บทเรียนนอกตำรา
แนวโน้มการศึกษาที่ทั่วโลกสนใจ
โดย...
จริยา ทองหอม
16/12/2560
การจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ
สังคม และสภาพความเป็นอยู่ทางกายภาพ ซึ่งความต้องการในระดับสากลจะคำนึงถึงธรรมชาติโดยรอบ
มิได้มุ่งเน้นแต่การวัดผลความสำเร็จทางการเรียนและสติปัญญาของเด็กๆ
เพียงอย่างเดียว ซึ่งแนวโน้มการจัดการศึกษาที่ทั่วโลกต้องการ มี 7 ลักษณะ ดังนี้
1.
การให้ความสำคัญต่อชุมชนและความรับผิดชอบ การส่งเสริมทางด้านระเบียบวินัย
ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและชุมชนเป็นความพยายามของญี่ปุ่นที่ต้องการสอนให้เด็กๆได้เรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบและสามารถพึ่งพาตนเองได้
อีกทั้งยังต้องการให้เป็นแบบอย่างแก่ชุมชนที่ต้องการให้คนในชุมชนนั้นมีส่วนร่วมช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน
2. การศึกษาธรรมชาติ การศึกษาธรรมชาติหรือโรงเรียนในป่าเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนในห้องเรียนเพื่อไปปรับใช้ในโลกของชีวิตจริงตามธรรมชาติควบคู่ไปกับการส่งเสริมปรับปรุงสนามเด็กเล่นทั่วประเทศ
3. โรงเรียนเตรียมอนุบาล การเตรียมพร้อมเด็กก่อนเข้าสู่วัยเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์ที่สำคัญของเด็กก่อนเข้าวัยเรียน
4. นโยบายเพื่อครอบครัวเด็กเล็ก ปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จในการจัดการศึกษามาจากมุ่งเน้นให้ครอบครัวเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการปลูกฝังการศึกษาและการเรียนรู้ของบุตร
5. โครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็ก การกำหนดเมนูอาหารกลางวันสำหรับเด็กต้องครบตามหลักโภชนาการ
และอาหารห้าหมู่
6. โต๊ะยืนเรียน เป็นการทดลองเปลี่ยนโต๊ะเรียนจากการนั่งเรียนแบบเดิมๆ
ให้เป็นโต๊ะเรียนที่สามารถปรับเปลี่ยนความสูงเพื่อการสลับระหว่างการนั่งกับการยืนได้
7.
เทคโนโลยีเพื่อการเรียน คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ
ตั้งแต่การวางแผน การทำงานร่วมกัน เพื่อการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
ที่มา:
- จริยา
ทองหอม.
(2560 ธันวาคม, 16). บทเรียนนอกตำรา แนวโน้มการศึกษาที่ทั่วโลกสนใจ.
จาก https://tonghom2009.blogspot.com
- มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2558 ธันวาคม 21). 7 แนวโน้มการศึกษาทั่วโลก ที่มุ่งเน้นบทเรียนนอกตำรา. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก http://www.ires.or.th/?p=612
จาก https://tonghom2009.blogspot.com
- มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2558 ธันวาคม 21). 7 แนวโน้มการศึกษาทั่วโลก ที่มุ่งเน้นบทเรียนนอกตำรา. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก http://www.ires.or.th/?p=612
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น