่า กินทำไม กินไปได้
หรืออยากเป็น กินนรี
ที่ไวไฟ
ยิ้มละไม อยู่เพราะเหล่า:
ผีเข้าทรง
ดัดจริต ตามใคร บอกไม่ถูก
เพราะปีศาจ จูงจมูก ให้ลุ่มหลง
เห็นผีเป็น เทวดา ดูน่างง
โลกก็ส่ง ตามแต่ แม่ผีตวง
ยิ่งลูกผี มีแต่ จะเมาใหญ่
มีอะไร ก็ต้องเหล้า เผ้ายึดหน่วง
พอขาดเหล้า ร้อนเร่า เสียเต็มทรวง
โลกทั้งปวง เป็นโลกเหล้า
น่าเศร้าจริง
ถ้า “สตรี” คำนี้มา
จาก “สตี”
ก็แปลว่า “คนผู้มี สติยิ่ง”
ไม่ควรไป หลงเหล้า เข้าเรื่องลิง
ควรจะหยิ่ง ธรรมแท้ ของแม่เอยฯ
|
สูบบุหรี่?
สูบบุหรี่ มีแต่ จะคอยบั่น-
ทอนอายุ ให้สั้น นั้นแน่ๆ
กำลังจิต ถูกตัดรอน ให้อ่อนแอ
เพราะต้องแพ้ แก่ความเงี่ยน
ราบเตียนไป
ต้องเสียทรัพย์ บุหรี่ดี
ยิ่งมีค่า
เดือนกว่าๆ เงินร้อยๆ พลอยกษัย
น้ำเสียงเครือ ครอแคร เหม็นแย่ไป
เอาควันไฟ รมปอด ยอดอันธพาล
เป็นผู้ใหญ่ นำเด็กให้ สูบบุหรี่
ให้พวกผี หัวเคาะคน ควรสงสาร
แล้วเกิดมา ทำไมกัน มันป่วยการ
หลงล้างผลาญ ตัวเอง เก่งสุดใจฯ
|
ยิ่งตรงยิ่งคดลึก
ยิ่งจะให้ ตรงมาก ยิ่งคดลึก
เป็นข้าศึก เร้นลับ กลับร้ายใหญ่
อยากจะตรง เพราะอยากดี อยากมีชัย
มันตรงอยู่ เมื่อไร? ใครคิดดู
อวดว่าตรง ตามเขาว่า น่าสรรเสริญ
ยังตรงเกิน ต้องนอนจม พยศอยู่
ที่อยากตรง เพื่อให้ใคร เขาอุ้มชู
ไว้ให้หนู เด็กๆเขา เราโตครัน
จิตที่แจ่ม จนปล่อย เสียได้หมด
ทั้งตรง-คด ไม่เห็น เป็นแผกผัน
พ้นคด-ตรง จนไม่หลง ในเรามัน
จะสุทธิ์สันติ์ พ้นโลก หมดโยกเอยฯ
|
อาจารย์ไก่
ถ้าคนเรา เปรียบกับไก่ ดูให้ดี
มันไม่มี นอนไม่หลับ ไม่ปวดหัว
ไม่มีโรค ประสาท ประจำตัว
โรคจิตไม่ มากลั้ว กับไก่น้อย
คนในโลก กินยา เป็นตัน ๆ
พวกไก่มัน ไม่ต้องกิน สักเท่าก้อย
หลับสนิท จิตสบาย ร้อยทั้งร้อย
รู้สึกน้อย แห่งน้ำใจ อายไก่เวย
ได้เป็นคน หรือจึงได้
นอนไม่หลับ
ควรจะนับ ว่าเป็นบาป หรือบุญเหวย
มีธรรมะ กันเสียนะ
อย่าละเลย
อยู่เสบย ไม่ละอาย แก่ไก่มัน
|
ได้ดีเพราะถูกด่า
ฉันมีดี เพราะถูกด่า น่าหัวไหม
ยิ่งดีใจ เพราะถูกด่า ดูน่าหัว
ใครจะด่า สักเท่าไร ไม่เคยกลัว
เรื่องจะชั่ว อย่างเขาด่า
นั้นอย่าเกรง
ใครมีดี คนด็คิด ริษยา
หาแง่ด่า กันโขมง ล้วนโฉงเฉง
เมื่อยปากเข้า ปากก็มุบ หุบปากเอง
ยิ่งครื้นเครง คือฉันท้า
ให้ด่าฟรี
ฉันเป็นคน ได้ดี เพราะคำด่า
กลายเป็นสิ่ง นำมา ซึ่งศักดิ์ศรี
ด่าเท่าไร ก็เห็นไม่ จริงสักที
เลยได้ดี เพราะถูกด่า น่าหัวครันฯ
