วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

การพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย



กรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย
(Concept of contemporary curriculum development.)

จริยา  ทองหอม: 29 ก.ย. 2557.


วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ความสามารถในการเรียนรู้ (Learning Ability) และวัฒนธรรมของผู้เรียน (Learner cultural)


การวิเคราะห์ความสามารถในการเรียนรู้ (Learning Ability) และวัฒนธรรมของผู้เรียน (Learner cultural)
จริยา  ทองหอม 28 กันยายน 2557

 ผลการวิเคราะห์
แนวทางการนำไปใช้
ความสามารถในการเรียนรู้ (Learning Abilityเป็นการเรียนรู้ตามสมรรถภาพของบุคคลที่ทำงานต่างๆได้  จำแนกเป็น
1. ความสามารถทางสติปัญญา (Intellectual
Ability)
2.  ความสามารถทางกายภาพ  (Physical Ability)
3.  ความสามารถทางวุฒิภาวะทางอารมณ์
 (Emotional Quotient)  (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2557)  
ความสามารถในการเรียนรู้ (Learning Ability)
ตามหลักการทฤษฎีพัฒนาการทางติปัญญาของเพียเจต์  (Piaget: Cognitive Development Theory) เรียกพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นว่า  Formal Operation  เป็นวัยที่สามารถคิดได้แบบผู้ใหญ่ คือ
       -      คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้          
       -      สนใจในปรัชญาชีวิต ศาสนา อาชีพ
       -      ใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ
       -      คิดเหตุผลได้ทั้งแบบอนุมานและอุปมาน
       -      สนใจเกี่ยวกับความยุติธรรม ความเสมอภาคและมนุษยธรรม
กระบวนการทางสติปัญญาของเพียเจต์  เป็น
กระบวนการทางสมองที่มีลักษณะ ดังนี้ 
1.  การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็น
การรับประสบการณ์ และข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บสะสมไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2.  การปรับและจัดระบบ (accommodation) เป็น
การปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้  เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.  การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นการปรับประสบการณ์เก่าและใหม่ให้กลมกลืนเกิดสภาพที่สมดุล หากไม่สามารถปรับให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
ทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) และ
ทักษะทางจิต(mental skills) ที่สำคัญในการกำหนดความสามารถทางการเรียนรู้ของบุคคล (Sharon J. Derry.1986 )  ประกอบด้วย
สมาธิ  (Concentration)  สมาธิจะเกิดขึ้น
เมื่อจิตใจจดจ่ออยู่กับจุดใดเพียงจุดเดียว หรือมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น นักเรียนต้องมีสมาธิและความสนใจในการทำการบ้าน หรือการทดสอบเพื่อได้รับผลการเรียนที่ดี นักกีฬาต้องมีสมาธิและความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม  การพัฒนาความสามารถของการมีสมาธิ(Concentration) จะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายในการเรียนหรือการทำงานได้อย่างง่ายดาย
การรับรู้  (Perception) เป็นผลมาจากการใช้
อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor)  ทั้ง 5 ชนิด  คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  และผิวหนัง  จากการวิจัยพบว่า  การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75 %  การได้ยิน 13 การสัมผัส  6%   กลิ่น  3%    และรส  3%
ความจำ (Memory)  ระบบความจำของคน
ตามทฤษฎีความจำสองกระบวนการ  (Two – Process Theory of  Memory)  ของแอตคินสันและชิฟฟริน (Atkinson & Shiffrin.1968)  มี 3 ระบบ คือ 
-  ความจำการรู้สึกสัมผัส (sensory Memory)
-  ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory)
-  ความจำระยะยาว (Long-Term Memory) 
ลักษณะสำคัญคือ   STM เป็นความจำชั่วคราว
สิ่งที่อยู่ใน STM ต้องมีการทบทวนตลอดเวลา จนกว่าจะฝังตัวใน LTM ซึ่งเป็นความจำที่คงทนถาวร เมื่อต้องการใช้หรือมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาสะกิดใจก็สามารถจะรื้อฟื้นขึ้นมาได้ 
ผลการวิจัยพบว่า  โดยเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมง
บุคคลจะลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ประมาณ 80% การพัฒนาหน่วยความจำระยะยาวจะช่วยให้นักเรียน
มีความสามารถในการจัดเก็บและเรียกดูข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking)
การคิดเชิงตรรกะ หรือการคิดอย่างมีเหตุผล  เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้ข้อสรุป (Sharon J. Derry)
1. การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียน ดังนี้
-   นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถไปตามระดับพัฒนาการของตนเอง
-  นักเรียนแต่ละคนควรได้รับประสบการณ์  2  แบบ คือ 
-  ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical
experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมโดยตรง 
ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์
(Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้เกิดความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม
·         2. การนำไปใช้ในการสร้างหลักสูตร  หลักสูตรที่สร้างตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังนี้ 
-  เน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
- เน้นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนพบความแปลกใหม่
เน้นการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการค้นพบ
เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) เน้นการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3.  การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน ควรดำเนินการดังต่อไปนี้ 
ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
ครูผู้สอนควรพูดให้น้อย และฟังให้มากขึ้น
ให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
-  เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ใหม่ ให้นักเรียนได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
ยอมรับความจริงว่านักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนสามารถเพิ่มระดับความคิดขั้นต่อไปได้
ตระหนักว่าการเรียนรู้ด้วยการจดจำ  เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning) 
4.  การประเมินผล ดังนี้ 
-  มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอบคำถาม
ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้น
5.  การจัดการเรียนรู้สำหรับวัยรุ่น  ควรจัดให้รู้จัดคิด
ตัดสินใจ แก้ปัญหา เช่น การแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวิทยาศาสตร์ การสอนแบใช้ความคิดรวบยอด
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการ
เรียนรู้ของเด็ก (Sharon J. Derry.1986)
1. ครูผู้สอนมีความสงบ ใจเย็น เป็นกัลยาณมิตร (Having Calm, good, kind instructor)
2. การมีสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่มเพื่อน (Having good student-staff relations)
3. ครูผู้สอนมีทักษะการสอน (Competent teaching skills of instructor)
4. บรรยากาศ สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ (A lively atmosphere)
5. อิสระภาพในการเรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
 (Able to work in their pace)
6. การปฏิบัติจริง (Able to practice what they have learnt)

วัฒนธรรมของผู้เรียน (Learner cultural)
Generation  Z  กับกระบวนการเรียนรู้
1.  เกิดมาในสภาพแวดล้อมของนวัตกรรมละเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.  กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม คือ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.  ชอบเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม
         คนที่เกิดใน Generation z  (พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน)
เป็นวัยที่เติบโตพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่รายล้อม มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ชีวิตติดอยู่กับเครื่องมือสื่อสารตลอดเวลา สามารถดึงข้อมูลและเรียนรู้ได้เร็ว ต้องการคำตอบหรือผลลัพธ์ทันที สามารถทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ให้ความสำคัญกับความรวดเร็วมากกว่าความถูกต้อง ปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ดี ขาดความอดทน ไม่ชอบการรอคอยและการแบ่งชนชั้น เป็นต้น แต่สิ่งที่เด็กรุ่น Gen-Z แตกต่างจากรุ่นอื่น ๆ คือ เด็กรุ่นนี้จะ เห็นภาพพ่อและแม่ต้องออกไปทำงานทั้งคู่ และเด็ก Gen-Z หลาย ๆ คนจึงได้รับการเลี้ยงดูจากคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ของตัวเอง
         ศตวรรษที่  21  เป็นศตวรรษแห่งการหลอม
รวมวัฒนธรรม  การสร้างความร่วมมือในทุกระดับภูมิภาคเพื่อขยายฐานอำนาจและเพิ่มพลังการต่อรองระหว่างกัน  การขับเคลื่อนทุกหน่วยสังคมจะมุ่งสู่ความเป็นหนึ่งเดียว  โลกกำลังจะก้าวสู่ความเป็นหนึ่งเดียว และวัฒนธรรมเดียว 


ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑  ที่ทุกคนต้อง
เรียนรู้ตลอดชีวิต คือ ๓R x C
R ได้แก่ Reading (การอ่าน), ‘Riting
(writing = การเขียน) และ ‘Rithmetics (arithmetics =คณิตศาสตร์)
C ได้แก่ Critical thinking & problem
solving (การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา) Creativity & innovation (ความคิดสร้างสรรค์และการคิดค้นนวัตกรรม) Cross-cultural understanding (ความเข้าใจบนวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย) Collaboration, teamwork & leadership (การประสานความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ) Communications, information & media literacy (การสื่อสาร และการมีความรู้เท่าทันสื่อและข้อมูล) Computing & ICT literacy (คอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศ) Career & learning skills (ทักษะอาชีพและการเรียนรู้) 
         ทักษะที่จำเป็นในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1.  แสวงหาความรู้ตลอดชีวิต
2.  คิดเชิงวิเคราะห์  สังเคราะห์  วิพากษ์
3.  คิดทำงานเชิงสร้างสรรค์
4.  เจริญจิตปัญญา สร้างความดี
5.  สื่อสาร  ถ่ายทอดความคิด
6.  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
7.  ทำงานร่วมกับผู้อื่น
8.  แก้ปัญหาได้
9.  บริหารความขัดแย้งได้
10.  ดำรงชีวิตในโลกปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ที่มา:
นูรุลอินซาน กอระ.(ม.ป.ป). จิตวิทยาสำหรับครู. เว็บไซต์ http://405404027.blogspot.com/2012/10/blog-post_5215.html 
                ค้นคืนวันที่ 27 กันยายน 2557
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรม ศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  https://th.wikipedia.org/wiki.  ค้นคืนวันที่ 27 กันยายน 2557 
วิชัย  วงษ์ใหญ่  และ มารุต  พัฒผล. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย. ปริญญาเอกสาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.  19  กรกฎาคม  2556. (Power point)
Cultural Considerationshttp://www.learningandteaching.info/learning/constructivism.htm.  ค้นคืนวันที่ 27 กันยายน 2557 
David Scott. (2013). Theories of  Learning. SAGE. London.
James Bellanca and Ron Brandt. (2010). 21st  Century Skills. Rethinking How Students Learn. U.S.A. 
Ralph W. Tyler. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. The University of Chicago Press. Chicago and
London.
Rita C. Richey, James D. Klein, and Monica W. Tracey. (2011).  The Instructional Design Knowledge Base. Theory,
Research and Practice. New York.    
Sharon J. Derry. (1986) Designing Systems that Train Learning Ability: From Theory to Practice. Florida State
                University. Debra A. Murphy  University of Mississippi Medical Center



วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

หลักสูตรบูรณาการ





โดย: จริยา  ทองหอม

การวิเคราะห์หลักสูตรบูรณาการ
หน่วยการเรียนรู้  เรื่อง  กระทงรักษ์โลก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
โรงเรียนวัดโพธิ์ทะเลสามัคคี  อ.ค่ายบางระจัน  จ.สิงห์บุรี

สมาชิกกลุ่ม
1. นางกชณัช  นวลนิศาชล
2. นางสาวจริยา  ทองหอม
3. นางสาวจิราพร  รอดพ่วง
4. นางสาวมธุรส  ประภาจันทร์
5. นายยะยา  ยุทธิปูน 
6.  นางสาวิตรี  สิทธิชัยกานต์

ใบงานที่ 1 การวิเคราะห์ concepts สมรรถนะ และ คุณลักษณะ

คำชี้แจง จงวิเคราะห์ concepts สมรรถนะ และ คุณลักษณะ จากมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางจากสาระที่ท่านต้องการนำมาออกแบบบูรณาการ  หรือวิเคราะห์หลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่ท่านสนใจ แล้วนำมาเขียนลงในตาราง
ลำดับที่
ข้อความ/ประโยค
concepts
สมรรถนะ
คุณลักษณะ
1. สังคมศึกษา
สาระที่ ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.3     
       เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย  มีความรัก  ความภูมิใจและธำรง   ความเป็นไทย
ตัวชี้วัด
     3. วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทย   สมัยสุโขทัยและสังคมไทยในปัจจุบัน
อิทธิพลของวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทย สมัยสุโขทัยและสังคมไทยในปัจจุบัน
วัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทย (9)
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
1. รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
2. รักความเป็นไทย
3. รักษาวัฒนธรรมไทยอย่างดีงาม
2. ศิลปะ
สาระที่  1  ทัศนศิลป์             
มาตรฐาน ศ 1.2 
สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด
. ระบุ และบรรยายหลักการออกแบบงานทัศนศิลป์ โดยเน้นความเป็นเอกภาพความกลมกลืน และความสมดุล
บรรยายหลักการออกแบบงานทัศนศิลป์
การออกแบบงานทัศนศิลป์
concept ประเภทที่ (3) สิ่งที่สัมพันธ์กัน
   1.ความสามารถในการสื่อสาร 
   2.ความสามารถในการคิด 
1.  รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์
2.  มุ่งมั่นในการทำงาน
3.  รักความเป็นไทย
3. ภาษาไทย
สาระที่ 4  หลักการใช้ภาษา
มาตรฐาน ท 4.1  เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติ        ของชาติ
ตัวชี้วัด
5. แต่งบทร้อยกรอง
การแต่งบทร้อยกรอง 
บทร้อยกรอง
concept ประเภทที่ (3) สิ่งที่สัมพันธ์กัน
ความสามารถในการสื่อสาร
รักความเป็นไทย
ใฝ่เรียนรู้
4. ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1  ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1   เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ตัวชี้วัด
2. อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และบทร้อยกรอง (poem) สั้นๆ  ถูกต้องตาม หลักการอ่าน 
การอ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และบทร้อยกรอง
การอ่านออกเสียง
concept ประเภทที่ (10) วิธีการ
ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 
รักความเป็นไทย
ใฝ่เรียนรู้
5. การงานอาชีพ
สาระที่ การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง  1. 1    เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์   มีทักษะกระบวนการทำงาน  ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน  และทักษะ การแสวงหาความรู้    มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน   มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม  เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัด
2. ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ
กระบวนการกลุ่มในการทำงาน
กระบวนการทำงานกลุ่ม
 concept ประเภทที่ (10) วิธีการ
1.ความสามารถในการคิด 
2.ความสามารถในการแก้ปัญหา
3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 
4.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 
1.  มุ่งมั่นในการทำงาน
2.  ใฝ่เรียนรู้
3.  รักความเป็นไทย  
4.   มีจิตสาธารณะ
6.คณิตศาสตร์
สาระที่ ๑ จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค ๑.๓ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ใช้การประมาณค่าในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  รวมถึงใช้ในการพิจารณาความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้จากการคำนวณ

การประมาณค่าในสถานการณ์ต่าง ๆและพิจารณาความสมเหตุสมผล







การประมาณค่าอย่างสมเหตุสมผล
concept ประเภทที่ (4) เป็นเหตุเป็นผลกัน




-ความสามารถในการสื่อสาร
-ความสามารถในการคิด
-ความสามารถในการแก้ปัญหา
-มีวินัย
-ใฝ่เรียนรู้
-มุ่งมั่นในการทำงาน
-มีสติ รู้คิด รู้ทำ

7. วิทยาศาสตร์
สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบน
ผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
. สืบค้น วิเคราะห์ และอธิบายปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก รูโหว่โอโซน และฝนกรด
ปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก





การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
concept ประเภทที่ (4)
เป็นหตุเป็นผล


 ความสามารถในการคิด
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

 ใฝ่หาความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
มีสติ  รู้คิดรู้ทำ
มุ่งมั่นใน            การทำงาน
มีจิตสาธารณะ

สรุป
concepts
วัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทย (9) คุณค่า
การออกแบบงานทัศนศิลป์  concept ประเภทที่ (3) สิ่งที่สัมพันธ์กัน
บทร้อยกรอง  concept ประเภทที่ (3) สิ่งที่สัมพันธ์กัน
การอ่านออกเสียง  concept ประเภทที่ (10) วิธีการ
กระบวนการทำงานกลุ่ม   concept ประเภทที่ (10) วิธีการ
การประมาณค่าอย่างสมเหตุสมผล  concept ประเภทที่ (4) เป็นเหตุเป็นผลกัน
สมรรถนะ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
2.ความสามารถในการแก้ปัญหา
คุณลักษณะ
1. รักความเป็นไทย
2. มีวินัย
3.ใฝ่เรียนรู้
4. มีจิตสาธารณะ    

ใบงานที่ 2  การวิเคราะห์ธรรมชาติการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
คำชี้แจง          จงวิเคราะห์ธรรมชาติการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายในบริบทสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ที่จะออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และนำไปทดลองหาประสิทธิภาพ โดยเขียนผลการวิเคราะห์และแนวทางการนำไปใช้ในตารางต่อไปนี้
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อายุประมาณ 12-13 ปี
ประเด็น
การวิเคราะห์
ผลการวิเคราะห์
แนวทางการนำไปใช้
1.ความสามารถ ทั่วไปในการเรียนรู้

