วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บันทึก...บริบทและสภาพจริงของการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา


บันทึก...บริบทและสภาพจริง
ของการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
ระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน - 29 กรกฎาคม 2559
ในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
...................
 จริยา ทองหอม
26/07/2559

        บันทึกนี้เขียนขึ้นจากการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาที่ผู้เขียนทำการสอน และให้ความสนใจในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาในระหว่างการดำรงตำแหน่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้
        จากการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในระบบ มีลักษณะ ดังนี้
1. สถานศึกษาได้ดำเนินการจัดกิจกรรมปกติตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช 2551
2. สถานศึกษาได้ดำเนินกิจกรรมตามโครงการในแผนปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา
3. สถานศึกษาได้ให้ความร่วมมือกับทุก ๆ หน่วยงานในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา     คุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
       
         แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เจตนารมณ์ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษาในขณะนี้จะเป็นไปในด้านบวกหรือด้านลบ ดังนี้
        1. การดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ในระหว่างเวลาใกล้สิ้นปีงบประมาณจะต้องติดตามเร่งรัดเกี่ยวกับการรายงานผลงานของตนเอง การรายงานผลงานตาม 11 จุดเน้นนโยบายของกระทรวงศึกษาส่งผลให้แต่ละหน่วยงานเร่งจัดกิจกรรมเพื่อสร้างภาพผลงานและเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มผู้เรียน ครูผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งนักเรียนและครูผู้สอนต้องให้ความร่วมมือในทุก ๆ กิจกรรม และทุก ๆ ภาระงานที่เกี่ยวข้องทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งตามตารางเรียนปกติ กิจกรรมตามโครงการในแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษา และกิจกรรมตาม 11 จุดเน้นนโยบายของกระทรวงศึกษา และการรายงานผลให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการข้อมูลของผู้เรียน ครู และสถานศึกษา อีกทั้งขณะนี้เกิดความสับสนในคณะนักเรียนและครูผู้สอนที่ไม่สามารถตอบสนองต่อกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทั้งหมด เพราะมีกิจกรรมเข้ามามากจนไม่สามารถตอบสนองได้ เช่น
     


