การเขียนภาพระบายสี “เศรษฐกิจพอเพียง”
(Sufficiency Economy Painting. )
โดย... จริยา ทองหอม
แนวการสอน การเขียนภาพระบายสีตามหัวข้อเรื่องที่กำหนด เรื่อง... เศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อผู้สอน น.ส.จริยา
ทองหอม ระหว่างวันที่ 11-31
เดือน มกราคม พ.ศ. 2551
...........................................................................................................................................................
1.
สภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอน
แนวการสอน การเขียนภาพระบายสีตามหัวข้อเรื่องที่กำหนด เรื่อง... เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวการจัดการจัดการเรียนการสอน
เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนนักเรียนในระดับช่วงชั้นที่ 1
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ
ในวันวิชาการระดับอำเภอและระดับเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต
2 ปีการศึกษา 2550
2.
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนภาพระบายสีตามหัวข้อเรื่องที่กำหนด
เรื่อง...
เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนให้อยู่ในระดับดีเด่นหรือยอดเยี่ยม
3.
ขอบเขตเนื้อหาสาระการเรียนรู้
การเขียนภาพระบายสีไม้หรือสีชอล์ค เรื่อง
เศรษฐกิจพอเพียง
4.
ระยะเวลา
ระหว่างวันที่ 5
มกราคม 2551 - 7 กุมภาพันธ์ 2551
5.
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
5.1 กรอบแนวคิด ทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอน
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544 : 1) ให้ความสำคัญกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะว่าเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม
สุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นกิจกรรมศิลปะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนโดยตรงทั้งด้านร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง และแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ พัฒนากระบวนการรับรู้ทางศิลปะ
การเห็นภาพรวม การสังเกตรายละเอียด
สามารถค้นพบศักยภาพของตนเอง มีความรับผิดชอบ
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
บูรชัย ศิริมหาสาคร ( 2544 : ฉ ) ได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง ว่ามี หลักการ สำคัญ 3 ประการ คือ การเรียนรู้เริ่มต้นที่ตนเอง
การเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติ และ การเรียนรู้ควบคู่ความสนุกสนาน
วิธีการสอน แบบปฏิบัติจริง ( Practical Learning ) เป็นกระบวนการเรียนที่ฝึกนักเรียนให้เป็นคน
ที่กล้าคิด
กล้าทำ
กล้าทดลอง กล้ายอมรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการทดลอง
และพร้อมที่จะพัฒนาปรับปรุงความรู้ความสามารถของตนยิ่งๆขึ้นไป
ฝึกนักเรียนให้จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติของตนเอง
ฝึกนักเรียนให้รู้จักอ่าน คิด
วิเคราะห์โจทย์ปัญหา ศึกษา
ค้นคว้าข้อมูล จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจริง ให้นักเรียนรับทราบเกณฑ์การประเมิน
นักเรียน เพื่อนๆ และครูร่วมกันประเมิน วิพากษ์วิจารณ์ผลงานของนักเรียน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น
5.2
วิธีการสอน
ชื่อว่า วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical
Learning )
ลำดับ
|
กิจกรรม
|
วัน/เดือน/ปี
|
สื่อ/วัสดุ-อุปกรณ์
|
1.
|
วางแผนการสอน
|
5 ม.ค. 2551
|
- กระดาษวาดเขียนขนาด 11 X
- สีชอล์คและสีไม้
|
2.
|
ใช้นวัตกรรม
วิธีการสอนแบบปฏิบัติจริง ( Practical
Learning )
|
7- 9 ม.ค. 2551
|
|
3.
|
เก็บรวบรวมข้อมูล
|
5- 31 ม.ค. 2551
|
|
4.
|
นำข้อมูลมาวิเคราะห์
|
3 ก.พ. 2551
|
|
5.
|
เขียนรายงานผลการสอน
|
3 ก.พ. 2551
|
|
6.
|
นำเสนอและเผยแพร่ผลงาน
|
7-9 ก.พ. 2551
|
6.
สื่อการเรียนการสอน/แหล่งการเรียนรู้
- กระดาษวาดเขียนขนาด 11 X 16 นิ้ว
-
สีไม้หรือสีชอล์ค
- ดินสอ 2B ดินสอ
EE ยางลบ สำลี
-
หนังสือและแผ่นซี.ดี สมเด็จพระนวมินทราชาธิราช
-
หนังสือสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
- ภาพลายเส้น ชุด พระอัจฉริยภาพของในหลวง
7.
การวัดผลและประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด
|
วิธีวัด
|
เครื่องมือวัดผล
|
เกณฑ์การประเมินผล
|
นักเรียนสามารถเขียนภาพระบายสีตามหัวข้อเรื่องที่กำหนด
เรื่อง...
เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับดีเด่นหรือยอดเยี่ยม
|
- ตรวจผลงานนักเรียน
|
- เกณฑ์การตัดสินผลการแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานมหกรรมทางวิชาการ : เปิดโลกทัศน์ทางการศึกษา
ปี
2551 “ คุณธรรมนำความรู้ สู่เศรษฐกิจพอเพียง
”
|
80
– 100 : ยอดเยี่ยม
70
– 79
: ดีเด่น
60
– 69
: ดี
0
– 59
: ต้องปรับปรุง
|
8.
