วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การพัฒนาศักยภาพการโค้ชเพื่อการรู้คิด

การพัฒนาศักยภาพการโค้ชเพื่อการรู้คิด
โดย จริยา ทองหอม
19/11/2560

        
          การโค้ชเพื่อการรู้คิด (cognitive coaching) เป็นบทบาทของครูที่จะพยายามดึงศักยภาพของผู้เรียนทั้งด้านความรู้ และทักษะต่างๆ ที่ผู้เรียนมีออกมา โดยการทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสามารถของตนเองและมีวิธีในการปฏิบัติเพื่อให้ตนเองประสบความสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายได้ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) มีเทคนิคในการโค้ช เช่น การใช้คำถามกระตุ้นคิดเพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นตนเอง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองเพื่อมุ่งมั่นให้บรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ การจูงใจและให้กำลังใจกับผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองและพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ ครูที่จะเป็นผู้โค้ชที่ดีจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการ คือ มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาสาระที่ตนจัดการเรียนรู้ และสามารถนำความคิดรวบยอด (concept) ของความรู้นั้นมาใช้ในการปฏิบัติจริง (วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล, 2557)





Credit:
- วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
- จริยา ทองหอม. (2560 พฤศจิกายน, 19). การพัฒนาศักยภาพการโค้ชเพื่อการรู้คิด.
จาก https://tonghom2009.blogspot.com/2017/11/blog-post_19.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น