1.1 การดำเนินกิจกรรมในสถานศึกษา (ระหว่างวันที่ 26 ก.ค. - 3 ส.ค. 2559) นักเรียนและครูผู้สอน จะต้องจัดการเรียนการสอนตามตารางเรียนปกติ จัดกิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ทำให้ตารางสอนของนักเรียนเพิ่มขึ้นจาก 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็น 35 คาบต่อสัปดาห์ (ซึ่งไม่เป็นไปตามนโยบายหรือเป้าหมายของ รมว. ศธ. ที่ผู้เขียนเคยศึกษาวิเคราะห์มาตั้งแต่ตอนเริ่มต้นรัฐบาล) ดังนี้
       - วันที่ 26-28 ก.ค. 2559 นักเรียนชั้น ม.2 ต้องเข้าค่ายลูกเสือต้านภัยยาเสพติด พร้อมกัน จำนวน 11 โรง ในภาระงานนี้ รูผู้สอนที่มีชั่วโมงสอนในชั้น ม.2 ต้องช่วยกันดูแลกิจกรรมตามชั่วโมงสอนที่รับผิดชอบ และจัดการเรียนการสอนตามตารางสอนปกติในชั้นเรียนอื่น ๆ
       - วันที่ 29 ก.ค 2559 กิจกรรมวันภาษาไทย ตามโครงการในแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
       - วันที่ 3 ส.ค. 2559 กิจกรรม We are ASIAN ตามโครงการโรงเรียนนำร่อง และนโยบายรัฐ
ลักษณะของกิจกรรมวันภาษาไทย และกิจกรรม We are ASIAN จะจัดทั้งวันในสถานศึกษา และมีรูปแบบการจัดที่คล้ายคลึงกัน เช่น ฐานการเรียนรู้ ซุ้มนิทรรศการ ซุ้มอาหาร การแต่งกาย การแสดง การขายของ การประกวดโครงงาน แต่จัดแยกกิจกรรมออกจากกัน ขาดการเชื่อมโยงบูรณาการกิจกรรมเข้าด้วยกัน
ลักษณะของปัญหาที่พบ มีดังนี้
        1. ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับผู้เรียน คือ ผู้เรียนเริ่มสับสนไม่รู้ว่าจะทำกิจกรรมอะไรก่อน/หลัง ทำไม่ทัน ไม่สามารถทำกิจกรรมได้หลาย ๆ กิจกรรมในเวลาเดียวกัน และทุกกิจกรรมต่างต้องใช้ทุนของผู้เรียนส่วนหนึ่งในการดำเนินกิจกรรม
        2. ปัญหาในการวางแผนและเตรียมงาน ครูผู้สอนต้องฝึกผู้เรียนเพื่อให้มีความพร้อมในการแสดง หรือการเข้าร่วม หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนจนกลายเป็นภาวะความเครียดและกดดันผู้เรียนและครูผู้สอน
        3. ปัญหาผู้เรียนไม่ได้เรียนตามปกติในเวลาเรียนตามตารางเรียนเพราะต้องเข้าร่วมกิจกรรมมากเกินไป
        4. ปัญหาผู้เรียนไม่ได้เรียนตามปกติในเวลาเรียนตามตารางเรียนเพราะครูผู้สอนไม่อยู่ติดภาระงานตามนโยบาย ศธ บ่อยครั้งเกินไป
        5. ปัญหาผู้เรียนไม่ได้เรียนตามปกติในเวลาเรียนตามตารางเรียนเพราะต้องตอบแบบสอบถามหรือให้ข้อมูลหรือเข้าร่วมกิจกรรมจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่ขอความร่วมมือ
        1.2 กิจกรรม STEM ศึกษา พบวาในขณะนี้คณะพัฒนางานของ STEM ศึกษา จะนัดทำงานกันในเวลาราชการ ส่งผลให้ครูผู้สอน หรือวิทยากรแกนนำละทิ้งภาระงาน การเรียนการสอนตามตารางเวลาปกติ เพื่อดำเนินกิจกรรมตามนโยบาย ศธ. ทำให้นักเรียนไม่ได้เรียนในรายววิชาที่ครูไม่อยู่ อีกทั้งเป็นภาระที่เพื่อนครูต้องสอนในชั่วโมงนั้น ๆ จึงเห็นว่าควรดำเนินการวางแผนพัฒนาในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดแทนการปฎิบัติในเวลาที่ครูจะต้องทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่ควรดึงครูออกจากห้องเรียนหรือชั่วโมงที่ต้องทำการสอน
        1.3 กิจกรรมแนะแนว การรายงานผลโดย Best Practice เพื่อตอบสนองนโยบาย ศธ สร้างปัญหาให้ครูเพราะต้องจัดทำกิจกรรมเพิ่มเติมตามหัวข้อที่กำหนดให้รายงาน เพิ่มภาวะความเครียดและความกดดันให้ครูมากขึ้น
        1.4 การรายงานผลข้อมูล O-net ให้ สทศ. ซึ่งครูจะต้องจัดทำระบบข้อมูลอยู่ตลอดเวลา จนทำให้ครูเกือบทุกคนพูดหรือบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า "กิจกรรมตามนโยบาย ศธ. มีมาก ๆๆๆๆๆ เกินไป จนทำแทบจะไม่ไหวแล้ว" และนักเรียนก็เริ่มโอดครวญเหมือนกันว่า "ไม่ไหวแล้วววววว จะให้ทำอะไรอีกล่ะครู???"       
นี่คือบันทึก...บริบทและสภาพจริงของการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน - 29 กรกฎาคม 2559 ในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ และเป็นบทบันทึกที่เขียนขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ (26 ก.ค. 2559 - 3 ส.ค. 2559) เพื่อสะท้อนสภาพความเป็นจริงในขณะปัจจุบันของสถานศึกษาในมุมมองของครูผู้สอนและนักเรียนในสถานศึกษาที่ตกอยู่ในสภาวะผู้ถูกกระทำ เพราะในมุมมองของผู้กุมอำนาจรัฐจะใช้นโยบายเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินงาน แต่ในระดับสถานศึกษานักเรียน ครู และผู้บริหารสถานศึกษาต้องเร่งดำเนินกิจกรรมแบบผักชีโรยหน้าเพื่อตอบสนองนโยบาย และทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าการดำเนินงานตาม 11 นโยบายของ ศธ. ในขณะนี้จะเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้นตามเป้าหมายหรือถอยหลังเข้าคลอง

..................................................................


วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บริบทการศึกษาของประเทศไทยใน(ร่าง)แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๗๔

บริบทด้านการศึกษาของประเทศไทย
ใน (ร่าง)แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๗๔

จริยา ทองหอม
24/07/2559

การวิเคราะห์สังเคราะห์สภาพบริบทด้านการศึกษาของประเทศไทยใน (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔ ของ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นแผนระยะยาว ๑๕ ปี เพื่อเป็นแผนแม่บทสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ดังนี้ 

๑. ด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
1.1 อัตราส่วนนักเรียนต่อประชากรกลุ่มอายุ จำแนกตามระดับ การศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๑ – ๒๕๕๖ พบว่า
- การศึกษาภาคบังคับ มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ ๑๐๑.๕ ในปี๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๙๖.๗ ในปี๒๕๕๗ โดยระดับการศึกษาที่มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นคือระดับก่อนประถมศึกษา โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๑๓.๐ เป็นร้อยละ ๑๑๖.๓ ระดับการศึกษาที่มีแนวโน้มลดลง ได้แก่ ประถมศึกษา และมัธยมต้น ลดลงจากร้อยละ ๑๐๕.๒ และ ๙๔.๙ เป็น ๑๐๐.๔ และ ๘๙.๙ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ
- มัธยมศึกษาตอนปลาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๖๗.๙ เป็นร้อยละ ๗๖.๘ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ โดยสายสามัญ และ สายอาชีพ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๔๑.๖ และ ๒๖.๓ เป็นร้อยละ ๕๒.๐ และ ๒๔.๘ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ
 - ระดับอุดมศึกษา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๙.๕ เป็น ร้อยละ ๔๙.๓ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ โดยระดับปริญญาตรี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๙.๓ เป็นร้อยละ ๔๐.๘ ส่วนอนุปริญญา ลดลงจาก ร้อยละ ๑๙.๙ เป็นร้อยละ ๑๖.๙ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ
1.2 อัตราการคงอยู่ของผู้เรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมต้น มีแนวโน้มลดลง เหลือร้อยละ ๙๓.๑ และ ๙๒.๗ ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ส่วนระดับมัธยมปลายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘๖.๒ จำแนกเป็น สายสามัญและสายอาชีพ ร้อยละ ๘๙.๕ และ ๘๐.๖ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ
1.3 จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย อายุ ๑๕ – ๕๙ ปีเพิ่มขึ้น จาก ๘.๘ ปีในปี๒๕๕๑ เป็น ๙.๐ ปีในปี๒๕๕๗

