การเขียนบทความวิจัย
ดร.จริยา ทองหอม
นิยามความหมายของบทความวิจัย
บทความวิจัย (research article) เป็นรูปแบบของความเรียงชนิดหนึ่งที่นำเอาเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาเขียนใหม่ในประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอโดยผู้เขียนบทความวิจัยอาจเป็นเจ้าของผลงานวิจัย
ในเรื่องนั้นๆ หรือเป็นผู้อ่านงานวิจัยในเรื่องนั้นๆ
แล้วพบประเด็นที่น่าสนใจจากงานวิจัยที่อ่าน แล้วนำประเด็นที่สนใจนั้นมาเขียนเป็นบทความวิจัยให้อ่านและเข้าใจได้ง่าย
เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้นั้นให้แพร่หลายออกไป ข้อค้นพบจากงานวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
อาจมีหลายประเด็น แต่ในการเขียนบทความวิจัย สามารถนำข้อค้นพบเหล่านั้นมาเขียนเป็นบทความวิจัยเป็นเรื่อง
ๆ ได้หลายเรื่อง การเขียนบทความวิจัยเป็นผลงานต่อเนื่องที่ได้มาจากการสกัดงานวิจัย
ซึ่งบทความประเภทนี้ เป็นบทความที่ประมวล สรุปกระบวนการวิจัยให้มีความกระชับและสั้น
เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรือการประชุมสัมมนาทางวิชาการ
บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัย
เพราะ ในระหว่างการดำเนินการวิจัย
นักวิจัยอาจตัดตอนผลการวิจัยนำร่อง หรือผลงานวิจัยบางส่วนนำเสนอเป็นบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่หรือตรวจสอบความคิดได้
บทความวิจัยจึงอาจเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยที่นักวิจัยนำเสนอก่อนรายงานการวิจัยและเป็นสารสนเทศที่ทันเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัยที่มีการเผยแพร่เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัย
บทความความวิจัยต้องผ่านการกลั่นกรองและตรวจสอบเนื้อหาสาระความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
ๆ นอกจากนี้แล้วจะต้องมีรูปแบบการจัดพิมพ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสาร
หรือตามที่คณะกรรมการประเมินด้วย เป็นการก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่กระชับชัดเจนและเข้มข้นในเนื้อหามากยิ่งขึ้น
บทความที่เกิดจากการค้นคว้าวิจัย โดยมีกระบวนการที่นำไปสู่การสร้างความรู้
และมีข้ออธิบายได้ชัดเจนเป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเฉพาะพื้นที่
(เช่นระดับจังหวัด ตำบล หมู่บ้าน หรือ ชุมชน) ไม่ใช่พัฒนาในระดับประเทศ
หรือระดับโลก มีการนำไปใช้ประโยชน์
หรือถูกนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ได้แก่ ประโยชน์เชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ หรือสาธารณะ
บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่นักวิจัยเขียนขึ้นในรูปบทความวิชาการเพื่อนำเสนอข้อค้นพบเชิง
ประจักษ์และหรือนวัตกรรมที่เป็นผลงานผ่านสื่อประเภทต่างๆ รวมทั้งการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการเนื่องจากวารสารมีจำนวนหน้าที่จำกัดและการประชุมวิชาการมีเวลาจำกัด
บทความวิจัยจึงมีความยาวจำกัด มีจำนวนหน้าน้อยกว่ารายงานการวิจัย
การใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกในวงกว้าง
หรือค่อนข้างมากต่อสังคม จากที่นำเสนอไปข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า “บทความวิจัย” เป็นบทความที่เขียนขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากการทำวิจัยของผู้วิจัยในฐานะผู้เขียนนั่นเอง ดังนั้น
คงไม่ผิดนักถ้าจะกล่าวว่า “บทความวิจัย” คือขั้นตอนหนึ่งกระบวนการดำเนินการวิจัยด้วย