ความสามารถ ทั่วไปในการเรียนรู้ของวัยเด็กตอนปลาย
(Late child hood) หรือวัยแรกรุ่น (10-13 ปี) ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์  ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม (Psychosocial Stages) ของอิริคสัน (Erik H.Erikson) และขั้นพัฒนาการการแสวงหาความพึงใจจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (Psychosexual Stages) ของฟรอยด์ (Sigmund Freud)  มีธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการที่สำคัญ  4 ด้าน คือ
1) พัฒนาการทางร่างกาย
2) พัฒนาการทางสังคม
3) พัฒนาการทางจิตใจ
4) พัฒนาการทางสติปัญญา
         1) พัฒนาการทางร่างกาย  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ส่งผลกระทบไปยังจิตใจ ทำให้มีความคิดหมกมุ่น วิตกกังวล อารมณ์หงุดหงิดและแปรปรวนง่าย  การเจริญเติบโตอาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกันหรือไม่เป็นไปตามขั้นตอน  การเจริญเติบโตจะเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะทางเพศและทางสรีระ  วัยรุ่นที่จะผ่านช่วงวิกฤตนี้ได้ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจและควบคุมอารมณ์ความรู้สึกที่พลุ่งพล่านขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆ  เด็กผู้หญิงจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนเด็กผู้ชายประมาณ 2 ปี ทำให้ในชั้นประถมตอนปลายหรือชั้นมัธยมต้นจะพบวัยแรกรุ่นหญิงมีร่างกายสูงใหญ่ เป็นสาวน้อยแรกรุ่น ในขณะที่พวกเด็กผู้ชายยังดูเป็นเด็กชายตัวเล็กๆ ซึ่งเป็นเหตุทำให้เด็กตกอยู่ในความวิตกกังวล  เด็กชายที่ยังไม่บรรลุภาวะจะรู้สึกว่าตนถูกบีบบังคับมากกว่าทำให้เกิดข้อบกพร่องในการพูด อ่าน และปัญหาอื่นๆ ของเด็กชายจะมีมากขึ้น  การขาดสมรรถภาพทางสมอง เกี่ยวพันกับการเจริญเติบทางกายเช่นกัน  อัตราการเติบโตของเด็กชายที่หย่อนสมรรถภาพทางสมอง จะช้ากว่าเด็กชายที่มีความเจริญเติบโตทางสมองปกติ  เด็กประเภทนี้ช้าไม่เฉพาะแต่ส่วนสูงและน้ำหนักเท่านั้น แต่ช้าในด้านอื่นๆด้วย เช่น การเรียนรู้ที่จะเดิน ฟันขึ้น และช้าในระยะเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มสาวด้วย
2) พัฒนาการทางสังคม  เด็กชายและเด็กหญิงเล่นด้วยกัน
น้อยลง ความสนใจต่างกันออกไป แต่ยังให้ความสำคัญของการเป็นที่รู้จักในเพศตรงข้าม สัมพันธภาพระหว่างเพศไม่แน่นอน เปลี่ยนเพื่อนอยู่เสมอ เด็กชอบอยู่เป็นกลุ่มทำให้เด็กสามารถทำอะไรได้สำเร็จ และเพิ่มความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญขึ้น
การรวมกลุ่ม ความรักกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นจะพัฒนาขึ้น
และต้องการให้กลุ่มยอมรับตน บางครั้งครูต้องเผชิญกับความขัดแย้งของกลุ่มเด็ก ครูอาจปล่อยให้เด็กได้ทำตามสิ่งที่ต้องการไปก่อนและช่วยโน้มน้าวแนะนำแก้ไขภายหลัง ทั้งนี้จะทำให้เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหาจากประสบการณ์ที่ได้มาด้วยตัวเอง 
ปัจจัยการยอมรับทางสังคม   เด็กที่ไม่มีเพื่อนจะไม่
สามารถปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มเพื่อนได้เพราะขาดการยอมรับจากกลุ่ม เด็กที่ได้รับการยอมรับทางสังคมจะเข้าใจตนเองได้ถูกต้องขึ้น มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้น และสามารถทำงานรับผิดชอบในกลุ่มได้อย่างผ่อนหนักผ่อนเบา เด็กมีความอบอุ่นมั่นคงทางใจ การอยู่ร่วมกับกลุ่มของเด็กดูจะมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคมของเด็กด้วย เด็กที่ครอบครัวฐานะดีจะให้ความร่วมมือในสังคมมากขึ้น
การเลือกคบเพื่อน เด็กจะเลือกตัวบุคคลเป็นอันดับแรก
เลือกคนที่แจ่มใส เมตตา ให้ความร่วมมือ โอบอ้อมอารี สุภาพ ซื่อตรง พูดตกลงกันง่ายและอารมณ์มั่นคง  เหตุผลอื่น ๆ ในการคบเพื่อนคือมีความสนใจและสิ่งอื่นคล้ายคลึงกัน แต่มีการเปลี่ยนเพื่อนบ่อย นอกจากนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายได้ครอบครัวและเหตุอื่น ๆ ก็เป็นตัวสำคัญในการเลือกคบเพื่อนของเด็กวัยก่อนรุ่นด้วย ผู้ที่ไม่ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า แต่ถ้ามีคุณสมบัติที่ดึงดูดให้คนอื่นเข้าใกล้ก็มีเพื่อนมากได้เหมือนกัน
ความรู้สึกไวต่อสังคมและเจตนคติที่ดีต่อสังคมจะ
พัฒนาขึ้นได้ก็เมื่อเด็กได้รับสิ่งแวดล้อม ดังนี้
- ผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างในทางมีเมตตา และมีความคำนึงถึง
ผู้อื่นเสมอ
- ผู้ใหญ่ยอมรับเจตนคติในการคำนึงถึงผู้อื่นของเขา
เด็ก ๆ จะรู้คุณค่าของตัวบุคคลมากขึ้นเมื่อเขาได้มีส่วน
ร่วมและสวัสดิภาพแก่กลุ่ม  ความคิดฝันทางทำประโยชน์ให้สังคมจะเกิดขึ้น ซึ่งช่วยให้รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
3) พัฒนาการทางจิตใจ ผลจากการเปลี่ยนแปลงทาง
ร่างกายจะทำให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจ ทั้งความวิตกกังวล หงุดหงิด หมกมุ่น ไม่พอใจในรูปร่างที่เปลี่ยนไป เด็กวัยก่อนรุ่น ควรได้รับความช่วยเหลือให้สามารถควบคุมปรับปรุงแก้ไขตนเองได้มากขึ้น เด็กมีความรู้สึกไวกับเจตคติที่ผู้อื่นมีต่อเขา  จะรู้สึกไม่สบายใจอย่างมากถ้าถูกวิจารณ์ หรือเปรียบเทียบกับเด็กอื่น  เด็กที่ถูกทอดทิ้งทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนจะเป็นผู้ที่ไม่มีความสุขกลายเป็นเด็กเงียบหรือไม่ก็มีพฤติกรรมขัดขืน และไม่เกรงกลัวใคร ความเครียดที่เด็กได้รับจากทางบ้านอาจน้อยลงหรือหาย ไปถ้าเด็กได้รับความสัมพันธ์ที่ดีจากครูและเพื่อน อารมณ์รุนแรงการใช้กำลังจะลดลง รู้จักหาสิ่งที่ต้องการด้วยวิธีที่อ่อนโยนขึ้นกลัวความผิดหวัง ถูกเยาะเย้ยหรือถูกว่าเป็นผู้หญิงมากกว่ากลัวร่างกายบาดเจ็บ เด็กวัยนี้กังวลใจเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของบุคคลในครอบครัวมากที่สุด นอกจากนี้เด็กยังกลัวคะแนนสอบ การสอบตก และเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะตนเองอย่างไรก็ดีบุคลิกภาพของเด็กย่อมปรับปรุงได้ และเด็กสามารถที่จะปรับปรุงตนเองได้ดีด้วย
ความต้องการของวัยแรกรุ่น  เนื่องจากเด็กมีความ
เปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้น ทำให้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น คือ 
- อาหารที่มีคุณค่า
- เล่นกีฬาที่ช่วยให้พัฒนาทักษะส่วนบุคคล
- การพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ความช่วยเหลือให้เข้าใจกระสวนความเจริญเติบโตตามธรรมชาติ
- สถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ และหนังสือที่ช่วยให้เกิดความคิด การทำกิจกรรมริเริ่มสร้างสรรค์หรือใช้กำลังเคลื่อนไหว โดยผู้ใหญ่ไม่บังคับ
- ความช่วยเหลือพิเศษ ถ้าเป็นผู้ที่มีกระสวนความเจริญเติบโตเร็วหรือช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน
- ได้รับการยอมรับความสามารถและการได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
- ความรัก ความอบอุ่น และความยกย่องชมเชยจากผู้ใหญ่
อารมณ์ของวัยเด็กตอนปลายหรือวัยแรกรุ่น
1.  ความรักและความห่วงใย ความรู้สึกอยากที่จะถูกรัก และยังอยากได้รับความเอาใจใส่ ห่วงใยจากบุคคลที่มีความสำคัญต่อเด็กแต่ไม่ใช่การแสดงออกของพ่อแม่ที่ทำกับเขาราวกับเด็กเล็กๆ ไม่ต้องการความเจ้ากี้เจ้าการ ไม่ต้องการให้แสดงความห่วงใยอยู่ตลอดเวลา
2.  ความกลัว  รูปแบบของความกลัว เช่น  ความอาย ความกลุ้มใจ  และความกังวลใจ 
3. ความโกรธ  เด็กวัยนี้มีความต้องการในสิ่งต่างๆเพิ่มขึ้น เด็กเกิดความคับข้องใจได้ง่าย เด็กจะตำหนิติเตียนสิ่งที่ทำให้ตนเกิดความโกรธ  บางคนใช้วิธีการต่อต้านวัตถุและสิ่งของโดยตรง บางคนหลีกหนี และบางครั้งมีการก้าวร้าวอย่างรุนแรง 
4.  ความริษยา เด็กแสดงออกโดยการทะเลาะวิวาท หัวเราะเยาะ รังแกเด็กที่ตนมีความรู้สึกริษยาโดยตรงและอาจมีการแสดงออกโดยทางอ้อมคือ พูดกระทบกระเทียบ เป็นต้น
5.  ความเป็นอิสระ อยากทำอะไรได้ด้วยตัวของตัวเอง อยากทำในสิ่งที่ตัวเองคิดแล้วว่าดี อยากมีส่วนในการตัดสินใจ เด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดอ่านเป็นของตนเอง เริ่มมีความคิดแบบนามธรรม (abstract thinking) การแยกจากพ่อแม่ในเกือบทุกรูปแบบ ทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกสับสน
สองจิตสองใจ การเลี้ยงดูจึงต้องอาศัยความเข้าใจ และเคารพในสิทธิส่วนบุคคลด้วย
6. ความอยากรู้อยากเห็นและอยากลอง การลองผิดลองถูก และคอยสังเกตดูจากปฏิกิริยาของคนรอบข้าง เพื่อตัดสินว่าสิ่งที่ทำนั้น ดีเลวเป็นอย่างไร การสนับสนุนส่งเสริมเด็กให้คงสภาพอยากรู้ อยากเห็น อยากลองและได้มีโอกาสทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ในขอบเขตที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นตามวัย จะทำให้เด็กก้าวเข้าสู่วัยรุ่นด้วยความภาคภูมิใจ
7. ความถูกต้อง ยุติธรรม  เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นตอนกลาง มักจะถือว่าความยุติธรรมเป็นลักษณะหนึ่งของความเป็นผู้ใหญ่ วัยรุ่นจึงให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับความถูกต้อง ยุติธรรมตามทัศนะของตนเป็นอย่างยิ่ง และอยากจะทำอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ทั้งในแง่บุคคลและสังคมส่วนรวม จึงมักจะเห็นภาพวัยรุ่นถกเถียงกันเรื่องของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว
8. ความตื่นเต้น ท้าทาย ความต้องการหาประสบการณ์แปลกๆ ใหม่ๆ เกลียดความจำเจซ้ำซาก วัยรุ่นกลุ่มนี้จะสร้างความตื่นเต้นท้าทายกับการที่กระทำผิดต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ ของทางบ้านและกฎของสังคม แนวทางการเลี้ยงดูเด็กฝึกให้เด็กได้มีโอกาสทำงานที่ท้าทายความสามารถทีละน้อยอยู่ตลอดเวลา จะส่งผลทำให้เด็กได้พัฒนาความเชี่ยวชาญขึ้นมาได้ แก้ปัญหาได้
9. ความต้องการการยอมรับ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ของกลุ่มเพื่อน พื้นฐานการเลี้ยงดูที่ยอมรับและมีความรักความผูกพันระหว่างพ่อแม่เด็ก การฝึกฝนให้โอกาสเด็กในการตัดสินใจลงมือกระทำหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และรับฟัง พยายามทำความเข้าใจ ถ้าเบี่ยงเบนก็ช่วยแก้ไข ถ้าถูกต้องก็ชมเชยและชื่นชม จะกระตุ้นให้เด็กเกิดความรู้สึกเป็นที่ยอมรับจากบุคคลภายในบ้าน ซึ่งจะส่งผลทำให้เด็กอยากเป็นที่ยอมรับจากเพื่อน จากครูและจากคนอื่นๆ ต่อๆ ไป จึงเป็นเหตุผลจูงใจกระทำความดีมากขึ้นๆ
4) พัฒนาการทางสติปัญญา  เชาว์ปัญญาของเด็กวัยแรก
รุ่นจะเห็นได้จากความสามารถในการใช้เหตุผลเข้าใจความหมายของคำพูดได้ถูกต้อง และสามารถให้คำจำกัดความแก่คำที่เป็นนามธรรม ได้ ในระหว่างวัยก่อนรุ่นนี้เด็กสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น ความสนใจในการเล่นทายปัญหาจะมีมากที่สุดในวัยนี้
         การเปลี่ยนแปลงทางระบบความคิดมีมากขึ้นตามวัย ภายในขอบเขตของพันธุกรรมที่ได้รับมา  เชาว์ปัญญาพัฒนาจากการได้ใช้สมองบ่อยๆ ดังนั้นในการวัดความสามารถของเด็ก ครูควรคำนึงถึงพื้นเดิมทางพันธุกรรมและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็กด้วย    
เด็กสมองช้าจะไม่ใคร่มีสมาธิในการทำงานที่ยากขึ้น
ทำงานได้ผลน้อยกว่าเด็กปกติ ถ้าเด็กมีความสามารถในการใช้คำพูดที่เป็นนามธรรมสูง ก็จะเห็นได้ว่าเป็นเด็กฉลาด สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆได้ มีความคิดสร้างสรรค์รู้จักคิดเองรักการอ่าน มีอารมณ์มั่นคง ฯลฯ คุณสมบัติเหล่านี้จะแสดงออกให้เห็นตั้งแต่วัยต้นๆ มีความสามารถสูงในการพิจารณาตัดสินใจด้วยตนเองและสามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ เด็กวัยก่อนรุ่นที่ฉลาดความมีอิสระที่จะวางโครงการศึกษาด้วยตนเอง วางความมุ่งหมายของกิจกรรมและแกปัญหาด้วยตัวเอง ควรจัดเด็กฉลาดเข้าชั้นพิเศษเพื่อส่งเสริมความสามารถพิเศษที่เขามีอยู่
         คุณลักษณะหลายประการที่ควรปลูกฝังให้มีในวัยแรกรุ่น ได้แก่ การให้ความร่วมมือ รู้จักรับผิดชอบ ความเมตตา ความ ยุติธรรม ความไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น ความซาบซึ้งในความงาม และความคิดสร้างสรรค์ ในระหว่างวัยนี้ เด็กจะสามารถควบคุมตนเองได้มากขึ้น ถ้าผิดพลาดจะกระวนกระวายใจ และจะทำตัวให้เข้ากับสังคมได้มากขึ้น ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กได้มาจากการที่เพื่อนยอมรับเข้ากลุ่มเขาจะพยายามทำตนให้เหมือนเพื่อนและสร้างแนวทางของตนเองขึ้น
สรุป
วัยเด็กตอนปลาย (Late child hood) หรือวัยแรกรุ่น
(10-13 ปี) มีธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการการเปลี่ยนแปลง มี 4 ด้าน คือ พัฒนาการทางร่างกาย  สังคมจิตใจ และสติปัญญา
เด็กวัยแรกรุ่นมีอัตราความเจริญเติบโตแตกต่างกัน เด็กหญิงจะเติบโตเร็วกว่าเด็กชายประมาณ 1-2 ปี เด็กหญิงแตกเนื้อสาวอายุ 10-13 ปี และเด็กชายแตกเนื้อหนุ่มระหว่างอายุ 14-15 ปี ก่อนจะถึงระยะแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว เด็กจะมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วอยู่ประมาณ 1-2 ปี และอัตราการเจริญเติบโตคงเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดเมื่อเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว หลังจากนี้อัตราการเจริญเติบโตจะค่อยช้าลง และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ 
         ปัญหาของเด็กวัยแรกรุ่นเกิดขึ้นเพราะเด็กมีการเจริญเติบโตเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาวไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และสังคม การมีร่างกายเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สภาพผู้ใหญ่เรื่อยๆทำให้เด็กมีความกังวลใจเกี่ยวกับรูปร่างของตนเอง ต้องการได้ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม และไม่ต้องการพึ่งผู้ใหญ่ 
         กลุ่มหรือคณะมีอิทธิพลยิ่งกับเด็กวัยนี้ แต่เป็นวัยที่ทั้งสองเพศเริ่มแยกกันเล่นและแยกกันทำกิจกรรม ทั้งสองเพศเริ่มทำตัวเป็นศัตรูต่อกัน ความสนใจแตกต่างกันพัฒนาการทางปัญญาเป็นผลจากที่เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความสามารถในการอ่านเพิ่มขึ้น 
2557
วิมลรัตน์ วันเพ็ญ. (ม.ป.ป.).  รู้ทันเข้าใจลูกวัยรุ่น. (ออนไลน์).  แหล่งที่มา: www.satitm.chula.ac.th/uploads/files/first1.ppt.  ค้นคืนวันที่ 22 กันยายน 2557.
วิโรจน์ อารีย์กุล. (ม.ป.ป.). การดูแลสุขภาพเด็กวัยรุ่น. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.vichaiyut.co.th/jul/22_02-2545/22_02_2545_p55-59.pdf. ค้นคืนวันที่ 22 กันยายน 2557.
สุริยเดว ทรีปตี. (ม.ป.ป.). พัฒนาการและการปรับตัวในวัยรุ่น(ออนไลน์).  แหล่งที่มา: http://www.nicfd.cf.mahidol.ac.th/th/images/documents/3.pdfค้นคืนวันที่ 22 กันยายน 2557. 
การจัดกิจกรรมสำหรับวัยรุ่นนอกจากเนื้อหาที่ดีแล้ว ควรมีการคำนึงถึงรายละเอียด ดังนี้
1. ความต้องการของวัยรุ่น : กิจกรรมที่จัดเป็นกิจกรรมที่วัยรุ่นสนใจ มีความต้องการที่จะเรียนรู้จึงควรเปิดโอกาสให้วัยรุ่นได้มีส่วนร่วมในการคิด หรือเสนอกิจกรรมและความต้องการของพวกเขา
2. ความสนุก : กิจกรรมที่จัดให้แก่วัยรุ่นควรเป็นกิจกรรมที่สนุก มิใช่เพียงการนั่งฟังนั่งเรียน แบบในชั้นเรียน แต่ควรเป็นกิจกรรมที่ให้วัยรุ่นได้คิด ได้เคลื่อนไหว ได้ใช้พลังงานประกอบกิจกรรมที่ได้เรียนรู้เพราะกิจกรรมที่มีความสนุกช่วยให้วัยรุ่นไม่รู้สึกเบื่อหน่าย หรือไม่สนใจในสิ่งที่ต้องเรียนรู้
3. มิตรภาพ : วัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบเข้าสังคม ชอบการแสวงหาเพื่อนและมิตรภาพ กิจกรรมสำหรับวัยรุ่นจึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้วัยรุ่นได้รู้จัก ได้สร้างมิตรภาพ ได้มีส่วนร่วมกับเพื่อนๆ ด้วยกันเอง
4. ความภาคภูมิใจ : ความภาคภูมิใจในตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้วัยรุ่นรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับและต้องการของสังคม หากกิจกรรมที่จัดช่วยให้วัยรุ่นเกิดความภาคภูมิใจเขาก็จะรู้สึกดีกับความรู้และทักษะที่เขาได้รับ และพร้อมจะนำสิ่งที่ได้ไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