๒. ด้านคุณภาพการศึกษา
2.1 ร้อยละของเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ ๕ ปีที่มีพัฒนาการสมวัย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๖๗.๗ ในปี๒๕๕๐ เป็นร้อยละ ๗๒.๕ ในปี๒๕๕๗
2.2 ร้อยละของเด็กอายุ ๐ – ๕ ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการ ระดับรุนแรง โดยมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง (ความสูงเทียบกับอายุ) และมีภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน (น้ำหนักเทียบ กับความสูง) ปี๒๕๕๕ เท่ากับร้อยละ ๒.๑ ๕.๙ และ ๒๒ ตามลำดับ
2.3 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ(O-NET) ในกลุ่มสาระหลัก ปีการศึกษา ๒๕๕๒ – ๒๕๕๗
2.3.1 จำแนกตามระดับชั้น พบว่า
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทุกวิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ยกเว้นวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่มีคะแนนเฉลี่ยเกินร้อยละ ๕๐
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทุกวิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ยกเว้นวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยเกินร้อยละ ๕๐ และวิชาภาษาไทย ที่มีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างจากปี๒๕๕๒
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ วิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ อาทิภาษาไทย การงาน อาชีพแลเทคโนโลยีวิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคงเดิม อาทิ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์และศิลปะ และวิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง อาทิคณิตศาสตร์ยกเว้น วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยเกินร้อยละ ๕๐
จำแนกตามกลุ่มสาระวิชาและระดับชั้น พบว่า เกือบ ทุกวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลงเมื่อเข้าสู่ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น
2.3.2 จำแนกตามภูมิภาค พบว่า กรุงเทพฯ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศทุกวิชา รองลงมาคือภาคกลาง และภาคใต้ส่วนภาคที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำสุดสองลำดับ สุดท้ายทุกวิชา ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
2.4 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ(N-NET) ปีการศึกษา ๒๕๕๔ – ๒๕๕๗ จำแนกตามระดับการศึกษาและสาระ พบว่า
- ระดับประถมศึกษา ทุกสาระวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ โดยสาระวิชาที่คะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนมีแนวโน้มลดลง อาทิทักษะการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน การประกอบอาชีพ ทักษะการดำเนินชีวิต ส่วนสาระด้านการพัฒนาสังคม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยเกินกว่าร้อยละ ๕๐ มีเพียงสาระด้านทักษะการเรียนรู้ ส่วนสาระวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ และมีแนวโน้มลดลง อาทิด้านการประกอบอาชีพ ทักษะการดำเนินชีวิตและการพัฒนาสังคม ส่วนสาระด้านความรู้พื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เล็กน้อย
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกสาระวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ และมีแนวโน้มลดลงทุกสาระหลัก
2.5 เวลาเฉลี่ยที่คนไทยอายุ ๖ ปีขึ้นไปใช้ในการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานลดลง จาก ๓๙ นาทีต่อวัน ในปี๒๕๕๑ เป็น ๓๗ นาทีต่อวัน ในปี๒๕๕๖ โดยกลุ่มเยาวชน (๑๕ – ๒๔ ปี) มีเวลาใน การอ่านมากที่สุด ๕๐ นาทีต่อวัน รองลงมาได้แก่ กลุ่มวัยเด็ก (๖ – ๑๔ ปี) มีเวลาในการอ่าน ๔๖ นาทีต่อวัน โดยภาคที่มีเวลาในการอ่านหนังสือ มากที่สุด ได้แก่กรุงเทพ รองลงมาได้แก่ ภาคใต้และภาคกลาง
2.6 การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษา โดย IMD แม้ว่าผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะ ลดลง ๑ อันดับ จากอันดับที่ ๒๙ ในปี๒๕๕๗ เป็นอันดับที่ ๓๐ ในปี ๒๕๕๘ และเป็นอันดับที่สามในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์และ มาเลเซีย แต่อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทย เพิ่มขึ้น ๖ อันดับ จากอันดับที่ ๕๔ เป็นอันดับที่ ๔๘ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ โดยมีตัวชี้วัดย่อยด้านการศึกษาที่เป็นจุดเด่นและเป็นตัวชี้วัดใหม่ที่เพิ่มขึ้นในปี๒๕๕๗ ๒ ตัวชี้วัด ได้แก่ ร้อยละของงบประมาณภาครัฐที่ใช้ในการศึกษาต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และร้อยละของผู้หญิงที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ส่วนตัวชี้วัดย่อยด้านการศึกษาที่มีอันดับดีขึ้นมากที่สุด ๒ ตัวชี้วัด ได้แก่ อัตราการไม่รู้หนังสือของประชากรวัย ๑๕ ปีขึ้นไป และอัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมศึกษา และตัวชี้วัดที่มีอันดับลดลง ได้แก่ ตัวชี้วัดอัตราส่วนนักเรียนต่อครูระดับ มัธยมศึกษา (ตัวชี้วัดด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา) ตัวชี้วัดความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ตัวชี้วัด ความคิดเห็นต่อทักษะด้านภาษา (ตัวชี้วัดกลุ่มคุณภาพการศึกษา) ตัวชี้วัด ประชากรที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตัวชี้วัดนักศึกษาต่างชาติที่เข้า มาศึกษาในประเทศ (ตัวชี้วัดกลุ่มการอุดมศึกษา) ตัวชี้วัดความคิดเห็น ต่อการตอบสนองความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และตัวชี้วัดความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาสาขาบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อความต้องการภาคธุรกิจ (ตัวชี้วัดกลุ่มคุณภาพ การศึกษาที่ตอบสนองต่อภาคธุรกิจ)
