บริบทด้านการศึกษาของประเทศไทย
ใน (ร่าง)แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๗๔
จริยา ทองหอม
24/07/2559
การวิเคราะห์สังเคราะห์สภาพบริบทด้านการศึกษาของประเทศไทยใน (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔ ของ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นแผนระยะยาว ๑๕ ปี เพื่อเป็นแผนแม่บทสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ดังนี้
1.1 อัตราส่วนนักเรียนต่อประชากรกลุ่มอายุ จำแนกตามระดับ การศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๑ – ๒๕๕๖ พบว่า
- การศึกษาภาคบังคับ มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ ๑๐๑.๕ ในปี๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๙๖.๗ ในปี๒๕๕๗ โดยระดับการศึกษาที่มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นคือระดับก่อนประถมศึกษา โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๑๓.๐ เป็นร้อยละ ๑๑๖.๓ ระดับการศึกษาที่มีแนวโน้มลดลง ได้แก่ ประถมศึกษา และมัธยมต้น ลดลงจากร้อยละ ๑๐๕.๒ และ ๙๔.๙ เป็น ๑๐๐.๔ และ ๘๙.๙ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ
- มัธยมศึกษาตอนปลาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๖๗.๙ เป็นร้อยละ ๗๖.๘ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ โดยสายสามัญ และ สายอาชีพ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๔๑.๖ และ ๒๖.๓ เป็นร้อยละ ๕๒.๐ และ ๒๔.๘ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ
- ระดับอุดมศึกษา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๙.๕ เป็น ร้อยละ ๔๙.๓ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ โดยระดับปริญญาตรี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๙.๓ เป็นร้อยละ ๔๐.๘ ส่วนอนุปริญญา ลดลงจาก ร้อยละ ๑๙.๙ เป็นร้อยละ ๑๖.๙ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ
1.2 อัตราการคงอยู่ของผู้เรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมต้น มีแนวโน้มลดลง เหลือร้อยละ ๙๓.๑ และ ๙๒.๗ ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ส่วนระดับมัธยมปลายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘๖.๒ จำแนกเป็น สายสามัญและสายอาชีพ ร้อยละ ๘๙.๕ และ ๘๐.๖ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ
1.3 จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย อายุ ๑๕ – ๕๙ ปีเพิ่มขึ้น จาก ๘.๘ ปีในปี๒๕๕๑ เป็น ๙.๐ ปีในปี๒๕๕๗
๒. ด้านคุณภาพการศึกษา
2.1 ร้อยละของเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ ๕ ปีที่มีพัฒนาการสมวัย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๖๗.๗ ในปี๒๕๕๐ เป็นร้อยละ ๗๒.๕ ในปี๒๕๕๗
2.2 ร้อยละของเด็กอายุ ๐ – ๕ ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการ ระดับรุนแรง โดยมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง (ความสูงเทียบกับอายุ) และมีภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน (น้ำหนักเทียบ กับความสูง) ปี๒๕๕๕ เท่ากับร้อยละ ๒.๑ ๕.๙ และ ๒๒ ตามลำดับ
2.3 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ(O-NET) ในกลุ่มสาระหลัก ปีการศึกษา ๒๕๕๒ – ๒๕๕๗
2.3.1 จำแนกตามระดับชั้น พบว่า
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทุกวิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ยกเว้นวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่มีคะแนนเฉลี่ยเกินร้อยละ ๕๐
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทุกวิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ยกเว้นวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยเกินร้อยละ ๕๐ และวิชาภาษาไทย ที่มีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างจากปี๒๕๕๒
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ วิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ อาทิภาษาไทย การงาน อาชีพแลเทคโนโลยีวิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคงเดิม อาทิ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์และศิลปะ และวิชาที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง อาทิคณิตศาสตร์ยกเว้น วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยเกินร้อยละ ๕๐
