การวิเคราะห์ความสามารถในการเรียนรู้ (Learning Ability) และวัฒนธรรมของผู้เรียน (Learner cultural)
จริยา ทองหอม 28 กันยายน 2557
ผลการวิเคราะห์
|
แนวทางการนำไปใช้
|
ความสามารถในการเรียนรู้ (Learning Ability) เป็นการเรียนรู้ตามสมรรถภาพของบุคคลที่ทำงานต่างๆได้ จำแนกเป็น
1.
ความสามารถทางสติปัญญา (Intellectual
Ability)
2. ความสามารถทางกายภาพ (Physical Ability)
3. ความสามารถทางวุฒิภาวะทางอารมณ์
(Emotional Quotient) (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2557)
ความสามารถในการเรียนรู้
(Learning
Ability)
ตามหลักการทฤษฎีพัฒนาการทางติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget:
Cognitive Development Theory) เรียกพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นว่า
Formal
Operation เป็นวัยที่สามารถคิดได้แบบผู้ใหญ่ คือ
- คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้
- สนใจในปรัชญาชีวิต ศาสนา
อาชีพ
- ใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ
- คิดเหตุผลได้ทั้งแบบอนุมานและอุปมาน
- สนใจเกี่ยวกับความยุติธรรม ความเสมอภาคและมนุษยธรรม
กระบวนการทางสติปัญญาของเพียเจต์ เป็น
กระบวนการทางสมองที่มีลักษณะ ดังนี้
1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็น
การรับประสบการณ์ และข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บสะสมไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) เป็น
การปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้
เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.
การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นการปรับประสบการณ์เก่าและใหม่ให้กลมกลืนเกิดสภาพที่สมดุล
หากไม่สามารถปรับให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
ทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) และ
ทักษะทางจิต(mental skills) ที่สำคัญในการกำหนดความสามารถทางการเรียนรู้ของบุคคล (Sharon J.
Derry.1986 ) ประกอบด้วย
สมาธิ (Concentration) สมาธิจะเกิดขึ้น
เมื่อจิตใจจดจ่ออยู่กับจุดใดเพียงจุดเดียว
หรือมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น
นักเรียนต้องมีสมาธิและความสนใจในการทำการบ้าน
หรือการทดสอบเพื่อได้รับผลการเรียนที่ดี
นักกีฬาต้องมีสมาธิและความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม การพัฒนาความสามารถของการมีสมาธิ(Concentration) จะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายในการเรียนหรือการทำงานได้อย่างง่ายดาย
การรับรู้ (Perception) เป็นผลมาจากการใช้
อวัยวะรับสัมผัส
(Sensory motor)
ทั้ง 5 ชนิด คือ
ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง จากการวิจัยพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75 % การได้ยิน 13 % การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3%
ความจำ (Memory) ระบบความจำของคน
ตามทฤษฎีความจำสองกระบวนการ (Two – Process Theory
of Memory) ของแอตคินสันและชิฟฟริน (Atkinson & Shiffrin.1968) มี 3 ระบบ คือ
- ความจำการรู้สึกสัมผัส
(sensory Memory)
- ความจำระยะสั้น (Short-Term
Memory)
- ความจำระยะยาว (Long-Term
Memory)
ลักษณะสำคัญคือ STM เป็นความจำชั่วคราว
สิ่งที่อยู่ใน
STM ต้องมีการทบทวนตลอดเวลา จนกว่าจะฝังตัวใน LTM ซึ่งเป็นความจำที่คงทนถาวร
เมื่อต้องการใช้หรือมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาสะกิดใจก็สามารถจะรื้อฟื้นขึ้นมาได้
ผลการวิจัยพบว่า โดยเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมง
บุคคลจะลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ประมาณ
80% การพัฒนาหน่วยความจำระยะยาวจะช่วยให้นักเรียน
มีความสามารถในการจัดเก็บและเรียกดูข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking)
การคิดเชิงตรรกะ
หรือการคิดอย่างมีเหตุผล
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้ข้อสรุป
(Sharon
J. Derry)
|
1. การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียน ดังนี้
- นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
ไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก
ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถไปตามระดับพัฒนาการของตนเอง
- นักเรียนแต่ละคนควรได้รับประสบการณ์
2 แบบ คือ
- ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical
experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ
ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
- ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์
(Logicomathematical
experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้เกิดความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม
·
2.
การนำไปใช้ในการสร้างหลักสูตร หลักสูตรที่สร้างตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ควรมีลักษณะดังนี้
- เน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
- เน้นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนพบความแปลกใหม่ - เน้นการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการค้นพบ - เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน - ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) เน้นการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
- ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
- ครูผู้สอนควรพูดให้น้อย และฟังให้มากขึ้น - ให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ - เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ใหม่ ให้นักเรียนได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง - ยอมรับความจริงว่านักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน - ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนสามารถเพิ่มระดับความคิดขั้นต่อไปได้ - ตระหนักว่าการเรียนรู้ด้วยการจดจำ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)
4. การประเมินผล ดังนี้
- มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
- พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอบคำถาม - ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้น
5. การจัดการเรียนรู้สำหรับวัยรุ่น ควรจัดให้รู้จัดคิด
ตัดสินใจ แก้ปัญหา เช่น การแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวิทยาศาสตร์
การสอนแบใช้ความคิดรวบยอด
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการ
เรียนรู้ของเด็ก (Sharon J. Derry.1986)
1.