2.7 จำนวนคดีเด็กและเยาวชน (อายุ ๑๐ – ๑๘ ปี) ที่ถูกดำเนินคดี โดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีแนวโน้มลดลงจาก ๔๖,๙๘๑ คน ในปี๒๕๕๑ เหลือ ๓๗,๔๓๓ คน ในปี๒๕๕๖
2.8 จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตร เพิ่มขึ้น จาก ๓,๐๔๓ คน ในปี๒๕๕๑ เป็น ๓,๖๘๐ คน ในปี๒๕๕๖
2.9 อัตราการรู้หนังสือของประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป ในปี๒๕๕๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๑ จำแนกเป็นด้านการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือได้ และคำนวณได้ร้อยละ ๙๔.๘, ๙๔.๑ และ ๙๓.๘ ตามลำดับ
2.10 ร้อยละของกำลังแรงงานที่จบมัธยมศึกษาขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ ๔๓.๑๒ ในปี๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๕๑.๐๔ ในปี๒๕๕๗ โดยระดับ อุดมศึกษามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากที่สุด จากร้อยละ ๑๔.๙๓ เป็นร้อยละ ๑๙.๘๓ รองลงมาเป็นระดับมัธยมปลาย และมัธยมต้น ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ ๑๒.๙๑ และ ๑๕.๒๙ เป็นร้อยละ ๑๕.๑๖ และ ๑๖.๐๕ ในช่วง เวลาเดียวกัน ตามลำดับ
- ทักษะด้านภาษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ของประเทศไทย ปี๒๕๕๒ – ๒๕๕๗ อยู่ในอันดับที่ลดลงจากอันดับที่ ๔๓ ในปี๒๕๕๑ เป็นอันดับที่ ๕๑ ในปี๒๕๕๗ จากจำนวนประเทศที่จัดอันดับ ๕๗ และ ๖๐ ประเทศ ตามลำดับ
2.11 จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเทียบเท่าเต็มเวลาต่อ ประชากร ๑,๐๐๐ คน เพิ่มขึ้นจาก ๐.๖๕ ในปี๒๕๕๑ เป็น ๐.๘๐ ในปี ๒๕๕๖ และอยู่ในอันดับที่ลดลงจากอันดับที่ ๔๗ เป็นอันดับที่ ๕๓ โดย IMD โดยงบวิจัยและพัฒนาต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๐.๒๒ ในปี ๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๐.๓๙ ในปี๒๕๕๕
2.12 การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของประชากรอายุ ๑๕ ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๒.๕ และ ๑๗.๓ ในปี๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๓๑.๗ และ ๓๑.๖ ในปี๒๕๕๗
๓. ด้านบริหารจัดการ
3.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน :
- บริหารและจัดการศึกษาแบบรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง สถานศึกษาขาดความอิสระ คล่องตัวในการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากร เพื่อการศึกษาที่สามารถแสดงความรับผิดชอบต่อผู้เรียน
- การรับรู้ข้อมูลในตลาดการศึกษาที่ไม่เท่ากัน ทั้งผู้ผลิต บริการและผู้ซื้อบริการการศึกษา ทำให้กลุ่มที่มีความได้เปรียบทาง เศรษฐกิจและสังคม สามารถเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพและ มาตรฐานมากกว่ากลุ่มคนที่ด้อยโอกาส/ยากจน - ความสามารถของตลาดในการตอบสนองมีมากกว่าความ ต้องการของผู้รับบริการ เนื่องจากโครงสร้างประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในอีก ๑๐ - ๒๐ ปีข้างหน้า และนำมาซึ่งความสูญเปล่าและความไม่มีประสิทธิภาพใน การบริหารจัดการของรัฐ
- การผูกขาดการจัดการศึกษาโดยรัฐ ผ่านนโยบายและ มาตรการของรัฐที่เอื้อประโยชน์ต่อสถานศึกษาของรัฐ รวมทั้งบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นผลให้ขาดการมีส่วนร่วมในการระดมทุนและการสนองทุนเพื่อ การศึกษาจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยทรัพยากรเพื่อการศึกษามาจากภาครัฐเป็นหลัก
3.2 การศึกษาหลังมัธยมศึกษาตอนปลาย (อาชีวศึกษาและ อุดมศึกษา)
- แม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นนิติบุคคล มีอิสระและความ คล่องตัวในการบริหารจัดการ แต่ก็ยังมีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมี ปัญหาด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ
- ขาดแคลนกำลังคนระดับกลาง (สายอาชีพ) แม้ว่ารัฐจะมี นโยบายส่งเสริมการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสหกิจศึกษา และให้เงินกู้ ยืมแก่ผู้เรียน แต่ก็ไม่สร้างแรงจูงใจให้ประชากรวัยเรียนเข้าศึกษาใน สายอาชีพ
- สถาบันอุดมศึกษาผลิตกำลังคนตามศักยภาพและความ สามารถของแต่ละสถาบัน มุ่งผลิตเชิงพาณิชย์เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ อีกทั้งไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งผลให้เกิดปัญหา การว่างงานของผู้จบระดับอุดมศึกษา ปัญหาการทำงานต่ำกว่าระดับ และ การเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษาระหว่างรอหางานทำ
.....

