วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Greetings and Introduction.

Spoken English - Introducing Yourself

Daily English Vocabulary - E09 English vocabulary & phrases, english spe...

TOEIC Reading - Part VII Continued

TOEIC question: April 2, 2010

ศัพท์..อยากสอบได้ ก็ท่องแบบนี้ซิ

อัพเดทข้อสอบ TOEIC, IELTS,TOEFL, CU-tep

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล ชั้น ม.2

วิชา คอมพิวเตอร์ (ง.22102) ชั้น ม.2
หน่วยที่ 2 เรื่อง การประมวลผลข้อมูล
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554


สาระสำคัญ   ข้อมูล สารสนเทศ และประมลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. นักเรียนบอกคำนิยามของข้อมูลได้
2. นักเรียนบอกความหมายของสารสนเทศได้
3. นักเรียนบอกวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศได้
สาระการเรียนรู้
การประมวลผลข้อมูลในชีวิตประจำวัน


ใบความรู้
เรื่อง ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล
คำนิยามของข้อมูล
        ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง คุณลักษณะหรือปริมาณในรูปของตัวเลขหรือข้อความที่มีความหมายเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น จำนวนคน วัน เดือน ปี อายุ ราคาสินค้า อุณหภูมิ น้ำหนัก แรงดันน้ำ แรงกดอากาศ กลิ่น รส แสง สี เสียง เป็นต้น
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี จะต้องมีลักษณะดังนี้
        1. มีความถูกต้อง ข้อมูลที่ดีต้องถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และอาจสร้างความเข้าใจผิดหรือเป็นอันตรายร้ายแรงได้ ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเครื่องจักรชนิดหนึ่งบรรจุอยู่ในลังรวมน้ำหนักได้ลังละ 500 กิโลกรัม แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเตรียมเอกสารข้อมูลที่ส่งให้แก่กับตันหรือบรรทุกสินค้า พิมพ์ข้อมูลผิดจาก 500 กิโลกรัม เป็น 50 กิโลกรัม และสมมุติว่าเรือรับน้ำหนักได้ 1,000 กิโลกรัม ซึ่งทำให้รับน้ำนักได้จริงเพียง 2 กล่องเท่านั้น แต่น้ำหนักผิดทำให้การสามารถใส่ได้ถึง 20 กล่อง เมื่อเทียบกับน้ำหนักจริงคือ 20,000 กิโลกรัม ซึ่งอาจทำให้เรือร่มได้เนื่องจากน้ำหนักเกิน เพราะเรือรับน้ำหนักได้เพียง 1,000 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งเห็นการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
        2. ทันเวลา ข้อมูลต้องทันเวลาและทันสมัย เพราะถ้าข้อมูลล้าสมัยหรือเก่าเกินไป ก็จะไร้ประโยชน์และอาจสร้างความเสียหายได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น มีข้อมูลว่าทางการไฟฟ้าจะดับไฟฟ้าในบริเวณโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งเวลา 14.00น. แต่ข้อมูลส่งไปถึงโรงเรียนเวลา 13.55 น. กรณีนี้อาจทำให้วิศกรผู้ควบคุมเครื่องจักรเตรียมตัวหาไฟฟ้าสำรองหรือหยุดเครื่องไม่ทัน เมื่อไฟดับขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่ อาจทำให้เครื่องด้ายที่กำลังทอขาด และยุ่งเหยิงยากแก่การเริ่มต้นทำงานได้ใหม่ ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนบาท เป็นต้น
        3. สอดคล้องกับงาน ข้อมูลต้องสอดคล้องกับงานที่ทำ ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการเดินทางไปสถานที่แห่งหนึ่งของรถไฟ ข้อมูลที่เราต้องการคือตารางเวลาการเดินทางของรถไฟจากสถานที่เราจะไปขึ้นรถไฟ ตารางเวลาเที่ยวบินของเครื่องบินโดยสารย่อมไม่มีประโยชน์ต่อการเดินทางของเรา เป็นต้น
        4. สามารถตรวจสอบได้ ข้อมูลที่ดีต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่ และรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่สามารถอ้างอิงตรวจสอบได้ ตัวอย่างเช่น ผลิตรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งบอกว่ารถของตนเองประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าเขาต้องการลงโฆษณาจะต้องมีข้อมูลที่สามารถตรวจสอบและพิสูจน์ได้ ไม่เช่นนั้นจะถูกว่าโฆษณาเกินความเป็นจริงอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้
        5. มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์และครบถ้วน การได้ข้อมูลเพียงบางส่วนอาจไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรืออาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด เกินผลเสียมากกว่าผลดีในการทำงาน
ชนิดของข้อมูล
        ข้อมูลโดยทั่วไปมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันทั้งชนิดและความหมาย และต้องจัดเก็บในสื่อชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถนำออกมาใช้ประโยชน์ได้ เราจำแนกข้อมูลตามลักษณะการจัดเก็บได้ 4 ชนิด คือ
        1. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric type) ใช้ระบุความหมายของสิ่งต่าง ๆ เชิงปริมาณ และสามารถนำมาคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การ บวก ลบ คูณ หาร ได้ เช่น ราคาสินค้า จำนวนสิ่งของ ความสูง โดยระบุเป็นตัวเลขเท่านั้น เช่น ราคา 500 บาท จำนวน 2 กล่อง รวมเป็นเงิน 1,000 บาท เป็นต้น
        2. ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character type) ใช้บรรยายความหมายแทนข้อมูลบางอย่าง เช่น ชื่อคน ชื่อต้นไม้ เป็นต้น
        3. ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเลข (Alphanumeric type) หมายถึงมีทั้งตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษ เช่น (!.,?*%$#@-+) ปนกัน ใช้บรรยายหรือสื่อความหมายต่าง ๆ
        4. ข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อประสม เช่น ภาพ เสียง ข้อความปนกัน เป็นต้น เป็นข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่กล่าวถึงกันมาก แต่ความจริงแล้วข้อมูลชนิดนี้ถูกจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ในรูปของข้อมูลประเภทใดประเภทหนึ่งในสามประเภทแรก
