วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567

การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม

 

การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม

 บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1)เพื่อพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (ร่าง) หลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม ขั้นตอนที่ 3  การทดลองใช้หลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่  การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t-test แบบ Dependent) ค่าอำนาจจำแนก แบบ Item total correlation ค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา โดยการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์จากการเอกสาร การทดลอง การบันทึกผลระหว่างการทดลอง บันทึกพฤติกรรมผู้เรียน และการนำเสนอผลงานของผู้เรียน

            ผลการวิจัยทำให้ได้หลักสูตรออนไลน์ กระบวนการจัดการเรียนรู้จินตวิศวกรรม และแนวทางการพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรมของผู้เรียน ตรวจสอบประสิทธิผลของหลักสูตรออนไลน์ โดยใช้แบบแผนการทดลอง แบบ One Group Pretest-Posttest Design ทำการทดลองกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  ผลการวิจัยพบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 ค่าที (t-test แบบ Dependent) เท่ากับ  9.81 ผลการประเมินหลักสูตรออนไลน์พบว่ามีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนด หลังจากการทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นและจัดทำเป็นหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรมฉบับสมบูรณ์

. 

ที่มา: 

1. การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม

https://drive.google.com/file/d/15PHQz3QtxePKGi4NF60ZQQBLSN-2MB2w/view

2. การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม

https://pubhtml5.com/jibv/blaw/

3. การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม

https://www.blogger.com/blog/post/edit/preview/4910359500721815216/5468012729652816543

4. จริยา  ทองหอม. (2560). การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2567

โครงการ “พาคิด+พาทำ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D”

 


โครงการ พาคิด+พาทำ  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

ผู้รับผิดชอบ นางสาวจริยา  ทองหอม      โทรศัพท์  080-532-2618

E-mail address  JT2554@gmail.com   

 

1. หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความชับซ้อน คลุมเครือ ไม่แน่นอนเกิดขึ้นตลอดเวลา หรือเรียกยุคนี้ว่า ยุค VUCA World ส่งผลให้มนุษย์จำเป็นต้องมีสมรรถนะ ทักษะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ชุดใหม่ที่เหมาะสมในการอยู่รอดอย่างปลอดภัย สถานศึกษาทุกระดับจะต้องปรับวิธีการเรียนการสอน นักเรียนจะเป็นฝ่ายเลือกสิ่งที่เรียนตามความสนใจและความพร้อมของตนเองและครอบครัว ได้เลือกสิ่งที่ตัวเองชอบหรืออยากเรียนในวิชาที่เหมาะสมกับธรรมชาติของตนเองมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายในระยะยาว หมดยุคการศึกษาภาคบังคับที่ทุกคนต้องเข้ามารวมกลุ่มเรียนรู้เนื้อหาเดียวกัน วิธีการเรียนรู้แบบเดียวกัน ทำแบบฝึกเหมือนกัน และสอบด้วยข้อสอบฉบับเดียวกันแล้ว โลกได้เปลี่ยนแปลงไปทุกๆด้าน ทั้งด้านสภาวะโลกร้อน ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านแรงงาน ซึ่งมีหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์มากขึ้น การศึกษาที่ผ่านมาส่งผลให้มนุษย์มีแต่ทักษะ

ต่ำ ๆ สร้างสรรค์ไม่เป็น แก้ปัญหาไม่ได้ ออกแบบพัฒนานวัตกรรมเพื่อตนเองไม่ได้ ทำได้เพียงทักษะลอกเลียนแบบ

