วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2562

หลักสูตรการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 2562




หลักสูตรการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปี พ.ศ.2562
(หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว33 ลว 24 ตุลาคม 2560)
จริยา ทองหอม
22 มิถุนายน 2562

ภาค ก ความรู้ทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (150 คะแนน) ให้ทดสอบด้วยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ตามรายละเอียด ดังนี้
1. ความรู้ทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
1)      นโยบายรัฐบาล นโยบายและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2)      กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
3)      กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  
4)      กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5)      กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
6)      กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
7)      กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
8)      เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
9)      ความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน โดยเน้นความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับพื้นฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์
2. ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (100 คะแนน)
1. งานการนิเทศ
1.1) การส่งเสริมและพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษา
1.2) การส่งเสริมการใช้หลักสูตร,การพัฒนาหลักสูตร,หลักการสอน,หลักจิตวิทยา และการจัดกระบวนการเรียนรู้
1.3) การส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
1.4) การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผล
1.5) การส่งเสริมการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
2. งานติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล
2.1) การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการวางแผนการนิเทศ และการพัฒนาวิชาการ
2.2) การนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล
2.3) การนำผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลไปใช้
3. การศึกษาค้นคว้าและการให้บริการทางวิชาการ
3.1) การจัดทำเอกสารทางวิชาการและเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอน
3.2) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
4. งานวิเคราะห์วิจัย
4.1) การวิเคราะห์วิจัย เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอน
4.2) การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
5. งานการพัฒนาครู
5.1) การพัฒนาครูและวิชาชีพครู
5.2) การส่งเสริมการเรียนรู้ของครู
5.3) บทบาทการเป็นผู้ชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการสำหรับครู
5.4) หลักการจัดการศึกษาผู้ใหญ่และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ภาค ข ความเหมาะสมกับตำแหน่ง  (200 คะแนน)
1.       ประเมินประวัติ  (50 คะแนน)
2.       ประเมินผลการปฏิบัติงาน  (50 คะแนน)
3.       ประเมินสมรรถนะ (50 คะแนน)
4.       สัมภาษณ์  (50 คะแนน) 


ที่มา:
การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2562
คู่มือการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 
สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2562

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562

อนาคตการศึกษาไทย


อนาคตการศึกษาไทยในปี 2573
จริยา ทองหอม
02 มิถุนายน  2562

จากรายงานการวิจัยด้านการศึกษาเปรียบเทียบการศึกษาของไทยกับประเทศชั้นนำ เช่น สาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐเกาหลี ทำให้พบลักษณะร่วมและข้อแตกต่างเกี่ยวกับนโยบายและวิธีการทำงานของ 3 ประเทศ คือ สาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐเกาหลี ที่มีคุณภาพของผลลัพธ์และผลผลิตของระบบการศึกษาอยู่ในระดับเดียวกัน ดังนี้

ลักษณะร่วม  ของ ประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐเกาหลี ได้แก่
1.       ให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศ
2.       สร้างความทั่วถึงและความเท่าเทียม เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.       ปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้
4.       ใช้ภาษามากกว่า 1 ภาษาในการเรียนการสอน โดยให้ความสำคัญกับภาษาแม่ของผู้เรียนระดับปฐมวัย ทั้งนี้มีการกระจายลักษณะร่วมนี้สู่การปฏิบัติในการจัดการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพร้อมร่วมมือกับกลุ่มต่างๆ ที่เป็นภาคีเครือข่ายเพื่อการขับเคลื่อนและปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาโดยยึดคุณภาพและความโปร่งใสเป็นสำคัญ
5.       ให้ความสำคัญกับคุณภาพครูในระดับสูง เห็นได้ชัดจากการคัดเลือกนักศึกษาครูกระบวนการผลิต การรับเข้าทำงาน การพัฒนา การวางเส้นทางวิชาชีพและการประเมิน เป็นที่น่าสังเกตว่าในเรื่องการวางเส้นทางวิชาชีพครูและการประเมินครูมิใช่จุดเน้นของสาธารณรัฐฟินแลนด์ เนื่องจากมีความเชื่อเบื้องต้นว่าครูมีสมรรถนะสูง รับผิดชอบสูง และสามารถกำกับตนเองได้