อ้างอิง :: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔ . สืบค้นเมื่อ 23/07/59
จาก
http://www.onec.go.th/onec_backoffice/uploaded/Outstand/2016-EdPlan60-74.pdf
http://www.onec.go.th/onec_web/page.php?mod=Outstand&file=view&itemId=1879
ครรชิต มนูญผล. (23/07/2559). การออกแบบการเรียนรู้ Active Learning :: สร้างคนดีแก่แผ่นดิน. สืบค้นเมื่อ 23/07/59 จาก https://www.facebook.com/kanchit.manoonphol



...........................................................





วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทวิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"



บทวิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค
ในการดำเนินงานตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"
(Analysis on progress and problems.
In the implementation of the policy "to reduce & increase the time.")

           โดย: จริยา ทองหอม
  10 กรกฎาคม 2559

ตารางสอนกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

ตารางสอนปีการศึกษา 2555
ตารางสอนปีการศึกษา 2559


            การวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากประสบการณ์การสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้ตารางสอนที่ผู้เขียนเคยสอนในปีการศึกษา 2555   เปรียบเทียบกับตารางสอนของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  ณ เวลาปัจจุบัน พบว่า การจัดการเรียนการสอนตามตารางสอน ณ เวลาปัจจุบัน ประสบปัญหาเพิ่มมากขึ้นมากกว่าการจัดการเรียนการสอนตามตารางสอนในปีการศึกษา 2555  ดังนี้

ตารางสอนปีการศึกษา 2555  
ตารางสอนปีการศึกษา 2559  
1.  ตารางสอนเดิมจะมีชั่วโมงสอน วันละ 6 คาบ
คาบละ 1 ชั่วโมงใน 1 วัน รวมจำนวน 30 คาบต่อสัปดาห์ 
ตารางสอนใหม่ (เพิ่ม) ชั่วโมงสอน เป็นวันละ 7 คาบ คาบละ 50 นาที ใน 1 วัน รวมจำนวน 35 คาบต่อสัปดาห์
2. โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ แนะแนว ชุมนุม ลูกเสือ-เนตรนารี
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ แนะแนว ชุมนุม ลูกเสือ-เนตรนารี และกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
3. ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามโครงสร้างหลักสูตรปกติ
ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามโครงสร้างหลักสูตรปกติ และเพิ่มเติมกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ วันละ 1 คาบ รวมจำนวน 5 คาบต่อสัปดาห์
4. ผู้เรียนมีระเบียบ วินัย และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกฎโรงเรียนมากกว่าปัจจุบัน
ระเบียบ วินัย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนลดน้อยลง
5. -
ครูและผู้เรียนสับสนและวุ่นวายกับการเตรียมกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มากขึ้น
   
