รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ผลการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เรื่อง ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง
โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง (Practical Learning)
โดย…จริยา ทองหอม โรงเรียนบ้านแพรกกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยพบว่า ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาศิลปะ คือนักเรียนส่วนใหญ่ไม่วางแผนการทำงาน ไม่ชอบการอ่านหนังสือหรือศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ร่างภาพโดยไม่คำนึงถึงหลักการจัดองค์ประกอบภาพ ขาดความพิถีพิถันในการระบายสีภาพ ผู้วิจัยจึงศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยได้พัฒนานวัตกรรม มีชื่อว่า วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง (Practical Learning)และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เรื่อง ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง (Practical Learning) เมื่อทำการสอนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง ในระยะเวลา
15 วัน ด้วยเครื่องมือที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ด้านพุทธิพิสัย พบว่า
วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง
ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผ่านเกณฑ์ที่กำหนดระดับดี ด้านจิตพิสัย
พบว่า วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดในระดับดีมาก ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน ด้านทักษะพิสัย พบว่า
ทักษะความสามารถในการเขียนภาพระบายสี เรื่อง ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณารายบุคคล พบว่านักเรียนที่มีคะแนนอยู่ในระดับปรับปรุง ผู้วิจัยจึงควรใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและทำการวิจัยในชั้นเรียนต่อไป
บทนำ
ปัญหาและความสำคัญของการวิจัย
การศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาผู้เรียน
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา
เรื่อง
ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง พบว่าทักษะการเขียนภาพระบายสีของนักเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับระดับคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพปรับปรุงอย่างยิ่ง
ปัญหาที่พบจากการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนในระหว่างทำการสอน ได้แก่
นักเรียนขาดทักษะในการสังเกต
นักเรียนขาดความมั่นใจและขาดความเชื่อมั่นในการแสดงออก นักเรียนไม่สนใจและไม่ตั้งใจเรียน ทำงานไม่เสร็จในเวลาที่กำหนด ไม่ทำงานส่งตามที่ได้รับมอบหมาย และจากการตรวจผลงานนักเรียน พบว่านักเรียนวาดภาพเล็กๆ มีขนาด
สัดส่วน
รูปร่างและรูปทรงไม่เหมาะสมกับขนาดของกระดาษ นักเรียนไม่มีความรู้เกี่ยวกับทัศนธาตุ สี
วงจรสี ทฤษฎีสี นักเรียนไม่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ดินสอในการร่างภาพ
การใช้เส้นลักษณะต่างๆ
ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพและการระบายสีภาพ ภาพผลงานของนักเรียนไม่เสร็จสมบูรณ์ สกปรก
ไม่สะอาด ขาดความละเอียด
ประณีต ผลงานไม่สวยงามหรือสร้างสรรค์ นักเรียนระบายสีเฉพาะวัตถุสิ่งของที่วาดแต่ไม่ระบายสีพื้น ระบายสีไม่เต็มหน้ากระดาษ ระบายสีไม่เรียบ ระบายสีซ้ำซ้อนทำให้ภาพสกปรก เลอะเทอะ และไม่มีอุปกรณ์สำคัญ คือ สีชอล์ค
สำหรับการฝึกหัด จากสภาพปัญหาที่พบทำให้ผู้วิจัยต้องการทราบว่า การสอนศิลปศึกษสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างไร จึงจัดทำวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ของโรงเรียนบ้านแพรกกลาง
ปีการศึกษา 2549 โดยการทดสอบก่อนเรียน การศึกษาค้นคว้าสาระความรู้ การฝึกปฏิบัติกิจกรรม และการทดสอบหลังเรียน เพื่อศึกษาและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนทั้งในด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย
และด้านทักษะพิสัย เพื่อพัฒนาผู้เรียนในด้านร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ตามตามเจตนารมณ์ของกระทรวงศึกษาธิการ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา
เรื่อง ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง (Practical Learning )
สมมุติฐานการวิจัย
เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง (Practical Learning) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้น
ความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัย
1. ใช้เป็นข้อมูล/แนวคิดในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาศิลปะ
2. ใช้เป็นข้อมูล/แนวคิดในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ
3. ใช้เป็นข้อมูล/แนวคิดในการวิจัยในชั้นเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตของเนื้อหา
- การสังเกตลักษณะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- องค์ประกอบในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- วิธีการสอน แบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning )
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง จำนวน 15
คน
ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรต้น วิธีการสอน แบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning )
- ตัวแปรตาม ผลการสอนศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
- นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง จำนวน 15
คน
- วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามวิธีการที่นำมาใช้ในการฝึกหัดผู้เรียน โดยใช้ชื่อว่า วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning )
- ศิลปะกับความงาม
ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา มีความงดงาม แตกต่างกัน ซึ่งเราสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะได้
- การเขียนภาพระบายสี หมายถึง การวาดภาพเพื่อกำหนดเค้าโครงเรื่องและองค์ประกอบของภาพ แสงเงา
และสี
แล้วจึงระบายสีหรือแรเงาให้ภาพเขียนนั้นมีความสวยงาม และน่าสนใจ
ข้อจำกัดการวิจัย
- ระยะเวลาของการฝึกปฏิบัติจริงมีข้อจำกัด
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
บทสรุป
ผู้วิจัยพบว่า นักเรียนที่ส่วนใหญ่ที่เรียนวิชาศิลปะ ไม่วางแผนในการทำงาน ไม่ชอบอ่านหนังสือหรือศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
ร่างภาพโดยไม่คำนึงถึงหลักการจัดองค์ประกอบ ภาพ
ระบายสีภาพไม่สวยงาม ทำให้ผลงานการเขียนภาพระบายสีของนักเรียนอยู่ในระดับคุณภาพปรับปรุง ผู้วิจัยจึงศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยได้พัฒนานวัตกรรม มีชื่อว่า
วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) และกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เรื่อง ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) เมื่อทำการสอนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง ในระยะเวลา
15 วัน ด้วยเครื่องมือที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1.
ด้านพุทธิพิสัย ผลการวิจัยพบว่า วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง
ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และผ่านเกณฑ์ที่กำหนดระดับดี
ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน
เมื่อพิจารณารายบุคคล พบว่า นักเรียนที่มีคะแนนมากขึ้น อยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 40 นักเรียนที่มีคะแนนมากขึ้น อยู่ในระดับดี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 นักเรียนที่มีคะแนนมากขึ้น อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67
2. ด้านจิตพิสัย ผลการวิจัยพบว่า วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดในระดับดีมาก ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน เมื่อพิจารณารายบุคคล พบว่า
นักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับต้องปรับปรุง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ
6.67
นักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับพอใช้
จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 นักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก จำนวน
12 คน คิดเป็นร้อยละ 80
3. ด้านทักษะพิสัย ผลการวิจัยพบว่า ทักษะความสามารถในการเขียนภาพระบายสี เรื่อง
ศิลปะกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณารายบุคคล พบว่า
นักเรียนที่มีคะแนนอยู่ในระดับปรับปรุงอย่างยิ่ง จำนวน
7 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67
นักเรียนที่มีคะแนนอยู่ในระดับปรับปรุง
จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 นักเรียนที่มีคะแนนอยู่ในระดับพอใช้ จำนวน
2 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 นักเรียนที่มีคะแนนอยู่ในระดับดี จำนวน
2 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 ผู้วิจัยควรใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning )
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
สถานศึกษาควรสนับสนุน และเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานศึกษา ได้นำข้อมูลและผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาศิลปะ และการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ โดยมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการโครงการวิจัยของบุคลากร
สถานศึกษาควรสนับสนุน และเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานศึกษา ได้นำข้อมูลและผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาศิลปะ และการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ โดยมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการโครงการวิจัยของบุคลากร
สถานศึกษาควรมีแผนการจัดกิจกรรมการประกวดผลงานนักเรียน
เนื่องในวันสำคัญต่างๆ เป็นแผนประจำปี
และกระตุ้นให้บุคลากรในสถานศึกษามีความตระหนัก เห็นคุณค่า
และความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
ผู้วิจัย ควรนำ วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง (Practical
Learning) ไปใช้และทำการวิจัยในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนศิลปะ เพื่อพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน ชุมชน
และท้องถิ่นต่อไป
บรรณานุกรม
ครรชิต มนูญผล. ชุดอบรมเชิงปฏิบัติการ กระบวนการจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางอาจารย์ 3 ใหม่ .