2. รูปแบบ    การเรียนรู้
เด็กแต่ละคนมีลีลาหรือรูปแบบการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน
 ครูที่สามารถรู้ว่าเด็กแต่ละคนในชั้นมีรูปแบบการเรียนรู้เป็นแบบใดจะประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน  ทำให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ นักจิตวิทยาที่ศึกษารูปแบบการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ของมนุษย์ (Learning style) ได้พบว่า  มนุษย์สามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทางการรับรู้ 3 ทาง  คือ  การรับรู้ทางสายตาโดยการมองเห็น (Visual  percepters)   การรับรู้ทางโสตประสาทโดยการได้ยิน (Auditory percepters)  และ การรับรู้ทางร่างกายโดยการเคลื่อนไหวและการรู้สึก (Kinesthetic percepters)   ซึ่งสามารถนำมาจัดเป็นลีลาการเรียนรู้ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ผู้เรียนแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันคือ
1) ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (Visual learner) เป็นพวก
ที่เรียนรู้ได้ดีถ้าเรียนจากรูปภาพ  แผนภูมิ  แผนผังหรือจากเนื้อหาที่เขียนเป็นเรื่องราวเวลาจะนึกถึงเหตุการณ์ใด ก็จะนึกถึงภาพเหมือนกับเวลาที่ดูภาพยนตร์คือมองเห็นเป็นภาพที่สามารถเคลื่อนไหวบนจอฉายหนังได้  เนื่องจากระบบเก็บความจำได้จัดเก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้เป็นภาพ   ลักษณะของคำพูดที่คนกลุ่มนี้ชอบใช้ เช่น   ฉันเห็น”  หรือ ฉันเห็นเป็นภาพ…..”  พวก Visual learner  จะเรียนได้ดีถ้าครูบรรยายเป็นเรื่องราว  และทำข้อสอบได้ดีถ้าครูออกข้อสอบในลักษณะที่ผูกเป็นเรื่องราว  นักเรียนคนใดที่เป็นนักอ่าน  เวลาอ่านเนื้อหาในตำราเรียนที่ผู้เขียนบรรยายในลักษณะของความรู้   ก็จะนำเรื่องที่อ่านมาผูกโยงเป็นเรื่องราวเพื่อทำให้ตนสามารถจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้น    เด็ก ๆ ที่เป็น Visual learner  ถ้าได้เรียนเนื้อหาที่ครูนำมาเล่าเป็นเรื่อง ๆ จะนั่งเงียบ สนใจเรียน  และสามารถเขียนผูกโยงเป็นเรื่องราวได้ดี  
2) ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท (Auditory  Learner)
เป็นพวกที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าได้ฟังหรือได้พูด จะไม่สนใจรูปภาพ ไม่สร้างภาพ  และไม่ผูกเรื่องราวในสมองเป็นภาพเหมือนพวกที่เรียนรู้ทางสายตา แต่ชอบฟังเรื่องราวซ้ำ ๆ   และชอบเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง   คุณลักษณะพิเศษของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ การมีทักษะในการได้ยิน/ได้ฟังที่เหนือกว่าคนอื่น   ดังนั้นจึงสามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดละออ และรู้จักเลือกใช้คำพูดผู้เรียนที่เป็น Auditory learner  จะจดจำความรู้ได้ดีถ้าครูพูดให้ฟัง  หากครูถามให้ตอบ ก็จะสามารถตอบได้ทันที   แต่ถ้าครูมอบหมายให้ไปอ่านตำราล่วงหน้าจะจำไม่ได้จนกว่าจะได้ยินครูอธิบายให้ฟัง เวลาท่องหนังสือก็ต้องอ่านออกเสียงดังๆ    ครูสามารถช่วยเหลือผู้เรียนกลุ่มนี้ได้โดยใช้วิธีสอนแบบอภิปราย  แต่ผู้ที่เรียนทางโสตประสาทก็อาจถูกรบกวนจากเสียงอื่น ๆ จนทำให้เกิดความวอกแวก เสียสมาธิในการฟังได้ง่ายเช่นกัน
3) ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (Kinesthetic 
learner)  เป็นพวกที่เรียนโดยผ่านการรับรู้ทางความรู้สึก การเคลื่อนไหว และร่างกาย  จึงสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีหากได้มีการสัมผัสและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่เรียน   เวลานั่งในห้องเรียนจะนั่งแบบอยู่ไม่สุข  นั่งไม่ติดที่  ไม่สนใจบทเรียน  และไม่สามารถทำใจให้จดจ่ออยู่กับบทเรียนเป็นเวลานาน ๆ ได้  คือให้นั่งเพ่งมองกระดานตลอดเวลาแบบพวก  Visual learner ไม่ได้   พวกที่เป็น Kinesthetic learner  เป็นกลุ่มที่มีปัญหามากหากครูให้ออกไปยืนเล่าเรื่องต่าง ๆ หน้าชั้นเรียน   หรือให้รายงานความรู้ที่ต้องนำมาจัดเรียบเรียงใหม่อย่างเป็นระบบระเบียบ  เพราะไม่สามารถจะทำได้    การสอนโดยการบรรยายตลอดชั่วโมง  จะยิ่งทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหามากขึ้น  ครูจึงควรช่วยเหลือพวก Kinesthetic learner ให้เรียนรู้ได้มากขึ้น  โดยการให้แสดงออกหรือให้ปฏิบัติจริง  เช่น ให้เล่นละคร แสดงบทบาทสมมติ สาธิต ทำการทดลอง  หรือให้พูดประกอบการแสดงท่าทาง  เป็นต้น
ส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้าน
การฟัง  (Auditory learning)   
ให้ฝึกทักษะในการฟัง 
ฝึกทักษะในการจดโน้ตย่อ
ฝึกสมาธิในการฟังคำบรรยาย
 เรียนวิชาที่เกี่ยวกับการพูดในที่สาธารณะ
พกสมุดโน้ตเล่มเล็ก ๆ เพื่อคอยจดข้อมูลที่ได้จากการฟัง
สรุปเนื้อหาสาระที่ได้จากการฟัง
-  ศึกษาบทเรียนร่วมกับเพื่อนที่มีลักษณะเป็น  Auditory learner