        ข้อมูลดิบ ข้อมูลที่ได้รับมาจากที่ต่าง ๆ นั้น หากมีจำนวนมากและไม่ผ่านการประมวลผลก็ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบหาคุณค่า หรือค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ง่าย ๆ ข้อมูลประเภทนี้เรียกว่าข้อมูลดิบ (raw data) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่มีค่าและไม่มีค่าปะปนกันมากมาย เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาผ่านกระบวนการที่เหมาะสมก็จะสามารถคัดเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้งานหรือช่วยในการตัดสินใจได้ ข้อมูลที่ผ่านการคัดเลือกหรือประมวลผลเพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ได้นี้ เราเรียกว่า สารสนเทศ (Information)
        สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วและมีความหมายเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ นั่นหมายความว่า ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วนั้นไม่ได้มีประโยชน์ไปเสียทั้งหมด และประโยชน์ที่มีก็แตกต่างกัน แล้วแต่การรับรู้ของแต่ละคน แต่ก่อนนั้นการตีความว่าอะไรเป็นสารสนเทศขึ้นอยู่กับสาขาวิชาหรือความสนใจของแต่ละคน ดังนั้นการให้คำจำกัดความของคำว่า สารสนเทศ จึงมีการเอนเอียงไปในทางสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ขึ้นกับว่าใครเป็นผู้ให้คำจำกัดความ
         ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีความหมายและคุณค่าต่อผู้ใช้ คุณค่าในที่นี้ไม่จำเป็นต้องหมายถึงเงิน หรือประโยชน์เพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจเท่านั้น อาจเพื่อการอย่างอื่นก็ได้ และสารสนเทศไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษรเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ลักษณะของต้นไม้ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ บ่งของถึงเมล็ดพันธุ์ กระบวนการเติบโต และความสมบูรณ์ของดินที่มันถือกำเนินขึ้นมา ดังนั้นลักษณะของต้นไม้จึงถือได้ว่าเป็นสารสนเทศอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่มีความรู้ความสนใจเกี่ยวกับต้นไม้ และบ่งชี้ถึงสภาพของดินว่ามีความอุดมสมบูรณ์หรือไม่ แสดงว่าเฉพาะคนที่เข้าใจความหมายของมันเท่านั้นจึงจะได้รับสารสนเทศ
การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
         ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การจะสร้างสารสนเทศได้ต้องมีข้อมูลและการประมวลผล ก่อนที่จะประมวลผลข้อมูลต้องทราบก่อนว่า เราจะจัดการเกี่ยวกับข้อมูลได้อย่างไร
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
        1. การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเก็บข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งกำเนิดมาทำการเข้ารหัสในรูปที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บ และบันทึกในสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้นาน ๆ เช่น จดบันทึกในกระดาษรวบรวมใส่แฟ้ม เก็บเข้าตู้ หรือบนทึกลงในจานแม่เหล็กโดยระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ต้องทำการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่ได้ก่อนนำไปเก็บ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้องแม่นยำอย่างแท้จริง
        2. การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการรักษาข้อมูลไว้ให้ใช้ได้ตลอดไป ซึ่งอาจประกอบด้วยการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา ทำการแยกประเภท จัดเรียงลำดับ และคำนวณหาข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
        3 การจัดการข้อมูล คือการสร้างระบบจัดข้อมูลจำนวนมากให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ซึ่งประกอบด้วยการจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทั้งแบบแฟ้มกระดาษหรือแฟ้มในคอมพิวเตอร์ การสร้างฐานข้อมูล คือระบบเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการจัดระบบบำรุงรักษาไม่ให้ผิดเพี้ยนหรือสูญหาย และการสร้างระบบค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสืบค้นได้รวดเร็ว และมี   ข้อมูลสะสมให้เลือกใช้มากมาย การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นที่การสร้างฐานข้อมูลซึ่งจะต้องออกแบบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ปัจจุบันนี้มีซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถใช้จัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล เช่น Access หรือ Oracle


แบบฝึกหัด
เรื่อง ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล
ชื่อ-สกุล.....................................................เลขที่..............ชั้น..................
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนบทความ  เรื่อง  ข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผล  ในบล็อคของนักเรียน จำนวน  5  ย่อหน้า โดยตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี มีลักษณะอย่างไร
..................................................................................................................
..................................................................................................................
2. ข้อมูลดิบคืออะไร
..................................................................................................................
..................................................................................................................
3. ข้อมูลที่ดีต้องมีลักษณะอย่างไร
..................................................................................................................
..................................................................................................................
4. จงบอกวิธีการจัดเก็บข้อมูล
..................................................................................................................
..................................................................................................................
5. จงให้คำจำกัดความของคำว่าสารสนเทศ
..................................................................................................................
..................................................................................................................


เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล ชั้น ม.1


หน่วยที่ 3 เรื่อง คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
วิชา คอมพิวเตอร์ (ง.21102) ชั้น ม.1
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล
สาระสำคัญ  ความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   นักเรียนบอกความสัมพันธ์ของระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัลได้
สาระการเรียนรู้  ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัล

ใบความรู้
เรื่อง ความสัมพันธ์ระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัล
        ระบบดิจิทัลที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ เป็นระบบที่ทำงานด้วยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ ซึ่งต่างกับระบบแอนะล็อกดั้งเดิม ที่ทำงานโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบบดิจิทัลทำงานโดยอาศัยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ เราจึงสามารถใช้ระบบเลขฐานสอง (เลข 0 กับ เลข 1) แทนแรงดันไฟฟ้าสองระดับนั้น ดังนั้นเมื่อเราสร้างคอมพิวเตอร์ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระบบดิจิทัล เราจึงอาจกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบเลขฐานสอง นั่นคือคอมพิวเตอร์จะใช้เพียงเลข 0 กับเลข 1 เท่านั้นในการทำงาน แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะต้องคำนวณเลขที่มีค่ามาก หรือต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก ๆ เลขฐานสองที่ใช้จึงต้องมีจำนวนหลักมาก จำนวนหลักของเลขฐานสองนี่เองที่เราเรียกว่า บิต (Bit) เช่น เลขฐานสองที่ใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษรต่าง ๆ บนแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเลขฐานสองขนาด 8 บิต คือ มี 8 หลัก เช่น ตัวอักษร A แทนด้วย 0100 0001 อักษร Z แทนด้วย 0101 1010 เป็นต้น

แบบฝึกหัด
เรื่อง การนับเลข
ชื่อ-สกุล...........................................เลขที่..............ชั้น..................
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ที่สุด  ในกล่องแสดงความคิดเห็น  เรื่อง  เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล ใน tonghom2009.blogspot.com 


1. คอมพิวเตอร์มีระบบจัดการกับข้อมูลมาก ๆ อย่างไร
………………………………………………………………….
………………………………………………………………….
2. จงบอกข้อแตกต่างระหว่างระบบดิจิทัลกับแอนะล็อก
………………………………………………………………….
………………………………………………………………….
3. บอกความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัล
………………………………………………………………….
………………………………………………………………….


ลักษณะของสารสนเทศที่ดี ชั้น ม.3

หน่วยที่ 3.1  เรื่อง หลักการพัฒนาโครงงานที่ใช้เทคโนโลยี
วิชา คอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ง.23102)
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
สาระสำคัญ   ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นักเรียนบอกลักษณะของสารสนเทศที่ดีได้
สาระการเรียนรู้
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์

ใบความรู้ เรื่อง
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
        การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ หรือไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือก็สามารถสร้างสารสนเทศที่ดีได้
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์  มีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความสัมพันธ์กัน (Relevant)
2. มีความทันสมัย (Timely)
3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate)
4. มีความกระชับรัดกุม (Concise)
5. มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (Complete)

แบบฝึกหัด
เรื่อง คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี

ชื่อ-สกุล..................................................................เลขที่..............ชั้น..................

คำสั่ง   ให้นักเรียนเขียนบทความในบล็อกของนักเรียน เรื่อง คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
จำนวน 2 ย่อหน้า ดังนี้

1. คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
………………………………………………………………….
……………………………………………………………………..
2. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสารสนเทศมีประโยชน์อย่างไร
…………………………………………………………………….
……………………………………………………………………..



วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ตัวอย่างการสร้างระบบงาน


สาระสำคัญ   การสร้างระบบงานด้วยคอมพิวเตอร์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  นักเรียนสามารถสร้างระบบงานด้วยคอมพิวเตอร์ได้

สาระการเรียนรู้    ตัวอย่างการสร้างระบบงานการหาความสูงเฉลี่ยของผักทั้ง 5 ชนิดและการใช้ปุ๋ย 5 สูตรเพื่อหาสูตรเดี่ยวที่ให้น้ำหนักเฉลี่ยของผักดีที่สุด

ใบความรู้

เรื่อง การสร้างระบบงาน


1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้

ชาวสวนผักพบปัญหาว่า ผักน้ำหนักไม่ค่อยดี คือ เมื่อนำมาชั่งน้ำหนักแล้วเบามาก ซึ่งเขาปลูกผักทั้งหมด 5 ชนิด ซึ่งเขาเคยได้ทดลองซื้อปุ๋ยจากบริษัทต่าง ๆ มาใช้ แต่ก็ยังได้ผลไม่เต็มที่และมีราคาแพง ดังนั้นเขาจึงศึกษางานวิจัยพบว่าเขาสามารถผลิตปุ๋ยน้ำธรรมชาติใช้เองได้ ซึ่งมีสูตรการทำอยู่ทั้งหมด 5 สูตร