ทั้งนี้เพราะจุดประสงค์ของการวิจัย คือ การค้นหาความรู้ใหม่หรือการค้นหาแนวทางที่จะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
การวิจัยเปรียบเสมือนการต่อยอดของฐานความรู้ที่มีการสั่งสมกันมา
ความรู้ที่สั่งสมกันมานั้นก็มาจากการวิจัยก่อนหน้านี้นั่นเอง
เราสามารถเข้าถึงความรู้ดังกล่าวได้ก็ด้วยการเข้าถึงสิ่งตีพิมพ์ และผลงานที่ผู้อื่นทำการวิจัยก่อนหน้านี้ได้เผยแพร่ไว้ ในทำนองเดียวกัน
ผลงานวิจัยใหม่จากการวิจัยของเราเองก็ควรได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
เพื่อเป็นการสั่งสมความรู้ให้เพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก และเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
ตรงกันข้ามกับผลงานวิจัยที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่
หรือไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งที่เหมาะสม
จะหลุดไปจากองค์ความรู้โดยรวม นับเป็นการสูญเปล่า และจะเปรียบเสมือนไม่มีผลงานนั้นเกิดขึ้นเลย
องค์ประกอบหรือโครงสร้างของบทความวิจัย
การเผยแพร่ความรู้โดยการเขียนบทความสำหรับนักวิชาการส่วนใหญ่จะทำในรูปแบบของผลงานวิชาการ
ซึ่ง การเขียน “บทความ (Article)” เป็นรูปแบบการเขียนประเภทหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารข้อเท็จจริง
และความคิดเห็น ให้กับผู้อ่าน เป็นข้อเขียนที่มีขนาดสั้น เนื้อหาที่นำเสนอนั้น
ต้องมาจากข้อมูลจริง ไม่ใช่เรื่องที่แต่งหรือคิดขึ้นจากจินตนาการ
และมีลักษณะเป็นข้อเขียนขนาดสั้น
สำหรับ “บ ท ค ว า ม วิ จั ย ” หรือ Research article นั้น
เป็นบทความที่เป็นผลงานต่อเนื่องจาก งานวิจัย หรือสกัดมาจากงานวิจัย
บทความประเภทนี้ เป็นบทความที่ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยให้มีความกระชับและสั้น สำหรับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ
สื่อสิ่งพิมพ์ หรือที่ประชุมสัมมนา โดยการพิมพ์เผยแพร่ บทความวิจัย
ต้องผ่านการกลั่นกรอง ตรวจสอบเนื้อหาสาระ และความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงวิชาการนั้นๆ (Peer review) นอกจากนี้ จะต้องมีรูปแบบการจัดพิมพ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสารหรือคณะกรรมการประเมิน
เทคนิคการเขียนบทความวิจัย
การเขียนบทความวิจัย คือ การนำเสนอบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ทำให้ผู้เขียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองตลอดเวลา
และบทความวิจัยคือส่วนหนึ่งในการพัฒนาชื่อเสียงให้กับสถาบัน
การเขียนบทความวิจัยที่มีคุณภาพนั้นต้องมีวิธีการเขียนบทความวิจัยคือต้องใช้เทคนิคการเขียน
และมีการใช้ภาษาที่ถูกต้องด้วย
วิธีการเขียนบทความวิจัยนั้นมีระดับของคุณภาพของบทความวิจัยมีอยู่ด้วยกัน
3 ระดับ เรียงจากน้อยไปหามาก ได้แก่ 1) ระดับดี คือ เป็นบทความ
วิจัยที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจน
เป็นประโยชน์ 2) ระดับดีมาก
คือ มีเกณฑ์เช่นเดียวกับระดับ ดี แต่จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติม คือ บทความนั้น ๆ
ต้องมีการวิเคราะห์ และนำเสนอความรู้
หรือวิธีการที่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เป็นบทความที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้ และ 3)
ระดับดีเด่น คือ มีเกณฑ์เช่นเดียวกับบทความในระดับดีมาก แต่จะมี ข้อกำหนดเพิ่มเติม
คือ บทความนั้น ๆ ต้องมีลักษณะเป็นงานที่บุกเบิกทางวิชาการ ตลอดจนมีการสังเคราะห์ จนถึงระดับที่สร้างองค์ความรู้ใหม่
ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดค้นอย่างต่อเนื่องเป็นที่น่าเชื่อถือ
และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ หรือในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเขียนบทความวิจัยในระดับคุณภาพต่าง
ๆ นั้นขึ้นอยู่กับแก่นสาระที่สำคัญของบทความวิจัย คือใช้ระเบียบวิธีการในการวิจัยที่เหมาะสม
และมีผลการวิจัยที่ยังไม่เคยมีการค้นพบมาก่อน
ส่วนประกอบที่สำคัญของการเขียนบทความวิจัย
บทความวิจัย คือ บทความที่ควรประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ชื่อเรื่อง (Title) คือ
ผู้เขียนต้องตั้งชื่อเรื่องของบทความวิจัยที่บ่งบอกให้เห็นถึงประเด็นสำคัญของงานวิจัย
ชื่อเรื่องต้องตรงประเด็น ไม่กำกวม และเข้าใจได้ง่าย
2. บทคัดย่อ (Abstract) คือ
บทคัดย่อนั้นนับว่าเป็นส่วนที่เขียนยากที่สุดของบทความวิจัย
ผู้เขียนควรจะเขียนบทคัดย่อในลำดับท้ายสุด เนื่องจากเนื้อหาของบทคัดย่อ
จะต้องมีการกล่าวถึงเนื้อหาโดยรวมทั้งหมดของบทความหรือแบบที่มีข้อจำกัดในด้านของจำนวนคำในการเขียน
ซึ่งในการเขียนบทคัดย่อที่ดีนั้น ผู้เขียน บทความวิจัย คือ ผู้ที่ควรจะต้องเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดเสียก่อนจึงจะสามารถเขียนได้อย่างกระชับ
และบทความวิจัยสามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระที่สำคัญของบทความวิจัยได้เนื้อหาในส่วนของบทคัดย่อควรจะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
วิธีการในการทำวิจัย และผลของการวิจัย
3. บทนำ (Introduction) คือ
เนื้อหาในส่วนของบทนำจะต้องกล่าวถึง ความเป็นมา และสิ่งที่น่าสนใจของงานวิจัยว่ามีอะไรใหม่
ๆ หรือมีความโดดเด่นอย่างไร มีความแตกต่างจากงานวิจัยอื่นๆ ในเรื่องเดียวกันอย่างไร
นอกจากนี้ บทความวิจัย คือ บทความที่ควรกล่าวด้วยว่างานวิจัยนี้สามารถแก้ปัญหาหรืออุดช่องโหว่ในเรื่องนั้น ๆ
อย่างไร
4.
ระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology) คือ เนื้อหาของส่วนนี้
ผู้เขียนจะต้องกล่าวถึงวิธีที่ใช้ในการทำวิจัย
เช่น บทความวิจัย คือ บทความวิจัยเชิงคุณภาพ หรือบทความวิจัยเชิงปริมาณ
และมีวิธีการคัดเลือก ผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีใด ผู้ที่ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่างเป็นใคร มีจำนวนเท่าไร
ใช้วิธีใดในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร นอกจากนี้ ผู้เขียนต้องบอกเหตุผลที่ใช้วิธีวิจัยดังกล่าว
5. ผลการวิจัย (Research findings/results) คือ หัวใจหลักของบทความวิจัยนั้นๆ
ผู้เขียนต้องเขียนอธิบายว่าค้นพบอะไรบ้านจากการศึกษา ผู้เขียนอาจมีการนำเสนอด้วยการใช้แผนภูมิหรือตารางประกอบการอธิบาย
6. วิจารณ์ผลการวิจัย (Discussion) คือ ส่วนที่ผู้เขียนสามารถที่จะนำไปรวมอยู่ในส่วนของผลการวิจัยก็ได้
ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบที่กำหนด
การวิจารณ์ผลการวิจัยเป็นการเปรียบเทียบผลที่ผู้เขียนค้นพบกับการศึกษาก่อนหน้านี้
และบทความวิจัย คือ บทความที่เป็นการแสดงการวิเคราะห์ว่าผู้เขียนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการศึกษาก่อนหน้านั้น
อย่างไรก็ ตามการเขียนในส่วนนี้ต้องอาศัยการทบทวนวรรณกรรม หรืองานวิจัยจำนวนมากมาก่อน
7. บทสรุป (Conclusion) เป็นส่วนที่สรุปสาระสำคัญของบทความวิจัย คือ ประเด็นที่ผู้เขียนค้นพบ
ในความยาวประมาณ 1-2 ย่อหน้า
บทสรุป
ผลจากการนำเสนอในข้างต้นนั้น พอที่จะเข้าใจถึงการเขียนบทความเชิงวิชาการที่นักวิชาการจะต้องเรียนรู้
