แก่นพุทธศาสน์
โดย...
จริยา ทองหอม
17
ธันวาคม 2560
แก่นพุทธศาสน์เกิดจากคำตอบที่มีผู้ทูลถามให้พระพุทธเจ้าทรงช่วยสรุปพระวจนะทั้งหมดด้วยประโยคสั้นๆ
เพียงประโยคเดียว พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "สพฺเพ
ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" ซึ่งแปลว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"
1. ใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา ท่านพุทธทาสภิกขุ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2504) ได้แสดงถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
2.
ความว่าง ท่านพุทธทาสภิกขุ (7 มกราคม พ.ศ.
2505) ได้แสดงถึง ความว่าง ไว้ว่า พระนิพพาน
เป็นความว่างอย่างยิ่ง ตรงกับ พุทธภาษิตที่ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในชีวิตนี้
3.
วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่าง ท่านพุทธทาสภิกขุ (21 มกราคม พ.ศ. 2505) ได้แสดงถึง การปฏิบัติเพื่อความว่าง ว่ามีการปฏิบัติ ๓ โอกาส ได้แก่ เวลาปรกติ เวลามีอารมณ์มากระทบ และขณะจะดับจิต แต่ท่านจะเน้นที่วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่างในชีวิตประจำวัน
เพราะจะช่วยให้อยู่อย่างสงบป้องกันโรคทางวิญญาณได้เป็นอย่างดี
กล่าวโดยสรุป
: ใจความสำคัญของแก่นพุทธศาสน์ที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้แสดงแก่คณะแพทย์
ณ โรงพยาบาลศิริราช มีจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
1.
ใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา หรือหัวใจของพุทธศาสนา คือ
สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (17 ธันวาคม พ.ศ. 2504)
2.
ความว่าง ธรรมที่เป็นประโยชน์แก่ฆราวาส
คือ เรื่อง สุญญตา (7 มกราคม พ.ศ. 2505)
3.
วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่าง ซึ่งการปฏิบัติเพื่อความว่าง มีอยู่ ๓ โอกาส คือ
ปรกติ กระทบ และช่วงจะดับจิต (21 มกราคม พ.ศ. 2505)
.....
.....
ที่มา: พุทธทาสภิกขุ. (ม.ป.ป.).
แก่นพุทธศาสน์. กรุงเทพฯ:ธรรมสภา.
จริยา
ทองหอม. (2560 ธันวาคม, 17) . แก่นพุทธศาสน์. จาก https://tonghom2009.blogspot.com
จริยา
ทองหอม. แก่นพุทธศาสน์. สืบค้นเมื่อ 17
ธันวาคม 2560. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/แก่นพุทธศาสน์