สปจ. นครศรีธรรมราช. :
2546.
จริยา ทองหอม. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนภาพระบายสี : ยาเสพติด ของตัวแทน
นักเรียนช่วงชั้นที่ 1, 2 และ3 ปีการศึกษา 2548
โรงเรียนบ้านแพรกกลาง
โดยใช้เทคนิคการสร้างแบบการเรียนรู้
ของตนเอง นครศรีธรรมราช :
2548.
ชาตรี สำราญ. วิจัยในชั้นเรียน แบบชาตรี
สำราญ. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 24
จ.ยะลา. : เมืองแพร่การพิมพ์, 2543.
ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ, วิธีการวิจัยทางพฤิตกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
สำนักทดสอบ ทางการศึกษาและ
จิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
2525
เทียนชัย เสาจินดารัตน์.
แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. เอกสารนิเทศสาระ
การเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์, หน่วยศึกษานิเทศก์. สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน, 2546.
บ้านแพรกกลาง, หลักสูตรสถานศึกษา. นครศรีธรรมราช , 2546.
ปฏิรูปการศึกษา, สำนักงาน. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพ :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,
2543.
2543.
พะยอม วงศ์สารศรี, จิตวิทยาการสอนและการศึกษา.
กรุงเทพ :
สารเศรษฐ์. 2526.
พิศาล ศรีคำ. รายงานการใช้แผนการสอนและแบบฝึก วิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4. สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษากรุงเทพมหานคร
เขต 1, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2544.
เลิศ อานันทะ . ศิลปศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ( ตัวอย่างหนังสือเรียน ), กรุงเทพฯ : ว.พ., มปป.
วันชัย พงษา. จัดการเรียนการสอนอย่างไร
ทำให้เด็กมีปัญญา. นครศรีธรรมราช : โรงพิมพ์เม็ดทราย, 2544.
วิชาการ, กรม. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว,
2545.
วิชาการ, กรม. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2545.
วิรุณ ตั้งเจริญ. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ศิลปะ : ทัศนศิลป์ 1 ช่วงชั้นที่ 1. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนา
คุณภาพวิชาการ (พ.ว.),
2545.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์
และคณะ. หนังสือเรียนสมบูรณ์แบบ สลน 1. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,
2543.
สุชาติ เถาทอง
และคณะ.
หนังสือเรียนศิลปะ ทัศนศิลป์. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2546.
สุรพล ขันธศุภ. หนังสืออ่านประกอบอ้างอิงชุด ศิลปะสำหรับเด็กประถม เรื่องการเขียนภาพระบายสี. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์บรรณกิจ ,
2543.
สมาน จันทะดี. การเขียน การพิมพ์รายงาน. เอกสารทางวิชาการและการอ้างอิง.
กรุงเทพฯ :
สถาบันพัฒนา
ความก้าวหน้า, 2546.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การวิจัยแบบง่าย :
จุดเริ่มของครูมืออาชีพ (
ชุดฝึกอบรมทางไกล
บุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐานเส้นทางปฏิรูปการเรียนรู้ “ ครูปฏิรูป” ตอนที่ 7 ) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อุษาการพิมพ์,
2547.
เอกรินทร์ สี่มหาศาล
และคณะ. สื่อการเรียนรู้แม่บทมาตรฐานศิลปะ ป.3. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์ อจท.
จำกัด, 2548.
อรัญ กั่วพานิช. คู่มือการฝึกอบรม การพัฒนาการเรียนการสอนเป็นสำคัญด้วยการวิจัยในชั้นเรียนและแบบฝึกปฏิบัติ .
สงขลา : หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1, 2548.
.....................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น