วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์



กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์


กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพได้


ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วย ความประณีตวิจิตรบรรจงฉะนั้น งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญาความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
….ศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีหรือ ความเชื่อทางศาสนา ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2530 )
….ศิลปะ คือ ผลงานการสร้างสรรค์รูปลักษณ์แห่งความพึงพอใจขึ้นมา และรูปลักษณ์ก่อให้เกิดอารมณ์ รู้สึกในความงาม อารมณ์รู้สึกในความงามนั้นจะเป็นที่พึงพอใจได้ก็ต่อเมื่อ ประสาทสัมผัสของเรา
ชื่นชมในเอกภาพ หรือความประสมกลมกลืนกันในความสัมพันธ์อันมีระเบียบแบบแผน ( Herbert Read, 1959)
กล่าวโดยสรุป ศิลปะ เป็นผลงานที่เกิดจากการแสดงออกของอารมณ์ ปัญญา และทัศนคติ รวมทั้งทักษะความชำนิ ชำนาญของมนุษย์ การสร้างสรรค์งานศิลปะในปัจจุบันมีแนวโน้มไปในทางการสร้างสรรค์ และการแสดงออกของอารมณ์และความคิด ดังนั้น งานศิลปะนั้นอย่างน้อยที่สุดควรก่อให้เกิดอารมณ์ และ ความคิดสร้างสรรค์ 


ทัศนศิลป์
ความหมายของทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะการทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทัศนศิลป์ คือ ศิลปะที่มองเห็นได้ การรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม มีขั้นตอนและกระบวนการในการถ่ายทอดที่มีลักษณะเฉพาะ
ทัศนศิลป์ เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศนศิลป์ นั้น
แนวคิดทัศนศิลป์ เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา นั่นเอง


ประเภทของทัศนศิลป์
1. จิตรกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบด้วยวิธีการลาก การระบายสีลงบนพื้นผิววัสดุที่มีความราบเรียบ เช่นกระดาษ ผ้าใบ แผ่นไม้ เป็นต้น เพื่อให้เกิดเรื่องราวและความงามตามความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการของผู้วาด จำแนกออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
- ภาพวาด (drawing) เป็นศัพท์ทางทัศนศิลป์ที่ใช้เรียกภาพวาดเขียน ภาพวาดเส้น แบบเป็น 2 มิติ คือ มีความกว้างและความยาว โดยใช้วัสดุต่างๆ เช่น ดินสอดำ สีไม้ สีเทียน เป็นต้น
- ภาพเขียน (painting) เป็นการสร้างงาน 2 มิติ บนพื้นระนาบด้วยสีหลายสี เช่น การเขียนภาพด้วยสีน้ำ สีดินสอ สีน้ำมัน เป็นต้น
2. ประติมากรรม (sculpture) หมายถึง การสร้างงานทัศนศิลป์ที่เกิดจากกรปั้น การแกะสลัก การหล่อ การเชื่อม เป็นต้น โดยมีลักษณะ 3 มิติ คือ มีความกว้าง ความยาว และความหนา เช่นรูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เป็นต้น ประติมากรรมจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ แบบนูนต่ำ (bas-relief) เป็นการปั้นหรือสลักโดยให้เกิดภาพที่นูนขึ้นจากพื้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น รูปบนเหรียญต่างๆ (เหรียญบาท เหรียญพระห้อยคัว) เป็นต้น
- แบบนูนสูง (high- relief) เป็นการปั้นหรือสลักให้รูปที่ต้องการนูนขึ้นจากพื้นหลังมากกว่าครึ่งเป็นรูปที่สามารถแสดงความตื้นลึกตามความเป็นจริง เช่น ประติมากรรมที่ฐานอนุสาวรีย์ เป็นต้น
- แบบลอยตัว (round- relief) เป็นการปั้นหรือสลักที่สามารถมองเห็นและสัมผัส ชื่นชมความงามของผลงานได้ทุกด้านหรือรอบด้าน เช่นพระพุทธรูป เป็นต้น
3. สถาปัตยกรรม (Archiecture) หมายถึง ศิลปะและวิทยาการแห่งการก่อสร้างที่นำมาทำเพื่อสนองวามต้องการในด้านวัตถุและจิตใจ มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างอย่างงดงาม จำแนกออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
- แบบเปิด หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มนุษย์สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่น อาคารเรียน ที่พักอาศัย เป็นต้น
4. ภาพพิมพ์ (Printing) หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์ ด้วยการกดแม่พิมพ์ให้ติดเป็นภาพบนกระดาษ เช่นแม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ เป็นต้น ภาพพิมพ์สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- พิมพ์ผิวนูน (Relief process) เป็นกระบวนการพิมพ์ให้เกิดส่วนลึกและนูนหรือมีความแตกต่างทางผิวพื้นของแม่พิมพ์ด้วยการแกะ หล่อ กัดด้วยกรด หรือวิธีอื่นๆ เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์โลหะ เป็นต้น
- พิมพ์ร่องลึก (intaglio process) เป็นการพิมพ์ที่ตรงกันข้ามกับกระบวนการพิมพ์ผิวนูน ได้แก่ เอทชิง เป็นต้น
- พิมพ์พื้นราบ (planographic process) กลวิธีนี้รู้จักในนามของภาพพิมพ์หิน
- พิมพ์ฉากพิมพ์ (serigraphic process) การพิมพ์แบบนี้ที่รู้จักกันดีคือการพิมพ์ตัดกระดาษ เป็นต้น

แหล่งข้อมูล
e-learning โครงการ e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ (โครงการ eDLTV)
บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ วิชาศิลปะ ศ 33101 สาระทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
บทเรียนศิลปะ ห้องเรียนศิลปะกลับทาง
ทัศนศิลป์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น