ปัญหา คือ ปุ๋ยสูตรใดดีที่สุด เพราะโดยธรรมชาติแล้วผักแต่ละประเภทเจริญเติบโตไม่เท่ากัน

ข้อมูล คือ น้ำหนักของผักทั้ง 5 ชนิดที่ชั่งใด

2. กำหนดรายละเอียดความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน

ต้องการทราบว่าปุ๋ยทั้ง 5 สูตร สูตรใดให้น้ำหนักเฉลี่ยของผักทั้ง 5 ชนิดสูงที่สุด

3. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานหรือออกแบบโปรแกรม

ขั้นตอนเพื่อหาคำตอบ

1. แบ่งผักทั้ง 5 ชนิดออกเป็น 5 แปรง คือ แปรงละ 5 ชนิด

2. ให้ปุ๋ยแต่ละแปรงต่างสูตรกันในระยะเวลาเท่า ๆ กัน คือ 2 เดือน

3. เมื่อครบกำหนด ให้นำผักจากแต่ละแปรงมาชั่งน้ำหนักทั้ง 5 ชนิด ๆละเท่ากัน

เช่น 1 ต้นเท่ากัน

4. กลุ่มใดมีน้ำนักมากที่สุด ถือว่าปุ๋ยสูตรนั้นดีที่สุด



4. เขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรม

การเขียนโปรแกรมผู้เขียนจะต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม เพราะต้องใช้ภาษาของการเขียนโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมแต่ละอย่างจะใช้ภาษาไม่เหมือนกัน ตัวอย่างนี้คือการเขียนด้วยโปรแกรม BASIC programming language



10 CSL

20 PRINT “<< โปรแกรมคำนวณค่าเฉลี่ยของน้ำหนักผัก >>”

30 ZUMW = 0

40 FOR N = 1 TO 5

50 INPUT “น้ำหนักผักชนิดที่ :”;N,” = ”,W

60 ZUMW = ZUMW + W

70 NEXT N

80 AV = ZUMW / 5

90 PRINT “น้ำหนักผักโดยเฉลี่ยของกลุ่มนี้ = ”; AV

100 PRINT “จบการทำงาน”




5. ทดสอบโปรแกรมและหาจุดบกพร่อง



<< โปรแกรมคำนวณค่าเฉลี่ยของน้ำหนักผัก>>

น้ำหนักผักชนิดที่ : 1 = 145.21

น้ำหนักผักชนิดที่ : 2 = 144.90 น้ำหนักที่ป้อนเข้าสู่การประมวลผล

น้ำหนักผักชนิดที่ : 3 = 146.15

น้ำหนักผักชนิดที่ : 4 = 143.95

น้ำหนักผักชนิดที่ : 5 = 148.30

น้ำหนักผักโดยเฉลี่ยของกลุ่มนี้ = 145.702

จบการทำงาน



6. นำไปใช้งานจริง เมื่อทดสอบโปรแกรมจนแน่ใจว่าถูกต้องแล้ว เราก็จะนำโปรแกรมไปรวมทั้งระบบงานที่ได้ออกแบบขึ้นไปใช้งานจริง

7. บำรุงรักษา ติดตามผล และแก้ไขปรังปรุง สำหรับระบบงานที่ต้องนำไปปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่องเราจะต้องคอยบำรุงรักษาโปรแกรมรวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานได้ตลอดไป และอาจต้องทำการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ



ใบงาน เรื่อง การสร้างระบบ กลุ่มที่…………..

ชื่อ-สกุล......................................................เลขที่..............ชั้น..................

ชื่อ-สกุล......................................................เลขที่..............ชั้น..................

ชื่อ-สกุล......................................................เลขที่..............ชั้น..................



คำชี้แจง ให้นักเรียนสร้างระบบงานโดยใช้คอมพิวเตอร์

................................................................................................

................................................................................................

................................................................................................









วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการพัฒนาระบบ (ม.3)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2.2 เรื่อง ขั้นตอนการพัฒนาระบบ

วิชา คอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ง.23102)

วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554




ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. นักเรียนบอกขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ได้

2. นักเรียนบอกขั้นตอนการพัฒนาระบบงานที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ได้

สาระการเรียนรู้

ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และขั้นตอนการระบบงานที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์



ใบความรู้ เรื่อง

ขั้นตอนการพัฒนาระบบ



การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใด ๆ ก็ตาม จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบ ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง นอกจากนี้ยังจะต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า การวิเคราะห์หาวิธีแก้ปัญหาต้องพอเหมาะพอดี มีการจัดหาระบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ไม่เกินความจำเป็น

ดังนั้น จึงต้องมีการจัดขั้นตอนและหลักการสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมซึ่งโดยทั่วไปเราอาจไม่ได้สร้างระบบงานใหม่ แต่พัฒนาระบบงานเก่าให้เป็นระบบงานสารสนเทศที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า “การพัฒนาระบบงาน” มากกว่าคำว่า การสร้างงาน ซึ่งตามหลักวิชาว่าด้วยการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์มีการจัดขั้นตอนการพัฒนาระบบงานดังนี้



ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์

1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำรวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้

2. กำหนดรายละเอียดความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน

3. ออกแบบโปรแกรม

4. เขียนชุดคำสั่ง

5. ทดสอบโปรแกรม

6. นำไปใช้งานจริง

7. บำรุงรักษา ติดตามผล และแก้ไขปรับปรุง



จะเห็นว่าการพัฒนาระบบงานนั้น จำเป็นต้องรู้ขั้นตอนวิธีทำงานของระบบงานเดิมและกำหนดวิธีการทำงานในระบบงานที่จะทำใหม่ให้ละเอียดเสียก่อน จากนั้นจึงเป็นการหาวิธีแก้ปัญหาโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งจะต้องมีการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงาน



ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์

1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำ รวมถึงรายละเอียดข้อมูล

2. กำหนดรายละเอียดความต้องการข้องผู้ใช้ระบบงาน

3. ออกแบบขั้นตอนวิธีของการทำงาน

4. ตรวจสอบขั้นตอนวิธีของการทำงานให้แน่ใจว่าถูกต้อง

5. นำไปใช้งานจริง

6. บำรุงรักษาระบบ ติดตามผลและแก้ไขปรับปรุง





แบบฝึกหัด

เรื่อง ขั้นตอนการพัฒนาระบบงาน

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. จงบอกขั้นตอนการพัฒนาระบบงานด้วยคอมพิวเตอร์

.........................................................................................................

2. จงบอกขั้นตอนการพัฒนาระบบงานโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์

.........................................................................................................

.........................................................................................................








กีฬาสายใยไตรภาคีเกมส์ ครั้งที่ 3

        ตามที่โรงเรียนบ้านทวดทอง  โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช  ณ นครอุทิศ  โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ได้ลงมติร่วมกันจัดกิจกรรมการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปี 2554  ภายใต้ชื่อ  กีฬาสายใยไตรภาคีเกมส์  ครั้งที่ 3  ซึ่งทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ สนามกีฬากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช  ผลปรากฎ  ดังภาพ

กีฬาสายใยไตรภาคีเกมส์  ครั้งที่ 3 

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Happy Mothers Day


Happy Mothers Day Song - I Love You Mommy Mothers Day Song For Children


วันแม่แห่งชาติ 2554


วันแม่แห่งชาติ


          ในสังคมต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับ "ความเป็นแม่" และคำเรียกผู้ที่ให้กำเนิดสมาชิกใหม่ของแต่ละสังคมส่วนใหญ่จะเป็นคำแรกที่เด็กสามารถเปล่งเสียงได้ก่อน "แม่" ดังนั้นความหมายของคำว่า "แม่" ทุกภาษาและวัฒนธรรมจะมีคุณค่าอย่างมาก และหากสังเกตจะพบว่า "แม่" เป็นเสียงที่เด็กสามารถเปล่งได้อย่างง่าย และเป็นคำแรกที่สามารถออกเสียงนั้นได้อย่างมีความหมาย 

          ความหมายหลักของคำว่า แม่ คงหนีไม่พ้นการเป็นผู้ให้ชีวิตหรือหญิงผู้ให้กำเนิดบุตร หญิงผู้ปกป้องคุ้มครองและดูแลรักษา สังคมไทยยังใช้คำว่าแม่ตามความหมายนี้เรียกสิ่งดีงามตามธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อยกย่องเทอดทูนในฐานะผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงชีวิต เช่น แม่น้ำ แม่โพสพ แม่ธรณี เป็นต้น ความหมายของคำว่าแม่ในลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นชัดอย่างชัดเจนว่าสังคมไทยแต่โบราณมายกย่องและให้เกียรติสตรีเพศผู้เป็นแม่ ตระหนักในบทบาทหน้าที่และบุญคุณของแม่ต่อชีวิตของลูก ๆ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย 

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วาดรูป ด้วยสีไม้

สอนศิลป์-เขียนภาพด้วยปากกา

watercolor2

origami crocodile

The Amazing Origami of Robert Lang

มาพับปลาตะเพียนกัน

เหรียญโปรยทาน๑

Wedding Party Bouquets

การจัดสวนแก้ว.flv

ribbon rose

ดอกกุหลาบใบเตย_.mp4

Origami Lotus Flower Instructions

Origami Magic Rose Cube (Valerie Vann)

สาระศิลป์ ประดิษฐ์ขวด 02

กัน TS6 ประดิษฐ์ดินสอจำแลง @ ซูเปอร์จิ๋ว

แจ๋วพารวย ยาดม

งานประดิษฐ์จากขวดน้ำเหลือใช้

พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Making a Craft Kiragami Hummingbird

Butterfly Dance - Kirigami Pop-up Cards

Learn to Make Paper Flowers!