จำแนกตามกลุ่มสาระวิชาและระดับชั้น พบว่า เกือบ ทุกวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลงเมื่อเข้าสู่ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น
2.3.2 จำแนกตามภูมิภาค พบว่า กรุงเทพฯ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศทุกวิชา รองลงมาคือภาคกลาง และภาคใต้ส่วนภาคที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำสุดสองลำดับ สุดท้ายทุกวิชา ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
2.4 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ(N-NET) ปีการศึกษา ๒๕๕๔ – ๒๕๕๗ จำแนกตามระดับการศึกษาและสาระ พบว่า
- ระดับประถมศึกษา ทุกสาระวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ โดยสาระวิชาที่คะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนมีแนวโน้มลดลง อาทิทักษะการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน การประกอบอาชีพ ทักษะการดำเนินชีวิต ส่วนสาระด้านการพัฒนาสังคม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยเกินกว่าร้อยละ ๕๐ มีเพียงสาระด้านทักษะการเรียนรู้ ส่วนสาระวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ และมีแนวโน้มลดลง อาทิด้านการประกอบอาชีพ ทักษะการดำเนินชีวิตและการพัฒนาสังคม ส่วนสาระด้านความรู้พื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เล็กน้อย
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกสาระวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ และมีแนวโน้มลดลงทุกสาระหลัก
2.5 เวลาเฉลี่ยที่คนไทยอายุ ๖ ปีขึ้นไปใช้ในการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานลดลง จาก ๓๙ นาทีต่อวัน ในปี๒๕๕๑ เป็น ๓๗ นาทีต่อวัน ในปี๒๕๕๖ โดยกลุ่มเยาวชน (๑๕ – ๒๔ ปี) มีเวลาใน การอ่านมากที่สุด ๕๐ นาทีต่อวัน รองลงมาได้แก่ กลุ่มวัยเด็ก (๖ – ๑๔ ปี) มีเวลาในการอ่าน ๔๖ นาทีต่อวัน โดยภาคที่มีเวลาในการอ่านหนังสือ มากที่สุด ได้แก่กรุงเทพ รองลงมาได้แก่ ภาคใต้และภาคกลาง
2.6 การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษา โดย IMD แม้ว่าผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะ ลดลง ๑ อันดับ จากอันดับที่ ๒๙ ในปี๒๕๕๗ เป็นอันดับที่ ๓๐ ในปี ๒๕๕๘ และเป็นอันดับที่สามในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์และ มาเลเซีย แต่อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทย เพิ่มขึ้น ๖ อันดับ จากอันดับที่ ๕๔ เป็นอันดับที่ ๔๘ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามลำดับ โดยมีตัวชี้วัดย่อยด้านการศึกษาที่เป็นจุดเด่นและเป็นตัวชี้วัดใหม่ที่เพิ่มขึ้นในปี๒๕๕๗ ๒ ตัวชี้วัด ได้แก่ ร้อยละของงบประมาณภาครัฐที่ใช้ในการศึกษาต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และร้อยละของผู้หญิงที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ส่วนตัวชี้วัดย่อยด้านการศึกษาที่มีอันดับดีขึ้นมากที่สุด ๒ ตัวชี้วัด ได้แก่ อัตราการไม่รู้หนังสือของประชากรวัย ๑๕ ปีขึ้นไป และอัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมศึกษา และตัวชี้วัดที่มีอันดับลดลง ได้แก่ ตัวชี้วัดอัตราส่วนนักเรียนต่อครูระดับ มัธยมศึกษา (ตัวชี้วัดด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา) ตัวชี้วัดความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ตัวชี้วัด ความคิดเห็นต่อทักษะด้านภาษา (ตัวชี้วัดกลุ่มคุณภาพการศึกษา) ตัวชี้วัด ประชากรที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตัวชี้วัดนักศึกษาต่างชาติที่เข้า มาศึกษาในประเทศ (ตัวชี้วัดกลุ่มการอุดมศึกษา) ตัวชี้วัดความคิดเห็น ต่อการตอบสนองความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และตัวชี้วัดความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาสาขาบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อความต้องการภาคธุรกิจ (ตัวชี้วัดกลุ่มคุณภาพ การศึกษาที่ตอบสนองต่อภาคธุรกิจ)
2.7 จำนวนคดีเด็กและเยาวชน (อายุ ๑๐ – ๑๘ ปี) ที่ถูกดำเนินคดี โดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีแนวโน้มลดลงจาก ๔๖,๙๘๑ คน ในปี๒๕๕๑ เหลือ ๓๗,๔๓๓ คน ในปี๒๕๕๖
2.8 จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตร เพิ่มขึ้น จาก ๓,๐๔๓ คน ในปี๒๕๕๑ เป็น ๓,๖๘๐ คน ในปี๒๕๕๖
2.9 อัตราการรู้หนังสือของประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป ในปี๒๕๕๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๑ จำแนกเป็นด้านการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือได้ และคำนวณได้ร้อยละ ๙๔.๘, ๙๔.๑ และ ๙๓.๘ ตามลำดับ
