วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แก่นพุทธศาสน์

แก่นพุทธศาสน์
โดย... จริยา ทองหอม
17 ธันวาคม 2560


แก่นพุทธศาสน์เป็นหนังสือที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้แสดงถึงใจความสำคัญของพระพุทธศาสนาไว้  3  เรื่อง  ได้แก่  ใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา  ความว่าง  และวิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่าง  



แก่นพุทธศาสน์เกิดจากคำตอบที่มีผู้ทูลถามให้พระพุทธเจ้าทรงช่วยสรุปพระวจนะทั้งหมดด้วยประโยคสั้นๆ เพียงประโยคเดียว  พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า  "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย"  ซึ่งแปลว่า  "สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"  



1. ใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา  ท่านพุทธทาสภิกขุ  (17 ธันวาคม พ.ศ. 2504) ได้แสดงถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น  



2. ความว่าง  ท่านพุทธทาสภิกขุ (7 มกราคม พ.ศ. 2505) ได้แสดงถึง ความว่าง ไว้ว่า  พระนิพพาน เป็นความว่างอย่างยิ่ง ตรงกับ พุทธภาษิตที่ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ  ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในชีวิตนี้ 



3. วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่าง ท่านพุทธทาสภิกขุ (21 มกราคม พ.ศ. 2505) ได้แสดงถึง การปฏิบัติเพื่อความว่าง  ว่ามีการปฏิบัติ ๓ โอกาส ได้แก่ เวลาปรกติ  เวลามีอารมณ์มากระทบ และขณะจะดับจิต  แต่ท่านจะเน้นที่วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่างในชีวิตประจำวัน เพราะจะช่วยให้อยู่อย่างสงบป้องกันโรคทางวิญญาณได้เป็นอย่างดี 



กล่าวโดยสรุป ใจความสำคัญของแก่นพุทธศาสน์ที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้แสดงแก่คณะแพทย์  ณ โรงพยาบาลศิริราช  มีจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ 
1. ใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา หรือหัวใจของพุทธศาสนา คือ สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (17 ธันวาคม พ.ศ. 2504)
2. ความว่าง  ธรรมที่เป็นประโยชน์แก่ฆราวาส คือ เรื่อง  สุญญตา  (7 มกราคม พ.ศ. 2505)
3. วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่าง  ซึ่งการปฏิบัติเพื่อความว่าง มีอยู่ ๓ โอกาส คือ ปรกติ กระทบ และช่วงจะดับจิต (21 มกราคม พ.ศ. 2505)  



.....

ที่มาพุทธทาสภิกขุ. (ม.ป.ป.). แก่นพุทธศาสน์. กรุงเทพฯ:ธรรมสภา.
จริยา ทองหอม. (2560 ธันวาคม, 17) . แก่นพุทธศาสน์. จาก https://tonghom2009.blogspot.com

จริยา ทองหอม. แก่นพุทธศาสน์.  สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2560.  จาก   https://th.wikipedia.org/wiki/แก่นพุทธศาสน์   



วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทเรียนนอกตำรา

บทเรียนนอกตำรา
แนวโน้มการศึกษาที่ทั่วโลกสนใจ
โดย... จริยา ทองหอม
16/12/2560


การจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ สังคม และสภาพความเป็นอยู่ทางกายภาพ ซึ่งความต้องการในระดับสากลจะคำนึงถึงธรรมชาติโดยรอบ มิได้มุ่งเน้นแต่การวัดผลความสำเร็จทางการเรียนและสติปัญญาของเด็กๆ เพียงอย่างเดียว  ซึ่งแนวโน้มการจัดการศึกษาที่ทั่วโลกต้องการ  มี 7 ลักษณะ ดังนี้ 