            บทวิเคราะห์ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 
            จากการสำรวจในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างของ รมว. ศึกษาธิการ  พบว่า โรงเรียนในแต่ละแห่งมีปัญหาแตกต่างกัน แต่ตามนโยบาย ของ รมว. ศึกษาธิการ เน้นย้ำว่ากระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป็นแนวปฏิบัติไว้ชัดเจนว่าโรงเรียนต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามนโยบายนี้เป็นลำดับแรก หากจำเป็นจะไปร่วมกิจกรรมอื่นๆ จะต้องไม่เกิดผลกระทบกับการจัดกิจกรรม 4H  ได้แก่
1.  Head - เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
2.  Heart - เพื่อให้เด็กเป็นคนดี มีวินัย รู้หน้าที่ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ
3.  Hand - เพื่อให้เด็กเรียนรู้ตามความถนัด
4.  Health - เพื่อพัฒนาสุขภาพร่างกายของเด็ก
           
            บทวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
            จากการศึกษาการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่ผู้เขียนทำการสอน จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียน และเพื่อนครูในสถานศึกษา พบว่า กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไม่ได้เป็นไปตามแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ แต่กลับกลายเป็นกิจกรรมที่เพิ่มภาระ และสร้างปัญหาในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ครูผู้สอนเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนตามปกติจะสอนตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรรายวิชา สู่กิจกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตรปกติ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้น 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และเมื่อพิจารณาแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คือ การจัดกิจกรรม 4H หรือ Head, Heart, Hand, และ Health นั้น จะมีอยู่แล้วในโครงสร้างหลักสูตร ไม่ใช่ของใหม่แต่ประการใด แต่การเพิ่มเวลาเรียนจาก 30 คาบต่อสัปดาห์ เป็น 35 คาบต่อสัปดาห์นั้น เพิ่มความปวดเศียรเวียนเกล้าให้ครูผู้สอนอย่างถ้วนทั่วทุกตัวบุคคล

อ้างอิง:
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 10/07/59
            จาก https://www.facebook.com/EducationMinisterNewsline
จริยา ทองหอม. (10/07/59). ตารางสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2555 และ 2559.          โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช.
            จาก https://www.facebook.com/EducationMinisterNewsline
บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (10/7/2559). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 285/2559 ภารกิจ รมว.ศธ.ที่เชียงใหม่
            "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" และ"ให้นโยบาย ผอ.กลุ่มบริหารงานบุคคลทั่วประเทศ"

            จาก http://www.moe.go.th/websm/2016/jul/285.html  



วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม


การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม
โดย  :: จริยา  ทองหอม (03072559)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร)
บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

หลักสูตรออนไลน์
1. แนวคิดหลักการของหลักสูตรออนไลน์
2. วิสัยทัศน์และหลักการของหลักสูตรออนไลน์
3. จุดหมายของหลักสูตรออนไลน์
4. เนื้อหาสาระของหลักสูตรออนไลน์
5. กิจกรรมการเรียนการสอน   
6. สื่อการเรียนรู้
7. การวัดและประเมินผล


ทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม
1. ทักษะการจินตนาการ (Imagine)
2. ทักษะการออกแบบ (Design)
3. ทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation)
4. ทักษะการนำเสนอ (Present)
5. ทักษะการปรับปรุง (Improvement) 
6. ทักษะการประเมิน (Evaluate)


แผนการจัดการเรียนรู้
จินตวิศวกรรม
1. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
2. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
4. สาระการเรียนรู้
5.  สมรรถนะหลัก/สมรรถนะย่อย
6.  ชิ้นงาน/ภาระงาน
7.  กิจกรรมการเรียนรู้
8.  สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
9.  การวัดและการประเมินผล
10.  เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ/เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
จินตวิศวทัศน์
(Imagineering Visual
1.1  แผนการจัดการเรียนรู้
1.2  กิจกรรมการเรียนรู้
1.3  แบบสอบถามความคิดเห็น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
จินตวิศวภัณฑ์
(Imagineering innovation)
2.1  แผนการจัดการเรียนรู้
2.2  กิจกรรมการเรียนรู้
2.3  แบบสอบถามความคิดเห็น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
จินตวิศวพาณิชย์ (Imagineering commerce)
3.1  แผนการจัดการเรียนรู้
3.2  กิจกรรมการเรียนรู้
3.3  แบบสอบถามความคิดเห็น