วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

DEL Supervision



การนิเทศ แบบ DEL
(DEL Supervision)
จริยา ทองหอม
22 ธันวาคม 2562

การนิเทศ แบบ DEL หรือ DEL Supervision เป็นการนิเทศที่ศึกษานิเทศก์ต้องพัฒนาตนเองตามกรอบแนวคิดหลักในการพัฒนาสมรรถนะของศึกษานิเทศก์  3 ด้าน  ตามกระบวนการของ DEL Supervisionr ซึ่งประกอบด้วย Digital Literacy, English Skills  และ Leadership เพื่อให้มีความรู้ทักษะความสามารถในการนิเทศการศึกษา ดังนี้     


1. Digital Literacy :  9 Module  ตามมาตรฐานวิชาชีพของ  ก.พ. 
Digital literacy คืออะไร
ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ (สำนักงาน ก.พ.  ม.ป.ป.).
     ทักษะ Digital literacy ครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ  ได้แก่
1.       การใช้ (Use)
2.       เข้าใจ (Understand)
3.       การสร้าง (create)
4.       เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2. English Skills :  English Skills  ตามมาตรฐาน CEFR 
English Skills  ตามมาตรฐาน CEFR  คือ ถ้าเราต้องการทำ test  ที่มีการอ้างอิงตามมาตรฐาน CEFR หรือ The Common European Framework of Reference for Languages  ปัจจุบันกรอบอ้างอิง CEFR ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นมาตรฐานในการจัดลำดับความสามารถทางภาษาของแต่ละบุคคล
CEFR  คือ มาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาที่สหภาพยุโรปจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน และการประเมินภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ ที่สภาแห่งสหภาพยุโรปได้กำหนดให้ใช้กรอบอ้างอิง CEFR เพื่อการตรวจสอบความสามารถทางภาษา ในปี ค.ศ. 2002  ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการของไทย ก็ใช้ CEFR เป็นมาตรฐานในการวัดระดับทักษะครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ เช่นกัน
CEFR แบ่งระดับของทักษะออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ A1, A2, B1, B2, C1 และ C2 ซึ่งท่านสามารถวัดความสามารถของตนเองได้จากการทดสอบ และผลที่ได้รับจะช่วยบอกได้ว่า ท่านควรจะปรับปรุงตนเองมากน้อยเพียงใด ในด้านใดบ้าง  (e4thai.com. 2559)


3. Leadership : ภาวะผู้นำ
ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่ทำให้องค์การเจริญก้าวหน้าและบรรลุผลสำเร็จโดยเป็นผู้ที่มีบทบาทแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดความมั่นคงและช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม
Nelson และQuick (1997: 346) ให้ความหมายของภาวะผู้นำ (Leadership) ว่า หมายถึง กระบวนการในการแนะแนวและนำทางพฤติกรรมของคนในสภาพของการทำงาน Gibson, Ivancevich และ Donnelly (1997: 272) มองภาวะผู้นำ (Leadership) ในเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกในกลุ่ม โดยมีผู้นำเป็นตัวแทนในการเปลี่ยนแปลง เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นๆในกลุ่ม ภาวะผู้นำจึงเกี่ยวข้องกับการใช้อิทธิพลและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติงานของสมาชิกคนอื่นในกลุ่ม ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกลุ่มด้วย
ผู้นำอาจจะเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ ซึ่งเรามักจะรับรู้เกี่ยวกับผู้นำที่ไม่เป็นทางการอยู่เสมอ เนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะเด่นเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม ทำให้สมาชิกแสดงพฤติกรรมที่มีน้ำหนักและเป็นเอกภาพ โดยเขาจะใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติการและอำนวยการโดยใช้กระบวนการติดต่อสัมพันธ์กัน เพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายของกลุ่ม (ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ, 2535 อ้างถึง วิกิตำรา. 2561)



ที่มา:
จริยา ทองหอม. (2562). การออกแบบภาพประกอบ โดยใช้โปรแกรม Word Cloud.
วิกิตำรา. (2561). ภาวะผู้นำ.  สืบค้นเมื่อ  22 ธันวาคม 2562
จาก  https://th.wikibooks.org/wiki/ภาวะผู้นำ
สำนักงาน ก.พ. (ม.ป.ป.). Digital literacy ตามมาตรฐานวิชาชีพของ  ก.พ.  สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2562
จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp
e4thai.com. (2559). test ระดับภาษาอังกฤษของตัวเอง เทียบ CEFR.   สืบค้นเมื่อ  22 ธันวาคม 2562  
จาก http://www.e4thai.com/e4e/index









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น