1. การให้ความสำคัญต่อชุมชนและความรับผิดชอบ  การส่งเสริมทางด้านระเบียบวินัย ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและชุมชนเป็นความพยายามของญี่ปุ่นที่ต้องการสอนให้เด็กๆได้เรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบและสามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งยังต้องการให้เป็นแบบอย่างแก่ชุมชนที่ต้องการให้คนในชุมชนนั้นมีส่วนร่วมช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน
 2. การศึกษาธรรมชาติ  การศึกษาธรรมชาติหรือโรงเรียนในป่าเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนในห้องเรียนเพื่อไปปรับใช้ในโลกของชีวิตจริงตามธรรมชาติควบคู่ไปกับการส่งเสริมปรับปรุงสนามเด็กเล่นทั่วประเทศ
3. โรงเรียนเตรียมอนุบาล  การเตรียมพร้อมเด็กก่อนเข้าสู่วัยเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์ที่สำคัญของเด็กก่อนเข้าวัยเรียน
4. นโยบายเพื่อครอบครัวเด็กเล็ก  ปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จในการจัดการศึกษามาจากมุ่งเน้นให้ครอบครัวเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการปลูกฝังการศึกษาและการเรียนรู้ของบุตร
5. โครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็ก  การกำหนดเมนูอาหารกลางวันสำหรับเด็กต้องครบตามหลักโภชนาการ และอาหารห้าหมู่
6. โต๊ะยืนเรียน  เป็นการทดลองเปลี่ยนโต๊ะเรียนจากการนั่งเรียนแบบเดิมๆ ให้เป็นโต๊ะเรียนที่สามารถปรับเปลี่ยนความสูงเพื่อการสลับระหว่างการนั่งกับการยืนได้
7. เทคโนโลยีเพื่อการเรียน  คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน  การทำงานร่วมกัน เพื่อการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน


ที่มา:  
- จริยา ทองหอม. (2560 ธันวาคม, 16). บทเรียนนอกตำรา แนวโน้มการศึกษาที่ทั่วโลกสนใจ
จาก  https://tonghom2009.blogspot.com  
- มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2558 ธันวาคม 21). 7 แนวโน้มการศึกษาทั่วโลก ที่มุ่งเน้นบทเรียนนอกตำราสืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก  http://www.ires.or.th/?p=612

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Mobile Art :: Photos of King Rama IX

Mobile  Art :: Photos of King Rama IX
โดย  จริยา ทองหอม

11 ธันวาคม 2560


Mobile  Art :: Photos of King Rama IX  เป็นการนำภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สืบค้นจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เนตมาตกแต่งด้วย Application บน Mobile ด้วยความรักและคิดถึงพระองค์ 



ภาพถ่ายเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์

เราจะคุ้นเคยกับภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงถือกล้องถ่ายภาพไว้ในพระหัตถ์เสมอไม่ว่าพระองค์จะเสร็จไปที่ใด




การถ่ายภาพฝีพระหัตถ์ของพระองค์ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การถ่ายภาพแนวจิตรศิลป์ และการถ่ายภาพแสดงพระปณิธานในการพัฒนาประเทศ




ดังเช่น พระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารสมาคมถ่ายภาพ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ความตอนหนึ่งว่า




 “การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ เป็นของดีมีประโยชน์ ขออย่าให้ถ่ายภาพกันเพื่อความสนุกสนาน หรือความสวยงามเท่านั้น จงใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคม ให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม งานศิลปะจะได้ช่วยพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง




ที่มา
- จริยา ทองหอม. (2560 ธันวาคม, 11). Mobile  Art :: Photos of King Rama IX.
 จาก https://www.facebook.com/profile.php?id=100001093292112
- จริยา ทองหอม. (2560 ธันวาคม, 10). นวัตกรออนไลน์  "ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9".
จาก https://www.facebook.com/JariyaTonghom/?pnref=lhc
- ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2560
จาก  https://www.bigcamera.co.th/news/king-photography-skill.html


SWU Movies

SWU Movies
โดย :: จริยา ทองหอม 
11 ธันวาคม 2560


.....