ไปวัน ๆ เป็นการศึกษาที่ทำร้ายชาติพันธุ์ของมนุษย์ การศึกษาเช่นต้องหมดไปในเร็วพลัน

          ปัจจุบันพบว่า การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active  Learning) ของสถานศึกษา ไม่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ไม่สอดคล้องกับการวัดเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Assessment for Learning) ส่งผลให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ ไม่สามารถคิด และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ขาดการคิดวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึก โดยการสัมภาษณ์ครูและผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า จากการที่ผู้เรียนขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ ไม่มีทักษะในกระบวนการคิด ส่งผลให้เกิดปัญหาที่สำคัญคือ ผู้เรียนยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ และไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์กำหนดและวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนา และยกระดับคนไทยในทุกมิติและทุกช่วงวัย ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพ คนไทยในอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีทุกช่วงวัย                  มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง                   เป็นนวัตกร นักคิด นักประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่นๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ในทุกระดับ พัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถกำกับการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ปลูกฝังความเป็นคนดี            มีวินัย พัฒนาทักษะความสามารถการเรียนรู้ที่สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน โดยมีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู                   การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการ การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนา และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (พ.ศ.2561-2565) มีวัตถุประสงค์ด้านการยกระดับคุณภาพด้านการพัฒนาการจัดการเรียน               การสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนในศตวรรษที่ 21 ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา พัฒนาผู้เรียนทุกช่วงวัยเป็นรายบุคคลตามแนวทางพหุปัญญา และมีกระบวนการคิดเชิงระบบ นำความรู้ไปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างมีแบบแผน รวมทั้งสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และยกระดับครูและบุคลากรทาง   การศึกษาให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านการจัดการเรียนการสอนตามแบบหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของแต่ละบุคคล จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบถักทอความรู้ ทักษะ คุณลักษณะผู้เรียนเข้าด้วยกันด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศนโยบาย ให้มีการพัฒนานักเรียนให้มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่ดีสมวัยทุกด้าน โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย โดยกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ การปรับหลักสูตรเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะหลักที่จำเป็นในแต่ละระดับ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สร้างสมดุลทุกด้าน ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพหุปัญญา พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลผู้เรียนทุกระดับ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศจุดเน้น ประจำปีงบประมาณ 2567 ให้ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) มีการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Assessment for Learning) ทุกระดับ    

ผู้รับผิดชอบโครงการได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์อย่างยิ่งของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการปรับเปลี่ยนในหลายประการ  เช่น การนำ Active Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ  สร้าง "นวัตกรสังคม" ในศตวรรษที่ 21 +VUCA World มาใช้เป็นทางออกในการจัดการศึกษาซึ่งเป็นการบูรณการมาตรฐาน สมรรถนะที่สำคัญ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมทั้งปรับตัวชี้วัดเป็นระดับระหว่างทาง เพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนและตัวชี้วัดปลายทางเพื่อใช้ประเมินคุณภาพ ปรับลดชิ้นงานนักเรียน 1 ชิ้น วัดได้ครบองค์รวม เพื่อลดภาระงานนักเรียนที่มีจำนวนมากแต่ไม่ตอบโจทย์สมรรถะที่สำคัญและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร แนวทางที่นำมาใช้จะช่วยให้เด็กแต่และคนค้นพบตัวตนของตนเองได้เร็วที่สุดและเสริมสร้างจนเป็นอัจฉริยะ เกิดสมรรถณะที่จำเป็นในการทำงาน อยู่ในโลกแบบนี้อย่างมีความสุขและปลอดภัย เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด จึงกำหนดโครงการนี้ขึ้น

 

2. วัตถุประสงค์

           1.  เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

           2.  เพื่อนิเทศ ติดตาม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

3. เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

 

3. เป้าหมาย

3.1  เป้าหมายเชิงผลผลิต (Output)

           1.  โรงเรียนเครือข่ายทุกโรงได้รับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

2. โรงเรียนเครือข่ายทุกโรงได้รับการนิเทศ ติดตาม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกร

สังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21 +VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

3. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะการสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

  

3.2  เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) 

1. โรงเรียนมีหลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร และรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

2. โรงเรียนจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ กระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

 

4. ผลที่คาดว่าจะเกิด

1. โรงเรียนมีหลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร และรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

2. โรงเรียนมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ กระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

           3.  โรงเรียนเครือข่ายทุกโรงได้รับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

4. โรงเรียนเครือข่ายทุกโรงได้รับการนิเทศ ติดตาม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกร

สังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21 +VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

5. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเครือข่ายได้รับการพัฒนาสมรรถนะการสร้าง “นวัตกร

สังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

 

5. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ

เชิงปริมาณ

1. โรงเรียนเครือข่าย ร้อยละ 90  ได้รับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