How to make an Origami Jasmine Flower Napkin

First Orbit - the movie

ระบบสารสนเทศ (ม.3)

หน่วยการเรียนรู้ที่  2.1  เรื่อง ระบบสารสนเทศ วิชา คอมพิวเตอร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 (ง.23102)

ใบความรู้ 

เรื่อง    ระบบงานสารสนเทศ

                การทำงานใด ๆ ให้ลุล่วงตามวัตถุประสงค์และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จะต้องมีการวางแผนและออกแบบระบบการทำงานได้ดีที่สุด เพื่อลดปัญหาความผิดพลาดและความล่าช้าของการปฏิบัติงาน ระบบการทำงานโดยทั่วไปหมายถึงกระบวนการทำงานที่ประกอบด้วย คน ข้อมูล และเครื่องจักร ที่จำเป็นในการทำงานนั้น ระหว่างองค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้จะต้องมี การสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้การทำงานสอดคล้องประสานกันไปในทิศทางที่ต้องการ
                การสื่อสารระหว่างคนโดยทั่วไปก็คือการพูด การสั่งงานและรายงานก็ทำด้วยคำพูดหรือด้วยเอกสาร ส่วนการสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักร ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรนั้นคืออะไร ตัวอย่างเช่น เราสื่อสารกับรถยนต์ด้วยพวงมาลัยเพื่อสั่งให้เลี้ยวเป็นต้น ข้อมูลที่เราใช้ในการตัดสินใจสั่งก็คือถนนหนทางหรือสิ่งที่เรามองเห็น รวมทั้งความต้องการของเรา สมองของเรา
ทำหน้าที่แปรความหมายข้อมูลมากมายที่เห็น เช่น ถนน ทุ่งนา ท้องฟ้า ต้นไม้ คน บ้าน รถ ฯลฯ  ที่ปรากฏตามเส้นทางให้เป็นสารสนเทศ คือส้นทางที่เราไปได้และต้องการจะไป สารสนเทศเรื่องนี้จำเป็นต้องใช้เพื่อการตัดสินใจในการบังคับรถยนต์ให้ไปสู่จุดหมายที่ต้องการ การทำงานของสมองในลักษณะนี้ถือได้ว่าเป็นระบบสารสนเทศที่ซับซ้อนที่สุดยิ่งกว่าระบบงานสารสนเทศที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์ใด ๆ
การตัดสินใจสั่งงานหรือดำเนินการใด ๆ จะต้องใช้คนกลั่นกรองและประมวลผลข้อมูลออกเป็นสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจให้ดีที่สุด ระบบงานที่ทำหน้าที่กลั่นกรองและประมวลผลข้อมูลดิบ เพื่อทำให้เป็นสารสนเทศขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นคนหรือเครื่องจักรก็คือระบบงานสารสนเทศ
กรณีที่เราใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลดิจิตอลและคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่เรียกว่า โปรแกรม ถ้าระบบงานใหญ่มาก อาจจำเป็นต้องใช้โปรแกรมหลายโปรแกรมรวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่ที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ โปรแกรมอาจจะถูกป้อนเข้าทางแป้นพิมพ์ หรืออ่านจากแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดี ข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ก็อยู่ในรูปเดียวกับคำสั่ง โปรแกรมจะเป็นตัวประมวลผลข้อมูลตามกรรมวิธีที่เราคิดขึ้นตามจุดประสงค์ของงาน เพื่อกลั่นกรองข้อมูลออกเป็นสารสนเทศให้เราใช้ช่วยในการตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่เหมาะสม ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ระบบงานสารสนเทศที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์   ( Information Systems) จะประกอบด้วย องค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.             เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
2.             ข้อมูลและสารสนเทศ
3.             โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์
4.             บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์


ใบงาน

เรื่อง  ระบบงานสารสนเทศ

ชื่อ-สกุล..............................................................เลขที่...........ชั้น...............




คำสั่ง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ระบบงานสารสนเทศหมายถึงอะไร
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
2. ส่วนใดของมนุษย์ที่ทำหน้าที่เป็นระบบสารสนเทศที่ซับซ้อนที่สุด
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
3. เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
4. องค์ประกอบของระบบงานสารสนเทศที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
5. เพราะเหตุใดบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนที่มีความสำคัญสำหรับระบบงาน
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ (ม.2)



หน่วยการเรียนรู้ที่  1 .4  เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์  
วิชา คอมพิวเตอร์(ง.22102)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2

คำชี้แจง ให้นักเรียนบอกแนวทางการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในองค์เป็นข้อ ๆ
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................


ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (ม.2)



แบบฝึกหัด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1.3  เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน  วิชา คอมพิวเตอร์(ง.22102)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด 
1. CPU คืออะไร และมีการพัฒนาอย่างไร
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
2. การเปลี่ยนแปลงระบบซอฟต์แวร์มีการเปลี่ยนแปลงกี่ครั้งและเปลี่ยนอย่างไร
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
3. GUI คืออะไร
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
4. WWW และ HTTP ย่อมาจากคำว่าอะไร
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
5. เครือข่ายอินเทอร์เน็ตใช้ระบบการต่อเชื่อมแบบใด
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................