SWU Movies เป็นคลิปที่เกี่ยวข้องกับ SWU จัดทำระหว่างปี 2556 - 2560 เผยแพร่บนเว็บไซต์ Youtube มีดังนี้
1. ศาสตร์พระราชา
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=Dtx_JvK_0ZY
2. การแรเงา: ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=FzX4rnlimd8
3. ครูดีศรีแผ่นดิน: รศ.ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ และ ผศ.ดร.มารุต พัฒผล
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=jqTP_73qZvs
4. MOOC: ความคิดสร้างสรรค์
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=r8twO9JfRvA
5. MOOC: NPCD
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=IeRegl1_3Ww
6. MOOC: CAR
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=eoENCcBC6F8
7. MOOC: PTA
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=CzKmBSyCQZY
8. MOOC: LTWBSS_CR&D
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=WegPPAqtLXo
9. MOOC: Insight New Education
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=Fy6ooRpT7Pg
10. ต้นไม้ของพ่อ: ICT Curriculum
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=L18LSs2ptTw
11. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research)
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=oZi_ZbZmmgs
12. วิจัยและพัฒนาหลักสูตร มศว รุ่น 22
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=41hS6AJ6BYs
13. โอ้ละหนอเชียงใหม่ 2557
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=LyzJOu7Gr4s
14. swu 2014: รศ.ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=oYgnYdh-nbY
15. สัมมนาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มศว.รุ่น 22
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=bCGutYDcBJE
16. วันเด็ก 2557 บัณฑิตวิทยาลัย มศว
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=yDqSe3mIb-A
17. ศาสตร์และศิลป์แห่งการหัวเราะบำบัด
https://www.youtube.com/watch?v=xNfoJwI4Obw
18. SWU Congratulation 2013
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=gmS-Ejwiaw8
19. SWU congratulation_2
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=FRA4Y19Yxak
20. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=TE5ZGQ3JqIA
21. พุุทธศึกษา_Buddhism.
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=Rkt71aFQbsk
22. New Paradigm1
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=PKKdM-EUUTY
23. Advanced Research
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=1RV5ZGCHndQ
24. New Paradigms.
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=VP2FmolTX-k
25. AYUTTHAYA TOUR
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=OMzYyzcamAA
.....








วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การจัดการเรียนรู้ตามหลักการ “ศาสตร์พระราชา”


การจัดการเรียนรู้ตามหลักการ ศาสตร์พระราชา
โดย  จริยา ทองหอม (2560 ธันวาคม, 6)

 .....
ภาพที่ 1  Brain Gym กิจกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ  เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง



ภาพที่ 2 Group Process  เรื่อง งานปั้น แบ่งกลุ่มนักเรียน คิดหัวข้อเรื่อง  ออกแบบภาพ 
เตรียมวัสดุอุปกรณ์  ประดิษฐ์ผลงาน



ภาพที่ 3  Present  นักเรียนออกมานำเสนอผลงาน  บอกเล่าความรู้สึกของตนเองที่มีต่อผลงาน
รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน ๆ และคุณครูเพิ่มเติม



ภาพที่ 4  Evaluation ติดตาม ประเมินผล ตรวจผลงานนักเรียน




ที่มา :: 
Kanchit Manoonphol. นวัตกรรม "ศาสตร์พระราชา" . สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2560. 
จาก https://www.facebook.com/kanchit.manoonphol
จริยา ทองหอม (2560 ธันวาคม, 6).  การจัดการเรียนรู้ตามหลักการ “ศาสตร์พระราชา”. 
กลุ่มสาระศิลปะ ชั้น ม.1  โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ  อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช
จาก https://tonghom2009.blogspot.com




วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

มรดกธรรม

มรดกธรรม
จริยา ทองหอม
26 พฤศจิกายน 2560

ปุจฉา: อะไรเอ่ย  กว้างศอก  ยาววา  หนาคืบ?


เฉลย: คน
พุทธะ
กินข้าวจานแมว   อาบน้ำในคู
นอนในเล้าหมู  ฟังยุงร้องเพลง



ปณิธานของหลวงพ่อพุทธทาส 3 ประการ ที่ขอฝากไว้กับอนุชน

1. การเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน ๆ  ชาวพุทธ ได้แก่  อิทัปปัจจยตา ตะถะตา สุญยตา ซึ่งนำไปสู่ความไม่เห็นแก่ตัวทุกระดับ และเป็นจุดหมายสูงสุดของทุกศาสนา


2. การทำความเข้าในระหว่างศาสนา
3. การออกมาเสียจากอำนาจวัตถุนิยม  วัตถุนิยมเป็นความรู้ที่ขาดสติปัญญา  วัตถุนิยมเป็นทาสทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย มีสติปัญญาใช้อายาตนะเพื่อการศึกษา ให้วัตถุรับใช้จิต  ให้จิตอยู่เหนืออำนาจสิ่งใด ๆ  ความสุขที่แท้จริงคืออยู่เหนือวัตถุ

สำเร็จเมื่อใด โลกก็เป็นอมตมหานิพพาน



ที่มา:  จริยา ทองหอม. (2551 มีนาคม 15). มรดกธรรม. หนังสือเล่มเล็กตามรอยธรรมะของหลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ  สวนโมกข์พลาราม ไชยา สุราษฎร์ธานี.