|
ให้เขาเถิด
เขาอยากดี เท่าไร ให้เขาเถิด
ไม่ต้องเกิด แข่งดี มีแต่เสีย
ริษยา คือทุรกรรม ทำให้เพลีย
ทั้งลูกเมีย พลอยลำบาก มันมากความ
เขาอยากเด่น เท่าไร ให้เขาเถิด
จะไม่เกิด กรรมกะลี
ที่ซ่ำสาม
มุฑิตา สาธุกรรม ทำให้งาม
สมานความ รักใคร่ เป็นไมตรี
เขาอยากดัง เท่าไร ให้เขาเถิด
ช่วยชูเชิด ให้ประจักษ์ ด้วยศักดิ์ศรี
ให้ดังก้อง ท้องฟ้า อย่างอสนี
ต่างฝ่ายมี ผลงาม ตามเรื่องตนฯ
|
ชั่วในดี
ส่วนที่ชั่ว มีกลั้ว อยู่ในดี
คือดีมี เลศยั่ว ให้มัวหลง
ไม่ค่อยสอน ไม่ค่อยเตือน
อาจเฟือนลง
สอนไม่ลึก สอนไม่ตรง จึ่งหลงดี
ยั่วให้หลง ในดี-ดี เป็นผีบ้า
ไม่นานหนอ ต่อมา ก็สิ้นศรี
ดีมันสอน ไม่ค่อยจะ ถูกวิธี
ยึดมั่น “ดี” แล้วยิ่งยาก
จะจากวาง
ยิ่งมีดี ก็ยิ่งมี คนรบกวน
หลายกระบวน หลายวิธี ไม่มีสร้าง
พวกริษยา ก็หาช่อง จ้องจิตล้าง
มองดูบ้าง ชั่วในดี มีอยู่เน้อฯ
|
ดีในชั่ว
ส่วนที่ดี มีซ่อน อยู่ในชั่ว
ซึ่งสอนให้ เต็มตัว ไม่ยั้งท่า
มันสอนอย่าง เจ็บช้ำ เป็นธรรมดา
แต่มันสอน ลึกกว่า เมื่อได้ดี
ชั่วมันสอน มากกว่า หรือจริงกว่า
มันสอนได้ ดีกว่า ความสุขศรี
สอนดีกว่า ให้กลับตน จนถูกวิธี
เกลียดกลัวชั่ว กว่าก่อนนี้
ดีอย่างจริง
ให้ศรัทธา วิ่งหา พระศาสนา
เรียนสิกขา ภาวนา
เป็นอย่างยิ่ง
สัตว์นรก หมกอยู่ ยังรู้ติง
ตัวของตัว เ พราะชั่วสิง สอนรุนแรงฯ
|
เผาตัวเอง
ร้ายอะไร ไม่ร้ายเท่า จะเอาดี
เป็นธุลี จับจิต เกิดริษยา
ชิงดีแล้ว อวดเด่น เห็นออกมา
ตัวกูจ้า บ้าคลั่ง สังเวชใจ
สร้างนรก เป็นที่อยู่ เพราะเหตุนี้
"ตัวกูดี, ตัวกูเด่น"
เห็นหรือไม่?
กลัวหมดดี จุดจี้ ให้เกิดไฟ
"เผาตัวเอง" ต่อไป
เศร้าใจเอยฯ
|
ความอยาก
อันความอยาก จะระงับ ดับลงได้
นั้นมิใช่ เพราะเรา ตามสนอง
สิ่งที่อยาก ให้ทัน ดั่งมันปอง
แต่เพราะต้อง ฆ่ามัน ให้บรรลัย
ให้ปัญญา บงการ แทนร่านอยาก
ความร้อนไม่ มีมาก อย่าสงสัย
ทั้งอาจผลิต กิจการ งานใดๆ
ให้ล่วงไป ด้วยดี มีสุขเย็นฯ
|
ความสุข
ความเอ๋ย ความสุข
ใครๆทุก คนชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา
"แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกเวลา"
แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใจ
ถ้าเราเผา ตัวตัณหา ก็น่าจะสุข
ถ้ามันเผา เราก็ "สุก"
หรือเกรียมได้
เขาว่าสุข สุขเน้อ! อย่าเห่อไป
มันสุขเย็น หรือสุกไหม้ ให้แน่เอยฯ
|
|