การทำงานของคอมพิวเตอร์ (ชั้น ม.1)



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  การทำงานของคอมพิวเตอร์ 
วิชา คอมพิวเตอร์ (ง.21102)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

ตัวชี้วัด  ง.3.1  ม.1/1  อธิบายหลักการทำงาน  บทบาท  และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


คอมพิวแตอร์  เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ  การเก็บข้อมูล  การตัดสินใจ  การสร้างงานที่ยุ่งยากซับซ้อน  และอื่นๆ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้งานในทุกหน่วยงาน  การเรียนรู้ขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์จะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้คอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความต้องการ



คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ การทำงานของคอมพิวเตอร์

1.             ให้นักเรียนอธิบายระบบการทำงานขั้นพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์มาพอเข้าใจ
2.            จงอธิบายส่วนประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์  มีกี่หน่วย  อะไรบ้าง
3.            ให้นักเรียนพิจารณาว่าอุปกรณ์ต่อไปนี้เป็นอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหน่วยใดของคอมพิวเตอร์  เมาส์  ซีพียู  แฟลชไดร์ฟ  จอภาพ  ลำโพง  แผ่นซีดี  แป้นพิมพ์  แผ่นบันทึก  รอม  ฮาร์ดดิสก์  ก้านควบคุม  แรม
4.            จงเปรียบเทียบ  หน่วยความจำแรมและหน่วยความจำรอม  มีความแตกต่างกันอย่างไร 
5.            ให้นักเรียนอธิบายวิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์มาพอเข้าใจ  

ผลการสร้างบล็อก ของ นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนวัดพระมหาููธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช

คำสั่ง...  ให้นักเรียนอ่านผลการตรวจสอบการสร้างบล็อกของกลุ่มตนเอง   ให้ปรับปรุงแก้ไขและรายงานผล  จากนั้นให้เข้าไปติดตามและสมัครเป็นสมาชิกในบล็อกของเพื่อนๆ  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลการตรวจสอบการสร้างบล็อก  ของ  หน่วยการเรียนรู้ที่  5     การสร้างชิ้นงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์    ชั้น  ม.2  
   
ที่
ชื่อ-สมาชิกกลุ่ม
ชื่อ Blog   ที่กลุ่มสร้างขึ้น
1
ด.ญ.สุภาภรณ์  จันอ่อน
ด.ญ.กรกช  เล้าพยอม
ด.ญ.ดลยา  ครึกครื้น
พบบล็อกนี้  มีบทความ  แสดงความคิดเห็นไม่ได้  ตรวจสอบฟิลด์ที่จำเป็นไม่สามารถเว้นว่างได้  และ  ปรับปรุงแก้ไข  บทความแนะนำตนเอง  ใหม่  โดยเขียนเนื้อหาเป็นความเรียง ประกอบด้วย  ชื่อ-สกุล  ชื่อเล่น  ชั้น  โรงเรียน  อำเภอ จังหวัด  สิ่งที่ชอบ-ไม่ชอบ  เช่น  อาหาร  ดนตรี  กีฬา  กิจกรรมยามว่าง  ความคาดหวังในอนาคต  และแทรกภาพประกอบด้วยค่ะ
2
ด.ญ.ณัฐสิมา  สวัสดิโกมล
ด.ญ.เจริญพร  จักรเจริญ
ด.ญ.ฐิติพร  พาหุรัตน์
สวัสดีค่ะ  ครูแวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว พบบล็อกนี้  มีบทความ   แสดงความคิดเห็นไม่ได้  ตรวจสอบฟิลด์ที่จำเป็นไม่สามารถเว้นว่างได้  และ   ขอให้ปรับปรุงแก้ไข  บทความแนะนำตนเอง  ใหม่  โดยเขียนเนื้อหาเป็นความเรียง ประกอบด้วย  ชื่อ-สกุล  ชื่อเล่น  ชั้น  โรงเรียน  อำเภอ จังหวัด  สิ่งที่ชอบ-ไม่ชอบ  เช่น  อาหาร  ดนตรี  กีฬา  กิจกรรมยามว่าง  ความคาดหวังในอนาคต  และแทรกภาพประกอบด้วยค่ะ 
3
ด.ญ.สุพรรณี  ผจงเกียรติ
ด.ญ.เพชรไพลิน  ส่งแก้ว
การสร้างบล็อก
พบบล็อกนี้  ยังไม่ลงทะเบียน  
4
ด.ช.ศิวกร  บุษยา
ด.ญ.กรกนก  จุลสำอาง
ด.ญ.เสาวลักษณ์  จันนินวงศ์
พบบล็อกนี้  ไม่มีบทความ  ไม่สามารถเข้าไปติดตาม เยี่ยมชม  หรือแสดงความคิดเห็นใดๆได้  
ขอให้ปรับปรุงแก้ไข  โดยสร้างบทความแนะนำตนเอง  โดยเขียนเนื้อหาเป็นความเรียง ประกอบด้วย  ชื่อ-สกุล  ชื่อเล่น  ชั้น  โรงเรียน  อำเภอ จังหวัด  สิ่งที่ชอบ-ไม่ชอบ  เช่น  อาหาร  ดนตรี  กีฬา  กิจกรรมยามว่าง  ความคาดหวังในอนาคต  และแทรกภาพประกอบด้วยค่ะ 
5
ด.ช.จักรกฤษณ์  สุดเอียด
ด.ช.พลกฤต  อุดมศรี
ด.ช.เกียรติศักดิ์  นวลวงศ์
สวัสดีค่ะ  ครูแวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว
พบบล็อกนี้  มีบทความ  แสดงความคิดเห็นได้
แบบฝึกชิ้นต่อไป  ขอให้เข้าไปอ่านใน Tonghom2009.blogspot.com  ค่ะ  
6
ด.ช.ธนกร  มัยยะ
ด.ช.ตระกูล  เพชรรัตน์
สวัสดีค่ะ  ครูแวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว พบบล็อกนี้  มีบทความ   แสดงความคิดเห็นไม่ได้  ตรวจสอบฟิลด์ที่จำเป็นไม่สามารถเว้นว่างได้  และ   เพิ่มเติม  บทความแนะนำตนเอง  โดยเขียนเนื้อหาเป็นความเรียง ประกอบด้วย  ชื่อ-สกุล  ชื่อเล่น  ชั้น  โรงเรียน  อำเภอ จังหวัด  สิ่งที่ชอบ-ไม่ชอบ  เช่น  อาหาร  ดนตรี  กีฬา  กิจกรรมยามว่าง  ความคาดหวังในอนาคต  และแทรกภาพประกอบด้วยค่ะ 
7
ด.ญ.กฤติยา   คำนวณจิตร
ด.ญ.พัสตราภรณ์  บุญเฟื่อง
ด.ญ.สุมาภรณ์  ขุมบัวมาศ
พบบล็อกนี้  ยังไม่ลงทะเบียน  
8
ด.ญ.วนิดา  วิสุทธิธรรม
ด.ญ.วรรษวิมล  คงดี
ด.ญ.ญาสุมินทร์  ชาญบำรุง
ไม่พบบล็อก  ของ