การส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านการมองเห็น  (Visual learning)
-  ให้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีเขียนและเวลาที่เหมาะสมในการเขียนแผนภาพ
-  เรียนรู้วิธีทำแผนผังความคิด (Mapping)
-  นำโน้ตย่อที่จดไว้จากกระดานดำมาคัดลอกหรือมาเขียนซ้ำใหม่หลาย ๆ ครั้ง
-  ศึกษาการทำงานของภาพลายเส้น
-  ศึกษาบทเรียนร่วมกับเพื่อนที่มีลักษณะเป็น Visual learner
-  เรียนรู้วิธีสังเกตและวิธีอ่านภาพทั่วไปและภาพลายเส้น

ส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านการลงมือปฏิบัติ
 (Pragmatic learning)
  พัฒนาทักษะในการจัดสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ
  ตั้งเป้าหมายและกำหนดเวลาให้แน่นอน
  เขียนสรุปย่อเกี่ยวกับกระบวนการและวิธีในการปฏิบัติ
  ใช้เวลาแต่ละสัปดาห์ในการจัดการกับอุปกรณ์การเรียนวิชาต่าง ๆ ให้เรียบร้อย
  ศึกษาร่วมกับเพื่อนที่ชอบลงมือปฏิบัติเหมือนกัน
  ใช้โครงร่างในการจัดข้อมูลให้เป็นระบบ

3. ความฉลาด



ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)
อารี สัณหฉวี (2552) เยาวพา เดชะคุปต์ (2554) และทิศนา แขมมณี (2556) ได้กล่าวถึง เชาว์ปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ มีดังนี้
1. เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
หมายถึง ความสามารถในการไวต่อภาษาพูดและภาษาเขียน ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อบรรลุเป้าหมาย รวมถึง ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อแสดงออกถึง ความเป็นตัวตน ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง และการใช้ภาษา เป็นแนวทางในการจดจำข้อมูล เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า “Broca’s Area” สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้คำศัพท์ การแสดงออกของความคิด การประพันธ์   การแต่งเรื่อง การเล่าเรื่อง เป็นต้น
2.  เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิง
ตรรกะ (Logical Mathematical Intelligence) หมายถึง ความ สามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเชิงตรรกะ การแก้โจทย์ปัญหา การทดสอบหัวข้อต่างๆ เชิงวิทยาศาสตร์ การจับแบบแผน การเข้าใจเชิงเหตุผลการอนุมาน การคิดเชิงตรรกะ ปัญญาด้านนี้จะเชื่อมโยงกับการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆ ให้เห็นชัดเจน ชอบคิดและทำอะไรตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่าย ชอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี
3.  สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence)
หมายถึง ความสามารถในการรู้จักและใช้แบบแผนของที่ว่างและบริเวณได้อย่างเหมาะสม  เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ                   
การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่างๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็น วิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
4. เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
หมายถึง  ความสามารถในการใช้ทักษะในการแสดงออก การแต่งและการชื่นชมในแบบแผนของดนตรี และจังหวะดนตรี การ์ดเนอร์เชื่อว่าปัญญาด้านดนตรีควรจะมีอยู่ในทุกโครงสร้างเช่นเดียวกับปัญญาด้านภาษา  เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา แต่ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ  การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียง และจังหวะต่างๆ
5. เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
 (Bodily-Kinesthetic Intelligence)  หมายถึง ความสามารถในการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายในการแก้ปัญหา และความสามารถทางสมองในการประสานสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งสมองและกิจกรรม ด้านร่างกายจะมีความสัมพันธ์กัน  เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่าคอร์เท็กซ์ โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย สติปัญญาทางด้านนี้สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ในการเล่นกีฬา และเกมต่าง ๆ การใช้ภาษาท่าทาง การแสดง การเต้นรำ ฯลฯ
6.  เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal
Intelligence)  หมายถึง ความสามารถที่เกี่ยวกับความตั้งใจ การกระตุ้น และแรงปรารถนาของผู้อื่น ความสามารถในด้านนี้จะช่วยให้คนเราสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับผู้อื่น เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ  ผู้มีความสามารถทางด้านนี้ มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
7. เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal
Intelligence) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจตนเอง การชื่นชมความรู้สึก ความกลัว และแรงเสริมในความคิดของ การ์ดเนอร์ เชื่อในรูปแบบเกี่ยวกับตัวตนของเราที่มีประสิทธิภาพ และความ สามารถในการใช้ข้อมูลต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเอง  บุคคลที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่างๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย  2 ด้านขึ้นไป
8.  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist
Intelligence)  หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และปรากฏการณ์ธรรมชาติ เข้าใจความสำคัญของตนเองกับสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสามารถของตนที่จะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ เข้าใจถึงพัฒนาการของมนุษย์ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เข้าใจและจำแนกความเหมือนกันของสิ่งของ เข้าใจการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของสสาร  เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่างๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
9.  ปัญญาด้านอัตถภวนิยม จิตนิยม หรือการดำรงคงอยู่
ของชีวิต (Existential Intelligence)  เป็นปัญญาด้านสุดท้ายที่การ์ดเนอร์นำเสนอใน ค.. 1999 ในหนังสือชื่อ “Intelligence Reframed” และ “Changing Minds” หมายถึง ความไวและความสามารถในการจับประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่น ความหมายของชีวิต ทำไมคนเราจึงตาย และเรามาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร เด็กที่เรียนรู้บริบทของการดำรงคงอยู่ของมนุษย์มักจะถามคำถามว่า “ทำไมเราอยู่ที่นี่” และ “เรามีบทบาทอะไรบ้างในโลกนี้” ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับตัวเอง (Deep Self-Awareness) ความเข้าใจความสัมพันธ์ของร่ายกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ เข้าใจสัจธรรมของโลกและชีวิต ซึ่งสติปัญญาข้อนี้จะแสดงให้เห็นได้ในหลักของปรัชญาต่างๆ  เชาว์ปัญญาด้านนี้เป็นการศึกษาความสามารถในการศึกษา ความหมายของชีวิต และจักรวาล ศึกษาความหมายของความตาย และประสบการณ์อันลึกซึ้งเกี่ยวกับความรัก ความเมตตา และศิลปะ 
เนื่องจากเชาว์ปัญญาแต่ละด้านถูกควบคุมโดยสมอง ส่วน
ต่างๆ กัน ดังนั้น หากสมองส่วนใดถูกทำลาย ความสามารถในด้านที่สมองส่วนนั้นควบคุมก็จะได้รับ ความกระทบกระเทือนหรือเสียไปด้วย สำหรับสมองส่วนที่ ไม่ถูกทำลาย ความสามารถในส่วนที่สมองนั้นควบคุมก็จะยังเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม เชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่ได้ทำงาน แยกจากกัน แต่มักจะทำงานในลักษณะผสมผสานกันไปแล้วแต่กิจกรรมที่ทำอยู่ว่าต้องการสติปัญญาส่วนใดบ้าง การ์ดเนอร์เชื่อว่า ในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้จะดูเหมือนว่าใช้เชาว์ปัญญาด้านหนึ่งด้านใดอย่างชัดเจน  แต่แท้จริงแล้วต้องอาศัยเชาวน์ปัญญาหลาย ๆ ด้าน ผสมผสานกัน เช่น นักดนตรีที่ประสบความสำเร็จ แม้จะดูเหมือนว่า ต้องอาศัยเชาวน์ปัญญาด้านดนตรี แต่จริงๆ แล้ว การประสบความสำเร็จยังอาจต้องอาศัยเชาวน์ปัญญา  ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านภาษา และด้านการเข้าใจตนเองด้วย
ที่มา:       ทิศนา  แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2554). พหุปัญญา มองคุณค่าทุกความต่าง.
กรุงเทพฯ: สาราเด็ก.
อารี สัณหฉวี. (2552). พหุปัญญาประยุกต์. กรุงเทพฯ: สมาคมเพื่อ
การศึกษาเด็ก.

1. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการ
เรียนการสอน (ทิศนา แขมมณี, 2556) 
เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน มิใช่มุ่งพัฒนาแต่เพียง เชาวน์ปัญญาด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ดังเช่นในอดีต เรามักจะมีการเน้นการพัฒนาด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์หรือ ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อันเป็นการพัฒนาสมองซีกซ้ายเป็นหลัก ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านอื่นๆ เท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เรียนที่มีเชาวน์ปัญญาด้านอื่นสูงจะขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาในด้านที่ตนมีความสามารถหรือถนัดเป็นพิเศษ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของสติปัญญาหลายๆ ด้าน จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคน มีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งช่วย  ส่งเสริมอัจฉริยภาพหรือความสามารถเฉพาะตนของผู้เรียนไปในตัว
2.  เนื่องจากผู้เรียนมีระดับ
พัฒนาการในเชาวน์ปัญญา แต่ละด้านไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียน การสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนา การในแต่ละด้านของผู้เรียน ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีสูงจะพัฒนาปัญญาด้านดนตรีของตนไปอย่างรวดเร็วต่างจาก เด็กคนอื่นๆ ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน   เด็กที่มีขั้นพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งสูง ควรต้องแตกต่างไปจากเด็กที่มีขั้นพัฒนาการในด้านนั้นต่ำกว่า
3.   เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมี
เชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน การผสมผสานของความสามารถด้านต่างๆ ที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness) หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่ง เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลทำให้แต่ละคนแตกต่างกัน และความแตกต่างที่หลากหลาย  (Diversity) นี้ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังนั้น กระบวนการคิดที่ว่าคน
นี้โง่ หรือเก่งกว่าคนนั้นคนนี้จึงควรจะเปลี่ยนไป การสอน ควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น  รวมทั้ง เห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่นนี้ ผู้เรียนก็จะเรียนรู้อย่างมีความสุข มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง ในขณะเดียวกันก็มีความเคารพในผู้อื่น และอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน
4.      ระบบการวัดและประเมิน
ผลการเรียนรู้ ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเดิมที่ใช้การทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และที่สำคัญคือ ไม่สัมพันธ์กับบริบทที่แท้จริงที่ใช้ความสามารถนั้นๆ ตามปกติ วิธีการประเมินผลการเรียนการสอนที่ดี ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น ๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหา หรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น อีกวิธีหนึ่งคือการให้เรียนอยู่ในสภาพการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งต้องใช้สติปัญญาหลายด้าน หรือการให้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน และสังเกตดูว่า ผู้เรียนเลือกใช้เชาวน์ปัญญาด้านใด หรือศึกษาและใช้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านใดมากเพียงไร


 ใบงานที่ 3 การวิเคราะห์ทฤษฎีการเรียนรู้

คำชี้แจง  จงศึกษาและวิเคราะห์ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ แล้วเขียนผลการวิเคราะห์ รวมทั้งแนวทางการนำไปใช้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ลงในตารางต่อไปนี้
ชื่อทฤษฎี
สาระสำคัญของทฤษฎี
แนวทางการนำไปใช้ในการออกแบบ
กิจกรรมการเรียนรู้
1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน(Team-Based Learning)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
(Team-Based Learning) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกันเป็นทีมย่อยตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเชิงลึก และเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม สนับสนุนพัฒนาการระหว่างบุคคลและทักษะของทีม ทั้งช่วยในการพัฒนาทักษะการรู้คิดของผู้เรียนในห้องเรียนขนาดใหญ่ให้มีระดับสูงขึ้น มีการช่วยเหลือทางสังคมสำหรับผู้เรียนที่มีความเสี่ยง และส่งเสริมความกระตือรือร้นของผู้สอน (Michaelsen, 2008)
ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานมี
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากเดิม  กล่าวคือ เดิมมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเนื้อหาเป็นหลัก  แต่ในการเรียนรู้แบบทีม จะต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้เนื้อหาได้ด้วย  โดยผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็นผู้คิด และบริหารจัดการในกระบวนการเรียนรู้  ส่วนผู้เรียนต้องปรับบทบาท คือนอกจากจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษาเนื้อหาความรู้ด้วยตนเองแล้ว  ยังต้องมีความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกันกับทีมด้วย เพื่อนำเนื้อหาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง   
หลักการสำคัญในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีม
เป็นฐาน  มี 4 ประเด็น ดังนี้   (Michealsen, 2004)
                1. การจัดแบ่งและบริหารกลุ่ม 
                การจัดแบ่งกลุ่มควรกำหนดขนาดให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถมอบหมายงานในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งโดยปกติจะจัดสมาชิกกลุ่ม ๆ ละประมาณ 5-7 คน เพื่อให้เหมาะสมกับภาระงาน และสมาชิกกลุ่มมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสม  ในการจัดแบ่งกลุ่มที่ดี ผู้สอนควรคำนึงถึงข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคในการสร้างความสามัคคี ซึ่งคุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียนในการเรียนรู้เป็นทีม คือ การสื่อสารที่ตรงไปตรงมา การแบ่งปันข้อมูลและความรู้  แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ในหัวข้อที่ได้ศึกษา โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือความสำเร็จของทีม
                2.การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความพร้อมในความรับผิดชอบ
                ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานผู้สอนจะต้องกำหนดเงื่อนไขเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และทีม  โดยสร้างกลไกในการกำกับติดตามคุณภาพของทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม  และส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นว่าคุณภาพของงานมีความสำคัญกับผู้เรียน ตั้งแต่ก่อนเรียน  ระหว่างเรียน และหลังจากสิ้นสุดการเรียน  กล่าวคือผู้เรียนจะต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าชั้นเรียน มีความตั้งใจและการทุ่มเทในการทำงานกลุ่มให้แล้วเสร็จ ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมอย่างสร้างสรรค์ โดยผู้เรียนทุกคนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหาตามหัวข้อสำคัญที่ผู้สอนได้มอบหมายก่อนเข้าชั้นเรียน และผู้สอนจะประเมินการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนเมื่อเข้าชั้นเรียนครั้งแรกของแต่ละหัวข้อ โดยใช้กระบวนการประกันความพร้อมก่อนการเรียน (Readiness Assessment Test : RAT)  กล่าวคือให้ผู้เรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษา ในช่วงต้นของทุกหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้ข้อสอบที่เป็นปรนัย โดยใช้เวลาในการทำข้อสอบประมาณ 20 นาที  และหลังจากส่งคำตอบไปแล้ว  ให้นำแบบทดสอบนั้นไปอภิปรายในกลุ่มเพื่อหามติที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม กิจกรรมนี้ต้องการให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านจนสามารถอธิบายผู้อื่นได้  ทั้งเป็นการส่งเสริมความรับผิดชอบของผู้เรียนเป็นรายบุคคลและส่งเสริมการทำงานเป็นทีมอีกด้วย  ซึ่งผู้เรียนทุกคนจะถูกประเมินการมีส่วนร่วมเป็นรายบุคคล ส่วนทีมจะถูกประเมินเรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน  ผลการประเมินทั้งหมดของผู้เรียนจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการเรียน
                3. การมอบหมายงานที่สร้างการเรียนรู้และพัฒนาการทำงานเป็นทีม
                การมอบหมายอย่างเหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ งานที่มอบหมายให้กับทีมควรเป็นงานที่ความสำเร็จของงานเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกภายในกลุ่ม ต้องการการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่ม ซึ่งต้องอาศัยการระดมความคิดที่หลากหลาย และควรเป็นงานที่สามารถนำเสนอผลการตัดสินใจในรูปแบบที่ไม่สลับซับซ้อน   เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกภายในกลุ่ม  และการออกแบบงานกลุ่มที่เหมาะสมควรช่วยลดปัญหาความขัดแย้งของสมาชิกภายในกลุ่ม หรือการไม่รับผิดชอบงานของสมาชิกบางคน
4 การประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
                ผู้สอนควรจัดทำแผนการประเมินและกำหนดเวลาสำหรับการประเมินผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพและพัฒนาการทำงานของทีม  ซึ่งการประเมินผู้เรียนมี 2 ลักษณะ คือ การประเมินผลการทดสอบความพร้อม (Readiness Assessment  test : RAT) และการประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply - focused team assignments) เพื่อติตามผลการเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม ในการประเมินทั้งความพร้อม และการประยุกต์ใช้ความรู้ ควรประกาศผลการทดสอบทันที ให้ทราบกันทั้งชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนและทีมเห็นถึงประสิทธิผลของการเรียนรู้ ทั้งช่วยให้สมาชิกภายในทีมร่วมกันอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนางาน ซึ่งเป็นการรักษาภาพลักษณ์ของทีมและพยายามรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด (Michealsen, 2004)
                นอกจากนี้หลักการในการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน ผู้สอนต้องออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ทั้งรายวิชา หรือเป็นกลุ่มหัวข้อที่ต้องการเพื่อให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการคิดที่สูงขึ้นและพัฒนาการทำงานเป็นทีม โดยใช้หลัก the Three's S (Michaelson and others, 2008) ดังนี้
                1. มอบหมายพร้อมกันทีเดียวทั้งชั้น(Sameness) เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนมีหัวข้อที่ใช้ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เอื้อให้สามารถเปรียบเทียบคำตอบระหว่างกลุ่ม และสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบทเรียนและข้อมูลย้อนกลับของกลุ่มอื่น
                2. ออกแบบชิ้นงานที่ให้ผู้เรียนสามารถนำแนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง (Specific choice)ทั้งนี้เพื่อฝึกให้ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะการคิดในระดับที่สูงขึ้น เช่น ปัญหาที่มีหลายทางเลือกที่ผู้เรียนจะต้องตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
                3. ให้ผู้เรียนรายงานผลพร้อมกัน  (Simultaneously report) ซึ่งทำให้ผู้เรียนต้องพยายามหาเหตุผลสนับสนุนคำตอบของตน ทั้งทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากข้อมูลย้อนกลับจากการเปรียบเทียบคำตอบและเหตุผลสนับสนุนกับกลุ่มอื่น  ดังนั้นผู้สอนอาจกำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนระบุทางเลือกพร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ และให้เวลาผู้เรียนเพื่อซักถามเหตุผลและข้อมูลสนับสนุนทางเลือกของกลุ่มอื่น ๆ ที่นำเสนอ
ที่มา  Michaelsen, L. K., Knight, A. B., and Fink, L. D. Team-Based Learning: A Transformative Use of Small Groups in College Teaching. Sterling, Va.: Stylus, 2004
  Birmingham, C., and McCord, M. “Group Process Research: Implications for Using Learning Groups.” In L. K. Michaelsen, A. B. Knight, and L. D. Fink (eds.), Team-Based Learning: A Transformative Use of Small Groups in College Teaching. Sterling, Va.: Stylus,
2004. 
Published online in Wiley InterScience (www.interscience.wiley.com) • DOI: 10.1002/tl.330

 แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย
ใช้ทีมเป็นฐาน มีดังนี้
1. ช่วงก่อนเข้าชั้นเรียน 
1.1ผู้สอนควรเตรียมแผนการเรียนรู้ โดยแบ่งเนื้อหาการเรียนรู้ระดับมหภาพ (Macro units) ออกเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อย (Micro units) ระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และออกแบบระบบการประเมินผล
1.2 กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้  เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของเนื้อหาที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะและการประยุกต์ใช้ความรู้ ดังนั้นผู้สอนจะต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่าหลังสิ้นสุดการเรียนรู้แล้วต้องการให้ผู้เรียนสามารถทำสิ่งใดได้
1.3 วางแผนการออกแบบการประเมินผล  ซึ่งระบบการประเมินผลจะต้องไม่สร้างความวิตกกังวลทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน ควรแบ่งการให้คะแนนออกเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินรายบุคคล  และการประเมินผลงานของทีม
2. การดำเนินการเรียนการสอน
2.1 เริ่มดำเนินการสอนในชั่วโมงแรก  ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์
2.2.1 เพื่ออธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจถึงเหตุผลในการเลือกใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นทีม และลักษณะสำคัญของวิธีการสอนแบบทีม ครอบคลุมถึงวิธีดำเนินการ การบริหารจัดการในชั้นเรียน  ระบบการประเมินผล และลำดับการมอบหมายงาน
2.1.2 เพื่อจัดแบ่งจำนวนสมาชิกภายในกลุ่มในการทำกิจกรรมโดยมีการกระจายคุณลักษณะของผู้เรียนให้ทุกกลุ่มมีความใกล้เคียงกันมากที่สุด  โดยทั่วไปจะกำหนดสมาชิกประมาณ 5-7 คน และควรจัดกลุ่มต่อหน้าผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความโปร่งใสในการตัดสินใจ
2.1.3 เพื่อชี้แจงระบบการวัดและประเมินผล  ว่าสัดส่วนการให้คะแนนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ คะแนนที่เป็นผลงานเฉพาะบุคคล ได้แก่ ผลสอบ ความพร้อมของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมกับทีม ซึ่งอาจประเมินโดยผู้ร่วมทีม  และคะแนนที่เป็นผลงานของกลุ่ม ได้แก่ ตัวชิ้นงาน การอภิปรายแลกเปลี่ยน การตัดสินใจร่วมกัน นอกจากนี้การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนเป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดความวิตกกังวลของผู้เรียน
2.2 ช่วงของการจัดการเรียนรู้แต่ละหน่วยการเรียนรู้หลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาในรายวิชาและเพื่อพัฒนาทีมให้ผู้เรียนสามารถจัดการตนเองได้โดยใช้กระบวนการ ดังต่อไปนี้
2.2.1 ใช้กระบวนการประกันการเตรียมความพร้อม (Readiness Assurance Process) ซึ่งเป็นกิจกรรมแรกของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยประกอบด้วยกิจกรรมย่อย ดังนี้
1) การมอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ก่อนการเข้าชั้นเรียนศึกษาเนื้อหาก่อนล่วงหน้าด้วยตนเองก่อนการเรียนในชั้นเรียน 
2) ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความพร้อมก่อนเรียน (Readiness Assessment  Test) ของเนื้อหาที่ได้มอบหมายให้ศึกษาก่อนล่วงหน้า
3) ให้ผู้เรียนทุกคนอภิปรายเหตุผลการตอบแบบทดสอบกับกลุ่ม สำหรับคำตอบที่ได้เลือก ซึ่งทำให้สมาชิกได้ประโยชน์จากมุมมองและเข้าใจในเนื้อหาความรู้มากยิ่งขึ้น
4) การให้ข้อมูลกลับของทีม โดยเฉพาะการสะท้อนกลับในข้อที่ตอบผิดโดยแสดงเหตุผลที่ชัดเจน ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์ให้ทีมได้มีโอกาสทบทวนหลักการและแนวคิดของบทเรียนร่วมกันอีกครั้ง
2.2.2 มอบหมายให้ผู้เรียนทำงานกลุ่มที่เน้นทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน  ซึ่งต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้ได้การตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม และสามารถนำเสนอผลการตัดสินใจในรูปแบบที่ไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป และสามารถเปรียบเทียบผลกับกลุ่มอื่นได้ ซึ่งหลักในการออกแบบงานจะต้องเป็นงานที่มีความสำคัญ ใช้ประเด็นปัญหาเดียวกันสำหรับทั้งผู้เรียนเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม เป็นปัญหาที่ต้องหาข้อสรุปที่เฉพาะเจาะจง และจัดให้มีการรายงานผลของแต่ละกลุ่มในเวลาเดียวกัน
2.2.3 ส่งเสริมการสร้างบรรทัดฐานที่ดีของทีม โดยการจัดทำแฟ้มข้อมูลของทีมและการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก ซึ่งพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน คือการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน และความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน ดังนั้นในการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาพฤติกรรมของตนเอง ผู้สอนควรประเมินและสะท้อนกลับอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการมีแฟ้มข้อมูลของทีมเพื่อรวบรวมสถิติการเข้าชั้นเรียน และคะแนนต่างๆ จากการทดสอบความพร้อมของผู้เรียนแต่ละคนและของทีม  ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้สมาชิกในทีมได้หาแนวทางในการช่วยเหลือกันภายในทีม
2.3 ช่วงท้ายของการเรียนรู้ ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ทบทวนประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดการเรียนการสอนที่ผ่าน ในประเด็น ของแนวคิดหลัก การประยุกต์ใช้ความรู้ คุณค่าของการทำงานเป็นทีม กระบวนการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนพฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาตนเองของผู้เรียน
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานจะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนอย่างยิ่งโดยเฉพาะการส่งเสริมความจำระยะยาว และถือว่าเป็นระบบการช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการเรียนรู้  นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางสังคม การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนจากพลังการใฝ่รู้ของทีมผู้เรียน

2. การจัดการเรียนรู้ด้วยความท้าทาย(Challenge -Based Learning)
การเรียนรู้โดยเน้นสถานการณ์ปัญหาหรือการ
แก้ปัญหาเป็นฐาน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ออกแบบและลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยมีกรอบแนวคิด คือ
1. ไอเดียที่ยิ่งใหญ่ (Big idea)
2.  คำถามสำคัญ (Essential question)
3. ความท้าทาย (The challenge)
-  การตั้งคำถามย่อย (Guiding question)
-  การดำเนินการหาคำตอบ (Guiding activities)
-  แหล่งข้อมูลที่จะหาคำตอบ (Guiding resources)
คำตอบและการนำคำตอบไปใช้ (Solutions and Action)
การประเมินผล (Assessment)
 -   นำเสนอตัวอย่างของนักเรียน  (Publishing – Student Samples)
 -  นำเสนอผลสะท้อนหรือเอกสารของนักเรียน (Publishing – Student
Reflection/Documentation)

