วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ลักษณะของสารสนเทศที่ดี ชั้น ม.3

หน่วยที่ 3.1  เรื่อง หลักการพัฒนาโครงงานที่ใช้เทคโนโลยี
วิชา คอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ง.23102)
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
สาระสำคัญ   ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นักเรียนบอกลักษณะของสารสนเทศที่ดีได้
สาระการเรียนรู้
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์

ใบความรู้ เรื่อง
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
        การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ หรือไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือก็สามารถสร้างสารสนเทศที่ดีได้
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์  มีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความสัมพันธ์กัน (Relevant)
2. มีความทันสมัย (Timely)
3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate)
4. มีความกระชับรัดกุม (Concise)
5. มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (Complete)

แบบฝึกหัด
เรื่อง คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี

ชื่อ-สกุล..................................................................เลขที่..............ชั้น..................

คำสั่ง   ให้นักเรียนเขียนบทความในบล็อกของนักเรียน เรื่อง คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
จำนวน 2 ย่อหน้า ดังนี้

1. คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
………………………………………………………………….
……………………………………………………………………..
2. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสารสนเทศมีประโยชน์อย่างไร
…………………………………………………………………….
……………………………………………………………………..



5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 กันยายน 2554 เวลา 09:46

    1)ตอบคุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ มีคุณสมบัติดังนี้
    1. มีความสัมพันธ์กัน (Relevant)
    2. มีความทันสมัย (Timely)
    3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate)
    4. มีความกระชับรัดกุม (Concise)
    5. มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (Complete)
    2)ตอบใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น และรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน

    เด็กหญิงกุลธิดา คู่ธรรมจักร ม.3 เลขที 24

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ12 กันยายน 2554 เวลา 09:55

    คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี

    ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ ทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
    1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย
    2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย
    3. ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่อง การขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ
    4. การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
    5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด

    เด็กหญิงกุลธิดา คู่ธรรมจักร ม.3 เลขที่ 24

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:20

      ขอคุณมากครับ...

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:18

    ขอบคุณครับ....

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:19

    ขอบคุณมากนะครับ

    ตอบลบ