วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล ชั้น ม.2

วิชา คอมพิวเตอร์ (ง.22102) ชั้น ม.2
หน่วยที่ 2 เรื่อง การประมวลผลข้อมูล
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554


สาระสำคัญ   ข้อมูล สารสนเทศ และประมลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. นักเรียนบอกคำนิยามของข้อมูลได้
2. นักเรียนบอกความหมายของสารสนเทศได้
3. นักเรียนบอกวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศได้
สาระการเรียนรู้
การประมวลผลข้อมูลในชีวิตประจำวัน


ใบความรู้
เรื่อง ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล
คำนิยามของข้อมูล
        ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง คุณลักษณะหรือปริมาณในรูปของตัวเลขหรือข้อความที่มีความหมายเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น จำนวนคน วัน เดือน ปี อายุ ราคาสินค้า อุณหภูมิ น้ำหนัก แรงดันน้ำ แรงกดอากาศ กลิ่น รส แสง สี เสียง เป็นต้น
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี จะต้องมีลักษณะดังนี้
        1. มีความถูกต้อง ข้อมูลที่ดีต้องถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และอาจสร้างความเข้าใจผิดหรือเป็นอันตรายร้ายแรงได้ ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเครื่องจักรชนิดหนึ่งบรรจุอยู่ในลังรวมน้ำหนักได้ลังละ 500 กิโลกรัม แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเตรียมเอกสารข้อมูลที่ส่งให้แก่กับตันหรือบรรทุกสินค้า พิมพ์ข้อมูลผิดจาก 500 กิโลกรัม เป็น 50 กิโลกรัม และสมมุติว่าเรือรับน้ำหนักได้ 1,000 กิโลกรัม ซึ่งทำให้รับน้ำนักได้จริงเพียง 2 กล่องเท่านั้น แต่น้ำหนักผิดทำให้การสามารถใส่ได้ถึง 20 กล่อง เมื่อเทียบกับน้ำหนักจริงคือ 20,000 กิโลกรัม ซึ่งอาจทำให้เรือร่มได้เนื่องจากน้ำหนักเกิน เพราะเรือรับน้ำหนักได้เพียง 1,000 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งเห็นการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
        2. ทันเวลา ข้อมูลต้องทันเวลาและทันสมัย เพราะถ้าข้อมูลล้าสมัยหรือเก่าเกินไป ก็จะไร้ประโยชน์และอาจสร้างความเสียหายได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น มีข้อมูลว่าทางการไฟฟ้าจะดับไฟฟ้าในบริเวณโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งเวลา 14.00น. แต่ข้อมูลส่งไปถึงโรงเรียนเวลา 13.55 น. กรณีนี้อาจทำให้วิศกรผู้ควบคุมเครื่องจักรเตรียมตัวหาไฟฟ้าสำรองหรือหยุดเครื่องไม่ทัน เมื่อไฟดับขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่ อาจทำให้เครื่องด้ายที่กำลังทอขาด และยุ่งเหยิงยากแก่การเริ่มต้นทำงานได้ใหม่ ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนบาท เป็นต้น
        3. สอดคล้องกับงาน ข้อมูลต้องสอดคล้องกับงานที่ทำ ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการเดินทางไปสถานที่แห่งหนึ่งของรถไฟ ข้อมูลที่เราต้องการคือตารางเวลาการเดินทางของรถไฟจากสถานที่เราจะไปขึ้นรถไฟ ตารางเวลาเที่ยวบินของเครื่องบินโดยสารย่อมไม่มีประโยชน์ต่อการเดินทางของเรา เป็นต้น
        4. สามารถตรวจสอบได้ ข้อมูลที่ดีต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่ และรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่สามารถอ้างอิงตรวจสอบได้ ตัวอย่างเช่น ผลิตรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งบอกว่ารถของตนเองประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าเขาต้องการลงโฆษณาจะต้องมีข้อมูลที่สามารถตรวจสอบและพิสูจน์ได้ ไม่เช่นนั้นจะถูกว่าโฆษณาเกินความเป็นจริงอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้
        5. มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์และครบถ้วน การได้ข้อมูลเพียงบางส่วนอาจไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรืออาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด เกินผลเสียมากกว่าผลดีในการทำงาน
ชนิดของข้อมูล
        ข้อมูลโดยทั่วไปมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันทั้งชนิดและความหมาย และต้องจัดเก็บในสื่อชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถนำออกมาใช้ประโยชน์ได้ เราจำแนกข้อมูลตามลักษณะการจัดเก็บได้ 4 ชนิด คือ
        1. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric type) ใช้ระบุความหมายของสิ่งต่าง ๆ เชิงปริมาณ และสามารถนำมาคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การ บวก ลบ คูณ หาร ได้ เช่น ราคาสินค้า จำนวนสิ่งของ ความสูง โดยระบุเป็นตัวเลขเท่านั้น เช่น ราคา 500 บาท จำนวน 2 กล่อง รวมเป็นเงิน 1,000 บาท เป็นต้น
        2. ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character type) ใช้บรรยายความหมายแทนข้อมูลบางอย่าง เช่น ชื่อคน ชื่อต้นไม้ เป็นต้น
        3. ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเลข (Alphanumeric type) หมายถึงมีทั้งตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษ เช่น (!.,?*%$#@-+) ปนกัน ใช้บรรยายหรือสื่อความหมายต่าง ๆ