2.10 ร้อยละของกำลังแรงงานที่จบมัธยมศึกษาขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ ๔๓.๑๒ ในปี๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๕๑.๐๔ ในปี๒๕๕๗ โดยระดับ อุดมศึกษามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากที่สุด จากร้อยละ ๑๔.๙๓ เป็นร้อยละ ๑๙.๘๓ รองลงมาเป็นระดับมัธยมปลาย และมัธยมต้น ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ ๑๒.๙๑ และ ๑๕.๒๙ เป็นร้อยละ ๑๕.๑๖ และ ๑๖.๐๕ ในช่วง เวลาเดียวกัน ตามลำดับ
- ทักษะด้านภาษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ของประเทศไทย ปี๒๕๕๒ – ๒๕๕๗ อยู่ในอันดับที่ลดลงจากอันดับที่ ๔๓ ในปี๒๕๕๑ เป็นอันดับที่ ๕๑ ในปี๒๕๕๗ จากจำนวนประเทศที่จัดอันดับ ๕๗ และ ๖๐ ประเทศ ตามลำดับ
2.11 จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเทียบเท่าเต็มเวลาต่อ ประชากร ๑,๐๐๐ คน เพิ่มขึ้นจาก ๐.๖๕ ในปี๒๕๕๑ เป็น ๐.๘๐ ในปี ๒๕๕๖ และอยู่ในอันดับที่ลดลงจากอันดับที่ ๔๗ เป็นอันดับที่ ๕๓ โดย IMD โดยงบวิจัยและพัฒนาต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๐.๒๒ ในปี ๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๐.๓๙ ในปี๒๕๕๕
2.12 การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของประชากรอายุ ๑๕ ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๒.๕ และ ๑๗.๓ ในปี๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๓๑.๗ และ ๓๑.๖ ในปี๒๕๕๗
๓. ด้านบริหารจัดการ
3.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน :
- บริหารและจัดการศึกษาแบบรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง สถานศึกษาขาดความอิสระ คล่องตัวในการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากร เพื่อการศึกษาที่สามารถแสดงความรับผิดชอบต่อผู้เรียน
- การรับรู้ข้อมูลในตลาดการศึกษาที่ไม่เท่ากัน ทั้งผู้ผลิต บริการและผู้ซื้อบริการการศึกษา ทำให้กลุ่มที่มีความได้เปรียบทาง เศรษฐกิจและสังคม สามารถเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพและ มาตรฐานมากกว่ากลุ่มคนที่ด้อยโอกาส/ยากจน - ความสามารถของตลาดในการตอบสนองมีมากกว่าความ ต้องการของผู้รับบริการ เนื่องจากโครงสร้างประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในอีก ๑๐ - ๒๐ ปีข้างหน้า และนำมาซึ่งความสูญเปล่าและความไม่มีประสิทธิภาพใน การบริหารจัดการของรัฐ
- การผูกขาดการจัดการศึกษาโดยรัฐ ผ่านนโยบายและ มาตรการของรัฐที่เอื้อประโยชน์ต่อสถานศึกษาของรัฐ รวมทั้งบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นผลให้ขาดการมีส่วนร่วมในการระดมทุนและการสนองทุนเพื่อ การศึกษาจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยทรัพยากรเพื่อการศึกษามาจากภาครัฐเป็นหลัก
3.2 การศึกษาหลังมัธยมศึกษาตอนปลาย (อาชีวศึกษาและ อุดมศึกษา)
- แม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นนิติบุคคล มีอิสระและความ คล่องตัวในการบริหารจัดการ แต่ก็ยังมีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมี ปัญหาด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ
- ขาดแคลนกำลังคนระดับกลาง (สายอาชีพ) แม้ว่ารัฐจะมี นโยบายส่งเสริมการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสหกิจศึกษา และให้เงินกู้ ยืมแก่ผู้เรียน แต่ก็ไม่สร้างแรงจูงใจให้ประชากรวัยเรียนเข้าศึกษาใน สายอาชีพ
- สถาบันอุดมศึกษาผลิตกำลังคนตามศักยภาพและความ สามารถของแต่ละสถาบัน มุ่งผลิตเชิงพาณิชย์เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ อีกทั้งไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งผลให้เกิดปัญหา การว่างงานของผู้จบระดับอุดมศึกษา ปัญหาการทำงานต่ำกว่าระดับ และ การเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษาระหว่างรอหางานทำ
.....
อ้างอิง :: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔ . สืบค้นเมื่อ 23/07/59
จาก
http://www.onec.go.th/onec_backoffice/uploaded/Outstand/2016-EdPlan60-74.pdf
http://www.onec.go.th/onec_web/page.php?mod=Outstand&file=view&itemId=1879
ครรชิต มนูญผล. (23/07/2559). การออกแบบการเรียนรู้ Active Learning :: สร้างคนดีแก่แผ่นดิน. สืบค้นเมื่อ 23/07/59 จาก https://www.facebook.com/kanchit.manoonphol
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น