2. โรงเรียนเครือข่าย ร้อยละ 90  ได้รับการนิเทศ ติดตาม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21 +VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

เชิงคุณภาพ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร และรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D ที่มีคุณภาพ และเป็นแบบอย่างที่ดีได้

2. โรงเรียนเครือข่ายมีหลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร และรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D มีคุณภาพ และเป็นแบบอย่างที่ดีได้

3. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเครือข่าย มีหลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร และรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D มีคุณภาพ และเป็นแบบอย่างที่ดีได้

 4. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น                                                     

 

6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับประโยชน์      

ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา  นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย

 

7. พื้นที่การดำเนินการ 

         โรงเรียนเครือข่าย

 

8. ระยะเวลาดำเนินโครงการ

          ตุลาคม 2567 - กันยายน 2568

 

ส่วนที่ 4 : แนวทางการดำเนินการ

ใช้งบประมาณของโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 42,800 บาท

 

กิจกรรม

ระยะเวลา

ไตรมาส  1

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

ไตรมาส 4

กิจกรรมที่ 1 : เก็บรวบรวมข้อมูลและประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power

ในศตวรรษที่ 21+VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก

“ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

รูปแบบออนไลน์

 

700

 

 

กิจกรรมที่ 2 : นิเทศ ติดตาม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21 +VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 3 : อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21 +VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

 

 

42,100

 

กิจกรรมที่ 4 : ประกวด BEST PRACTICE และจัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม” โดยใช้ Soft Power ในศตวรรษที่ 21 +VUCA World ด้วย Active Learning + Design Thinking ตามหลัก “ศาสตร์พระราชา” ด้วยกระบวนการ R&D

 

 

 

 

รวมวงเงิน (บาท)

-

700

42,100

-

 

ส่วนที่ 5 : งบประมาณ

1. วงเงินงบประมาณ

วงเงินงบประมาณทั้งหมด ....... 42,800........................ บาท  โดยถัวจ่ายทุกรายการ ดังนี้

แหล่งเงิน

เงินงบประมาณแผ่นดิน

เงินรายได้ของหน่วยงาน

เงินกู้

อื่นๆ

ในประเทศ

นอกประเทศ

42,800

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมและรายละเอียด

ในการใช้งบประมาณ

งบประมาณจำแนกตามหมวดรายจ่าย

รวมงบประมาณที่ใช้

ค่าตอบแทน

ค่าใช้สอย

ค่าวัสดุ

กิจกรรมที่ 1  กิจกรรมที่ 1 : เก็บรวบรวมข้อมูลและประชุมเชิงปฏิบัติการ

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม    
(
20 คน X 1 มื้อ X35 บาท)   

 

 

 

 

700

 

 

 

 

700

กิจกรรมที่ 2 นิเทศนิเทศ ติดตาม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม”

-

-

-

-

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมที่ 3 : อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้าง “นวัตกรสังคม”

ค่าที่พักวิทยากร (2 คืนX1 ห้องX1,200บาท)

ค่าอาหารกลางวัน 65 คนx2 มื้อX200 บาท

ค่าอาหารว่าง 65 คนx2 มื้อX50 บาท

ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คนX6ชมX1200 บาท

 

 

 

 

 

 

7,200

 

 

 

2,400

26,000

6,500

 

 

 

 

 

2,400

26,000

6,500

7,200

กิจกรรมที่ 4 จัดประกวด BEST และจัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้

-

-

-

-

รวมงบประมาณ

 

 

 

42,800

 

2. แผนการใช้จ่ายงบประมาณ

แผนการปฏิบัติงาน

(กิจกรรม)

แผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

ไตรมาส 1

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

ไตรมาส 4

กิจกรรมที่ 1 : เก็บรวบรวมข้อมูลและประชุมเชิงปฏิบัติการ

 

700

 

 

กิจกรรมที่ 2 : นิเทศติดตาม

/

/

/

-

กิจกรรมที่ 3 : อบรมเชิงปฏิบัติการ

 

 

42,100

 

กิจกรรมที่ 4 : ประกวด BEST PRACTICE และจัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้

-

-

/

-

รวมงบประมาณ

 

700

42,100