        4. ข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อประสม เช่น ภาพ เสียง ข้อความปนกัน เป็นต้น เป็นข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่กล่าวถึงกันมาก แต่ความจริงแล้วข้อมูลชนิดนี้ถูกจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ในรูปของข้อมูลประเภทใดประเภทหนึ่งในสามประเภทแรก
        ข้อมูลดิบ ข้อมูลที่ได้รับมาจากที่ต่าง ๆ นั้น หากมีจำนวนมากและไม่ผ่านการประมวลผลก็ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบหาคุณค่า หรือค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ง่าย ๆ ข้อมูลประเภทนี้เรียกว่าข้อมูลดิบ (raw data) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่มีค่าและไม่มีค่าปะปนกันมากมาย เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาผ่านกระบวนการที่เหมาะสมก็จะสามารถคัดเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้งานหรือช่วยในการตัดสินใจได้ ข้อมูลที่ผ่านการคัดเลือกหรือประมวลผลเพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ได้นี้ เราเรียกว่า สารสนเทศ (Information)
        สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วและมีความหมายเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ นั่นหมายความว่า ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วนั้นไม่ได้มีประโยชน์ไปเสียทั้งหมด และประโยชน์ที่มีก็แตกต่างกัน แล้วแต่การรับรู้ของแต่ละคน แต่ก่อนนั้นการตีความว่าอะไรเป็นสารสนเทศขึ้นอยู่กับสาขาวิชาหรือความสนใจของแต่ละคน ดังนั้นการให้คำจำกัดความของคำว่า สารสนเทศ จึงมีการเอนเอียงไปในทางสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ขึ้นกับว่าใครเป็นผู้ให้คำจำกัดความ
         ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีความหมายและคุณค่าต่อผู้ใช้ คุณค่าในที่นี้ไม่จำเป็นต้องหมายถึงเงิน หรือประโยชน์เพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจเท่านั้น อาจเพื่อการอย่างอื่นก็ได้ และสารสนเทศไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษรเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ลักษณะของต้นไม้ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ บ่งของถึงเมล็ดพันธุ์ กระบวนการเติบโต และความสมบูรณ์ของดินที่มันถือกำเนินขึ้นมา ดังนั้นลักษณะของต้นไม้จึงถือได้ว่าเป็นสารสนเทศอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่มีความรู้ความสนใจเกี่ยวกับต้นไม้ และบ่งชี้ถึงสภาพของดินว่ามีความอุดมสมบูรณ์หรือไม่ แสดงว่าเฉพาะคนที่เข้าใจความหมายของมันเท่านั้นจึงจะได้รับสารสนเทศ
การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
         ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การจะสร้างสารสนเทศได้ต้องมีข้อมูลและการประมวลผล ก่อนที่จะประมวลผลข้อมูลต้องทราบก่อนว่า เราจะจัดการเกี่ยวกับข้อมูลได้อย่างไร
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
        1. การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเก็บข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งกำเนิดมาทำการเข้ารหัสในรูปที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บ และบันทึกในสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้นาน ๆ เช่น จดบันทึกในกระดาษรวบรวมใส่แฟ้ม เก็บเข้าตู้ หรือบนทึกลงในจานแม่เหล็กโดยระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ต้องทำการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่ได้ก่อนนำไปเก็บ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้องแม่นยำอย่างแท้จริง
        2. การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการรักษาข้อมูลไว้ให้ใช้ได้ตลอดไป ซึ่งอาจประกอบด้วยการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา ทำการแยกประเภท จัดเรียงลำดับ และคำนวณหาข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
        3 การจัดการข้อมูล คือการสร้างระบบจัดข้อมูลจำนวนมากให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ซึ่งประกอบด้วยการจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทั้งแบบแฟ้มกระดาษหรือแฟ้มในคอมพิวเตอร์ การสร้างฐานข้อมูล คือระบบเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการจัดระบบบำรุงรักษาไม่ให้ผิดเพี้ยนหรือสูญหาย และการสร้างระบบค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสืบค้นได้รวดเร็ว และมี   ข้อมูลสะสมให้เลือกใช้มากมาย การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นที่การสร้างฐานข้อมูลซึ่งจะต้องออกแบบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ปัจจุบันนี้มีซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถใช้จัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล เช่น Access หรือ Oracle