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
- ดำเนินการได้
- จัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดีมาก
(ลงชื่อ)…………………………………………
( นายสุนทร กฐินหอม
)
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแพรกกลาง
……………………………………………………………………………………
เกณฑ์การตัดสินผลการแข่งขันทักษะทางวิชาการ
งานมหกรรมทางวิชาการ : เปิดโลกทัศน์ทางการศึกษาปี 2551
“ คุณธรรมนำความรู้ สู่เศรษฐกิจพอเพียง ”
……………………………………………………………………………………
รายการกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ
ที่
|
กิจกรรม
|
ระดับ
ช่วงชั้น
|
จำนวน
ผู้เข้าแข่งขัน
|
เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน
(ชม.)
|
แนวทาง/ข้อกำหนดของกิจกรรม
|
4.
|
การเขียนภาพระบายสี
จากเรื่องที่กำหนด
|
1
|
1
|
3
|
-
ผู้แข่งขันเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์มาเอง
- ใช้สีเทียนหรือสีไม้หรือสีเมจิกตามความถนัดของนักเรียน
-
ขนาดกระดาษ 11
X
-
หากขนาดกระดาษและสีไม่ตรงตามที่กำหนดจะไม่มีการพิจารณาให้คะแนน
-
เรื่องที่กำหนด “ เศรษฐกิจพอเพียง ”
|
เกณฑ์การตัดสินผลการให้คะแนน
ข้อที่
|
รายการ
|
คะแนนเต็ม ( 50 )
|
1.
|
ภาพสื่อความหมายได้ตรงกับชื่อเรื่องที่กำหนด
|
10
|
2.
|
ความคิดสร้างสรรค์
|
10
|
3.
|
การจัดองค์ประกอบของภาพ
|
10
|
4.
|
ความสมบูรณ์ของภาพ
|
10
|
5.
|
ความประณีตสวยงาม
|
10
|
……………………………………………………………………………………
อัครศิลปิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 9
ในพระบรมจักรีวงศ์
เมื่อประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์หลายประการ แม้ว่าบ้านเมืองกำลังคืนสู่ความสงบสุข
หลังสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพากับฝ่ายญี่ปุ่น เศรษฐกิจซึ่งตกต่ำมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อน ก็ยังคงอยู่ในสภาพฟื้นตัว แต่ประการสำคัญยิ่ง ก็คือ
การเปลี่ยนรัชกาลอันเนื่องมาจากการสวรรคตอย่างไม่คาดคิดของพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทำให้ขวัญของประชาชนดำดิ่งสู่ความมืดมน
และยังเป็นข้ออ้างของคณะทหารในการทำรัฐประหารเปลี่ยนประเทศสู่ระบบเผด็จการทหาร การขึ้นครองราชย์ของเยาวกษัตริย์ จึงเป็นความหวังอันเรืองรอง ท่ามกลางเหตุการณ์มืดมนนาประการในห้วงเวลานั้น
แต่ในแง่ศิลปะและการสร้างสรรค์แห่งรัชกาลที่ 9
คือการเริ่มต้นของยุคใหม่อย่างแท้จริง
มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นตั้งแต่ปีแรกๆของรัชกาล อันสืบเนื่องมาจากบทบาทของกลุ่มจักรวรรดิศิลปิน
ซึ่งเรียกร้องหาอิสระภาพในการสำแดงออกและต้องการหลุดพ้นจากระบบครอบงำของผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่า การต่อสู้นี้ทำให้ศิลปินในฐานะอิสระชน
เริ่มเป็นที่ยอมรับและพัฒนาไปสู่การยกย่องในที่สุดว่า...
ศิลปินเป็นบุคลากรอันมิอาจขาดเสียได้ในวิถีชีวิตของเมืองสมัยใหม่...
เศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในราษฎรของพระองค์ ตั้งแต่คนที่มีเงินน้อยจนถึงคนที่มีเงินมากล้วนเดือดร้อน
ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง...เศรษฐกิจพอเพียง แก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้า ความตอนหนึ่งว่า ...
“ เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง
การปฏิบัติตนแบบพอดี มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตนที่ดี เช่น
ถ้าเราหันมาใช้ของไทย ซื้อของไทย เที่ยวเมืองไทย
กินข้าวไทย
อันนี้จะได้ประโยชน์ ถ้าแต่ละคนพอมี
พอกิน ก็ใช้ได้
ยิ่งถ้าคนทั้งประเทศพอมี
พอกิน พอใช้ ก็ยิ่งดี...
การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นตอน ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน
พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน
เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น โดยลำดับต่อไป... ”
ทฤษฎีใหม่
หลักการของทฤษฎีใหม่ให้จัดการแบ่งที่ดินออกเป็น 4
ส่วน คือ
พื้นที่ส่วนที่ 1
ร้อยละ 30 ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ
เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนไว้ใช้เพาะปลูกพืชในหน้าแล้ง ตลอดจนเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ
พื้นที่ส่วนที่ 2
ร้อยละ 30 สำหรับปลูกข้าวให้พอกินในครอบครัวตลอดปี
พื้นที่ส่วนที่ 3
ร้อยละ 30 สำหรับปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น
พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร
ฯลฯ
พื้นที่ส่วนที่ 4
ร้อยละ 10 เป็นที่อยู่อาศัย คอกสัตว์
โรงเพาะเห็ด ฯลฯ
ภาพตัวอย่าง
กระบวนการสอน
……………………………………………………………………………………
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น