9
ด.ช.จักรภัทร  ลุกเซ็น
ด.ช.เจตนิพัทธ์  เดชบุญญา
ด.ช.อภิภู  ไชยนุรัตน์
การสร้างบล็อก
สวัสดีค่ะ  ครูแวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว
พบบล็อกนี้  มีบทความ  แสดงความคิดเห็นได้
แบบฝึกชิ้นต่อไป  ขอให้เข้าไปอ่านใน Tonghom2009.blogspot.com  ค่ะ  
10
ด.ช.ธีรภัทร์  ผันแปร
ด.ช.กุลเดช  รัญเสวะ
ด.ช.หาญณรงค์  เสถียรกิจ
สวัสดีค่ะ  ครูแวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว
พบบล็อกนี้  มีบทความ  แสดงความคิดเห็นได้
แบบฝึกชิ้นต่อไป  ขอให้เข้าไปอ่านใน Tonghom2009.blogspot.com  ค่ะ  
11
ด.ญ.กมรวรรณ  เกิดประกาย
ด.ญ.อรกานต์  จงไกรจักร
ด.ญ.สุธิดา  ทิพย์รัตน์
สวัสดีค่ะ  ครูแวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว
พบบล็อกนี้  มีบทความ  แสดงความคิดเห็นได้
แบบฝึกชิ้นต่อไป  ขอให้เข้าไปอ่านใน Tonghom2009.blogspot.com  ค่ะ  
12
ด.ญ.เกษรา  เพชรศรี
ด.ญ.ธีรนุช  เสนา
ด.ญ.นภสร  พิวัฒน์
สวัสดีค่ะ  ครูแวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว
พบบล็อกนี้  มีบทความ  แสดงความคิดเห็นได้
แบบฝึกชิ้นต่อไป  ขอให้เข้าไปอ่านใน Tonghom2009.blogspot.com  ค่ะ  
13
ด.ญ.วนิดา  วิสุทธิธรรม
ด.ญ.วรรษวิมล  คงดี
ด.ญ.ญาสุมินทร์  ชาญบำรุง
สวัสดีค่ะ  ครูแวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว
พบบล็อกนี้  มีบทความ  แสดงความคิดเห็นได้
แบบฝึกชิ้นต่อไป  ขอให้เข้าไปอ่านใน Tonghom2009.blogspot.com  ค่ะ  
14
ด.ญ.สลิลทิพย์  คำใส
ด.ญ.ศิวนาถ  เดชซัง
ด.ญ.จิระวรรณ  ชะนะทอง
ไม่พบบล็อก  ของ
15
ด.ญ.จินดารัตน์  จินดารัศมี
ด.ญ.โสมธิดา  ณ นคร
ด.ญ.กุลนิษฐ์  นิลปักษี
ไม่พบบล็อก  ของ
16
ด.ญ.วรรณวิศา  หนูวงศ์
ด.ญ.จันทกานต์  ทองแก้ว
ด.ญ.แพรวพรรณ  เผ่าแสนเมือง
การสร้างบล็อก
สวัสดีค่ะ  ครูแวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว
พบบล็อกนี้  มีบทความ  แสดงความคิดเห็นได้
แบบฝึกชิ้นต่อไป  ขอให้เข้าไปอ่านใน Tonghom2009.blogspot.com  ค่ะ  
17
ด.ญ.สุมาภรณ์  ขุมบัวมาศ
ด.ญ.พัสตราภรณ์  บุญเฟื่อง
ไม่พบบล็อก  ของ