และฝึกฝนปฏิบัติตน ซึ่งถือเป็นบทบาทและหน้าที่ของตน ทั้งนี้ ประโยชน์ของการเขียนบทความเชิงวิชาการนั้น
มีทั้งต่อตัวผู้เขียนเองในแวดวงวิชาการและสังคมส่วนรวม การเขียนบทความเชิงวิชาการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
จึงจำเป็นที่ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ในเชิงหลักการหรือแนวคิดทฤษฎีการเขียนบทความ
รวมทั้งต้องพยายามหมั่นฝึกฝนลงมือปฏิบัติ เพื่อสั่งสมประสบการณ์และความชำนาญ เพื่อให้สามารถเขียนบทความที่ดีหรือมีคุณภาพได้
ทั้งนี้ หลักการทั่วไปของการเขียนบทความเชิงวิชาการนั้น คือ
เขียนให้สั้นแต่ได้ใจความชัดเจน สมบูรณ์ ประหยัดถ้อยคำ
เลือกใช้คำที่มีความหมายชัดเจน
ไม่กำกวม
เป็นคำพูดที่ใช้ในวงวิชาการระดับสากลที่มีมาตรฐานคงเส้นคงวาในการอธิบายผลการวิจัย
เพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยในการเขียนบทความเชิงวิชาการให้ได้ดีนั้น คงยังมีอีกมาก
อาทิเช่น ลักษณะจำเพาะของบทความเฉพาะสาขา ความยาวที่เหมาะสม แบบฟอร์ม และรายละเอียดเกี่ยวกับการพิมพ์
เป็นต้น ผู้เขียน บทความควรให้ความสนใจศึกษาต่อไป ที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้
เป็นเพียงส่วนสำคัญที่ไม่ควรขาดในการเขียนบทความเชิงวิชาการโดยทั่วไปเท่านั้น
ดังนั้น การเขียนบทความวิจัยเป็นการเขียนเพื่อนำเสนอเนื้อหาสาระทางวิชาการและการวิจัยให้กลุ่มผู้อ่านที่เป็นนักวิชาการในกลุ่มสาขาเดียวกันได้รับรู้โดยตีพิมพ์
เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการเฉพาะสาขานั้น การเขียนบทความวิจัย ต้องคำนึงถึงความครอบคลุมส่วนประกอบหัวข้อต่าง
ๆ ความชัดเจน กระชับในการใช้ภาษา ความเป็นลำดับ ต่อเนื่องของข้อความที่ปรากฏ
ตลอดจนการนำเสนอ ความคิดใหม่ ๆ ของผู้เขียน หรือผู้นิพนธ์ประกอบด้วยการเขียนบทความวิจัยให้ได้ดี จำเป็นต้องหมั่นฝึกฝน
และศึกษาเรียนรู้จากตัวอย่าง ตามแบบที่มีอยู่ในบทความวิจัยที่ดีจนกว่าจะปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรกของผู้เขียนเสียก่อน
ถ้าปราศจากซึ่งการเริ่มต้นการเขียน
ไฉนเลยจะมีงานเขียนที่ดีได้
เอกสารอ้างอิง
ไชยสิทธิ์ อุดมโชคนามอ่อน และคณะ. (2561). เทคนิคการเขียนบทความ
วิจัยและบทความวิชาการด้านสังคมศาสตร์. วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 12
ฉบับที่ 27 กันยายน-ธันวาคม 2561 TCI กลุ่มที่ 2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประภาพรรณ
อุ่นอบ.(2554).
การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการ. เอกสารประกอบการ ประชุมพัฒนาทักษะในการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการฯส
านักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 22-23
ธันวาคม 2554 ณ
ห้องประชุมโรงแรมบ้านไม้งามรีสอร์ท จังหวัด อุบลราชธานี
วารสารการวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.). หลักเกณฑ์การเสนอบทความ วิจัย.
[ออนไลน์] สืบค้น 25
มกราคม 2561, จาก http://abcjournal.trf.or.th/rule.aspx.
Area
Based Development Research Journal, The Thailand
Research Fund (TRF). Criteria
for Presenting
Research Articles.
[Online], Retrieved on January 25, 2018 form
http://abcjournal.trf.or.th/rule.aspx.
Warangkana
Chankong. (2014). "Research articles" with "
research articles" like or different. Journal of
Health Science Online No. 3 in Health Science Sukhothai Thammathirat
Open. University. Discovered on March 8,
2018,
http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book573