เอกสารอ้างอิง
Johnson, Laurence F .; Smith, Rachel S .; Smythe, J . Troy; Varon, Rachel K . (2009) .Challenge-Based Learning: An Approach for Our Time. Austin, Texas: The New Media Consortium .
http://www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjUyNTk=.   (เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2557)
(ข้อสังเกต รูปแบบนี้มักใช้กับนักเรียนชั้นสูง)



คุณครูให้ผู้เรียนได้คิดออกแบบกิจกรรม
โดยเป็นสถานการณ์ปัญหาของโลกที่แท้จริง โดยแต่ละขั้นตอนมีแนวทางดำเนินการดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 จากความคิดสุดยอด(Big Idea) สู่การท้าทาย เริ่มต้นจากการทำงานร่วมกันกับนักเรียนเพื่อที่จะระบุความคิดสุดยอด ความคิดสุดยอดหมายถึงความคิดที่สำคัญต่อสังคม ชุมชน ประชากรโลก หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องของนักเรียน สามารถทำการค้นคว้าเพื่อที่จะได้รับความรู้ในระเบียบที่หลากหลาย และมีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานในระดับการศึกษาของตนเอง ความคิดสุดยอดนี้อาจจะเริ่มต้นจากข่าวสำคัญๆในช่วงระยะเวลานั้นๆ ตัวอย่างของความคิดสุดยอด เช่น
ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำ อาหาร พลังงาน และอากาศ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง
ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย การฟื้นตัว และการเติบโต
ธรรมชาติของมนุษย์เป็นต้น
หลังจากนั้น ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเพื่อที่จะสร้างคำถามสำคัญ โดยส่วนนี้เป็นการเชื่อมต่อระหว่างชีวิตของนักเรียน และความคิดสุดยอด คำถามที่สร้างขึ้นมาต้องเป็นคำถามที่สามารถตอบได้โดยกระบวนการค้นคว้า ช่วยให้นักเรียนสามารถเน้นจุดสำคัญต่อความคิดของพวกเขา และสามารถสร้างกรอบแนวคิดเพื่อการท้าทาย
ขั้นตอนที่ 2  เป็นคำถามนำเพื่อตั้งเป็นวัตถุประสงค์หลักในการท้าทายโดย
นักเรียนระบุคำถามที่ในเชิงแนวทาง รวมทั้งระบุแหล่งข้อมูล กิจกรรมต่างๆ ที่่จำเป็นเพื่อที่จะได้ตอบคำถามดังกล่าวได้ โดยเตือนนักเรียนอยู่เสมอๆว่าพวกเขามีทางเลือกหลายทางในการตอบคำถาม
คำถามสำคัญ
กิจกรรมที่จำเป็นในการตอบคำถาม
ระบุทรัพยากรที่จำเป็นในการตอบคำถาม
ขั้นตอนที่ 3 หาแนวทางแก้ปัญหา
ระดมสมอง เลือก และวางแผน (สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งของ CBL คือการมีทางเลือกหลายทาง แล้วหาทางแก้จากทางเลือกนั้นๆเพียงทางเลือกเดียว)โดยการ
-  ตั้งคำถามย่อยเพื่อให้เกิดการกระตุ้นให้คิดและต่อยอดความคิดแก้ปัญหา
      -  ดำเนินการเพื่อให้เกิดการตอบคำถามย่อย
      -  หาแหล่งข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้เกิดการตอบคำถามย่อย
ขั้นตอนที่ 4  คำตอบและการนำเอาคำตอบไปใช้
หลังจากระบุทางเลือกแล้ว นักเรียนจะนำเอาทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาไปใช้ วัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนคิดให้เห็นว่าอะไรใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ และให้ระบุว่าพวกเขามีความก้าวหน้าในการศึกษานี้หรือไม่ เมื่อพวกเขาทำเสร็จกระบวนการแล้วก็ให้พวกเขานำเอาการสะท้อนคิดที่ได้ นำไป แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น ๆ
เคล็ดลับสำหรับขั้นตอนนี้ได้แก่ การแจ้งข้อมูลให้กับสมาชิกทุกคนทราบ การสอนให้นักเรียนเข้าใจประเภทข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูล การใช้ เทคโนโลยี
ขั้นตอนที่ 5  การประเมินผล โดยการนำเสนอผลลัพธ์และผลของการสะท้อนคิดของนักเรียน
การสะท้อนคิดอาจใช้วิธีการใดก็ได้เช่น การเขียน ชิ้นงาน การนำเสนอ การอภิปราย การทำวิดีโอการอัดเสียง เป็นต้น
3. การสร้างความรู้(Constructivism)
ประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม โดยใช้กระบวนการทางปัญญา(cognitive apparatus) ของตน
ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี คือ การเรียนรู้ตามแนว Constructivism คือ โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความพยายามทางความคิด ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้ แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
ลักษณะการพัฒนารูปแบบการสอน
    1.  การสอนตามแนว Constructivism เน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสำคัญของความรู้เดิม
    2.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ ผู้เรียนจะเป็นผู้ออกไปสังเกตสิ่งที่ตนอยากรู้ มาร่วมกันอภิปราย สรุปผลการค้นพบ แล้วนำไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารวิชาการ หรือแหล่งความรู้ที่หาได้ เพื่อตรวจความรู้ที่ได้มา และเพิ่มเติมเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ต่อไป
3.  การเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง จนค้นพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ เรียนรู้วิเคราะห์ต่อจนรู้จริงว่า ลึก ๆ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีความสำคัญมากน้อยเพียงไร และศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งลงไป จนถึงรู้แจ้ง
บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ผู้สอน
    1.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต สำรวจเพื่อให้เห็นปัญญา
    2.  มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เช่นแนะนำ ถามให้คิด หรือสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
    3.  ช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นต่อ ๆ ไป ให้ทำงานเป็นกลุ่ม
    4.  ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิดและทักษะการคิดต่าง ๆ การปฏิบัติการแก้ปัญหาและพัฒนาให้เคารพความคิดและเหตุผลของผู้อื่น
บทบาทของผู้เรียน
           ในการเรียนตามทฤษฎี Constructionism ผู้เรียนจะมีบทบาทเป็นผู้ปฎิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆกันด้วยตัวของเขาเอง(ทำไปและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน) บทบาทที่คาดหวังจากผู้เรียน คือ
    1) มีความยินดีร่วมกิจกรรมทุกครั้งด้วยความสมัครใจ
              2) เรียนรู้ได้เอง รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ด้วยตนเอง
3) ตัดสินปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล
4) มีความรู้สึกและความคิดเป็นของตนเอง
5) วิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นได้
6) ให้ความช่วยเหลือกันและกัน รู้จักรับผิดชอบงานที่ตนเองทำอยู่และที่ได้รับมอบหมาย
7) นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้นั้น
สรุป  ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง คือ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองนี้จะไม่เน้นการให้เนื้อหาที่ผู้เรียนจะต้องเรียนแต่เน้นที่ตัวผู้เรียน และประสบการณ์ของผู้เรียน เพอร์กินได้อธิบายว่า Constructivism ก็คือการที่ผู้เรียนไม่รับเอา หรือเก็บเอาไว้ แต่เฉพาะข้อมูล ที่ได้รับแต่ต้องแปลความ ของข้อมูลเหล่านั้น โดยประสบการณ์ และเสริมขยาย ตลอดจนทดสอบ การแปลความนั้นด้วย
ณัฐพล บัวอุไร (2554)  การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Constructivism). รายงานการวิจัย: โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ.
ทิศนา  แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


1.ผู้สอนต้องให้บริบทการเรียนรู้ที่มีความหมาย เพื่อสนับสนุนแรงจูงใจภายในของผู้เรียนและ การควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของผู้เรียน
2. สร้างรูปแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากสิ่งที่รู้แล้วไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ รูปแบบนี้จะคล้ายกับ ทฤษฎีการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย ของออสซูเบล คือให้เรียนรู้จากสิ่งที่มีประสบการณ์มาก่อนไปสู่สิ่งที่เป็นเรื่องใหม่
3. ให้เกิดความสมดุลระหว่างการเรียนรู้แบบอนุมาน(Deductive) และอุปมาน (Inductive) คือ เรียนจากเรื่องทั่วไปไปสู่เรื่อง เฉพาะเจาะจง และเรียนจากเรื่องเฉพาะหรือตัวอย่างต่างๆ ไปสู่หลักการ ให้มีอย่างสมดุลไม่มากน้อยกว่ากัน เพื่อให้รู้วิธีการเรียน ในการแก้ปัญหาทั้ง 2 แนวทาง
4. เน้นประโยชน์ของความผิดพลาด แต่ทั้งนี้การผิดพลาดนั้นจะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อเป้า ประสงค์ของกิจกรรมนั้น ชัดเจน เพื่อผู้เรียนจะได้หาวิธีแก้ไขข้อผิดพลาดไปสู่เป้าประสงค์นั้นได้ถูกต้อง
5. ให้ผู้เรียนคาดการณ์ล่วงหน้า และรักษาไว้ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามโอกาสอำนวยเนื่องจาก ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ไม่ได้มี การกำหนดแนวทาง ความคิดอย่างแน่นอนตายตัว ดังนั้นผู้เรียนอาจแสวงประสบการณ์การเรียนรู้ได้ ตามสภาพแวดล้อม หรือเหตุการณ์ที่อำนวยให้ หลักการนี้เหมาะสม สำหรับการออกแบบ การสอนที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ ผ่านคอมพิวเตอร์