ครูผู้สอนมีความสงบ ใจเย็น เป็นกัลยาณมิตร (Having Calm, good, kind instructor)
2.
การมีสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่มเพื่อน (Having good student-staff relations)
3.
ครูผู้สอนมีทักษะการสอน (Competent teaching skills of instructor)
4.
บรรยากาศ สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ (A lively atmosphere)
5.
อิสระภาพในการเรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
(Able to work in their pace)
6.
การปฏิบัติจริง
(Able to practice what they have learnt)
|
วัฒนธรรมของผู้เรียน (Learner
cultural)
Generation Z กับกระบวนการเรียนรู้
1. เกิดมาในสภาพแวดล้อมของนวัตกรรมละเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม
คือ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ชอบเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม
คนที่เกิดใน Generation z (พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน)
เป็นวัยที่เติบโตพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่รายล้อม
มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ชีวิตติดอยู่กับเครื่องมือสื่อสารตลอดเวลา สามารถดึงข้อมูลและเรียนรู้ได้เร็ว
ต้องการคำตอบหรือผลลัพธ์ทันที สามารถทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน
ให้ความสำคัญกับความรวดเร็วมากกว่าความถูกต้อง ปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ดี ขาดความอดทน
ไม่ชอบการรอคอยและการแบ่งชนชั้น เป็นต้น แต่สิ่งที่เด็กรุ่น Gen-Z แตกต่างจากรุ่นอื่น
ๆ คือ เด็กรุ่นนี้จะ
เห็นภาพพ่อและแม่ต้องออกไปทำงานทั้งคู่ และเด็ก Gen-Z หลาย ๆ
คนจึงได้รับการเลี้ยงดูจากคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ของตัวเอง
ศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษแห่งการหลอม
รวมวัฒนธรรม การสร้างความร่วมมือในทุกระดับภูมิภาคเพื่อขยายฐานอำนาจและเพิ่มพลังการต่อรองระหว่างกัน
การขับเคลื่อนทุกหน่วยสังคมจะมุ่งสู่ความเป็นหนึ่งเดียว
โลกกำลังจะก้าวสู่ความเป็นหนึ่งเดียว และวัฒนธรรมเดียว
|
ทักษะของคนในศตวรรษที่
๒๑ ที่ทุกคนต้อง
เรียนรู้ตลอดชีวิต คือ ๓R x ๗C
๓
R ได้แก่ Reading (การอ่าน),
‘Riting
(writing = การเขียน) และ ‘Rithmetics
(arithmetics =คณิตศาสตร์)
๗
C ได้แก่ Critical thinking &
problem
solving (การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา) Creativity
& innovation (ความคิดสร้างสรรค์และการคิดค้นนวัตกรรม) Cross-cultural
understanding (ความเข้าใจบนวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย) Collaboration,
teamwork & leadership (การประสานความร่วมมือ
การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ) Communications, information & media
literacy (การสื่อสาร และการมีความรู้เท่าทันสื่อและข้อมูล) Computing
& ICT literacy (คอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศ) Career
& learning skills (ทักษะอาชีพและการเรียนรู้)
ทักษะที่จำเป็นในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. แสวงหาความรู้ตลอดชีวิต
2. คิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
วิพากษ์
3. คิดทำงานเชิงสร้างสรรค์
4. เจริญจิตปัญญา
สร้างความดี
5. สื่อสาร ถ่ายทอดความคิด
6. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
7. ทำงานร่วมกับผู้อื่น
8. แก้ปัญหาได้
9. บริหารความขัดแย้งได้
10. ดำรงชีวิตในโลกปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
ที่มา:
นูรุลอินซาน กอระ.(ม.ป.ป). จิตวิทยาสำหรับครู.
เว็บไซต์ http://405404027.blogspot.com/2012/10/blog-post_5215.html
ค้นคืนวันที่
27 กันยายน 2557
ราชบัณฑิตยสถาน.
(2555). พจนานุกรม ศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์
วิกิพีเดีย
สารานุกรมเสรี https://th.wikipedia.org/wiki. ค้นคืนวันที่ 27 กันยายน
2557
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล.
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย. ปริญญาเอกสาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19 กรกฎาคม 2556. (Power point)
Cultural Considerations. http://www.learningandteaching.info/learning/constructivism.htm. ค้นคืนวันที่ 27 กันยายน
2557
David
Scott. (2013). Theories of Learning.
SAGE. London.
James
Bellanca and Ron Brandt. (2010). 21st Century Skills. Rethinking How Students Learn.
U.S.A.
Ralph
W. Tyler. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. The University
of Chicago Press. Chicago and
London.
Rita
C. Richey, James D. Klein, and Monica W. Tracey. (2011). The Instructional Design Knowledge Base.
Theory,
Research and Practice. New York.
Sharon
J. Derry. (1986) Designing Systems that Train Learning
Ability: From Theory to Practice. Florida State
University. Debra
A. Murphy University
of Mississippi Medical Center.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น