วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทวิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"



บทวิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค
ในการดำเนินงานตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"
(Analysis on progress and problems.
In the implementation of the policy "to reduce & increase the time.")

           โดย: จริยา ทองหอม
  10 กรกฎาคม 2559

ตารางสอนกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

ตารางสอนปีการศึกษา 2555
ตารางสอนปีการศึกษา 2559


            การวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากประสบการณ์การสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้ตารางสอนที่ผู้เขียนเคยสอนในปีการศึกษา 2555   เปรียบเทียบกับตารางสอนของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  ณ เวลาปัจจุบัน พบว่า การจัดการเรียนการสอนตามตารางสอน ณ เวลาปัจจุบัน ประสบปัญหาเพิ่มมากขึ้นมากกว่าการจัดการเรียนการสอนตามตารางสอนในปีการศึกษา 2555  ดังนี้

ตารางสอนปีการศึกษา 2555  
ตารางสอนปีการศึกษา 2559  
1.  ตารางสอนเดิมจะมีชั่วโมงสอน วันละ 6 คาบ
คาบละ 1 ชั่วโมงใน 1 วัน รวมจำนวน 30 คาบต่อสัปดาห์ 
ตารางสอนใหม่ (เพิ่ม) ชั่วโมงสอน เป็นวันละ 7 คาบ คาบละ 50 นาที ใน 1 วัน รวมจำนวน 35 คาบต่อสัปดาห์
2. โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ แนะแนว ชุมนุม ลูกเสือ-เนตรนารี
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ แนะแนว ชุมนุม ลูกเสือ-เนตรนารี และกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
3. ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามโครงสร้างหลักสูตรปกติ
ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามโครงสร้างหลักสูตรปกติ และเพิ่มเติมกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ วันละ 1 คาบ รวมจำนวน 5 คาบต่อสัปดาห์
4. ผู้เรียนมีระเบียบ วินัย และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกฎโรงเรียนมากกว่าปัจจุบัน
ระเบียบ วินัย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนลดน้อยลง
5. -
ครูและผู้เรียนสับสนและวุ่นวายกับการเตรียมกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มากขึ้น
   
            บทวิเคราะห์ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 
            จากการสำรวจในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างของ รมว. ศึกษาธิการ  พบว่า โรงเรียนในแต่ละแห่งมีปัญหาแตกต่างกัน แต่ตามนโยบาย ของ รมว. ศึกษาธิการ เน้นย้ำว่ากระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป็นแนวปฏิบัติไว้ชัดเจนว่าโรงเรียนต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามนโยบายนี้เป็นลำดับแรก หากจำเป็นจะไปร่วมกิจกรรมอื่นๆ จะต้องไม่เกิดผลกระทบกับการจัดกิจกรรม 4H  ได้แก่
1.  Head - เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
2.  Heart - เพื่อให้เด็กเป็นคนดี มีวินัย รู้หน้าที่ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ
3.  Hand - เพื่อให้เด็กเรียนรู้ตามความถนัด
4.  Health - เพื่อพัฒนาสุขภาพร่างกายของเด็ก
           
            บทวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
            จากการศึกษาการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่ผู้เขียนทำการสอน จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียน และเพื่อนครูในสถานศึกษา พบว่า กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไม่ได้เป็นไปตามแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ แต่กลับกลายเป็นกิจกรรมที่เพิ่มภาระ และสร้างปัญหาในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ครูผู้สอนเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนตามปกติจะสอนตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรรายวิชา สู่กิจกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตรปกติ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้น 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และเมื่อพิจารณาแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คือ การจัดกิจกรรม 4H หรือ Head, Heart, Hand, และ Health นั้น จะมีอยู่แล้วในโครงสร้างหลักสูตร ไม่ใช่ของใหม่แต่ประการใด แต่การเพิ่มเวลาเรียนจาก 30 คาบต่อสัปดาห์ เป็น 35 คาบต่อสัปดาห์นั้น เพิ่มความปวดเศียรเวียนเกล้าให้ครูผู้สอนอย่างถ้วนทั่วทุกตัวบุคคล

อ้างอิง:
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 10/07/59
            จาก https://www.facebook.com/EducationMinisterNewsline
จริยา ทองหอม. (10/07/59). ตารางสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2555 และ 2559.          โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช.
            จาก https://www.facebook.com/EducationMinisterNewsline
บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (10/7/2559). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 285/2559 ภารกิจ รมว.ศธ.ที่เชียงใหม่
            "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" และ"ให้นโยบาย ผอ.กลุ่มบริหารงานบุคคลทั่วประเทศ"

            จาก http://www.moe.go.th/websm/2016/jul/285.html  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น