ข้อแตกต่าง ของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐเกาหลี
          เมื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประเทศไทยกับ 3 ประเทศ พบว่า มีข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่เทียบ คือ
1.  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นเนื้อหาการเรียนรู้มากกว่าบูรณาการเนื้อหา ทักษะแห่งศตวรรษ และสาระท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.  ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบและสนับสนุนการเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับทั้งสามประเทศ
3.   ในส่วนของการฝึกหัดครูนั้น พบว่า
3.1 ระบบการผลิตของไทยยังไม่สัมพันธ์กับระบบการใช้ครู
3.2 คุณสมบัติพื้นฐานผู้ที่จะเข้าเรียนยังไม่ได้อยู่ในระดับเก่งเท่ากับนักศึกษาครูของอีก 3 ประเทศ
3.3 สมรรถนะของบัณฑิตครูยังไม่สามารถสร้างศรัทธาให้กับวิชาชีพครูได้
3.4 วิชาชีพครูยังไม่เป็นตัวเลือกของผู้เรียนที่ถือเป็นระดับยอดของประเทศ

การศึกษาภาพอนาคตการศึกษาไทย ในปี พ.ศ. 2573  พบว่า ภาพอนาคตการศึกษาขั้นพื้นฐานและการฝึกหัดครูของประเทศไทย พ.ศ. 2573 จำแนกเป็น 5 ภาพหลัก ดังนี้

ภาพอนาคตที่ 1 กระจาย  ระบบบริหารการศึกษาไทยจะกระจายอำนาจการปฏิบัติสู่ท้องถิ่น แบบประสานพลังด้วยความร่วมมือร่วมใจ ร่วมรับผิดชอบ โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล มีการกำหนดนโยบายที่มีมาตรฐาน/ตัวชี้วัดกำกับชัดเจน และมีความยืดหยุ่นตามบริบทท้องถิ่น
ภาพอนาคตที่ 2 แกร่ง  หลักการพื้นฐานการจัดการศึกษาที่แข็งแกร่งด้วยการตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ยึดคุณภาพมาตรฐานระดับสากลตามแนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ใช้นวัตกรรมทางการศึกษาเป็นคานงัดคุณภาพมีระบบและกลไกเพื่อพัฒนาการวัดและการประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาแบบก้าวกระโดด
ภาพอนาคตที่ 3 หยั่งลึก หมายถึง การศึกษาปฐมวัยเป็นปัจจัยในการสร้างพื้นฐานของชีวิตที่แข็งแกร่ง และเป็นรากลึกสำหรับการเติบโตของประเทศอย่างมั่นคง
ภาพอนาคตที่ 4 ยกระดับ คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง เท่าเทียม สามารถร่วมมือและแข่งขันได้ในระดับสากล
ภาพอนาคตที่ 5 พลิกพลัง ของวิชาชีพครู ด้วยการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้เป็นวิชาชีพชั้นยอด มีความมั่นคงและยั่งยืน เป็นวิชาชีพชั้นสูงที่สังคมให้การยอมรับและเชื่อถือ

ที่มา: 
1. Education 2030  อนาคตการศึกษาไทย : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ฟินแลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้. 
จาก  https://www.salika.co/2018/12/24/education 2030 thailand and case studies/
2. ส่อง Roadmap 12 ปีข้างหน้า! การศึกษาไทยจะก้าวไกลเหมือนฟินแลนด์. (2561).
จาก  https://www.dek-d.com/education/50679/
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559).  รายงานวิจัยแนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและการเรียนรู้ของไทยในปี พ.ศ. 2573. กรุงเทพฯ.