แบบฝึกหัด
เรื่อง ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล
ชื่อ-สกุล.....................................................เลขที่..............ชั้น..................
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนบทความ  เรื่อง  ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล  ในบล็อคของนักเรียน จำนวน  5  ย่อหน้า โดยตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี มีลักษณะอย่างไร
..................................................................................................................
..................................................................................................................
2. ข้อมูลดิบคืออะไร
..................................................................................................................
..................................................................................................................
3. ข้อมูลที่ดีต้องมีลักษณะอย่างไร
..................................................................................................................
..................................................................................................................
4. จงบอกวิธีการจัดเก็บข้อมูล
..................................................................................................................
..................................................................................................................
5. จงให้คำจำกัดความของคำว่าสารสนเทศ
..................................................................................................................
..................................................................................................................


เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล ชั้น ม.1


หน่วยที่ 3 เรื่อง คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
วิชา คอมพิวเตอร์ (ง.21102) ชั้น ม.1
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล
สาระสำคัญ  ความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   นักเรียนบอกความสัมพันธ์ของระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัลได้
สาระการเรียนรู้  ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัล

ใบความรู้
เรื่อง ความสัมพันธ์ระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัล
        ระบบดิจิทัลที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ เป็นระบบที่ทำงานด้วยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ ซึ่งต่างกับระบบแอนะล็อกดั้งเดิม ที่ทำงานโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบบดิจิทัลทำงานโดยอาศัยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ เราจึงสามารถใช้ระบบเลขฐานสอง (เลข 0 กับ เลข 1) แทนแรงดันไฟฟ้าสองระดับนั้น ดังนั้นเมื่อเราสร้างคอมพิวเตอร์ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระบบดิจิทัล เราจึงอาจกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบเลขฐานสอง นั่นคือคอมพิวเตอร์จะใช้เพียงเลข 0 กับเลข 1 เท่านั้นในการทำงาน แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะต้องคำนวณเลขที่มีค่ามาก หรือต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก ๆ เลขฐานสองที่ใช้จึงต้องมีจำนวนหลักมาก จำนวนหลักของเลขฐานสองนี่เองที่เราเรียกว่า บิต (Bit) เช่น เลขฐานสองที่ใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษรต่าง ๆ บนแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเลขฐานสองขนาด 8 บิต คือ มี 8 หลัก เช่น ตัวอักษร A แทนด้วย 0100 0001 อักษร Z แทนด้วย 0101 1010 เป็นต้น

แบบฝึกหัด
เรื่อง การนับเลข
ชื่อ-สกุล...........................................เลขที่..............ชั้น..................
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ที่สุด  ในกล่องแสดงความคิดเห็น  เรื่อง  เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล ใน tonghom2009.blogspot.com 


1. คอมพิวเตอร์มีระบบจัดการกับข้อมูลมาก ๆ อย่างไร
………………………………………………………………….
………………………………………………………………….
2. จงบอกข้อแตกต่างระหว่างระบบดิจิทัลกับแอนะล็อก
………………………………………………………………….
………………………………………………………………….
3. บอกความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัล
………………………………………………………………….
………………………………………………………………….


ลักษณะของสารสนเทศที่ดี ชั้น ม.3

หน่วยที่ 3.1  เรื่อง หลักการพัฒนาโครงงานที่ใช้เทคโนโลยี
วิชา คอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ง.23102)
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
สาระสำคัญ   ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นักเรียนบอกลักษณะของสารสนเทศที่ดีได้
สาระการเรียนรู้
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์

ใบความรู้ เรื่อง
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
        การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ หรือไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือก็สามารถสร้างสารสนเทศที่ดีได้
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์  มีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความสัมพันธ์กัน (Relevant)
2. มีความทันสมัย (Timely)
3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate)
4. มีความกระชับรัดกุม (Concise)
5. มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (Complete)

แบบฝึกหัด
เรื่อง คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี

ชื่อ-สกุล..................................................................เลขที่..............ชั้น..................

คำสั่ง   ให้นักเรียนเขียนบทความในบล็อกของนักเรียน เรื่อง คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
จำนวน 2 ย่อหน้า ดังนี้

1. คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
………………………………………………………………….
……………………………………………………………………..
2. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสารสนเทศมีประโยชน์อย่างไร
…………………………………………………………………….
……………………………………………………………………..



วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ตัวอย่างการสร้างระบบงาน


สาระสำคัญ   การสร้างระบบงานด้วยคอมพิวเตอร์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  นักเรียนสามารถสร้างระบบงานด้วยคอมพิวเตอร์ได้

สาระการเรียนรู้    ตัวอย่างการสร้างระบบงานการหาความสูงเฉลี่ยของผักทั้ง 5 ชนิดและการใช้ปุ๋ย 5 สูตรเพื่อหาสูตรเดี่ยวที่ให้น้ำหนักเฉลี่ยของผักดีที่สุด

ใบความรู้

เรื่อง การสร้างระบบงาน


1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้

ชาวสวนผักพบปัญหาว่า ผักน้ำหนักไม่ค่อยดี คือ เมื่อนำมาชั่งน้ำหนักแล้วเบามาก ซึ่งเขาปลูกผักทั้งหมด 5 ชนิด ซึ่งเขาเคยได้ทดลองซื้อปุ๋ยจากบริษัทต่าง ๆ มาใช้ แต่ก็ยังได้ผลไม่เต็มที่และมีราคาแพง ดังนั้นเขาจึงศึกษางานวิจัยพบว่าเขาสามารถผลิตปุ๋ยน้ำธรรมชาติใช้เองได้ ซึ่งมีสูตรการทำอยู่ทั้งหมด 5 สูตร

ปัญหา คือ ปุ๋ยสูตรใดดีที่สุด เพราะโดยธรรมชาติแล้วผักแต่ละประเภทเจริญเติบโตไม่เท่ากัน

ข้อมูล คือ น้ำหนักของผักทั้ง 5 ชนิดที่ชั่งใด

2. กำหนดรายละเอียดความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน

ต้องการทราบว่าปุ๋ยทั้ง 5 สูตร สูตรใดให้น้ำหนักเฉลี่ยของผักทั้ง 5 ชนิดสูงที่สุด

3. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานหรือออกแบบโปรแกรม

ขั้นตอนเพื่อหาคำตอบ

1. แบ่งผักทั้ง 5 ชนิดออกเป็น 5 แปรง คือ แปรงละ 5 ชนิด

2. ให้ปุ๋ยแต่ละแปรงต่างสูตรกันในระยะเวลาเท่า ๆ กัน คือ 2 เดือน

3. เมื่อครบกำหนด ให้นำผักจากแต่ละแปรงมาชั่งน้ำหนักทั้ง 5 ชนิด ๆละเท่ากัน

เช่น 1 ต้นเท่ากัน

4. กลุ่มใดมีน้ำนักมากที่สุด ถือว่าปุ๋ยสูตรนั้นดีที่สุด



4. เขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรม

การเขียนโปรแกรมผู้เขียนจะต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม เพราะต้องใช้ภาษาของการเขียนโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมแต่ละอย่างจะใช้ภาษาไม่เหมือนกัน ตัวอย่างนี้คือการเขียนด้วยโปรแกรม BASIC programming language



10 CSL

20 PRINT “<< โปรแกรมคำนวณค่าเฉลี่ยของน้ำหนักผัก >>”

30 ZUMW = 0

40 FOR N = 1 TO 5

50 INPUT “น้ำหนักผักชนิดที่ :”;N,” = ”,W

60 ZUMW = ZUMW + W

70 NEXT N

80 AV = ZUMW / 5

90 PRINT “น้ำหนักผักโดยเฉลี่ยของกลุ่มนี้ = ”; AV

100 PRINT “จบการทำงาน”




5. ทดสอบโปรแกรมและหาจุดบกพร่อง



<< โปรแกรมคำนวณค่าเฉลี่ยของน้ำหนักผัก>>

น้ำหนักผักชนิดที่ : 1 = 145.21

น้ำหนักผักชนิดที่ : 2 = 144.90 น้ำหนักที่ป้อนเข้าสู่การประมวลผล

น้ำหนักผักชนิดที่ : 3 = 146.15

น้ำหนักผักชนิดที่ : 4 = 143.95

น้ำหนักผักชนิดที่ : 5 = 148.30

น้ำหนักผักโดยเฉลี่ยของกลุ่มนี้ = 145.702

จบการทำงาน



6. นำไปใช้งานจริง เมื่อทดสอบโปรแกรมจนแน่ใจว่าถูกต้องแล้ว เราก็จะนำโปรแกรมไปรวมทั้งระบบงานที่ได้ออกแบบขึ้นไปใช้งานจริง

7. บำรุงรักษา ติดตามผล และแก้ไขปรังปรุง สำหรับระบบงานที่ต้องนำไปปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่องเราจะต้องคอยบำรุงรักษาโปรแกรมรวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานได้ตลอดไป และอาจต้องทำการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ



ใบงาน เรื่อง การสร้างระบบ กลุ่มที่…………..

ชื่อ-สกุล......................................................เลขที่..............ชั้น..................

ชื่อ-สกุล......................................................เลขที่..............ชั้น..................

ชื่อ-สกุล......................................................เลขที่..............ชั้น..................



คำชี้แจง ให้นักเรียนสร้างระบบงานโดยใช้คอมพิวเตอร์

................................................................................................

................................................................................................

................................................................................................